กรุงเทพ--17 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ฯพณฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดจะเดินทางไปเยือนประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี ฮังการี และเยอรมนี ในระหว่างวันที่ 21 — 29 มีนาคม 2542 โดยจะเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ในวันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2542 เวลา 18.10 โดยเที่ยวบินที่ TG 517 และมีภารกิจ ดังนี้
1. การเข้าร่วมงาน Dubai Shopping Festival ’ 99 (DSF ’99) ในวันที่ 21 มีนาคม 2542 ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ จะไปร่วมงาน Dubai Shopping Festival ’ 99 (DSF ’99) ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 18 มีนาคม — 14 เมษายน 2542 ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ งาน DSF ’99 ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีที่มีชื่อเสียงของเมืองดูไบ โดยจะมีผู้มาชมงานจากทั่วโลก และ นับเป็นครั้งแรกที่ไทยจะเข้าร่วมงานอย่างเป็นทางการ โดยกระทรวงฯ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐจะนำภาคเอกชนไทย จำนวนประมาณ 30 รายไปร่วมงานแสดงสินค้า วัตถุประสงค์สำคัญของไทยในการเข้าร่วมงาน DSF ’99 ครั้งนี้ นอกเหนือจากการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมืองแล้วยังเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของไทย ตลอดจนสร้างค่านิยมและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย การเข้าร่วมงานของ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ในครั้งนี้ นอกจากจะเยี่ยมชมศาลาไทยภายใต้ชื่อ “Mini Bangkok ” ซึ่งภาคเอกชนไทยได้ร่วมกันจัดสร้าง เพื่อจัดแสดงสินค้าประเภทหัตถกรรมไทยและร้านอาหารไทยแล้ว ยังจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการไทยเกี่ยวกับบทบาทกระทรวงฯ ที่จะช่วยเหลือสนับสนุนภาคเอกชนในการขยายตลาดสินค้าไทยในต่างประเทศอีกโสตหนึ่งด้วย
2. การเยือนตุรกีระหว่างวันที่ 21 — 25 มีนาคม 2542 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ( JC ) ไทย — ตุรกี ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23-24 มีนาคม 2542 ณ กรุงอังการา โดยฝ่ายตุรกีเป็นเจ้าภาพ การประชุม JC ไทย - ตุรกี ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมกราคม 2533 โดยฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพสำหรับการประชุม JC ครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งจะมีขึ้นหลังจากที่ได้ว่างเว้นมานานถึง 9 ปี โดยจะมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ในโอกาสนี้ จะมีการทบทวนประเด็นต่างๆ เพื่อหาลู่ทางส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยและตุรกี ตลอดจนประเด็นสถานการณ์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของแต่ละฝ่ายและระดับโลกด้วย โดยที่การประชุม JC ไทย-ตุรกี ครั้งที่ 2 นี้ เกิดขึ้นในช่วงที่ไทยกำลังประสบกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ จุดมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งในการไปร่วมการประชุมฯ ครั้งนี้ก็เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มการส่งออกและแสวงหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าไทย ตุรกีเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่จะสนองนโยบายนี้ของไทยได้ เนื่องจากมีที่ตั้งเป็นประตูสู่ภูมิภาคเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรป ซึ่งตุรกีเป็นสมาชิกของสหภาพศุลกากรของสหภาพยุโรปอยู่ด้วย นอกจากนั้น ตุรกีเป็นประเทศที่มีแนวโน้มจะนำเข้าสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมของไทยมากขึ้นด้วยจากสภาวการณ์ต่างๆ ภายในประเทศตุรกีเอง เช่น การปรับลดภาษีนำเข้า การริเริ่มก่อตั้งธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่ๆ หลายประเภทที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบและอุปกรณ์ประกอบซึ่งเป็นสินค้าออกสำคัญของไทย ตลอดจนการที่ตุรกีมีความนิยมสินค้าไทยอีกด้วย
นอกจากเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวแล้ว ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีกำหนดการหารือข้อราชการกับ นาย Korkmaz Haktanir รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี ในวันที่ 23 มีนาคม 2542 เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นทวิภาคีและพหุภาคี หลังจากนั้น จะมีการลงนาม Arrangement for theEstablishment of a Consultation Mechanism between the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Turkey เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและกระทรวงการต่างประเทศตุรกี
นอกจากนั้น ในวันที่ 24 และ 25 มีนาคม 2542 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีกำหนดการพบปะกับผู้แทนภาคเอกชนของตุรกีที่นครอิสตันบูลเพื่อหาลู่ทางในการแสวงหาตลาดสำหรับสินค้าส่งออกของไทยเพิ่มเติมด้วย
3. การเยือนฮังการีระหว่างวันที่ 25 — 27 มีนาคม 2542ฮังการีเป็นประเทศเป้าหมายประเทศหนึ่งของไทยในยุโรปตะวันออก โดยไทยตระหนักถึงความสำคัญ และศักยภาพทางเศรษฐกิจของฮังการีในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งถือเป็นตลาดส่งออกที่มีลู่ทางที่จะขยายได้อีกมากของไทย นอกจากนี้ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับฮังการีมีการขยายตัวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก วัตถุประสงค์การเยือนสาธารณรัฐฮังการีครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ไทย-ฮังการี ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี และสร้างเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ทั้งในบทบาทและเจตนารมย์ของไทยในการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ มาตรการรองรับปัญหาทางสังคม (social safety net) ที่เป็นผลมาจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ บทบาทของไทยในการส่งเสริมประชาธิปไตย โดยเฉพาะการพัฒนาสถาบันทางการเมืองและระบบรัฐสภา ตลอดจนบทบาทของไทยต่อภูมิภาค SEA ในลักษณะของ moderating role รวมทั้งการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนการเยือนฮังการีครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากไทยและฮังการีว่างเว้นจากการเยือนในระดับรัฐมนตรีมานาน และนับเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้ไปเยือนฮังการี ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะนาย Janos Martonyi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฮังการี และบุคคลสำคัญอื่นๆ ของฮังการี และหารือความสัมพันธ์ทวิภาคีกับ นาย Zsolt Nemeth รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฮังการี และ Dr. Istvan-Szent-Ivanyi ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศของรัฐสภาฮังการี
ในระหว่างการเยือนฮังการีครั้งนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการที่จะลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย — ฮังการี ทั้งนี้ ความตกลงดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยกับฮังการีด้านการวิจัยและพัฒนาในสาขาต่างๆ ที่ฮังการีมีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ต้องการของฝ่ายไทย อาทิ Water Management, Food Industry and Food Production Technology ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรของไทยต่อไป
4 การเยือนเยอรมนีระหว่างวันที่ 28 - 29 มีนาคม 2542 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ จะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM ( ASEM FMM ) ที่นครเบอร์ลิน ในวันที่ 28 มีนาคม 2542 โดยในช่วงบ่ายของวันที่ 28 มีนาคมศกนี้ จะเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองซึ่ง Professor Roman Herzog ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันเป็นเจ้าภาพ จากนั้น ในตอนเย็น จะเข้าร่วมประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM และร่วมงานเลี้ยงอาหารเย็นซึ่งนาย Joschka Fischer รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมันเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่รัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีกำหนดออกเดินทางจากนครเบอร์ลินกลับกรุงเทพฯในวันที่ 29 มีนาคม 2542 ถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 30 มีนาคม 2542 โดยเที่ยวบิน TG 921 เวลา 07.00 น.
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ--จบ--
ฯพณฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดจะเดินทางไปเยือนประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี ฮังการี และเยอรมนี ในระหว่างวันที่ 21 — 29 มีนาคม 2542 โดยจะเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ในวันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2542 เวลา 18.10 โดยเที่ยวบินที่ TG 517 และมีภารกิจ ดังนี้
1. การเข้าร่วมงาน Dubai Shopping Festival ’ 99 (DSF ’99) ในวันที่ 21 มีนาคม 2542 ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ จะไปร่วมงาน Dubai Shopping Festival ’ 99 (DSF ’99) ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 18 มีนาคม — 14 เมษายน 2542 ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ งาน DSF ’99 ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีที่มีชื่อเสียงของเมืองดูไบ โดยจะมีผู้มาชมงานจากทั่วโลก และ นับเป็นครั้งแรกที่ไทยจะเข้าร่วมงานอย่างเป็นทางการ โดยกระทรวงฯ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐจะนำภาคเอกชนไทย จำนวนประมาณ 30 รายไปร่วมงานแสดงสินค้า วัตถุประสงค์สำคัญของไทยในการเข้าร่วมงาน DSF ’99 ครั้งนี้ นอกเหนือจากการส่งเสริมการขายสินค้าพื้นเมืองแล้วยังเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของไทย ตลอดจนสร้างค่านิยมและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย การเข้าร่วมงานของ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ในครั้งนี้ นอกจากจะเยี่ยมชมศาลาไทยภายใต้ชื่อ “Mini Bangkok ” ซึ่งภาคเอกชนไทยได้ร่วมกันจัดสร้าง เพื่อจัดแสดงสินค้าประเภทหัตถกรรมไทยและร้านอาหารไทยแล้ว ยังจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการไทยเกี่ยวกับบทบาทกระทรวงฯ ที่จะช่วยเหลือสนับสนุนภาคเอกชนในการขยายตลาดสินค้าไทยในต่างประเทศอีกโสตหนึ่งด้วย
2. การเยือนตุรกีระหว่างวันที่ 21 — 25 มีนาคม 2542 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ( JC ) ไทย — ตุรกี ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23-24 มีนาคม 2542 ณ กรุงอังการา โดยฝ่ายตุรกีเป็นเจ้าภาพ การประชุม JC ไทย - ตุรกี ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมกราคม 2533 โดยฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพสำหรับการประชุม JC ครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งจะมีขึ้นหลังจากที่ได้ว่างเว้นมานานถึง 9 ปี โดยจะมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ในโอกาสนี้ จะมีการทบทวนประเด็นต่างๆ เพื่อหาลู่ทางส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยและตุรกี ตลอดจนประเด็นสถานการณ์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคของแต่ละฝ่ายและระดับโลกด้วย โดยที่การประชุม JC ไทย-ตุรกี ครั้งที่ 2 นี้ เกิดขึ้นในช่วงที่ไทยกำลังประสบกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ จุดมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งในการไปร่วมการประชุมฯ ครั้งนี้ก็เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มการส่งออกและแสวงหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าไทย ตุรกีเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่จะสนองนโยบายนี้ของไทยได้ เนื่องจากมีที่ตั้งเป็นประตูสู่ภูมิภาคเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรป ซึ่งตุรกีเป็นสมาชิกของสหภาพศุลกากรของสหภาพยุโรปอยู่ด้วย นอกจากนั้น ตุรกีเป็นประเทศที่มีแนวโน้มจะนำเข้าสินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมของไทยมากขึ้นด้วยจากสภาวการณ์ต่างๆ ภายในประเทศตุรกีเอง เช่น การปรับลดภาษีนำเข้า การริเริ่มก่อตั้งธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่ๆ หลายประเภทที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบและอุปกรณ์ประกอบซึ่งเป็นสินค้าออกสำคัญของไทย ตลอดจนการที่ตุรกีมีความนิยมสินค้าไทยอีกด้วย
นอกจากเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวแล้ว ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีกำหนดการหารือข้อราชการกับ นาย Korkmaz Haktanir รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศตุรกี ในวันที่ 23 มีนาคม 2542 เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นทวิภาคีและพหุภาคี หลังจากนั้น จะมีการลงนาม Arrangement for theEstablishment of a Consultation Mechanism between the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Turkey เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและกระทรวงการต่างประเทศตุรกี
นอกจากนั้น ในวันที่ 24 และ 25 มีนาคม 2542 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีกำหนดการพบปะกับผู้แทนภาคเอกชนของตุรกีที่นครอิสตันบูลเพื่อหาลู่ทางในการแสวงหาตลาดสำหรับสินค้าส่งออกของไทยเพิ่มเติมด้วย
3. การเยือนฮังการีระหว่างวันที่ 25 — 27 มีนาคม 2542ฮังการีเป็นประเทศเป้าหมายประเทศหนึ่งของไทยในยุโรปตะวันออก โดยไทยตระหนักถึงความสำคัญ และศักยภาพทางเศรษฐกิจของฮังการีในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งถือเป็นตลาดส่งออกที่มีลู่ทางที่จะขยายได้อีกมากของไทย นอกจากนี้ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับฮังการีมีการขยายตัวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก วัตถุประสงค์การเยือนสาธารณรัฐฮังการีครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ไทย-ฮังการี ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี และสร้างเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ทั้งในบทบาทและเจตนารมย์ของไทยในการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ มาตรการรองรับปัญหาทางสังคม (social safety net) ที่เป็นผลมาจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ บทบาทของไทยในการส่งเสริมประชาธิปไตย โดยเฉพาะการพัฒนาสถาบันทางการเมืองและระบบรัฐสภา ตลอดจนบทบาทของไทยต่อภูมิภาค SEA ในลักษณะของ moderating role รวมทั้งการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนการเยือนฮังการีครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากไทยและฮังการีว่างเว้นจากการเยือนในระดับรัฐมนตรีมานาน และนับเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยได้ไปเยือนฮังการี ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะนาย Janos Martonyi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฮังการี และบุคคลสำคัญอื่นๆ ของฮังการี และหารือความสัมพันธ์ทวิภาคีกับ นาย Zsolt Nemeth รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฮังการี และ Dr. Istvan-Szent-Ivanyi ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศของรัฐสภาฮังการี
ในระหว่างการเยือนฮังการีครั้งนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการที่จะลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย — ฮังการี ทั้งนี้ ความตกลงดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยกับฮังการีด้านการวิจัยและพัฒนาในสาขาต่างๆ ที่ฮังการีมีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ต้องการของฝ่ายไทย อาทิ Water Management, Food Industry and Food Production Technology ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรของไทยต่อไป
4 การเยือนเยอรมนีระหว่างวันที่ 28 - 29 มีนาคม 2542 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ จะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM ( ASEM FMM ) ที่นครเบอร์ลิน ในวันที่ 28 มีนาคม 2542 โดยในช่วงบ่ายของวันที่ 28 มีนาคมศกนี้ จะเข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองซึ่ง Professor Roman Herzog ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันเป็นเจ้าภาพ จากนั้น ในตอนเย็น จะเข้าร่วมประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM และร่วมงานเลี้ยงอาหารเย็นซึ่งนาย Joschka Fischer รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมันเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่รัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ มีกำหนดออกเดินทางจากนครเบอร์ลินกลับกรุงเทพฯในวันที่ 29 มีนาคม 2542 ถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 30 มีนาคม 2542 โดยเที่ยวบิน TG 921 เวลา 07.00 น.
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ--จบ--