สศอ.เปิดผลศึกษาใหม่ Competitive Benchmarking ยานยนต์และชิ้นส่วนชู 8 สินค้าหลัก ทาบชั้นญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ ชี้ศักยภาพไทยพร้อมรุกสู่ผู้นำ แนะรัฐหนุนพัฒนาวิจัย-สร้างสินค้าใหม่ เสริมเขี้ยวเล็บในการแข่งขัน
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสถาบันยานยนต์แห่งประเทศไทย ทำการศึกษาโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) สาขายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ในผลิตภัณฑ์หลัก 8 รายการ เพื่อรับทราบสถานการณ์เชิงลึก ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยกับคู่แข่ง อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน และปรับกลยุทธ์เสริมสร้างความแข็งแกร่งในเวทีการแข่งขัน อีกทั้งเป็นการปูทางสู่ความสำเร็จในการนำยานยนต์ของไทยบรรลุเป้าหมายการเป็น1ใน10 ผู้ผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลกตามโครงการดีทรอยท์แห่งเอเชีย โดยการศึกษาครั้งนี้ได้มีการเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งทั้งสองประเทศนี้มีความสามารถในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์จนเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
"เป็นการศึกษาข้อมูลในเชิงลึกของผลิตภัณฑ์หลักในหมวดยานยนต์ 8 รายการคือ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก (1,200-1,500 ซีซี) ,รถปิคอัพ 1 ตัน,ยางรถยนต์,กระจกมองข้างรถยนต์,แบตเตอรี่รถยนต์,ล้อรถยนต์,หม้อน้ำรถยนต์,และท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยละเอียดทั้งการสัมภาษณ์ในเชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูง การตรวจเยี่ยมโรงงานผู้ผลิตรายใหญ่ รวมทั้งเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อีกรอบหนึ่ง ตามตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งทั้ง 8 ผลิตภัณฑ์ ภาพที่ออกมาจะชัดเจนมาก ไทยมีความสามารถสูงในการแข่งขันบางผลิตภัณฑ์ แต่ก็ยังมีส่วนที่เรายังตามไม่ทันเช่นกัน ดังนั้นผลที่ได้ออกมาจะทำให้เกิดแนวทางพัฒนาศักยภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆให้เทียบเท่ากับอุตสาหกรรมยานยนต์ชั้นนำต่อไป"
ดร.อรรชกา กล่าวว่า จาก 8 ผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่ศึกษาในครั้งนี้ เมื่อพิจารณาระยะห่างของตัวชี้วัดโดยรวมทั้งหมดที่แตกต่างกันมากกับคู่แข่งขัน ได้แก่ รถยนต์นั่ง หม้อน้ำรถยนต์ และท่อไอเสียรถยนต์ ถือได้ว่าเรายังเป็นผู้ตามอยู่ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีค่อนข้างเข้มข้น โดยไทยต้องเร่งขยายการวิจัยและพัฒนาควบคู่กับการสร้างปริมาณการผลิตที่คุ้มค่าต่อการพัฒนา ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เรามีศักยภาพการแข่งขันใกล้เคียงคู่แข่ง ได้แก่ รถปิคอัพขนาด 1 ตัน และล้อรถยนต์ เนื่องจากไทยมีศักยภาพสูงในเรื่องต้นทุนแรงงานและปัจจัยหนุนจากการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย แต่เรายังต้องเข้าไปเติมเต็มในด้านผลิตภาพแรงงาน การวิจัยและพัฒนา และสัดส่วนต้นทุนการผลิต เพื่อรักษาความแข็งแกร่งและก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
"อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีศักยภาพที่โดดเด่นอยู่หลายด้าน เช่นความได้เปรียบเรื่องของต้นทุนแรงงานฝีมือ รวมไปถึงทำเลที่เหมาะสมและมาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ตั้งฐานการผลิตเกิดขึ้น แต่เรายังต้องวางแนวทางในระยะยาวเพื่อเป็นแรงเสริมให้เกิดความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องและก้าวไปจากคู่แข่ง ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ได้ชี้แนวทางไว้หลายด้านที่สำคัญ คือ การพัฒนาบุคลากร ต้องมีการเพิ่มทักษะให้กับแรงงานให้มากที่สุด ซึ่งทักษะที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงมูลค่าของผลิตภัณฑ์จะมีมากขึ้นไปด้วย ไม่ใช่เฉพาะพัฒนาให้มีความหลากหลายเท่านั้น แต่ต้องมีการวางแผนสร้างบุคลากรให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาอีกด้วย เนื่องจากอนาคตอันใกล้เราไม่อาจปฏิเสธสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นการมีสนามทดสอบยานยนต์ หรือศูนย์วิจัยต่างๆเพื่อรับเทคโนโลยีทันสมัย นอกจากนี้ต้องมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้มาก ซึ่งอาจรวมไปถึงสินค้ายานยนต์ชนิดใหม่ให้มีความหลากหลายอันจะเป็นการก้าวสู่ความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน รวมถึงการพึ่งพาวัตถุดิบที่มีในประเทศให้มากที่สุดเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเป็นการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงในวงกว้างต่อไป" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสถาบันยานยนต์แห่งประเทศไทย ทำการศึกษาโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) สาขายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ในผลิตภัณฑ์หลัก 8 รายการ เพื่อรับทราบสถานการณ์เชิงลึก ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยกับคู่แข่ง อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในทุกๆด้าน และปรับกลยุทธ์เสริมสร้างความแข็งแกร่งในเวทีการแข่งขัน อีกทั้งเป็นการปูทางสู่ความสำเร็จในการนำยานยนต์ของไทยบรรลุเป้าหมายการเป็น1ใน10 ผู้ผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลกตามโครงการดีทรอยท์แห่งเอเชีย โดยการศึกษาครั้งนี้ได้มีการเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งทั้งสองประเทศนี้มีความสามารถในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์จนเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
"เป็นการศึกษาข้อมูลในเชิงลึกของผลิตภัณฑ์หลักในหมวดยานยนต์ 8 รายการคือ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก (1,200-1,500 ซีซี) ,รถปิคอัพ 1 ตัน,ยางรถยนต์,กระจกมองข้างรถยนต์,แบตเตอรี่รถยนต์,ล้อรถยนต์,หม้อน้ำรถยนต์,และท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งได้ทำการศึกษาโดยละเอียดทั้งการสัมภาษณ์ในเชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูง การตรวจเยี่ยมโรงงานผู้ผลิตรายใหญ่ รวมทั้งเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อีกรอบหนึ่ง ตามตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งทั้ง 8 ผลิตภัณฑ์ ภาพที่ออกมาจะชัดเจนมาก ไทยมีความสามารถสูงในการแข่งขันบางผลิตภัณฑ์ แต่ก็ยังมีส่วนที่เรายังตามไม่ทันเช่นกัน ดังนั้นผลที่ได้ออกมาจะทำให้เกิดแนวทางพัฒนาศักยภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆให้เทียบเท่ากับอุตสาหกรรมยานยนต์ชั้นนำต่อไป"
ดร.อรรชกา กล่าวว่า จาก 8 ผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่ศึกษาในครั้งนี้ เมื่อพิจารณาระยะห่างของตัวชี้วัดโดยรวมทั้งหมดที่แตกต่างกันมากกับคู่แข่งขัน ได้แก่ รถยนต์นั่ง หม้อน้ำรถยนต์ และท่อไอเสียรถยนต์ ถือได้ว่าเรายังเป็นผู้ตามอยู่ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีค่อนข้างเข้มข้น โดยไทยต้องเร่งขยายการวิจัยและพัฒนาควบคู่กับการสร้างปริมาณการผลิตที่คุ้มค่าต่อการพัฒนา ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เรามีศักยภาพการแข่งขันใกล้เคียงคู่แข่ง ได้แก่ รถปิคอัพขนาด 1 ตัน และล้อรถยนต์ เนื่องจากไทยมีศักยภาพสูงในเรื่องต้นทุนแรงงานและปัจจัยหนุนจากการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย แต่เรายังต้องเข้าไปเติมเต็มในด้านผลิตภาพแรงงาน การวิจัยและพัฒนา และสัดส่วนต้นทุนการผลิต เพื่อรักษาความแข็งแกร่งและก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
"อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีศักยภาพที่โดดเด่นอยู่หลายด้าน เช่นความได้เปรียบเรื่องของต้นทุนแรงงานฝีมือ รวมไปถึงทำเลที่เหมาะสมและมาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ตั้งฐานการผลิตเกิดขึ้น แต่เรายังต้องวางแนวทางในระยะยาวเพื่อเป็นแรงเสริมให้เกิดความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องและก้าวไปจากคู่แข่ง ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ได้ชี้แนวทางไว้หลายด้านที่สำคัญ คือ การพัฒนาบุคลากร ต้องมีการเพิ่มทักษะให้กับแรงงานให้มากที่สุด ซึ่งทักษะที่เพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงมูลค่าของผลิตภัณฑ์จะมีมากขึ้นไปด้วย ไม่ใช่เฉพาะพัฒนาให้มีความหลากหลายเท่านั้น แต่ต้องมีการวางแผนสร้างบุคลากรให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาอีกด้วย เนื่องจากอนาคตอันใกล้เราไม่อาจปฏิเสธสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นการมีสนามทดสอบยานยนต์ หรือศูนย์วิจัยต่างๆเพื่อรับเทคโนโลยีทันสมัย นอกจากนี้ต้องมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้มาก ซึ่งอาจรวมไปถึงสินค้ายานยนต์ชนิดใหม่ให้มีความหลากหลายอันจะเป็นการก้าวสู่ความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน รวมถึงการพึ่งพาวัตถุดิบที่มีในประเทศให้มากที่สุดเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเป็นการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงในวงกว้างต่อไป" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-