อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
“การผลิตและปริมาณการจำหน่าย ยังคงมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มที่ให้ความเย็นโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลม สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นแต่อยู่ในอัตราที่ลดลงเนื่องจากปัจจัยลบที่ยังคงมีความสำคัญอยู่ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ”
1.การผลิต
ภาพรวมของเดือนมกราคม 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 9.16 เป็นการลดลงจากสินค้าทั้ง 2 กลุ่ม โดยสินค้าในกลุ่มไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.57 และสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 16.34 ดัชนีผลผลิตของสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าที่มีการปรับตัวลดลงมากในเดือนนี้ ได้แก่ พัดลม รองลงมา คือ กระติกน้ำร้อน โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 56.39 และร้อยละ 42.97 ตามลำดับ
ดัชนีผลผลิตของสินค้าในกลุ่มสินค้าอิเล็ก ทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงมากในเดือนนี้ ได้แก่ Semicondutor devices Transisters และ Electronic Tubes Cathode for color TV ปรับตัวลดลงร้อยละ 28.31 และ 19.30
2. การส่งออก
การส่งออกในเดือนม.ค. 2548 มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 12.8 เป็นการลดลงจากสินค้าทั้ง 2 กลุ่ม โดยสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 10.7 และจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 14.2
สินค้าในกลุ่มไฟฟ้ามูลค่าสูงที่มีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ได้แก่ แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า รองลงมา คือ เครื่องเล่นวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศ สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มูลค่าสูงที่มีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองลงมาคือ แผงวงจรไฟฟ้า และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด
3. แนวโน้ม
การผลิตและปริมาณการจำหน่าย คาดว่าจะมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มที่ให้ความเย็นโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลม โดยจะมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากสินค้านำเข้าที่มีการนำเข้าเพิ่มอย่างชัดเจนจากการเปิดเสรีการค้าต่างๆ และจากผู้ผลิตในประเทศด้วยกันเอง สำหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้เพิ่มขึ้นแต่อยู่ในอัตราที่ลดลงเนื่องจากปัจจัยลบที่ยังคงมีความ สำคัญอยู่ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2548 มีค่า 143.44 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2547 (145.31) ร้อยละ 1.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (137.06) ร้อยละ 4.7
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนธันวาคม 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์และเครื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรมการแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมกราคม 2548 มีค่า 68.93 ทรงตัวโดยลดลงเพียงเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2547 (68.99) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (67.19)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงเพียงเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรมการแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรคและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพร เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
“การผลิตและปริมาณการจำหน่าย ยังคงมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มที่ให้ความเย็นโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลม สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นแต่อยู่ในอัตราที่ลดลงเนื่องจากปัจจัยลบที่ยังคงมีความสำคัญอยู่ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ”
1.การผลิต
ภาพรวมของเดือนมกราคม 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 9.16 เป็นการลดลงจากสินค้าทั้ง 2 กลุ่ม โดยสินค้าในกลุ่มไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.57 และสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 16.34 ดัชนีผลผลิตของสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าที่มีการปรับตัวลดลงมากในเดือนนี้ ได้แก่ พัดลม รองลงมา คือ กระติกน้ำร้อน โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 56.39 และร้อยละ 42.97 ตามลำดับ
ดัชนีผลผลิตของสินค้าในกลุ่มสินค้าอิเล็ก ทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงมากในเดือนนี้ ได้แก่ Semicondutor devices Transisters และ Electronic Tubes Cathode for color TV ปรับตัวลดลงร้อยละ 28.31 และ 19.30
2. การส่งออก
การส่งออกในเดือนม.ค. 2548 มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 12.8 เป็นการลดลงจากสินค้าทั้ง 2 กลุ่ม โดยสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 10.7 และจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 14.2
สินค้าในกลุ่มไฟฟ้ามูลค่าสูงที่มีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ได้แก่ แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า รองลงมา คือ เครื่องเล่นวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศ สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มูลค่าสูงที่มีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองลงมาคือ แผงวงจรไฟฟ้า และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด
3. แนวโน้ม
การผลิตและปริมาณการจำหน่าย คาดว่าจะมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มที่ให้ความเย็นโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลม โดยจะมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากสินค้านำเข้าที่มีการนำเข้าเพิ่มอย่างชัดเจนจากการเปิดเสรีการค้าต่างๆ และจากผู้ผลิตในประเทศด้วยกันเอง สำหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้เพิ่มขึ้นแต่อยู่ในอัตราที่ลดลงเนื่องจากปัจจัยลบที่ยังคงมีความ สำคัญอยู่ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2548 มีค่า 143.44 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2547 (145.31) ร้อยละ 1.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (137.06) ร้อยละ 4.7
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนธันวาคม 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์และเครื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรมการแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมกราคม 2548 มีค่า 68.93 ทรงตัวโดยลดลงเพียงเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2547 (68.99) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (67.19)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงเพียงเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรมการแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรคและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพร เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-