ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.48 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อน ปลัด ก.พาณิชย์
เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือน ก.พ.48 ว่า อยู่ที่ระดับ 106 ปรับตัวสูงขึ้น 0.6% เมื่อ
เทียบกับเดือน ม.ค.48 ที่อยู่ที่ระดับ 105.4 และปรับตัวสูงขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผล
จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 0.9% โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ เนื้อสุกร
ไก่สด ไข่ไก่ ปลา สัตว์น้ำ ผักสด และผลไม้สด ส่วนสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้น
0.3% โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ น้ำมันเบนซินที่ปรับขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก และน้ำมันดีเซลซึ่ง
รัฐบาลได้ประกาศปรับเพดานราคาสูงขึ้นลิตรละ 60 สตางค์ ซึ่งเฉพาะผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำมันทั้ง 2 ชนิด
ส่งผลให้เงินเฟ้อเดือน ก.พ.เพิ่มขึ้นถึง 0.2% อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ. ยังไม่น่าเป็นห่วง
เนื่องจากสินค้าเกษตรยังมีราคาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ภายใต้เป้าหมายที่คาดการณ์ไว้คือ 2.5-
3.5% (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
2. ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 47 ชะลอตัวจากปีก่อน รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 47 ชะลอตัวลงจากปี 46 โดยมีมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั้งประเทศจำนวน
721,795 ล.บาท ชะลอตัวลง 5.3% และมีรายการซื้อขายทั้งประเทศจำนวน 850,116 รายการ ชะลอตัวลง
4.1% ทั้งนี้ ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินและดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดินเพิ่มขึ้น 5.4% และ 3.5% ตามลำดับ
ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ดัชนีราคาขายส่งเพิ่มขึ้น 10.2% จากปีก่อน อันเป็นผลจาก
ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ (มติชน, ไทยโพสต์)
3. สศค.ปรับประมาณการายได้ภาครัฐปี 48 เพิ่มขึ้น 50,000 ล.บาท รองผู้อำนวยการสำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยภายหลังรายงานผลการประมาณการรายได้ภาครัฐต่อที่ประชุม ครม.ว่า สศค.
ได้ปรับประมาณการรายได้ปี งปม.48 เพิ่มขึ้นอีก 50,000 ล.บาท เป็น 1.25 ล.บาท จากประมาณการเดิม
1.2 ล.บาท สำหรับสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ตามที่คาดการณ์นั้น เนื่องจากในปี 47 บริษัทจด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีผลประกอบการที่ดีและมีผลกำไรสูงขึ้นมาก ซึ่งส่งผลต่อการจ่ายภาษีที่เพิ่มขึ้นในปี 48
และ 49 สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.48 ที่ขาดดุลถึง 942 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.นั้น เป็นการขาดดุล
เพียงเดือนเดียว และมีสาเหตุจากการนำเข้าน้ำมันซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 80% เป็นหลัก ขณะที่ดุลบริการยังเกินดุลอยู่
และการส่งออกก็ยังขยายตัวได้แม้จะเป็นอัตราที่ชะลอลงก็ตาม ทั้งนี้ สศค.ยังคงยืนยันตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 48
ทั้งปีว่า จะสามารถเกินดุลประมาณ 3,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. (ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอาร์พีอีก 0.25% นางสาวอุสรา
วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธ.สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด สาขาประเทศไทย เปิดเผยว่า การประชุมคณะ
กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันนี้ (2 มี.ค.) คาดว่าจะมีการ
พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ.(อาร์/พี) ระยะ14 วันอีก 0.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ
2.00% เป็น 2.25% โดยปัจจัยหลักประกอบด้วย 1) ธปท.ได้แสดงเจตจำนงที่ชัดเจนในการประชุม กนง.ครั้งที่
ผ่านมา 2) นโยบายการเงินของ ธปท.ในปัจจุบันมีการผ่อนคลายมากเกินความจำเป็น เมื่อเทียบกับอัตราการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง และ 3) เพื่อเป็นการลดช่องว่างส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและต่างประเทศ ซึ่ง
ขณะนี้ยังต่างกันอยู่ 0.50% โดยปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ไม่เป็นเหตุผลให้ ธปท.ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยใน
ครั้งนี้ (ผู้จัดการรายวัน)
5. บริษัทในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีกำไรสุทธิในปี 47 ลดลง 10.18% จากการรวบรวมข้อมูล
บริษัทในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 16 บริษัทที่มีการรายงานผลประกอบการในงวดปี 47 มายังตลาดหลัก
ทรัพย์พบว่า มีกำไรสุทธิรวมกันอยู่ที่ 1.23 หมื่น ล.บาท ลดลง 10.18% จากงวดเดียวกันปีก่อนซึ่งมีกำไรสุทธิ
1.38 หมื่น ล.บาท ทั้งนี้ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการบริษัทศุภาลัย เปิดเผยว่า แนวโน้มภาพรวม
อุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้คาดว่า จะมีอัตราเติบโตประมาณ 10% ซึ่งจะต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะ
เติบโตได้ถึง 15% สาเหตุหลักเกิดจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและการที่สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่
อยู่อาศัยลดลง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างซึ่งได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและค่าขนส่งที่ปรับตัวขึ้น
ทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องปรับราคาขายขึ้นตาม (กรุงเทพธุรกิจ)
6. ก.พลังงานศึกษาแนวทางส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ทดแทนน้ำมัน นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เปิด
เผยภายหลังการประชุม 3 กระทรวง คือ ก.อุตสาหกรรม ก.พลังงาน และ ก.เกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับบริษัท
น้ำมันและโรงงานเอทานอล เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ทดแทนน้ำมันว่า ที่ประชุมได้เสนอให้ ก.
พลังงานศึกษาแนวทางการปรับการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นอีก 1 บาท/ลิตร
จากเดิม 50 สตางค์/ลิตร เพื่อทำให้ราคาจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ต่ำกว่าราคาเบนซิน 95 อยู่ที่ 1.50 บาทต่อลิตร
ทั้งนี้ จากการที่บริษัทน้ำมันได้มีการทดลองขายแก๊สโซฮอล์ต่ำกว่าเบนซิน 95 ในระดับ 1.50 บาทต่อลิตรเป็น
เวลา 1 เดือนซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 15 มี.ค.นี้ จากข้อมูลของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พบว่าสามารถช่วย
กระตุ้นการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นถึง 200% (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อในเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อปี รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 1 มี.ค.48 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติของเขตเศรษฐกิจยุโรปรายงานตัวเลขเบื้องต้นอัตราเงิน
เฟ้อในเขตเศรษฐกิจยุโรปซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
ต่อปีในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.48 ซึ่งถูกปรับลดลงเหลือร้อยละ 1.9 ต่อปี จาก
ประมาณการครั้งแรกที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี แต่ลดลงจากอัตราร้อยละ 2.4 ในเดือน ธ.ค.47 จากการที่อัตราเงิน
เฟ้อในเขตนี้ลดลงต่อเนื่องกันในช่วง 2 เดือนล่าสุด จนอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ตั้งเป้า
ไว้ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าแต่ใกล้เคียงร้อยละ 2.0 ต่อปี และจากการที่เศรษฐกิจในเขตนี้ยังขยายตัวในอัตราต่ำเพียง
ร้อยละ 2 ต่อปีในปี 47 โดยมีอัตราการเติบโตในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ลดลงอย่างมากในประเทศเยอรมนีและ
อิตาลี ทำให้คาดกันว่า ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 2.0 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 3 มี.ค.48 นี้ และคาด
ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับนี้ต่อไปจนถึงปลายปีนี้ โดย ECB คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.สัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นที่ระดับ —9 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ
1 มี.ค.48 The ABC News/Washington Post เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สรอ.ณ สัปดาห์สิ้นสุดวัน
ที่ 27 ก.พ.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ —9 จากระดับ —11 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดต่ำ
ลง ทั้งนี้ องค์ประกอบของดัชนีดังกล่าวมี 3 ตัว คือ ผู้บริโภคที่มีมุมมองในภาพบวกด้านการเงินส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 61 จากร้อยละ 58 ในการสำรวจครั้งก่อน ขณะที่มุมมองของชาวอเมริกันในด้านบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 40 มาอยู่ที่ร้อยละ 39 ส่วนผู้บริโภคที่เห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีในการจับจ่ายใช้สอยอยู่ที่
ร้อยละ 36 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นเครื่องชี้วัดมุมมองทั่วไปด้านการใช้จ่าย
ของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มีข้อสังเกตว่า ผู้
บริโภคมักจะไม่ค่อยมีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับถ้อยแถลงในผลการสำรวจมากนัก ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวได้จากการ
สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 1,000 รายในรอบ 4 สัปดาห์ ซึ่งมีช่องว่างความผิดพลาดอยู่ที่บวกลบร้อยละ 3 (รอยเตอร์)
3. สินเชื่อผู้บริโภคของอังกฤษในเดือนม.ค. เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 48 ธ.กลางอังกฤษเปิดเผยว่า ในเดือนม.ค. สินเชื่อผู้บริโภคของอังกฤษเพิ่มขึ้นที่ระดับ
2.293 พันล.ปอนด์มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าสินเชื่อดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.6
พันล.ปอนด์ และใกล้ระดับที่เคยสูงสุดที่ 2.304 พันล.ปอนด์ในเดือนมิ.ย. ปีที่แล้ว เช่นเดียวกับสินเชื่อจำนองที่เพิ่ม
ขึ้นแสดงถึงตลาดบ้านยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยอดอนุมัติการซื้อบ้านลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
โดยลดลงอยู่ที่ระดับ 79,000 หน่วย จากที่คาดว่าจะลดลงอย่างมากซึ่งบ่งชี้ว่าอุปสงค์สำหรับที่อยู่อาศัยอาจจะเริ่มมี
เสถียรภาพแล้ว ทั้งนี้สินเชื่อจำนองเพิ่มขึ้น 7.2 พัน ล.ปอนด์ในเดือนม.ค. 48 สูงกว่าจำนวน 6.9 พันล.ปอนด์ใน
เดือนก่อนหน้า แต่หากเป็นอัตราการขยายตัวเทียบต่อปีแล้วชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 12.6 ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนแอที่สุด
นับตั้งแต่เดือนก.ย. 45(รอยเตอร์)
4. ภาคการผลิตของสิงคโปร์เดือน ก.พ.48 เติบโตลดลง แต่สินค้าอิเล็กทรอนิสก์ปรับตัวเพิ่มขึ้น
รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 1 มี.ค.48 Institute of Purchasing Materials
Management ของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ภาคการผลิตของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.48 มีอัตราการเติบโตลดลง
เนื่องจากคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายใหม่และผลผลิตลดลง โดย Purchasing Managers’ Index (PMI) ลดลงอยู่ที่
ระดับ 51.5 จาก 52.4 ในเดือน ม.ค.48 แต่ยังคงอยู่สูงเหนือระดับ 50 ที่เป็นระดับชี้ว่ายังมีสัญญาณการขยายตัว
อยู่ แต่ในขณะที่ภาพโดยรวมของดัชนีลดลง ดัชนีของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นภาคสำคัญของเศรษฐกิจสิงคโปร์กลับมี
แนวโน้มปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 47 โดยมีคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายใหม่ทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ดัชนีของภาคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 1.3 จุด อยู่ที่ระดับ 53.9 ซึ่งเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นติดต่อ
กันเป็นเดือนที่ 19 อย่างไรก็ตาม สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของผลผลิตทั้งหมดและมีสัดส่วน
เกือบครึ่งหนึ่งของสินค้าส่งออกของสิงคโปร์ที่ไม่ใช่น้ำมัน อาจจะได้รับผลกระทบหากมีการเปลี่ยนแปลงของวงจร
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยหากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจะทำให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิสก์ลดลง การส่ง
ออกของสิงคโปร์ก็จะถูกผลกระทบตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาคอิเล็กทรอนิกส์จะมีสถิติสูงขึ้นทั้งในด้านผล
ผลิต การนำเข้า และสินค้าคงคลัง แต่การจ้างงานในส่วนนี้กลับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สามแล้ว ทั้งนี้ ตัวเลข
ของภาครัฐล่าสุดผลผลิตภาคอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ในช่วง 12 เดือนนับถึงเดือน ม.ค.48 อนึ่ง
ภาคการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นช่วยให้เศรษฐกิจของสิงคโปร์เติบโตสูงถึงร้อยละ 8.4 ในปี 47 ซึ่งเป็นอัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดในรอบ 4 ปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 มี.ค. 48 1 มี.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.301 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.1088/38.4044 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875 - 2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 738.75/24.94 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 42.32 42.43 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.29*/15.19** 21.29*/15.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 มี.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.48 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อน ปลัด ก.พาณิชย์
เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือน ก.พ.48 ว่า อยู่ที่ระดับ 106 ปรับตัวสูงขึ้น 0.6% เมื่อ
เทียบกับเดือน ม.ค.48 ที่อยู่ที่ระดับ 105.4 และปรับตัวสูงขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผล
จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 0.9% โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ เนื้อสุกร
ไก่สด ไข่ไก่ ปลา สัตว์น้ำ ผักสด และผลไม้สด ส่วนสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้น
0.3% โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นได้แก่ น้ำมันเบนซินที่ปรับขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก และน้ำมันดีเซลซึ่ง
รัฐบาลได้ประกาศปรับเพดานราคาสูงขึ้นลิตรละ 60 สตางค์ ซึ่งเฉพาะผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำมันทั้ง 2 ชนิด
ส่งผลให้เงินเฟ้อเดือน ก.พ.เพิ่มขึ้นถึง 0.2% อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ. ยังไม่น่าเป็นห่วง
เนื่องจากสินค้าเกษตรยังมีราคาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ภายใต้เป้าหมายที่คาดการณ์ไว้คือ 2.5-
3.5% (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
2. ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 47 ชะลอตัวจากปีก่อน รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 47 ชะลอตัวลงจากปี 46 โดยมีมูลค่าการซื้อขายที่ดินทั้งประเทศจำนวน
721,795 ล.บาท ชะลอตัวลง 5.3% และมีรายการซื้อขายทั้งประเทศจำนวน 850,116 รายการ ชะลอตัวลง
4.1% ทั้งนี้ ดัชนีราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินและดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดินเพิ่มขึ้น 5.4% และ 3.5% ตามลำดับ
ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ดัชนีราคาขายส่งเพิ่มขึ้น 10.2% จากปีก่อน อันเป็นผลจาก
ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ (มติชน, ไทยโพสต์)
3. สศค.ปรับประมาณการายได้ภาครัฐปี 48 เพิ่มขึ้น 50,000 ล.บาท รองผู้อำนวยการสำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยภายหลังรายงานผลการประมาณการรายได้ภาครัฐต่อที่ประชุม ครม.ว่า สศค.
ได้ปรับประมาณการรายได้ปี งปม.48 เพิ่มขึ้นอีก 50,000 ล.บาท เป็น 1.25 ล.บาท จากประมาณการเดิม
1.2 ล.บาท สำหรับสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ตามที่คาดการณ์นั้น เนื่องจากในปี 47 บริษัทจด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีผลประกอบการที่ดีและมีผลกำไรสูงขึ้นมาก ซึ่งส่งผลต่อการจ่ายภาษีที่เพิ่มขึ้นในปี 48
และ 49 สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.48 ที่ขาดดุลถึง 942 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.นั้น เป็นการขาดดุล
เพียงเดือนเดียว และมีสาเหตุจากการนำเข้าน้ำมันซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 80% เป็นหลัก ขณะที่ดุลบริการยังเกินดุลอยู่
และการส่งออกก็ยังขยายตัวได้แม้จะเป็นอัตราที่ชะลอลงก็ตาม ทั้งนี้ สศค.ยังคงยืนยันตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 48
ทั้งปีว่า จะสามารถเกินดุลประมาณ 3,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. (ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอาร์พีอีก 0.25% นางสาวอุสรา
วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธ.สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด สาขาประเทศไทย เปิดเผยว่า การประชุมคณะ
กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันนี้ (2 มี.ค.) คาดว่าจะมีการ
พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ.(อาร์/พี) ระยะ14 วันอีก 0.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ
2.00% เป็น 2.25% โดยปัจจัยหลักประกอบด้วย 1) ธปท.ได้แสดงเจตจำนงที่ชัดเจนในการประชุม กนง.ครั้งที่
ผ่านมา 2) นโยบายการเงินของ ธปท.ในปัจจุบันมีการผ่อนคลายมากเกินความจำเป็น เมื่อเทียบกับอัตราการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง และ 3) เพื่อเป็นการลดช่องว่างส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและต่างประเทศ ซึ่ง
ขณะนี้ยังต่างกันอยู่ 0.50% โดยปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ไม่เป็นเหตุผลให้ ธปท.ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยใน
ครั้งนี้ (ผู้จัดการรายวัน)
5. บริษัทในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีกำไรสุทธิในปี 47 ลดลง 10.18% จากการรวบรวมข้อมูล
บริษัทในกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 16 บริษัทที่มีการรายงานผลประกอบการในงวดปี 47 มายังตลาดหลัก
ทรัพย์พบว่า มีกำไรสุทธิรวมกันอยู่ที่ 1.23 หมื่น ล.บาท ลดลง 10.18% จากงวดเดียวกันปีก่อนซึ่งมีกำไรสุทธิ
1.38 หมื่น ล.บาท ทั้งนี้ กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการบริษัทศุภาลัย เปิดเผยว่า แนวโน้มภาพรวม
อุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้คาดว่า จะมีอัตราเติบโตประมาณ 10% ซึ่งจะต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะ
เติบโตได้ถึง 15% สาเหตุหลักเกิดจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและการที่สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่
อยู่อาศัยลดลง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างซึ่งได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและค่าขนส่งที่ปรับตัวขึ้น
ทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องปรับราคาขายขึ้นตาม (กรุงเทพธุรกิจ)
6. ก.พลังงานศึกษาแนวทางส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ทดแทนน้ำมัน นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เปิด
เผยภายหลังการประชุม 3 กระทรวง คือ ก.อุตสาหกรรม ก.พลังงาน และ ก.เกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับบริษัท
น้ำมันและโรงงานเอทานอล เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ทดแทนน้ำมันว่า ที่ประชุมได้เสนอให้ ก.
พลังงานศึกษาแนวทางการปรับการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นอีก 1 บาท/ลิตร
จากเดิม 50 สตางค์/ลิตร เพื่อทำให้ราคาจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ต่ำกว่าราคาเบนซิน 95 อยู่ที่ 1.50 บาทต่อลิตร
ทั้งนี้ จากการที่บริษัทน้ำมันได้มีการทดลองขายแก๊สโซฮอล์ต่ำกว่าเบนซิน 95 ในระดับ 1.50 บาทต่อลิตรเป็น
เวลา 1 เดือนซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 15 มี.ค.นี้ จากข้อมูลของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พบว่าสามารถช่วย
กระตุ้นการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นถึง 200% (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อในเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อปี รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 1 มี.ค.48 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติของเขตเศรษฐกิจยุโรปรายงานตัวเลขเบื้องต้นอัตราเงิน
เฟ้อในเขตเศรษฐกิจยุโรปซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
ต่อปีในเดือน ก.พ.48 เพิ่มขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.48 ซึ่งถูกปรับลดลงเหลือร้อยละ 1.9 ต่อปี จาก
ประมาณการครั้งแรกที่ร้อยละ 2.1 ต่อปี แต่ลดลงจากอัตราร้อยละ 2.4 ในเดือน ธ.ค.47 จากการที่อัตราเงิน
เฟ้อในเขตนี้ลดลงต่อเนื่องกันในช่วง 2 เดือนล่าสุด จนอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ตั้งเป้า
ไว้ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าแต่ใกล้เคียงร้อยละ 2.0 ต่อปี และจากการที่เศรษฐกิจในเขตนี้ยังขยายตัวในอัตราต่ำเพียง
ร้อยละ 2 ต่อปีในปี 47 โดยมีอัตราการเติบโตในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ลดลงอย่างมากในประเทศเยอรมนีและ
อิตาลี ทำให้คาดกันว่า ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 2.0 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 3 มี.ค.48 นี้ และคาด
ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับนี้ต่อไปจนถึงปลายปีนี้ โดย ECB คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.สัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นที่ระดับ —9 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ
1 มี.ค.48 The ABC News/Washington Post เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สรอ.ณ สัปดาห์สิ้นสุดวัน
ที่ 27 ก.พ.48 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ —9 จากระดับ —11 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดต่ำ
ลง ทั้งนี้ องค์ประกอบของดัชนีดังกล่าวมี 3 ตัว คือ ผู้บริโภคที่มีมุมมองในภาพบวกด้านการเงินส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 61 จากร้อยละ 58 ในการสำรวจครั้งก่อน ขณะที่มุมมองของชาวอเมริกันในด้านบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 40 มาอยู่ที่ร้อยละ 39 ส่วนผู้บริโภคที่เห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีในการจับจ่ายใช้สอยอยู่ที่
ร้อยละ 36 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นเครื่องชี้วัดมุมมองทั่วไปด้านการใช้จ่าย
ของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์มีข้อสังเกตว่า ผู้
บริโภคมักจะไม่ค่อยมีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับถ้อยแถลงในผลการสำรวจมากนัก ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวได้จากการ
สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 1,000 รายในรอบ 4 สัปดาห์ ซึ่งมีช่องว่างความผิดพลาดอยู่ที่บวกลบร้อยละ 3 (รอยเตอร์)
3. สินเชื่อผู้บริโภคของอังกฤษในเดือนม.ค. เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 48 ธ.กลางอังกฤษเปิดเผยว่า ในเดือนม.ค. สินเชื่อผู้บริโภคของอังกฤษเพิ่มขึ้นที่ระดับ
2.293 พันล.ปอนด์มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าสินเชื่อดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.6
พันล.ปอนด์ และใกล้ระดับที่เคยสูงสุดที่ 2.304 พันล.ปอนด์ในเดือนมิ.ย. ปีที่แล้ว เช่นเดียวกับสินเชื่อจำนองที่เพิ่ม
ขึ้นแสดงถึงตลาดบ้านยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยอดอนุมัติการซื้อบ้านลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
โดยลดลงอยู่ที่ระดับ 79,000 หน่วย จากที่คาดว่าจะลดลงอย่างมากซึ่งบ่งชี้ว่าอุปสงค์สำหรับที่อยู่อาศัยอาจจะเริ่มมี
เสถียรภาพแล้ว ทั้งนี้สินเชื่อจำนองเพิ่มขึ้น 7.2 พัน ล.ปอนด์ในเดือนม.ค. 48 สูงกว่าจำนวน 6.9 พันล.ปอนด์ใน
เดือนก่อนหน้า แต่หากเป็นอัตราการขยายตัวเทียบต่อปีแล้วชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 12.6 ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนแอที่สุด
นับตั้งแต่เดือนก.ย. 45(รอยเตอร์)
4. ภาคการผลิตของสิงคโปร์เดือน ก.พ.48 เติบโตลดลง แต่สินค้าอิเล็กทรอนิสก์ปรับตัวเพิ่มขึ้น
รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 1 มี.ค.48 Institute of Purchasing Materials
Management ของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ภาคการผลิตของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.48 มีอัตราการเติบโตลดลง
เนื่องจากคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายใหม่และผลผลิตลดลง โดย Purchasing Managers’ Index (PMI) ลดลงอยู่ที่
ระดับ 51.5 จาก 52.4 ในเดือน ม.ค.48 แต่ยังคงอยู่สูงเหนือระดับ 50 ที่เป็นระดับชี้ว่ายังมีสัญญาณการขยายตัว
อยู่ แต่ในขณะที่ภาพโดยรวมของดัชนีลดลง ดัชนีของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นภาคสำคัญของเศรษฐกิจสิงคโปร์กลับมี
แนวโน้มปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 47 โดยมีคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายใหม่ทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ดัชนีของภาคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 1.3 จุด อยู่ที่ระดับ 53.9 ซึ่งเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นติดต่อ
กันเป็นเดือนที่ 19 อย่างไรก็ตาม สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของผลผลิตทั้งหมดและมีสัดส่วน
เกือบครึ่งหนึ่งของสินค้าส่งออกของสิงคโปร์ที่ไม่ใช่น้ำมัน อาจจะได้รับผลกระทบหากมีการเปลี่ยนแปลงของวงจร
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยหากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจะทำให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิสก์ลดลง การส่ง
ออกของสิงคโปร์ก็จะถูกผลกระทบตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาคอิเล็กทรอนิกส์จะมีสถิติสูงขึ้นทั้งในด้านผล
ผลิต การนำเข้า และสินค้าคงคลัง แต่การจ้างงานในส่วนนี้กลับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สามแล้ว ทั้งนี้ ตัวเลข
ของภาครัฐล่าสุดผลผลิตภาคอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ในช่วง 12 เดือนนับถึงเดือน ม.ค.48 อนึ่ง
ภาคการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นช่วยให้เศรษฐกิจของสิงคโปร์เติบโตสูงถึงร้อยละ 8.4 ในปี 47 ซึ่งเป็นอัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดในรอบ 4 ปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 มี.ค. 48 1 มี.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.301 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.1088/38.4044 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875 - 2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 738.75/24.94 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 42.32 42.43 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.29*/15.19** 21.29*/15.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 มี.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--