I. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
- เนื้อที่ (ตารางไมล์) 493,840
- จำนวนประชากร (ล้านคน) 15.60 (1992)
- เมืองหลวง PRAGUE
- เมืองธุรกิจ PRAGUE, BRATISLAVA, BRNO, MELNIK,
BOHEMIA
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจ (%) N.A.
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ N.A.
- อัตราเงินเฟ้อ 9.6 % (1994)
- รายได้เฉลี่ยต่อคน (เหรียญสหรัฐ) 15,888.0 (1991)
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา US$1 = 28.22 KCS (1994)
- ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ N.A.
- สินค้าส่งออกและนำเข้าที่สำคัญ - ส่งออก เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรใช้
ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง โลหะและ
เกษตรกรรม อุปกรณ์เครื่องสื่อสารโทร
คมนาคม รถไฟ รองเท้า
- นำเข้า อาหารสัตว์ ฝ้าย ปุ๋ย เศษเหล็ก
ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์เครื่องใช้ในสำนักงาน
เครื่องยนต์ยานพาหนะ
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ - ส่งออก เยอรมนี โปแลนด์ ออสเตรีย ฮังการี
ยูโกสลาเวีย อิตาลี ฝรั่งเศส
- นำเข้า เยอรมนี โปแลนด์ ออสเตรีย ฮังการี
สวิตเซอร์แลนด์ จีน
- ภาษา เช็กและสโลวัก อังกฤษ
- ศาสนา โรมันคาธอลิก
- เวลาแตกต่างจากไทย ช้ากว่า 6 ชั่วโมง
- ผู้นำประเทศ ประธานาธิบดี VACLEY HAVEL
หมายเหตุ : สถิติการค้าระหว่างไทย-เช็กและสโลวัก ยึดหลักสถิติการ ค้าของกรมศุลกากรเป็นหลัก
แต่ปัจจุบันเช็กและสโลวักได้แบ่งออกเป็น 2 ประเทศ แล้ว
II. ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย
ภาครัฐบาล
1. ความตกลงทางการค้าระหว่างไทยกับเช็กและสโลวัก ลงนามเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2521 ณ
กรุงปราก ต่อมาได้มีการจัดทำพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า
ลงนามเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2530
2. ความตกลงเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน เช็กและสโลวักได้เสนอจัดทำความตกลงเพื่อการยกเว้น
การเก็บภาษีซ้อนกับไทยโดยจัดคณะมาเจรจารอบแรกที่กรุงเทพฯ ระหว่าง 27 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม
2532 แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลง
3. ข้อตกลงเรื่องความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับเช็กและสโลวัก ลงนามเมื่อวันที่ 26
สิงหาคม 2534 ณ กรุงปราก
4. ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับเช็กและสโลวัก ลงนามเมื่อวันที่ 16
ตุลาคม 2534 แต่ยังรอการให้สัตยาบันสารจากรัฐสภาของเช็กและสโลวัก
5. ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกประเทศ ฝ่ายไทยปฎิบัติตามมติ ครม. 29 ธันวาคม 2535 รับรองการสืบสิทธิ
ดังกล่าว โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2536 และได้เสนอขอปรับถ้อยคำในความตกลงบาง
ประการ โดยเสนอร่างให้ฝ่ายพิจารณา กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
6. ปัจจุบันไทยกับเช็กได้จัดทำความตกลงทางการค้าฉบับใหม่ระหว่างไทยกับเช็ก เพื่อใช้แทนฉบับเดิม
ซึ่งได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537 ณ กรุงเทพฯ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม
2538
7. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า ครั้งที่ 2 (ครั้งล่าสุด) ตามความตกลงทางการค้าฉบับ
เดิมมีขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2534 ณ กรุงปราก
8. อนุสัญญายกเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทยกับเช็ก มีการลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537
ณ กรุงเทพฯ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538
ภาคเอกชน
1. ไม่มีความตกลงทางการค้าระหว่างกัน
III. ภาวะการค้ากับประเทศไทย
1. การส่งออก ในปี 2537 และปี 2538 ไทยส่งออกไปเช็กและสโลวักเป็นมูลค่า 930.8 ล้านบาท
และ 1,702.4 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.08 และ 0.1 ของมูลค่าการ
ส่งออกทั้งหมดของประเทศ
2. สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก กาแฟดิบ
อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เครื่องยกทรง รัดทรง และ
ส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี
3. การนำเข้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยนำเข้าจากเช็กและสโลวักเป็นมูลค่า 4,158.0
ล้านบาท และ 1,921.0 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.3 และ 0.1
ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของประเทศ
4. สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์นม เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม
เคมีภัณฑ์ อาวุธ กระสุน วัตถุระเบิดและส่วนประกอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด กระดาษและกระดาษแข็ง
แก้วและผลิตภัณฑ์ ผ้าผืน เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
5. ดุลการค้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยเสียเปรียบดุลการค้ามูลค่า 3,227.2 ล้านบาท และ
218.6 ล้านบาท ตามลำดับ
IV. ปัญหาทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย
1. ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับเช็กมาโดยตลอด เนื่องจากสินค้าที่ฝ่ายไทยนำเข้าจากเช็ก
ส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุน เช่น เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และ
เครื่องบิน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสั่งซื้อเครื่องบินฝึกของกองทัพอากาศไทยมูลค่ากว่า 3
ล้านบาท ซึ่งจะทะยอยมอบในปี 2536 - 2537 จะทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากเช็กเพิ่มขึ้นมาก
2. ภาคเอกชนของไทยยังขาดความมั่นใจในการบุกเบิกตลาดสินค้าในเช็ก เนื่องจากความเสี่ยงด้าน
การชำระเงิน ประกอบกับตลาดประเทศเช็กมีขนาดเล็ก มีประชากรประมาณ 10.5 ล้านคน ดังนั้น
ความสนใจตลาดเช็กของภาคเอกชนไทยจึงยังต้องได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมจากภาครัฐในรูปของการ
เผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยให้มากยิ่งขึ้น
3. ระบบช่องทางธุรกิจด้านห้างสรรพสินค้าในเช็กนั้น ได้รับอิทธิพลสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ
การนำเข้าสินค้าจะให้ความสำคัญกับประเทศหุ้นส่วน เช่น เยอรมัน ออสเตรีย สหรัฐ เป็นต้น ดังนั้น
การขยายตลาดสินค้าของไทยในรูปการสั่งซื้อรายใหญ่จึงทำได้ลำบาก
V. สินค้าที่ไทยมีลู่ทางขยายการส่งออก-นำเข้า
1. การส่งออก เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารทะเลกระป๋อง คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ
2. การนำเข้า เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ หนังดิบ นมและครีม รถยนต์และ
เครื่องบิน
--สรุปความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่าง ๆ, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย--
- เนื้อที่ (ตารางไมล์) 493,840
- จำนวนประชากร (ล้านคน) 15.60 (1992)
- เมืองหลวง PRAGUE
- เมืองธุรกิจ PRAGUE, BRATISLAVA, BRNO, MELNIK,
BOHEMIA
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจ (%) N.A.
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ N.A.
- อัตราเงินเฟ้อ 9.6 % (1994)
- รายได้เฉลี่ยต่อคน (เหรียญสหรัฐ) 15,888.0 (1991)
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา US$1 = 28.22 KCS (1994)
- ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ N.A.
- สินค้าส่งออกและนำเข้าที่สำคัญ - ส่งออก เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรใช้
ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง โลหะและ
เกษตรกรรม อุปกรณ์เครื่องสื่อสารโทร
คมนาคม รถไฟ รองเท้า
- นำเข้า อาหารสัตว์ ฝ้าย ปุ๋ย เศษเหล็ก
ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์เครื่องใช้ในสำนักงาน
เครื่องยนต์ยานพาหนะ
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ - ส่งออก เยอรมนี โปแลนด์ ออสเตรีย ฮังการี
ยูโกสลาเวีย อิตาลี ฝรั่งเศส
- นำเข้า เยอรมนี โปแลนด์ ออสเตรีย ฮังการี
สวิตเซอร์แลนด์ จีน
- ภาษา เช็กและสโลวัก อังกฤษ
- ศาสนา โรมันคาธอลิก
- เวลาแตกต่างจากไทย ช้ากว่า 6 ชั่วโมง
- ผู้นำประเทศ ประธานาธิบดี VACLEY HAVEL
หมายเหตุ : สถิติการค้าระหว่างไทย-เช็กและสโลวัก ยึดหลักสถิติการ ค้าของกรมศุลกากรเป็นหลัก
แต่ปัจจุบันเช็กและสโลวักได้แบ่งออกเป็น 2 ประเทศ แล้ว
II. ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย
ภาครัฐบาล
1. ความตกลงทางการค้าระหว่างไทยกับเช็กและสโลวัก ลงนามเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2521 ณ
กรุงปราก ต่อมาได้มีการจัดทำพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า
ลงนามเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2530
2. ความตกลงเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน เช็กและสโลวักได้เสนอจัดทำความตกลงเพื่อการยกเว้น
การเก็บภาษีซ้อนกับไทยโดยจัดคณะมาเจรจารอบแรกที่กรุงเทพฯ ระหว่าง 27 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม
2532 แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลง
3. ข้อตกลงเรื่องความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับเช็กและสโลวัก ลงนามเมื่อวันที่ 26
สิงหาคม 2534 ณ กรุงปราก
4. ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับเช็กและสโลวัก ลงนามเมื่อวันที่ 16
ตุลาคม 2534 แต่ยังรอการให้สัตยาบันสารจากรัฐสภาของเช็กและสโลวัก
5. ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกประเทศ ฝ่ายไทยปฎิบัติตามมติ ครม. 29 ธันวาคม 2535 รับรองการสืบสิทธิ
ดังกล่าว โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2536 และได้เสนอขอปรับถ้อยคำในความตกลงบาง
ประการ โดยเสนอร่างให้ฝ่ายพิจารณา กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
6. ปัจจุบันไทยกับเช็กได้จัดทำความตกลงทางการค้าฉบับใหม่ระหว่างไทยกับเช็ก เพื่อใช้แทนฉบับเดิม
ซึ่งได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537 ณ กรุงเทพฯ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม
2538
7. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า ครั้งที่ 2 (ครั้งล่าสุด) ตามความตกลงทางการค้าฉบับ
เดิมมีขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2534 ณ กรุงปราก
8. อนุสัญญายกเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทยกับเช็ก มีการลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537
ณ กรุงเทพฯ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538
ภาคเอกชน
1. ไม่มีความตกลงทางการค้าระหว่างกัน
III. ภาวะการค้ากับประเทศไทย
1. การส่งออก ในปี 2537 และปี 2538 ไทยส่งออกไปเช็กและสโลวักเป็นมูลค่า 930.8 ล้านบาท
และ 1,702.4 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.08 และ 0.1 ของมูลค่าการ
ส่งออกทั้งหมดของประเทศ
2. สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก กาแฟดิบ
อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เครื่องยกทรง รัดทรง และ
ส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี
3. การนำเข้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยนำเข้าจากเช็กและสโลวักเป็นมูลค่า 4,158.0
ล้านบาท และ 1,921.0 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.3 และ 0.1
ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของประเทศ
4. สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์นม เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม
เคมีภัณฑ์ อาวุธ กระสุน วัตถุระเบิดและส่วนประกอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด กระดาษและกระดาษแข็ง
แก้วและผลิตภัณฑ์ ผ้าผืน เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
5. ดุลการค้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยเสียเปรียบดุลการค้ามูลค่า 3,227.2 ล้านบาท และ
218.6 ล้านบาท ตามลำดับ
IV. ปัญหาทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย
1. ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับเช็กมาโดยตลอด เนื่องจากสินค้าที่ฝ่ายไทยนำเข้าจากเช็ก
ส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุน เช่น เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และ
เครื่องบิน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสั่งซื้อเครื่องบินฝึกของกองทัพอากาศไทยมูลค่ากว่า 3
ล้านบาท ซึ่งจะทะยอยมอบในปี 2536 - 2537 จะทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าจากเช็กเพิ่มขึ้นมาก
2. ภาคเอกชนของไทยยังขาดความมั่นใจในการบุกเบิกตลาดสินค้าในเช็ก เนื่องจากความเสี่ยงด้าน
การชำระเงิน ประกอบกับตลาดประเทศเช็กมีขนาดเล็ก มีประชากรประมาณ 10.5 ล้านคน ดังนั้น
ความสนใจตลาดเช็กของภาคเอกชนไทยจึงยังต้องได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมจากภาครัฐในรูปของการ
เผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยให้มากยิ่งขึ้น
3. ระบบช่องทางธุรกิจด้านห้างสรรพสินค้าในเช็กนั้น ได้รับอิทธิพลสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ
การนำเข้าสินค้าจะให้ความสำคัญกับประเทศหุ้นส่วน เช่น เยอรมัน ออสเตรีย สหรัฐ เป็นต้น ดังนั้น
การขยายตลาดสินค้าของไทยในรูปการสั่งซื้อรายใหญ่จึงทำได้ลำบาก
V. สินค้าที่ไทยมีลู่ทางขยายการส่งออก-นำเข้า
1. การส่งออก เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารทะเลกระป๋อง คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ
2. การนำเข้า เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ หนังดิบ นมและครีม รถยนต์และ
เครื่องบิน
--สรุปความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่าง ๆ, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย--