กรุงเทพ--24 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอเกี่ยวกับปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคอาเซียน (Declaration on the Elimination of Violence against Women in the ASEAN Region) ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 37 (37th ASEAN Ministerial Meeting) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
การลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคอาเซียนดังกล่าวถือเป็นก้าวสำคัญของอาเซียนในเรื่องการคุ้มครองสิทธิสตรี ซึ่งสาระสำคัญของปฏิญญาดังกล่าว ได้แก่ การส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคในการขจัดความรุนแรงในทุกรูปแบบต่อสตรีในอาเซียน ความร่วมมือในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรี การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ และระหว่างภาครัฐกับองค์กรพัฒนาเอกชน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน การสนับสนุนให้สตรีมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงขึ้น การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูและการกลับสู่สังคมของผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง มาตรการทางกฎหมายและการลงโทษผู้กระทำผิด
ในส่วนของไทยก็ได้ให้การสนับสนุนปฏิญญาดังกล่าวอย่างเต็มที่เนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายและการดำเนินการของประเทศไทย อีกทั้งในระดับระหว่างประเทศ ประเทศไทยยังให้การรับรองปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่ง (Beijing Declaration and Platform for Action) ในการประชุม 4th World Conference on Women ในปี 1995 ด้วย
ปฏิญญาดังกล่าวได้เน้นประเด็นที่น่าห่วงใยเกี่ยวกับสตรีทั้งหมด 12 ประเด็น ได้แก่ สตรีกับความยากจน สตรีและเศรษฐกิจ สตรีกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาและฝึกอบรมของสตรี สตรีและสุขภาพอนามัย ความรุนแรงต่อสตรี สตรีและความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ สตรีในอำนาจและการตัดสินใจ กลไกเชิงสถาบันเพื่อความก้าวหน้าของสตรี สิทธิมนุษยชนของสตรี สตรีกับสื่อมวลชน เด็กผู้หญิง
ในปี 2000 ได้มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษครั้งที่ 23 เรื่องสตรี 2000 : ความเสมอภาคทางเพศ พัฒนาการและสันติภาพสำหรับศตวรรษที่ 21 ( Women 2000: gender equality, development and peace for the twenty first century ) ซึ่งได้มีการทบทวนการปฏิบัติตามปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่ง และที่ประชุมรวมทั้งไทยก็ได้ให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอเกี่ยวกับปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคอาเซียน (Declaration on the Elimination of Violence against Women in the ASEAN Region) ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 37 (37th ASEAN Ministerial Meeting) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
การลงนามในปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคอาเซียนดังกล่าวถือเป็นก้าวสำคัญของอาเซียนในเรื่องการคุ้มครองสิทธิสตรี ซึ่งสาระสำคัญของปฏิญญาดังกล่าว ได้แก่ การส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคในการขจัดความรุนแรงในทุกรูปแบบต่อสตรีในอาเซียน ความร่วมมือในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรี การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ และระหว่างภาครัฐกับองค์กรพัฒนาเอกชน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน การสนับสนุนให้สตรีมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงขึ้น การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูและการกลับสู่สังคมของผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง มาตรการทางกฎหมายและการลงโทษผู้กระทำผิด
ในส่วนของไทยก็ได้ให้การสนับสนุนปฏิญญาดังกล่าวอย่างเต็มที่เนื่องจากสอดคล้องกับนโยบายและการดำเนินการของประเทศไทย อีกทั้งในระดับระหว่างประเทศ ประเทศไทยยังให้การรับรองปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่ง (Beijing Declaration and Platform for Action) ในการประชุม 4th World Conference on Women ในปี 1995 ด้วย
ปฏิญญาดังกล่าวได้เน้นประเด็นที่น่าห่วงใยเกี่ยวกับสตรีทั้งหมด 12 ประเด็น ได้แก่ สตรีกับความยากจน สตรีและเศรษฐกิจ สตรีกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาและฝึกอบรมของสตรี สตรีและสุขภาพอนามัย ความรุนแรงต่อสตรี สตรีและความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ สตรีในอำนาจและการตัดสินใจ กลไกเชิงสถาบันเพื่อความก้าวหน้าของสตรี สิทธิมนุษยชนของสตรี สตรีกับสื่อมวลชน เด็กผู้หญิง
ในปี 2000 ได้มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษครั้งที่ 23 เรื่องสตรี 2000 : ความเสมอภาคทางเพศ พัฒนาการและสันติภาพสำหรับศตวรรษที่ 21 ( Women 2000: gender equality, development and peace for the twenty first century ) ซึ่งได้มีการทบทวนการปฏิบัติตามปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่ง และที่ประชุมรวมทั้งไทยก็ได้ให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษดังกล่าว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-