กรุงเทพ--26 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล เกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานในเกาหลีใต้ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์แรงงาน
1.1 การว่างงาน ในปี 2541 เกาหลีใต้มีอัตราว่างงานสูงถึงร้อยละ 7.3 เนื่องจากประสบวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลกำหนดมาตรการรองรับ ได้แก่ การจ้างงานชั่วคราวโดยรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่น การช่วยเหลือด้านความเป็นอยู่ของผู้ว่างงานในฤดูหนาว และมาตรการเกี่ยวกับผู้ว่างงานที่มีการศึกษาสูง
1.2 การปลดคนงาน รัฐบาลเกาหลีใต้ได้แก้ไขกฎหมาย Labour Standard Act เมื่อกุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการปรับโครงสร้างภาคธุรกิจ และสร้างความยืดหยุ่นให้กับตลาดแรงงานโดยอนุญาตให้นายจ้างปลดคนงานได้ง่ายขึ้น (เดิมนายจ้างปลดคนงานได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบหรือยินยอมจากสหภาพแรงงาน ซึ่งโดยข้อเท็จจริงคือนายจ้างไม่สามารถปลดคนงานได้เลย) ทำให้มีการปลดคนงานและลดการจ้างงานในรูปอื่น (เช่น แนะนำให้ลาออก หรือเกษียณอายุก่อนกำหนด) รวม 12,509 คน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง ตุลาคม 25411.3 การลดค่าจ้าง ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ตุลาคม 2541 อัตราค่าจ้างเฉลี่ย (average wage) ลดลงร้อยละ 7.1 ซึ่งต่ำสุดในรอบสิบปี ส่วนค้าจ้างจริง (real wage) ลดลงร้อยละ 10.2 เนื่องจาก บริษัทต่างอ้างการปรับโครงสร้างและปัญหาการปรับสภาพคล่องเพื่อคงระดับค่าจ้างหรือลดค่าจ้าง
2. ความต้องการแรงงานต่างชาติเกาหลีใต้ยังไม่เปิดตลาดแรงงานสำหรับชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการบรรเทาภาวะขาดแคลนแรงงานในประเทศตั้งแต่ปี 2536 รัฐบาลได้เลี่ยงกฎหมายโดยใช้ระบบ “ผู้ฝึกงานทาง อุตสาหกรรม” (industrial trainee) โดยผู้ฝึกงานเหล่านี้ได้รับเพียงค่าจ้างขั้นต่ำและค่าล่วงเวลาและได้งานที่ชาวเกาหลีไม่ต้องการทำ Labour Standard Act ที่แก้ไขใหม่ อนุญาตให้ผู้ฝึกงานทางอุตสาหกรรมที่ทำงานครบสองปีและนายจ้างให้การรับรองสามารถขอเปลี่ยนสถานะเป็นคนงานปกติได้ ทั้งนี้เพื่อลดแรงกดดันให้เปิดตลาดแรงงาน แต่การปฏิบัติมีความยุ่งยากมาก
3. ความต้องการแรงงานไทยผู้ฝึกงานทางอุตสาหกรรมของไทยเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้ตามความต้องการของ 2 หน่วยงานคือ
3.1 สมาพันธ์ธุรกิจขนาดเล็ก (Korean Federation of Small Business-KFSB) จัดสรรโควต้าโดยให้บริษัทไทยเลเบอร์ซัพพลาย จำกัด ดำเนินการส่งคนงานไทยเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้ได้ไม่เกิน 1,500 คน หากส่งคนงานไม่ครบ 1,500 คน หรือคนงานกลับก่อนหมดสัญญา บริษัทฯสามารถส่งคนงานทดแทนได้ แต่บริษัทไม่สามารถส่งคนงานทดแทนคนงานที่หนีสัญญา สำหรับจำนวนผู้ฝึกงานทางอุตสาหกรรมไทยของ KFSB เมื่อสิ้นปี 2541 มี 860 คน แต่ต้นปี 2542 มีแรงงานทยอยเข้าไปเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง
3.2 สมาคมก่อสร้างเกาหลี (Construction Association of Korea-CAK) จัดสรรโควต้าสำหรับคนงานไทย 1,459 คน เพื่อทำงานในโครงการก่อสร้างสำคัญ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสนามบินนานาชาติอินชอน 1,059 คน โครงการรถไฟความเร็วสูง 200 คน และโครงการโรงไฟฟ้าปรมาณู จำนวนผู้ฝึกงานทางอุตสาหกรรมที่เข้าไปทำงานแล้วขณะนี้มีทั้งสิ้น 469 คน เป็นแรงงานไทย 364 คน โดยผู้ฝึกงานได้รับค่าจ้างร้อยละ 45-76 ของรายได้ของคนงานเกาหลี
กล่าวโดยสรุป เกาหลีใต้ได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจมาตลอดปี 2541 และเพิ่งมีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัว แต่อัตราคนว่างงานสูงมาก ดังนั้น โอกาสที่รัฐบาลเกาหลีใต้จะเปิดตลาดแรงงานเสรีให้คนต่างชาติคงเป็นไปได้ยาก การส่งแรงงานไทยไปเกาหลีใต้คงกระทำได้เฉพาะที่เป็นผู้ฝึกงานตามโควต้า ซึ่งขณะนี้ยังมีผู้ฝึกงานต่างชาติทำงานไม่เต็มตามโควต้า ทั้งนี้คนงานไทยที่ประสงค์จะไปทำงานในเกาหลีใต้ควรตรวจสอบกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมการจัดหางาน ก่อนออกเดินทาง เพราะขณะนี้เกาหลีใต้ไม่มีความต้องการแรงงานต่างชาติมากนัก และนายจ้างที่รับคนงานต่างชาติผิดกฎหมายเข้าทำงานในขณะนี้ส่วนมากหลอกลวงให้คนงานทำงานอย่างหนักและไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้าง--จบ--
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล เกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานในเกาหลีใต้ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์แรงงาน
1.1 การว่างงาน ในปี 2541 เกาหลีใต้มีอัตราว่างงานสูงถึงร้อยละ 7.3 เนื่องจากประสบวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลกำหนดมาตรการรองรับ ได้แก่ การจ้างงานชั่วคราวโดยรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่น การช่วยเหลือด้านความเป็นอยู่ของผู้ว่างงานในฤดูหนาว และมาตรการเกี่ยวกับผู้ว่างงานที่มีการศึกษาสูง
1.2 การปลดคนงาน รัฐบาลเกาหลีใต้ได้แก้ไขกฎหมาย Labour Standard Act เมื่อกุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการปรับโครงสร้างภาคธุรกิจ และสร้างความยืดหยุ่นให้กับตลาดแรงงานโดยอนุญาตให้นายจ้างปลดคนงานได้ง่ายขึ้น (เดิมนายจ้างปลดคนงานได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบหรือยินยอมจากสหภาพแรงงาน ซึ่งโดยข้อเท็จจริงคือนายจ้างไม่สามารถปลดคนงานได้เลย) ทำให้มีการปลดคนงานและลดการจ้างงานในรูปอื่น (เช่น แนะนำให้ลาออก หรือเกษียณอายุก่อนกำหนด) รวม 12,509 คน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง ตุลาคม 25411.3 การลดค่าจ้าง ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ตุลาคม 2541 อัตราค่าจ้างเฉลี่ย (average wage) ลดลงร้อยละ 7.1 ซึ่งต่ำสุดในรอบสิบปี ส่วนค้าจ้างจริง (real wage) ลดลงร้อยละ 10.2 เนื่องจาก บริษัทต่างอ้างการปรับโครงสร้างและปัญหาการปรับสภาพคล่องเพื่อคงระดับค่าจ้างหรือลดค่าจ้าง
2. ความต้องการแรงงานต่างชาติเกาหลีใต้ยังไม่เปิดตลาดแรงงานสำหรับชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการบรรเทาภาวะขาดแคลนแรงงานในประเทศตั้งแต่ปี 2536 รัฐบาลได้เลี่ยงกฎหมายโดยใช้ระบบ “ผู้ฝึกงานทาง อุตสาหกรรม” (industrial trainee) โดยผู้ฝึกงานเหล่านี้ได้รับเพียงค่าจ้างขั้นต่ำและค่าล่วงเวลาและได้งานที่ชาวเกาหลีไม่ต้องการทำ Labour Standard Act ที่แก้ไขใหม่ อนุญาตให้ผู้ฝึกงานทางอุตสาหกรรมที่ทำงานครบสองปีและนายจ้างให้การรับรองสามารถขอเปลี่ยนสถานะเป็นคนงานปกติได้ ทั้งนี้เพื่อลดแรงกดดันให้เปิดตลาดแรงงาน แต่การปฏิบัติมีความยุ่งยากมาก
3. ความต้องการแรงงานไทยผู้ฝึกงานทางอุตสาหกรรมของไทยเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้ตามความต้องการของ 2 หน่วยงานคือ
3.1 สมาพันธ์ธุรกิจขนาดเล็ก (Korean Federation of Small Business-KFSB) จัดสรรโควต้าโดยให้บริษัทไทยเลเบอร์ซัพพลาย จำกัด ดำเนินการส่งคนงานไทยเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้ได้ไม่เกิน 1,500 คน หากส่งคนงานไม่ครบ 1,500 คน หรือคนงานกลับก่อนหมดสัญญา บริษัทฯสามารถส่งคนงานทดแทนได้ แต่บริษัทไม่สามารถส่งคนงานทดแทนคนงานที่หนีสัญญา สำหรับจำนวนผู้ฝึกงานทางอุตสาหกรรมไทยของ KFSB เมื่อสิ้นปี 2541 มี 860 คน แต่ต้นปี 2542 มีแรงงานทยอยเข้าไปเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง
3.2 สมาคมก่อสร้างเกาหลี (Construction Association of Korea-CAK) จัดสรรโควต้าสำหรับคนงานไทย 1,459 คน เพื่อทำงานในโครงการก่อสร้างสำคัญ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสนามบินนานาชาติอินชอน 1,059 คน โครงการรถไฟความเร็วสูง 200 คน และโครงการโรงไฟฟ้าปรมาณู จำนวนผู้ฝึกงานทางอุตสาหกรรมที่เข้าไปทำงานแล้วขณะนี้มีทั้งสิ้น 469 คน เป็นแรงงานไทย 364 คน โดยผู้ฝึกงานได้รับค่าจ้างร้อยละ 45-76 ของรายได้ของคนงานเกาหลี
กล่าวโดยสรุป เกาหลีใต้ได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจมาตลอดปี 2541 และเพิ่งมีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัว แต่อัตราคนว่างงานสูงมาก ดังนั้น โอกาสที่รัฐบาลเกาหลีใต้จะเปิดตลาดแรงงานเสรีให้คนต่างชาติคงเป็นไปได้ยาก การส่งแรงงานไทยไปเกาหลีใต้คงกระทำได้เฉพาะที่เป็นผู้ฝึกงานตามโควต้า ซึ่งขณะนี้ยังมีผู้ฝึกงานต่างชาติทำงานไม่เต็มตามโควต้า ทั้งนี้คนงานไทยที่ประสงค์จะไปทำงานในเกาหลีใต้ควรตรวจสอบกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมการจัดหางาน ก่อนออกเดินทาง เพราะขณะนี้เกาหลีใต้ไม่มีความต้องการแรงงานต่างชาติมากนัก และนายจ้างที่รับคนงานต่างชาติผิดกฎหมายเข้าทำงานในขณะนี้ส่วนมากหลอกลวงให้คนงานทำงานอย่างหนักและไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้าง--จบ--