กรุงเทพ--24 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ศกนี้ ว่า ประธานาธิบดีคลินตันแห่งสหรัฐฯ ได้ลงนามในร่างกฎหมาย Tax Extender Bill (H.R.1180) ซึ่งมีผลให้ร่างกฎหมายต่ออายุโครงการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยฉบับใหม่ที่ผนวกอยู่กับร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้รับการต่ออายุออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 หรือเป็นเวลา 27 เดือน โดยจะมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ผู้นำเข้าสามารถยื่นขอคืนภาษีนำเข้า ที่ได้ชำระแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปการที่สหรัฐฯ ต่อ GSP ให้แก่ประเทศไทยและเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นใน ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการโน้มน้าวของบุคคลระดับสูงของไทยให้สหรัฐฯ ตระหนักถึงความสำคัญของ GSP ในการส่งออกสินค้าของไทยอันจะนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ต่อไป
อนึ่ง สหรัฐฯ ได้เริ่มให้สิทธิ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2519 โดยสิ้นสุดไปแล้ว 5 โครงการ ซึ่งในสองโครงการสุดท้ายสหรัฐฯ ต่ออายุ GSP ให้คราวละประมาณ 1 ปีเท่านั้น โครงการต่ออายุ GSP ครั้งใหม่นี้จึงเป็นโครงการที่ 6 และมีระยะเวลายาวนานขึ้นคือ 2 ปี 3 เดือน ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่ใช้สิทธิ GSP มากที่สุด รองลงมาคือ บราซิล อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และอินเดียตามลำดับ สินค้าไทยที่ได้รับสิทธิ GSP มีจำนวน ประมาณ 4500 รายการคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทสินค้าอุตสาหกรรมคือประมาณ 1700 รายการ สินค้าส่งออกของไทยภายใต้สิทธิ GSP ที่สำคัญได้แก่ จอภาพสีคอมพิวเตอร์ เครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะ กรอบรูปไม้ พัดลม เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมเครื่องเล่นวีดีทัศน์ ภาชนะหุงต้มและเครื่องครัวอื่นๆ และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น--จบ--
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ศกนี้ ว่า ประธานาธิบดีคลินตันแห่งสหรัฐฯ ได้ลงนามในร่างกฎหมาย Tax Extender Bill (H.R.1180) ซึ่งมีผลให้ร่างกฎหมายต่ออายุโครงการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยฉบับใหม่ที่ผนวกอยู่กับร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้รับการต่ออายุออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 หรือเป็นเวลา 27 เดือน โดยจะมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ผู้นำเข้าสามารถยื่นขอคืนภาษีนำเข้า ที่ได้ชำระแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปการที่สหรัฐฯ ต่อ GSP ให้แก่ประเทศไทยและเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นใน ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการโน้มน้าวของบุคคลระดับสูงของไทยให้สหรัฐฯ ตระหนักถึงความสำคัญของ GSP ในการส่งออกสินค้าของไทยอันจะนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ต่อไป
อนึ่ง สหรัฐฯ ได้เริ่มให้สิทธิ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2519 โดยสิ้นสุดไปแล้ว 5 โครงการ ซึ่งในสองโครงการสุดท้ายสหรัฐฯ ต่ออายุ GSP ให้คราวละประมาณ 1 ปีเท่านั้น โครงการต่ออายุ GSP ครั้งใหม่นี้จึงเป็นโครงการที่ 6 และมีระยะเวลายาวนานขึ้นคือ 2 ปี 3 เดือน ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่ใช้สิทธิ GSP มากที่สุด รองลงมาคือ บราซิล อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และอินเดียตามลำดับ สินค้าไทยที่ได้รับสิทธิ GSP มีจำนวน ประมาณ 4500 รายการคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทสินค้าอุตสาหกรรมคือประมาณ 1700 รายการ สินค้าส่งออกของไทยภายใต้สิทธิ GSP ที่สำคัญได้แก่ จอภาพสีคอมพิวเตอร์ เครื่องรูปพรรณทำด้วยโลหะ กรอบรูปไม้ พัดลม เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมเครื่องเล่นวีดีทัศน์ ภาชนะหุงต้มและเครื่องครัวอื่นๆ และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น--จบ--