คือในประเด็นพ.ร.ก.ที่ทางพรรคฝ่ายค้าน ได้ออกมาแถลงหรือพูดจาในทำนองที่ไม่เห็นด้วยนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าที่ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยประเด็นไหน ที่มันชัดเจน เราต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าทั้ง 4 ฉบับเป็นการ แก้ไขปัญหาของประเทศ วันนี้เราไม่สามารถจะพูดได้ว่าเราแก้ปัญหาให้คนรวย หรือแก้ปัญหาให้คนจน แต่เราต้องแก้ไข ปัญหาให้ประเทศทั้งประเทศให้คนไทยทุกคน เพราะปัญหาของบ้านเราวันนี้ถ้าเราไปพูดว่าแก้ให้คนจนหรือแก้ให้คนรวย ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่เพราะว่าปัญหาในขณะนี้มันไม่ได้เป็นปัญหาของคนจนหรื อคนรวย มันเป็นปัญหาของทุกคนที่เป็นคน ไทย เป็นปัญหาของระบบในประเทศเราขณะนี้ เพราะฉะนั้นต้องยอมรับว่า ณ วันที่พรรคประชาธิปัตย์เข้ามารับหน้าที่ใน การเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ บ้านเมืองมันแทบจะไม่เหลืออะไรอยู่แล้ว ผมไม่อยากจะบอกว่าเป็นผลของการบริหารของ ใครแต่ความเป็นจริงคือ ณ วันนั้นคือแทบจะไม่เหลืออะไรอยู่แล้ว เราก็มาดูว่าปัญหาที่มันเกิดขึ้นมันมีปัญหาอยู่ 2 เรื่อง
ปัญหาเรื่องที่ 1 ก็คือปัญหาเรื่องของเสถียรภาพความมั่นคงของอัตราแลกเปลี่ยน ตรงนี้เป็นปัญหาเรื่องของเครดิตของ ประเทศ เป็นเครดิตเรื่องของความเชื่อมั่น
ปัญหาเรื่องที่ 2 ก็คือเรื่องปัญหาสภาพคล่อง 2 ปัญหาที่เป็นอยู่ เพราะฉะนั้นที่เราต้องเร่งแก้ไขก็คือเร่งแก้ไขทั้ง 2 ปัญหานี้ ปัญหาก็คือว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องเสถียรภาพความมั่นคงของค่าเงินซึ่งนำมาซ ึ่งเครดิตของประเทศนั้นจะต้อง แก้ด้วยอะไรตรงนี้ก็ต้องแก้ที่เรื่องของทุนสำรองเพราะว่าสาเหตุของปัญหานี ้มาจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่จัด การบริการในช่วงที่ผ่านมาในอดีตนั้นมีการนำไปใช้จ่ายกันจนเกินขอบเขตที่จำ กัด เลยเป็นต้นเหตุที่ทำให้เรามีปัญหา เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนส่วนเรื่องปัญหาสภาพคล่องนั้นเป็นปัญหาหนึ่งเกิดจาก ผลสืบเนื่องจากการที่ทุนสำรองระหว่าง ประเทศร่อยหรอลงไปเรื่อย ประการที่ 2 ก็มาจากสาเหตุที่กองทุนฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน นำเงินในระบบ สถาบันการเงินทั้งหมดไปใช้ในการที่ช่วยเหลือสถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิช ย์ และไฟแนนซ์ ตรงนี้ต้องยอมรับว่าการ แก้ไขในเรื่องของเสถียรภาพ ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งจะนำมาด้วยเครดิตของประเทศกลับคืนมาได้นั้นวันนี้เ รามีไอเอ็มเอฟ เข้ามาที่จะมาให้กู้เพื่อจะมาสบทบทุนสำรองระหว่างประเทศ และก็เพื่อจะฟื้นตัวในเรื่องของทุนสำรอง แต่ว่าเงินทุนของ ไอเอ็มเอฟนั้นเขาไม่ได้ให้เอาไปทำอย่างอื่น เขาไม่ได้ให้เราเอาไปปล่อยกู้ก่อน หรือเสริมสภาพคล่อง มาแก้ปัญหาสังคม ปัญหาของเครดิต หรือเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศ คือให้เอามานอนไว้ในทุนสำรองอย่างเดียว ซึ่งการแก้ไขปัญหา สภาพคล่องนั้นก็ต้องมีรายได้ 2 อัน 1. เราหารายได้ของเราเข้ามา ซึ่งต้องใช้เวลายาว แต่ถ้าหากว่าต้องใช้เวลายาวแล้วไม่ทัน การมันก็ต้องแก้ วิธีที่ 2. คือกู้ยืมเงิน เพราะดังนั้นเราจะกู้ยืมเงินแต่เราไม่มีเครดิต ใครจะให้กู้ นี่พูดถึงระดับประเทศ ดังนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลจะต้องเร่งในเรื่องของการสร้าง เสถียรภาพของความมั่นคง ในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนและเครดิตของ ประเทศ ซึ่งวันนี้ถ้าพี่น้องประชาชนติดตามผลงานก็จะเห็นว่าเราสามารถทำตรงนี้ ในระดับที่น่าพอใจ วันนี้อัตราแลก เปลี่ยนค่อนข้างที่จะคงที่ และประการที่ 2 เครดิตของประเทศกลับคืนมาเยอะ เพราะฉะนั้นตรงนี้ เราคิดว่าเรามีความมั่นใจ ในเรื่องของเครดิตในประเทศที่กลับมาในระดับหนึ่งแล้ว เรามั่นใจเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเวลานี้มันไม่ผันผวนมากแล้ว ต่างประเทศก็มีความมั่นใจ เราจึงมั่นใจว่าตอนนี้ถึงเวลาที่เราจะสามารถกู้ยืมใครเขาเข้ามาเสริมสภาพค ล่องได้แล้ว ปัญหาก็ คือว่าจะทำอย่างไรในการเสริมสภาพคล่อง ปัญหาตรงนี้อย่างที่บอกไว้แล้วว่าปัญหาในประเทศมี 2 เรื่อง เรื่องเอกภาพ เรื่องความมั่นคง เรื่องการแลกเปลี่ยน เมื่อสักครู่เรื่องของไอเอ็มเอฟ เรื่องของกองทุน ทุนสำรองระหว่างประเทศที่หมดไป วันนี้เราทำได้ดีขึ้น แต่ตรงนี้ยังไม่ช่วยสภาพคล่อง ที่ยังไม่ช่วยสภาพคล่องก็เพราะว่ายังไม่มีเงินไหลเข้ามาเพียงพอ ในขณะ เดียวกันเงินที่ไหลเข้ามาอย่างเพียงพอนั้นถูกดูดโดยกองทุนฟื้นฟูฯ ถามว่าทำไมถูกดูดไปโดยกองทุนฟื้นฟู ฯ ปัญหาสภาพ คล่องที่เกิดขึ้นในประเทศเรานี้สาเหตุหลักจริง ๆ ก็มาจากกองทุนฟื้นฟู ที่นำเงินในระบบไปใช้ สะสมกันมานาน แต่มาใช้ หนักที่สุดก็คือ ครึ่งหลังของปี 40 หนักมาก กองทุนฟื้นฟูใช้เงินไปทั้งสิ้นประมาณ 8 แสนกว่าล้านบาท ใน 8 แสนกว่าล้าน บาทเป็นเงินซึ่งกู้หนี้ยืมสินที่กองทุนกู้หนี้ยืมสินจากภาคเอกชนประมาณ 4 แสนกว่าล้าน ใน 4 แสนกว่าล้านเป็นเงินที่กู้ หนี้ยืมสินในระบบสถาบันการเงินของไทยในประเทศ คือธนาคารพาณิชย์ กับ ไฟแนนซ์ 2 ใน 3 ส่วนของยอดนี้ ก็คือ ประมาณ 3 แสนกว่าล้าน เพราะฉะนั้นเงินในระบบมันถูกดูดไปแล้ว 3 แสนกว่าล้าน ในขณะเดียวกันวันนี้ที่ว่าใช้ไป 8 แสนกว่าล้านใช้ไปขาดทุนแน่นอนประมาณ 4 แสนกว่าล้าน ขาดทุนหมายความว่าหนี้สูญ เพราะว่าปิดไป 56 แห่งแล้ว หนี้ สูญก็กลายเป็นว่ากองทุนจะเอาเงินที่ไหนมาใช้คืนระบบ นี่เป็นประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 ก็คือว่าในขณะที่ต้องหาเงินมาใช้ คืนระบบกองทุนฟื้นฟูต้องจ่ายเงิน ดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ตัวเองไปกู้หนี้ยืมสิน ก็ต้องวิ่งหาเงินกู้ระยะยาว ก็คือไปกู้จากระบบ โดยเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูง ตรงนี้แหละครับคือต้นเหตุของอัตราดอกเบี้ยและสภาพคล่องในปัจจุบัน ถามว่าจะแก้อย่างไรแก้ได้ถ้ากองทุนหยุดที่จะไปดูดเงินในระบบ แต่วันนี้กองทุนหยุดดูดเงินจากในระบบไม่ได้เพราะเจ้า หนี้ส่วนใหญ่ของกองทุนอยู่ในภาคเอกชนในระบบปกติ เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรให้กองทุนหลุดออกจากระบบปกติ ก็คือต้องเปลี่ยนให้กองทุนมาเป็นหนี้รัฐบาล ถามว่าแล้วจะเป็นหนี้รัฐบาลได้ รัฐบาลก็ต้องเอาเงินไปใช้หนี้เอกชนแทนกอง ทุนเพื่อเปลี่ยนหนี้จากกองทุนมาเป็นหนี้รัฐบาล เพื่อที่กองทุนจะไม่เข้าไปยุ่งกับระบบปกติของประชาชน ในระบบของ สถาบันการเงินไม่ไปแย่งการกู้เงินจากประชาชน ตรงนี้ก็คือว่าเราต้องออก พ.ร.ก.ออกมา เพื่อที่จะให้รัฐบาลฉบับที่
1.กู้เงิน ให้เงินก้อนนี้พูดกันภาษาชาวบ้านก็คือกู้เหมือนกับไอเอ็มเอฟ แต่กู้ไอเอ็มเอฟเขาไม่ให้มายุ่งเรื่องอื่น เรากู้มา เพื่อจะส่งเข้าไปในระบบเสริมสภาพคล่องคือกู้มาเอามาช่วยเสริมความมั่นคง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ คือกู้มาแล้วก็ปล่อยไป ให้แบงก์ของรัฐเอาไปปล่อยต่อให้ประชาชนในภาค ที่เราจะวางกฎเกณฑ์ไว้ เช่น ภาคเกษตรอุตสาหกรรม การค้าการลง ทุน โดยผ่านธนาคารก็เท่ากับว่าเอาเงินเข้ามาในระบบเพื่ออัดฉีด
ฉบับที่ 2 ก็คือว่าเราจะให้กองทุนกู้ยืมจากรัฐบาลเพื่อที่จะเอาไปคืนหนี้เก่ากับภาคเ อกชน ซึ่งเป็นหนี้ระยะสั้น แล้วมา เป็นลูกหนี้รัฐบาลในระยะยาว กองทุนก็ไม่ต้องวิ่งหาเงินเพื่อชำระหนี้ระยะสั้นในอัตราที่สูง กองทุนก็ไม่ต้องไปแย่งคน จากประชาชนในระบบ ในขณะเดียวกัน ตรงนี้มีเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบัน การเงินปล่อยเงินกู้ให้กับภาคเอกชนตามปกตินั้น
1.ความเสี่ยงสูง
2.ทุกบาททุกสตางค์ที่ปล่อยกู้เพิ่มจะต้องกันทุนสำรองของธนาคาร หรือสถาบันการเงินนั้นเพิ่มสูงขึ้น ตรงนี้แหละครับ ที่กองทุนเข้ามาแทรก ที่ว่า
1.การปล่อยเงินกู้ให้แก่กองทุนนั้นไม่ต้องกันทุนสำรองให้แก่ระ บบ
2.ความมั่นคงในขณะนี้มีมากกว่า
3.กองทุนเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูง เพราะฉะนั้นสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์จึงหันไปปล่อยกู้กองทุนทั้งหมด
ตรงนี้แหละเราถึงต้องคืนเงินกู้ให้กับภาคเอกชน และเอากองทุนให้กลับมาเป็นหนี้ และรับผิดชอบจ่ายเงินให้กับ
รัฐบาล ถ้าหากเราแก้ 2 จุดนี้ได้ก็มั่นใจว่าสภาพคล่องต้องดีขึ้น
2. ธนาคารพาณิชย์ ไม่ต้องมาปล่อยกู้ให้กองทุนอีกแล้ว เพราะกองทุนไม่จำเป็นต้องไปขอกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ หรือว่าสถาบันการเงิน เพราะฉะนั้นสถาบันการเหล่านี้รวมถึงธนาคารพาณิชย์ก็ต้องทำธุรกิจตอบ เมื่อกองทุนซึ่งเป็นตัว หลักในช่วงที่ผ่านมาตลอดเป็นลูกค้ารายสำคัญ ณ ขนาดนี้ เป็นตัวดูด พูดกันง่าย ๆ หยุดกู้แล้วก็ต้องหันมาปล่อยกู้ให้ภาค เอกชนตามปกติ นี่คือเนื้อหาสาระของพระราชกำหนดที่สำคัญ 2 ใน 4 ส่วนอีก 2 ฉบับที่เหลือก็คือ
ฉบับที่ 3 เป็นเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขให้กองทุนฟื้นฟู สามารถเฉลี่ยหนี้ เฉลี่ยทรัพย์จากสถาบันการเงินที่ถูกปิดไป แล้ว และต่อไปอาจจะต้องล้มละลาย ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีตรงนี้ออกมา การที่สถาบันการเงินคือกองทุนฟื้นฟูได้สละหลัก ประกันไป ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการออก พ.ร.ก. ของรัฐบาลที่แล้ว ก่อนที่จะพ้นสภาพไป 6 ฉบับที่แล้วนั้น ก็จะทำให้ กองทุนฟื้นฟูหมดสภาพ ไม่สามารถมาเฉลี่ยหนี้สูญ เราก็ต้องออกตรงนี้มาว่าถึงแม้สละหลักประกันไปแล้ว ก็ให้มีสิทธิ์เฉลี่ย หนี้ได้ เพราะฉนั้นจะเห็นได้ว่ารัฐบาล ไม่ใช่ไปช่วยใคร อันสุดท้ายเป็นเรื่องของ บบส. ก็เช่นเดียวกัน รัฐบาลที่แล้วออก พ.ร.ก. 6 ฉบับสุดท้ายให้ บบส. ทำหน้าที่แต่ไม่ให้เงินเขา ให้มีเงินทุนจดทะเบียนพันล้าน แต่ไม่มีอำนาจเพิ่มหรือกู้เงินมาอีก เมื่อเป็นอย่างนี้เวลามีปัญหาก็คือ บบส.ไม่มีกำลังที่จะมาซื้อทรัพย์สินหรือช่วย manager ปัญหาต่าง ๆ กับ บบส. เราก็ต้องออก ฉบับสุดท้ายมา มีคำถามอีกคำถามหนึ่งว่าทำไมต้องช่วยกองทุนฟื้นฟู ปล่อยให้ล้มได้ไหม ไม่ได้ ถามว่าทำไม ก็เพราะว่าวันนี้ อย่างที่บอก หนี้ 8 แสนกว่าล้านของกองทุนฟื้นฟู ประมาณ 3 แสนกว่าล้านนั้นเป็นหนี้ภาคเอกชน ถ้าล้มไปก็แปลว่าสถาบัน การเงินของไทยและธนาคารพาณิชย์ต้องล้มทั้งระบบตามไปด้วย อันที่สองหนี้ภาคเอกชนใน 4 แสนล้านที่ว่านั้น ที่เหลือ อีกประมาณแสนกว่าล้านเป็นหนี้ภาคเอกชนต่างประเทศเพราะฉะนั้นถ้าหากว่าล้มไ ป เครดิตของประเทศที่สร้างมาแล้วที่ดี วันดีคืนดีขึ้นมาแล้วก็ต้องล้มไปอีก แล้วท้ายที่สุดกองทุนเป็นหนี้เป็นหน่วยงานที่ทาง ธปท.ต้องรับผิดชอบ เมื่อกองทุนล้ม ธนาคารชาติก็ต้องล้มตาม เมื่อนั้นก็แปลว่าประเทศของเราต้องล้มทั้งประเทศ ระบบสถาบันการเงินแม้แต่ค่าเงินของเรา จะไม่มีค่ามีความหมายอะไรแม้แต่บาทเดียว เพราะฉะนั้นวันนี้ปัญหาและภาระของกองทุนฟื้นฟูมันใหญ่เกินกว่าจะบอกว่า ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล ไม่ใช่เรื่องของคนจน ไม่ใช่เรืองของคนรวย วันนี้ปัญหาทั้งหมดมันเกี่ยวโยง มัน Link กันทั้งระบบ เป็นลูกโซ่ เกี่ยวพันกันหมด ไม่ใช่เรื่องของคนนั้น ไม่ใช่เรื่องของคนนี้ แต่วันนี้เป็นเรื่องของคนไทยทั้งประเทศ เราจะบอก ว่าเราไม่มีส่วน คนโน้นทำคนนี้ทำไม่ได้ เป็นเรื่องของความเป็นจริง พวกเราทุกคนต้องมีส่วน แต่ถามว่าวันนี้ทำไมเราต้องมา ช่วยกันฟื้น เพราะถึงแม้เราไม่มีส่วนในการทำความผิดหรือมีส่วนร่วมในการกระทำ แต่เรามีส่วนในการเป็นหุ้นส่วนของ ประเทศไทย เราจะมาเกี่ยงงอนว่าคนนั้นทำฉันไม่เกี่ยว คนนี้ทำฉันไม่ผิด ไม่ได้ เพราะวันนี้ถ้าประเทศล้ม ถ้าเราไม่เกี่ยวเรา ก็ต้องล้มตาม และนี่คือปัญหาที่รัฐบาลนี้ต้องแก้ไข ทั้งหมดก็สืบเนื่องมาจากที่เราไม่ได้ทำ แต่เราเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น มาแล้วเท่านั้นเอง
อย่างที่บอกเมื่อกี๊ว่า การจัดเสริมสภาพคล่องหรือการที่จะทำอะไร วันนี้รัฐบาลต้องกู้ การที่รัฐบาลไปกู้เงินมาก็แปลว่า รัฐบาลเป็นหนี้ ซึ่งรัฐบาลต้องใช้หนี้ ปัญหาก็คือว่าเราจะใช้หนี้อย่างไร การใช้หนี้ก็ต้อง
1. หารายได้มาใช้หนี้เขา
2. ทรัพย์สินที่คิดว่าจะขายได้ก็ต้องขายไป และก็ต้องใช้หนี้เขา เพราะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่วนหนึ่ง ก็อาจจะต้องเอา ประกันชำระหนี้ แต่ว่าไม่ใช่ขายไป 100 บาทต้องเอาไปชำระหนี้ 100 บาท ทุกวันนี้ผมเข้าใจว่า ในวันนี้ รมว.คลังก็จะนำ หลักเกณฑ์ในเรื่องของการที่จะเอาเงินจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปใช้ทำอะไรไ ด้บ้าง ถ้าจำไม่ผิด มันจะแบ่งเป็นส่วน ๆ ส่วนหนึ่งก็คือเอาไปเป็นเรื่องของสวัสดิการของพนักงาน อันที่ 2 คือในเรื่องของการที่จะเอาไปส่งเข้าคลัง เอาไปพัฒนา ประเทศไทยอีก และอีกส่วนหนึ่งถึงจะเอามาชำระหนี้ เพราะฉะนั้นแบ่งเป็นส่วน ๆ อยู่แล้ว วันนี้เป็นวันที่ทุกคนต้องหัน หน้าเข้าหากัน และก็ร่วมมือร่วมใจกันฟื้นประเทศ เราจะบอกว่านี่คนจน นั่นคนรวย ฉั นทำ อย่างนี้ คน นั้นทำอย่างนั้น คนนั้นทำพัง ฉันไม่ไ ด้ทำ ไม่ได้ ถ้าพูด อย่างนั้น วันนี้เราก็ต้องไม่ต้องทำอะไรเหมือนกัน เพราะว่าปัญหาที่พังทั้งประเทศ ประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำ ถ้าคิดอย่างนี้วันนี้ก็ไม่ใช่หน้าที่เหมือนกัน แต่ถามว่าทำไมเราต้องทำ เพราะวันนี้เราเป็นส่วนหนึ่ง ของประเทศไทยแล้ว เราจะมาบอกว่าชวลิตทำไว้ หวังใหม่ทำไว้ ประชาธิปัตย์ไม่เกี่ยว เพราะฉะนั้นคุณทำไว้คุณเข้ามาแก้ ถ้าแน่จริงคุณลาออกไปทำไมเราพูดอย่างนี้ได้ไหม ไม่ได้ เป็นเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน มันเป็นภาระกิจเดียวของพวกเรา ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านหรือรัฐบาล จะเป็นคนจนคนรวย จะเป็นข้าราชการหรือประชาชน ทุกคนมีอย่าง เดียวทุกคนร่วมกันฟื้นประเทศให้ได้ เราจะมาบอกว่าคนนั้นทำคนนี้ทำไม่ได้ มันเป็นความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะฉะนั้นผมอยากจะเรียนว่า การที่รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. 4 ฉบับ ขึ้นมาก็เพื่อจะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ อยาก จะเรียนว่าขอให้ทำความเข้าใจและฟังคำชี้แจงของ รัฐมนตรีคลังในการประชุมสภา เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น นะ ครับ--จบ--
ปัญหาเรื่องที่ 1 ก็คือปัญหาเรื่องของเสถียรภาพความมั่นคงของอัตราแลกเปลี่ยน ตรงนี้เป็นปัญหาเรื่องของเครดิตของ ประเทศ เป็นเครดิตเรื่องของความเชื่อมั่น
ปัญหาเรื่องที่ 2 ก็คือเรื่องปัญหาสภาพคล่อง 2 ปัญหาที่เป็นอยู่ เพราะฉะนั้นที่เราต้องเร่งแก้ไขก็คือเร่งแก้ไขทั้ง 2 ปัญหานี้ ปัญหาก็คือว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องเสถียรภาพความมั่นคงของค่าเงินซึ่งนำมาซ ึ่งเครดิตของประเทศนั้นจะต้อง แก้ด้วยอะไรตรงนี้ก็ต้องแก้ที่เรื่องของทุนสำรองเพราะว่าสาเหตุของปัญหานี ้มาจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่จัด การบริการในช่วงที่ผ่านมาในอดีตนั้นมีการนำไปใช้จ่ายกันจนเกินขอบเขตที่จำ กัด เลยเป็นต้นเหตุที่ทำให้เรามีปัญหา เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนส่วนเรื่องปัญหาสภาพคล่องนั้นเป็นปัญหาหนึ่งเกิดจาก ผลสืบเนื่องจากการที่ทุนสำรองระหว่าง ประเทศร่อยหรอลงไปเรื่อย ประการที่ 2 ก็มาจากสาเหตุที่กองทุนฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน นำเงินในระบบ สถาบันการเงินทั้งหมดไปใช้ในการที่ช่วยเหลือสถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิช ย์ และไฟแนนซ์ ตรงนี้ต้องยอมรับว่าการ แก้ไขในเรื่องของเสถียรภาพ ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งจะนำมาด้วยเครดิตของประเทศกลับคืนมาได้นั้นวันนี้เ รามีไอเอ็มเอฟ เข้ามาที่จะมาให้กู้เพื่อจะมาสบทบทุนสำรองระหว่างประเทศ และก็เพื่อจะฟื้นตัวในเรื่องของทุนสำรอง แต่ว่าเงินทุนของ ไอเอ็มเอฟนั้นเขาไม่ได้ให้เอาไปทำอย่างอื่น เขาไม่ได้ให้เราเอาไปปล่อยกู้ก่อน หรือเสริมสภาพคล่อง มาแก้ปัญหาสังคม ปัญหาของเครดิต หรือเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศ คือให้เอามานอนไว้ในทุนสำรองอย่างเดียว ซึ่งการแก้ไขปัญหา สภาพคล่องนั้นก็ต้องมีรายได้ 2 อัน 1. เราหารายได้ของเราเข้ามา ซึ่งต้องใช้เวลายาว แต่ถ้าหากว่าต้องใช้เวลายาวแล้วไม่ทัน การมันก็ต้องแก้ วิธีที่ 2. คือกู้ยืมเงิน เพราะดังนั้นเราจะกู้ยืมเงินแต่เราไม่มีเครดิต ใครจะให้กู้ นี่พูดถึงระดับประเทศ ดังนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลจะต้องเร่งในเรื่องของการสร้าง เสถียรภาพของความมั่นคง ในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนและเครดิตของ ประเทศ ซึ่งวันนี้ถ้าพี่น้องประชาชนติดตามผลงานก็จะเห็นว่าเราสามารถทำตรงนี้ ในระดับที่น่าพอใจ วันนี้อัตราแลก เปลี่ยนค่อนข้างที่จะคงที่ และประการที่ 2 เครดิตของประเทศกลับคืนมาเยอะ เพราะฉะนั้นตรงนี้ เราคิดว่าเรามีความมั่นใจ ในเรื่องของเครดิตในประเทศที่กลับมาในระดับหนึ่งแล้ว เรามั่นใจเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเวลานี้มันไม่ผันผวนมากแล้ว ต่างประเทศก็มีความมั่นใจ เราจึงมั่นใจว่าตอนนี้ถึงเวลาที่เราจะสามารถกู้ยืมใครเขาเข้ามาเสริมสภาพค ล่องได้แล้ว ปัญหาก็ คือว่าจะทำอย่างไรในการเสริมสภาพคล่อง ปัญหาตรงนี้อย่างที่บอกไว้แล้วว่าปัญหาในประเทศมี 2 เรื่อง เรื่องเอกภาพ เรื่องความมั่นคง เรื่องการแลกเปลี่ยน เมื่อสักครู่เรื่องของไอเอ็มเอฟ เรื่องของกองทุน ทุนสำรองระหว่างประเทศที่หมดไป วันนี้เราทำได้ดีขึ้น แต่ตรงนี้ยังไม่ช่วยสภาพคล่อง ที่ยังไม่ช่วยสภาพคล่องก็เพราะว่ายังไม่มีเงินไหลเข้ามาเพียงพอ ในขณะ เดียวกันเงินที่ไหลเข้ามาอย่างเพียงพอนั้นถูกดูดโดยกองทุนฟื้นฟูฯ ถามว่าทำไมถูกดูดไปโดยกองทุนฟื้นฟู ฯ ปัญหาสภาพ คล่องที่เกิดขึ้นในประเทศเรานี้สาเหตุหลักจริง ๆ ก็มาจากกองทุนฟื้นฟู ที่นำเงินในระบบไปใช้ สะสมกันมานาน แต่มาใช้ หนักที่สุดก็คือ ครึ่งหลังของปี 40 หนักมาก กองทุนฟื้นฟูใช้เงินไปทั้งสิ้นประมาณ 8 แสนกว่าล้านบาท ใน 8 แสนกว่าล้าน บาทเป็นเงินซึ่งกู้หนี้ยืมสินที่กองทุนกู้หนี้ยืมสินจากภาคเอกชนประมาณ 4 แสนกว่าล้าน ใน 4 แสนกว่าล้านเป็นเงินที่กู้ หนี้ยืมสินในระบบสถาบันการเงินของไทยในประเทศ คือธนาคารพาณิชย์ กับ ไฟแนนซ์ 2 ใน 3 ส่วนของยอดนี้ ก็คือ ประมาณ 3 แสนกว่าล้าน เพราะฉะนั้นเงินในระบบมันถูกดูดไปแล้ว 3 แสนกว่าล้าน ในขณะเดียวกันวันนี้ที่ว่าใช้ไป 8 แสนกว่าล้านใช้ไปขาดทุนแน่นอนประมาณ 4 แสนกว่าล้าน ขาดทุนหมายความว่าหนี้สูญ เพราะว่าปิดไป 56 แห่งแล้ว หนี้ สูญก็กลายเป็นว่ากองทุนจะเอาเงินที่ไหนมาใช้คืนระบบ นี่เป็นประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 ก็คือว่าในขณะที่ต้องหาเงินมาใช้ คืนระบบกองทุนฟื้นฟูต้องจ่ายเงิน ดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ตัวเองไปกู้หนี้ยืมสิน ก็ต้องวิ่งหาเงินกู้ระยะยาว ก็คือไปกู้จากระบบ โดยเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูง ตรงนี้แหละครับคือต้นเหตุของอัตราดอกเบี้ยและสภาพคล่องในปัจจุบัน ถามว่าจะแก้อย่างไรแก้ได้ถ้ากองทุนหยุดที่จะไปดูดเงินในระบบ แต่วันนี้กองทุนหยุดดูดเงินจากในระบบไม่ได้เพราะเจ้า หนี้ส่วนใหญ่ของกองทุนอยู่ในภาคเอกชนในระบบปกติ เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรให้กองทุนหลุดออกจากระบบปกติ ก็คือต้องเปลี่ยนให้กองทุนมาเป็นหนี้รัฐบาล ถามว่าแล้วจะเป็นหนี้รัฐบาลได้ รัฐบาลก็ต้องเอาเงินไปใช้หนี้เอกชนแทนกอง ทุนเพื่อเปลี่ยนหนี้จากกองทุนมาเป็นหนี้รัฐบาล เพื่อที่กองทุนจะไม่เข้าไปยุ่งกับระบบปกติของประชาชน ในระบบของ สถาบันการเงินไม่ไปแย่งการกู้เงินจากประชาชน ตรงนี้ก็คือว่าเราต้องออก พ.ร.ก.ออกมา เพื่อที่จะให้รัฐบาลฉบับที่
1.กู้เงิน ให้เงินก้อนนี้พูดกันภาษาชาวบ้านก็คือกู้เหมือนกับไอเอ็มเอฟ แต่กู้ไอเอ็มเอฟเขาไม่ให้มายุ่งเรื่องอื่น เรากู้มา เพื่อจะส่งเข้าไปในระบบเสริมสภาพคล่องคือกู้มาเอามาช่วยเสริมความมั่นคง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ คือกู้มาแล้วก็ปล่อยไป ให้แบงก์ของรัฐเอาไปปล่อยต่อให้ประชาชนในภาค ที่เราจะวางกฎเกณฑ์ไว้ เช่น ภาคเกษตรอุตสาหกรรม การค้าการลง ทุน โดยผ่านธนาคารก็เท่ากับว่าเอาเงินเข้ามาในระบบเพื่ออัดฉีด
ฉบับที่ 2 ก็คือว่าเราจะให้กองทุนกู้ยืมจากรัฐบาลเพื่อที่จะเอาไปคืนหนี้เก่ากับภาคเ อกชน ซึ่งเป็นหนี้ระยะสั้น แล้วมา เป็นลูกหนี้รัฐบาลในระยะยาว กองทุนก็ไม่ต้องวิ่งหาเงินเพื่อชำระหนี้ระยะสั้นในอัตราที่สูง กองทุนก็ไม่ต้องไปแย่งคน จากประชาชนในระบบ ในขณะเดียวกัน ตรงนี้มีเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบัน การเงินปล่อยเงินกู้ให้กับภาคเอกชนตามปกตินั้น
1.ความเสี่ยงสูง
2.ทุกบาททุกสตางค์ที่ปล่อยกู้เพิ่มจะต้องกันทุนสำรองของธนาคาร หรือสถาบันการเงินนั้นเพิ่มสูงขึ้น ตรงนี้แหละครับ ที่กองทุนเข้ามาแทรก ที่ว่า
1.การปล่อยเงินกู้ให้แก่กองทุนนั้นไม่ต้องกันทุนสำรองให้แก่ระ บบ
2.ความมั่นคงในขณะนี้มีมากกว่า
3.กองทุนเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูง เพราะฉะนั้นสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์จึงหันไปปล่อยกู้กองทุนทั้งหมด
ตรงนี้แหละเราถึงต้องคืนเงินกู้ให้กับภาคเอกชน และเอากองทุนให้กลับมาเป็นหนี้ และรับผิดชอบจ่ายเงินให้กับ
รัฐบาล ถ้าหากเราแก้ 2 จุดนี้ได้ก็มั่นใจว่าสภาพคล่องต้องดีขึ้น
2. ธนาคารพาณิชย์ ไม่ต้องมาปล่อยกู้ให้กองทุนอีกแล้ว เพราะกองทุนไม่จำเป็นต้องไปขอกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ หรือว่าสถาบันการเงิน เพราะฉะนั้นสถาบันการเหล่านี้รวมถึงธนาคารพาณิชย์ก็ต้องทำธุรกิจตอบ เมื่อกองทุนซึ่งเป็นตัว หลักในช่วงที่ผ่านมาตลอดเป็นลูกค้ารายสำคัญ ณ ขนาดนี้ เป็นตัวดูด พูดกันง่าย ๆ หยุดกู้แล้วก็ต้องหันมาปล่อยกู้ให้ภาค เอกชนตามปกติ นี่คือเนื้อหาสาระของพระราชกำหนดที่สำคัญ 2 ใน 4 ส่วนอีก 2 ฉบับที่เหลือก็คือ
ฉบับที่ 3 เป็นเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขให้กองทุนฟื้นฟู สามารถเฉลี่ยหนี้ เฉลี่ยทรัพย์จากสถาบันการเงินที่ถูกปิดไป แล้ว และต่อไปอาจจะต้องล้มละลาย ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีตรงนี้ออกมา การที่สถาบันการเงินคือกองทุนฟื้นฟูได้สละหลัก ประกันไป ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการออก พ.ร.ก. ของรัฐบาลที่แล้ว ก่อนที่จะพ้นสภาพไป 6 ฉบับที่แล้วนั้น ก็จะทำให้ กองทุนฟื้นฟูหมดสภาพ ไม่สามารถมาเฉลี่ยหนี้สูญ เราก็ต้องออกตรงนี้มาว่าถึงแม้สละหลักประกันไปแล้ว ก็ให้มีสิทธิ์เฉลี่ย หนี้ได้ เพราะฉนั้นจะเห็นได้ว่ารัฐบาล ไม่ใช่ไปช่วยใคร อันสุดท้ายเป็นเรื่องของ บบส. ก็เช่นเดียวกัน รัฐบาลที่แล้วออก พ.ร.ก. 6 ฉบับสุดท้ายให้ บบส. ทำหน้าที่แต่ไม่ให้เงินเขา ให้มีเงินทุนจดทะเบียนพันล้าน แต่ไม่มีอำนาจเพิ่มหรือกู้เงินมาอีก เมื่อเป็นอย่างนี้เวลามีปัญหาก็คือ บบส.ไม่มีกำลังที่จะมาซื้อทรัพย์สินหรือช่วย manager ปัญหาต่าง ๆ กับ บบส. เราก็ต้องออก ฉบับสุดท้ายมา มีคำถามอีกคำถามหนึ่งว่าทำไมต้องช่วยกองทุนฟื้นฟู ปล่อยให้ล้มได้ไหม ไม่ได้ ถามว่าทำไม ก็เพราะว่าวันนี้ อย่างที่บอก หนี้ 8 แสนกว่าล้านของกองทุนฟื้นฟู ประมาณ 3 แสนกว่าล้านนั้นเป็นหนี้ภาคเอกชน ถ้าล้มไปก็แปลว่าสถาบัน การเงินของไทยและธนาคารพาณิชย์ต้องล้มทั้งระบบตามไปด้วย อันที่สองหนี้ภาคเอกชนใน 4 แสนล้านที่ว่านั้น ที่เหลือ อีกประมาณแสนกว่าล้านเป็นหนี้ภาคเอกชนต่างประเทศเพราะฉะนั้นถ้าหากว่าล้มไ ป เครดิตของประเทศที่สร้างมาแล้วที่ดี วันดีคืนดีขึ้นมาแล้วก็ต้องล้มไปอีก แล้วท้ายที่สุดกองทุนเป็นหนี้เป็นหน่วยงานที่ทาง ธปท.ต้องรับผิดชอบ เมื่อกองทุนล้ม ธนาคารชาติก็ต้องล้มตาม เมื่อนั้นก็แปลว่าประเทศของเราต้องล้มทั้งประเทศ ระบบสถาบันการเงินแม้แต่ค่าเงินของเรา จะไม่มีค่ามีความหมายอะไรแม้แต่บาทเดียว เพราะฉะนั้นวันนี้ปัญหาและภาระของกองทุนฟื้นฟูมันใหญ่เกินกว่าจะบอกว่า ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล ไม่ใช่เรื่องของคนจน ไม่ใช่เรืองของคนรวย วันนี้ปัญหาทั้งหมดมันเกี่ยวโยง มัน Link กันทั้งระบบ เป็นลูกโซ่ เกี่ยวพันกันหมด ไม่ใช่เรื่องของคนนั้น ไม่ใช่เรื่องของคนนี้ แต่วันนี้เป็นเรื่องของคนไทยทั้งประเทศ เราจะบอก ว่าเราไม่มีส่วน คนโน้นทำคนนี้ทำไม่ได้ เป็นเรื่องของความเป็นจริง พวกเราทุกคนต้องมีส่วน แต่ถามว่าวันนี้ทำไมเราต้องมา ช่วยกันฟื้น เพราะถึงแม้เราไม่มีส่วนในการทำความผิดหรือมีส่วนร่วมในการกระทำ แต่เรามีส่วนในการเป็นหุ้นส่วนของ ประเทศไทย เราจะมาเกี่ยงงอนว่าคนนั้นทำฉันไม่เกี่ยว คนนี้ทำฉันไม่ผิด ไม่ได้ เพราะวันนี้ถ้าประเทศล้ม ถ้าเราไม่เกี่ยวเรา ก็ต้องล้มตาม และนี่คือปัญหาที่รัฐบาลนี้ต้องแก้ไข ทั้งหมดก็สืบเนื่องมาจากที่เราไม่ได้ทำ แต่เราเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น มาแล้วเท่านั้นเอง
อย่างที่บอกเมื่อกี๊ว่า การจัดเสริมสภาพคล่องหรือการที่จะทำอะไร วันนี้รัฐบาลต้องกู้ การที่รัฐบาลไปกู้เงินมาก็แปลว่า รัฐบาลเป็นหนี้ ซึ่งรัฐบาลต้องใช้หนี้ ปัญหาก็คือว่าเราจะใช้หนี้อย่างไร การใช้หนี้ก็ต้อง
1. หารายได้มาใช้หนี้เขา
2. ทรัพย์สินที่คิดว่าจะขายได้ก็ต้องขายไป และก็ต้องใช้หนี้เขา เพราะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่วนหนึ่ง ก็อาจจะต้องเอา ประกันชำระหนี้ แต่ว่าไม่ใช่ขายไป 100 บาทต้องเอาไปชำระหนี้ 100 บาท ทุกวันนี้ผมเข้าใจว่า ในวันนี้ รมว.คลังก็จะนำ หลักเกณฑ์ในเรื่องของการที่จะเอาเงินจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปใช้ทำอะไรไ ด้บ้าง ถ้าจำไม่ผิด มันจะแบ่งเป็นส่วน ๆ ส่วนหนึ่งก็คือเอาไปเป็นเรื่องของสวัสดิการของพนักงาน อันที่ 2 คือในเรื่องของการที่จะเอาไปส่งเข้าคลัง เอาไปพัฒนา ประเทศไทยอีก และอีกส่วนหนึ่งถึงจะเอามาชำระหนี้ เพราะฉะนั้นแบ่งเป็นส่วน ๆ อยู่แล้ว วันนี้เป็นวันที่ทุกคนต้องหัน หน้าเข้าหากัน และก็ร่วมมือร่วมใจกันฟื้นประเทศ เราจะบอกว่านี่คนจน นั่นคนรวย ฉั นทำ อย่างนี้ คน นั้นทำอย่างนั้น คนนั้นทำพัง ฉันไม่ไ ด้ทำ ไม่ได้ ถ้าพูด อย่างนั้น วันนี้เราก็ต้องไม่ต้องทำอะไรเหมือนกัน เพราะว่าปัญหาที่พังทั้งประเทศ ประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำ ถ้าคิดอย่างนี้วันนี้ก็ไม่ใช่หน้าที่เหมือนกัน แต่ถามว่าทำไมเราต้องทำ เพราะวันนี้เราเป็นส่วนหนึ่ง ของประเทศไทยแล้ว เราจะมาบอกว่าชวลิตทำไว้ หวังใหม่ทำไว้ ประชาธิปัตย์ไม่เกี่ยว เพราะฉะนั้นคุณทำไว้คุณเข้ามาแก้ ถ้าแน่จริงคุณลาออกไปทำไมเราพูดอย่างนี้ได้ไหม ไม่ได้ เป็นเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน มันเป็นภาระกิจเดียวของพวกเรา ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านหรือรัฐบาล จะเป็นคนจนคนรวย จะเป็นข้าราชการหรือประชาชน ทุกคนมีอย่าง เดียวทุกคนร่วมกันฟื้นประเทศให้ได้ เราจะมาบอกว่าคนนั้นทำคนนี้ทำไม่ได้ มันเป็นความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะฉะนั้นผมอยากจะเรียนว่า การที่รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. 4 ฉบับ ขึ้นมาก็เพื่อจะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ อยาก จะเรียนว่าขอให้ทำความเข้าใจและฟังคำชี้แจงของ รัฐมนตรีคลังในการประชุมสภา เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น นะ ครับ--จบ--