ความต้องการใช้
1. ภายในประเทศ ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจีของเดือนนี้มีปริมาณ
รวมทั้งสิ้น 3,587 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 116 ล้านลิตรหรือ 727,734 บาเรลต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก
เดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.5 และ 1.9 ตามลำดับ
ปตท.จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา ให้ กฟผ.เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการ
ผลิตกระแสไฟฟ้า ปริมาณ 36 และ 429 ล้านลิตร และจำหน่ายก๊าซแอลพีจีให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ปริมาณ 16,281 เมตริกตัน
สำหรับส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง จะเห็นได้ว่า ปตท. มี
ส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งคือร้อยละ 38.1 รองลงมาได้แก่ เอสโซ่ เชลล์ และคาลเท็กซ์
ร้อยละ 16.4 14.4 และ 7.9 ตามลำดับ
บริษัท เวลิด์ปิโตรเลียม จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ประกอบ
กิจการค้าน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุนเร็ว ได้ขอคืนใบอนุญาตและมีผลตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2540
นอกจากนี้ บริษัท โคโนโค จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 และ
ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว ได้เริ่มจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน ดีเซลหมุนเร็ว) ตั้งแต่
เดือนมิถุนายน 2540 ที่ผ่านมา
2. ส่งออกไปต่างประเทศ การส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 407
ล้านลิตร โดยเป็นน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี 301 ล้านลิตร โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศ
สิงคโปร์ ซาอุดิอาระเบีย และจีน
นอกจากนี้ยังมีการส่งออก มิกซ์โซลีน คอนเดนเสท ไอโซเมอร์เรต และก๊าซโซลีน
ธรรมชาติไปยังประเทศสิงคโปร์ เกาหลี และญี่ปุ่นอีก 107 ล้านลิตร
การจัดหา
ปริมาณการจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้มาจากการผลิตจากโรงกลั่น และโรงแยกก๊าซฯ
ภายในประเทศ ร้อยละ 91.4 และจากการนำเข้าอีกร้อยละ 8.6 โดยแยกรายละเอียดดังนี้
1. การผลิต
การผลิตภายในประเทศมีปริมาณ 3,803 ล้านลิตร (รวมปริมาณ MTBE ฝางเรสิดิว
องค์ประกอบน้ำมันเตา น้ำมันปนเปื้อนที่นำมาผสมและ BY PRODUCT จำนวน 67 ล้านลิตร) เฉลี่ย
วันละ 123 ล้านลิตร หรือ 771,550 บาเรลต่อวัน โดยปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา
และเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.1 และ 16.4 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตได้ในเดือน
นี้แยกเป็น
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,527 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 114 ล้านลิตร หรือ
715,690 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.5 และ
17.0 โดยนำน้ำมันเข้าขบวนการกลั่น 3,790 ล้านลิตร หรือวันละ 769,023 บาเรล
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 105,248 เมตริกตัน (195 ล้านลิตร) เฉลี่ย
วันละ 3,395 เมตริกตัน (6 ล้านลิตร) ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 3.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.1
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต
ปริมาณ 7,363 เมตริกตัน (14 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ 238 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา
ร้อยละ 29.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.5
2. การนำเข้า
น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซแอลพีจีและน้ำมันดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น
3,205 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 103 ล้านลิตรหรือ 650,259 บาเรลต่อวัน มูลค่า 11,482 ล้านบาท
(ไม่รวมปริมาณนำเข้า MTBE ที่นำเข้ามาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และซาอุดิอารเบียอีก 33 ล้าน
ลิตร มูลค่า 204 ล้านบาท) แยกรายละเอียดได้ดังนี้
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 2,846 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 92 ล้านลิตร หรือ 577,456
บาเรลต่อวัน ราคาเฉลี่ย 18.51 เหรียญสหรัฐ/บาเรล มูลค่าการนำเข้า 10,103 ล้านบาท
- ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 25.1 และ 15.8 ตามลำดับ
ราคานำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.39 บาท/ลิตร
- ปริมาณลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.5 แต่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้นร้อยละ
11.7 โดยราคานำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.42 บาท/ลิตร
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(เหรียญสหรัฐ/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,169 18.24 76.2
ตะวันออกไกล 469 19.64 16.5
อื่น ๆ 209 18.77 7.3
รวม 2,846 18.51 100.0
การนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางแหล่งนำเข้าใหญ่ที่สุดมาจากประเทศโอมาน คิดเป็น
ร้อยละ 35.2 เยเมน ร้อยละ 13.5 ยู เอ อี และ กาต้า ร้อยละ 6.8 สำหรับจากแหล่งตะวัน
ออกไกล มาจากประเทศมาเลเซียร้อยละ 8.2 อินโดนีเซียร้อยละ 4.7 และบรูไนร้อยละ 3.5
ตามลำดับ
2.2 น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี ปริมาณรวมทั้งสิ้น 359 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ
12 ล้านลิตร หรือ 72,802 บาเรลต่อวัน มูลค่า 1,379 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซล
หมุนเร็ว และน้ำมันเตา
ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.7 แต่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9
ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.7 และ 23.4
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี
แหล่งนำเข้า ปริมาณ(ล้านลิตร) ร้อยละ
เกาหลี 146 40.6
สิงคโปร์ 117 32.6
อื่น ๆ 96 26.8
รวม 359 100.0
ปริมาณความต้องการใช้และการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - กรกฎาคม 2540
1. ความต้องการใช้
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 24,883 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 117 ล้านลิตรหรือ 738,267 บาเรล
เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 674 ล้านลิตร หรือวันละ 4 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 2.8
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 27,887 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 132
ล้านลิตร หรือ 827,383 บาเรล เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 1,773 ล้านลิตร หรือวันละ 9
ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 6.8 โดยแยกได้ดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ
ได้จากโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซฯ 25,562 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 121 ล้านลิตร
หรือ 758,426 บาเรล โดยสามารถสนองความต้องการใช้ภายในประเทศได้อย่างเพียงพอเพิ่มขึ้น
จากปี 2539 ปริมาณ 5,612 ล้านลิตร หรือวันละ 27 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 28.1
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 2,324 ล้านลิตรเฉลี่ยวันละ 11 ล้านลิตรหรือ 68,957 บาเรล
ลดลงจากปี 2539 ปริมาณ 3,839 ล้านลิตร หรือวันละ 18 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 62.3
สำหรับน้ำมันดิบมีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 24,596 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 116 ล้าน
ลิตร หรือ 729,753 บาเรล มูลค่าการนำเข้า 85,731 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ
4,602 ล้านลิตร หรือร้อยละ 23.0 โดยนำเข้ามาจากตะวันออกกลางร้อยละ 74.6 ตะวันออกไกล
ร้อยละ 21.3 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 4.2
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
1. ภายในประเทศ ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจีของเดือนนี้มีปริมาณ
รวมทั้งสิ้น 3,587 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 116 ล้านลิตรหรือ 727,734 บาเรลต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก
เดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.5 และ 1.9 ตามลำดับ
ปตท.จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา ให้ กฟผ.เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการ
ผลิตกระแสไฟฟ้า ปริมาณ 36 และ 429 ล้านลิตร และจำหน่ายก๊าซแอลพีจีให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ปริมาณ 16,281 เมตริกตัน
สำหรับส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง จะเห็นได้ว่า ปตท. มี
ส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งคือร้อยละ 38.1 รองลงมาได้แก่ เอสโซ่ เชลล์ และคาลเท็กซ์
ร้อยละ 16.4 14.4 และ 7.9 ตามลำดับ
บริษัท เวลิด์ปิโตรเลียม จำกัด ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ประกอบ
กิจการค้าน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุนเร็ว ได้ขอคืนใบอนุญาตและมีผลตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2540
นอกจากนี้ บริษัท โคโนโค จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 และ
ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว ได้เริ่มจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน ดีเซลหมุนเร็ว) ตั้งแต่
เดือนมิถุนายน 2540 ที่ผ่านมา
2. ส่งออกไปต่างประเทศ การส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 407
ล้านลิตร โดยเป็นน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี 301 ล้านลิตร โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศ
สิงคโปร์ ซาอุดิอาระเบีย และจีน
นอกจากนี้ยังมีการส่งออก มิกซ์โซลีน คอนเดนเสท ไอโซเมอร์เรต และก๊าซโซลีน
ธรรมชาติไปยังประเทศสิงคโปร์ เกาหลี และญี่ปุ่นอีก 107 ล้านลิตร
การจัดหา
ปริมาณการจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้มาจากการผลิตจากโรงกลั่น และโรงแยกก๊าซฯ
ภายในประเทศ ร้อยละ 91.4 และจากการนำเข้าอีกร้อยละ 8.6 โดยแยกรายละเอียดดังนี้
1. การผลิต
การผลิตภายในประเทศมีปริมาณ 3,803 ล้านลิตร (รวมปริมาณ MTBE ฝางเรสิดิว
องค์ประกอบน้ำมันเตา น้ำมันปนเปื้อนที่นำมาผสมและ BY PRODUCT จำนวน 67 ล้านลิตร) เฉลี่ย
วันละ 123 ล้านลิตร หรือ 771,550 บาเรลต่อวัน โดยปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา
และเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.1 และ 16.4 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตได้ในเดือน
นี้แยกเป็น
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,527 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 114 ล้านลิตร หรือ
715,690 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.5 และ
17.0 โดยนำน้ำมันเข้าขบวนการกลั่น 3,790 ล้านลิตร หรือวันละ 769,023 บาเรล
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 105,248 เมตริกตัน (195 ล้านลิตร) เฉลี่ย
วันละ 3,395 เมตริกตัน (6 ล้านลิตร) ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 3.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.1
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต
ปริมาณ 7,363 เมตริกตัน (14 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ 238 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา
ร้อยละ 29.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.5
2. การนำเข้า
น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซแอลพีจีและน้ำมันดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น
3,205 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 103 ล้านลิตรหรือ 650,259 บาเรลต่อวัน มูลค่า 11,482 ล้านบาท
(ไม่รวมปริมาณนำเข้า MTBE ที่นำเข้ามาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และซาอุดิอารเบียอีก 33 ล้าน
ลิตร มูลค่า 204 ล้านบาท) แยกรายละเอียดได้ดังนี้
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 2,846 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 92 ล้านลิตร หรือ 577,456
บาเรลต่อวัน ราคาเฉลี่ย 18.51 เหรียญสหรัฐ/บาเรล มูลค่าการนำเข้า 10,103 ล้านบาท
- ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 25.1 และ 15.8 ตามลำดับ
ราคานำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.39 บาท/ลิตร
- ปริมาณลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.5 แต่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้นร้อยละ
11.7 โดยราคานำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.42 บาท/ลิตร
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(เหรียญสหรัฐ/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,169 18.24 76.2
ตะวันออกไกล 469 19.64 16.5
อื่น ๆ 209 18.77 7.3
รวม 2,846 18.51 100.0
การนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางแหล่งนำเข้าใหญ่ที่สุดมาจากประเทศโอมาน คิดเป็น
ร้อยละ 35.2 เยเมน ร้อยละ 13.5 ยู เอ อี และ กาต้า ร้อยละ 6.8 สำหรับจากแหล่งตะวัน
ออกไกล มาจากประเทศมาเลเซียร้อยละ 8.2 อินโดนีเซียร้อยละ 4.7 และบรูไนร้อยละ 3.5
ตามลำดับ
2.2 น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี ปริมาณรวมทั้งสิ้น 359 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ
12 ล้านลิตร หรือ 72,802 บาเรลต่อวัน มูลค่า 1,379 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซล
หมุนเร็ว และน้ำมันเตา
ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.7 แต่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9
ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.7 และ 23.4
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี
แหล่งนำเข้า ปริมาณ(ล้านลิตร) ร้อยละ
เกาหลี 146 40.6
สิงคโปร์ 117 32.6
อื่น ๆ 96 26.8
รวม 359 100.0
ปริมาณความต้องการใช้และการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - กรกฎาคม 2540
1. ความต้องการใช้
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 24,883 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 117 ล้านลิตรหรือ 738,267 บาเรล
เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 674 ล้านลิตร หรือวันละ 4 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 2.8
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 27,887 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 132
ล้านลิตร หรือ 827,383 บาเรล เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 1,773 ล้านลิตร หรือวันละ 9
ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 6.8 โดยแยกได้ดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ
ได้จากโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซฯ 25,562 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 121 ล้านลิตร
หรือ 758,426 บาเรล โดยสามารถสนองความต้องการใช้ภายในประเทศได้อย่างเพียงพอเพิ่มขึ้น
จากปี 2539 ปริมาณ 5,612 ล้านลิตร หรือวันละ 27 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 28.1
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 2,324 ล้านลิตรเฉลี่ยวันละ 11 ล้านลิตรหรือ 68,957 บาเรล
ลดลงจากปี 2539 ปริมาณ 3,839 ล้านลิตร หรือวันละ 18 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 62.3
สำหรับน้ำมันดิบมีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 24,596 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 116 ล้าน
ลิตร หรือ 729,753 บาเรล มูลค่าการนำเข้า 85,731 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ
4,602 ล้านลิตร หรือร้อยละ 23.0 โดยนำเข้ามาจากตะวันออกกลางร้อยละ 74.6 ตะวันออกไกล
ร้อยละ 21.3 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 4.2
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--