2. การแก้ปัญหาสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าแทรกแซง
2.1 ธนาคารพาณิชย์สี่แห่งที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลดทุนธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 แล้วให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯเข้าไปเพิ่มทุน และได้เข้าแทรกแซงธนาคารศรีนครจำกัด (มหาชน) ธนาคารมหานครจำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน) ในช่วงเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2541 โดยการสั่งลดทุนและให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เข้าไปเพิ่มทุน และเปลี่ยนผู้บริหาร โดยทางการมีนโยบายที่จะหาเอกชนที่สนใจมาร่วมทุนในธนาคารดังกล่าวในอนาคต อย่างไรก็ดีธนาคารดังกล่าวมีสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก และต้องจูงใจ ผู้ฝากเงินด้วยการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง จึงมีผลการดำเนินงานขาดทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ในขณะนี้ธนาคารทั้งสี่แห่งมีเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างสถาบันการเงินที่ปรึกษา (JP Morgan) เพื่อตรวจสอบฐานะทางการเงินของธนาคารทั้งสี่แห่งอย่างละเอียด และเสนอแนะวิธีการจัดการกับสินทรัพย์ หนี้สิน และพนักงานของธนาคารทั้งสี่แห่ง โดยยึดหลักที่ว่าการแก้ปัญหาจะต้อง
(1) เกิดต้นทุนต่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯน้อยที่สุด
(2) ช่วยให้ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีจำนวนธนาคารขนาดเล็กลดลงเพื่อส่งเสริมการแข่งขันและเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบสถาบันการเงิน
(3) ทำให้เกิดความมั่นใจต่อทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
(4) ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ไม่ได้รับผลกระทบกระเทือน และ
(5) ดำเนินการแก้ปัญหาอย่างโปร่งใส ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมสำหรับธนาคารทั้งสี่แห่งแล้วสรุปได้ดังนี้
2.1.1 ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจำกัด (มหาชน)
เนื่องจากธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯ มีสินเชื่อด้อยคุณภาพซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก ฐานะการดำเนินงานของธนาคารไม่อยู่ในวิสัยที่จะประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้อย่างมั่นคง การฟื้นฟูกิจการจะต้องใช้เงินทุนจำนวนสูงมาก มีโอกาสที่จะหาผู้เข้าร่วมทุนได้น้อย จึงควรให้ดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องโดยรวมโดยการโอนทรัพย์สินส่วนที่ดี (อันได้แก่สินเชื่อที่ยังมีการจ่ายดอกเบี้ยอยู่อย่างต่อเนื่องและตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ) เงินฝากทั้งหมด และหนี้อื่นๆ รวมทั้งหนี้สินที่เป็นภาระผูกพันล่วงหน้าไปยังธนาคารกรุงไทยจำกัด(มหาชน) โดยไม่ให้ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ และผู้กู้เงินเดือดร้อน เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การฯ จะเหลือเพียงสินเชื่อด้อยคุณภาพ จึงควรแปลงสถานะเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) เพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของตัวธนาคารเอง และรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การฯ จะหยุดทำธุรกรรมใหม่ที่เกี่ยวกับการรับเงินฝาก การปล่อยสินเชื่อ การทำสัญญาค้ำประกัน การปริวรรตเงินตราต่างประเทศ และหยุดเพิ่มวงเงินกู้ที่ให้กับลูกค้าเก่าตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2541 ถ้าหากผู้ฝากเงินหรือเจ้าหนี้รายใดไม่ต้องการโอนไปที่ธนาคารกรุงไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯจะชำระคืนให้ตามการรับประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ ในส่วนของลูกหนี้ดีที่ยังไม่ได้เบิกสินเชื่อครบวงเงิน จะสามารถเบิกเงินได้จนครบจำนวน
ในส่วนของสินเชื่อด้อยคุณภาพนั้น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะจัดตั้งคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเพื่อพิจารณาคำขอสินเชื่อเพิ่มเติมสำหรับหนี้ด้อยคุณภาพที่อยู่ในข่าย ที่จะได้รับการประนอมหนี้ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯจะสามารถเบิกเงินดังกล่าวจากวงเงินที่ธนาคารกรุงไทยได้จัดตั้งให้พนักงานทั้งหมดของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯจะได้รับการจ้างต่อเป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นธนาคารกรุงไทยจะรับโอนพนักงานส่วนหนึ่งเพื่อให้บริการเงินฝากและสินเชื่อที่ดีที่ธนาคารกรุงไทยรับโอน ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯจะยังคงจ้างพนักงานส่วนหนึ่งเพื่อบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพที่เก็บไว้ที่ธนาคาร ในส่วนของพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทุกคน ธนาคารจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามกฎหมายแรงงานใหม่ ในส่วนของสาขาและอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ นั้น ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯจะขายให้กับธนาคารพาณิชย์ไทยต่อไป
ในการแก้ปัญหาครั้งนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะแปลงหนี้ที่ให้ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯ เป็นทุนของธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มทุนให้ธนาคารกรุงไทยส่วนหนึ่ง
2.1.2 ธนาคารมหานครจำกัด (มหาชน)
เนื่องจากฐานเงินฝากของธนาคารมหานครได้ลดลงมากในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารมหานครจึงอาจจะไม่เป็นที่ดึงดูดใจของสถาบันการเงินต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาแข่งขันในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ธนาคารมหานครมีจำนวนสาขาส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพ ซึ่งจะช่วยขยายขอบข่ายสาขาของธนาคารกรุงไทยซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในต่างจังหวัด และธนาคารมหานครมีลูกค้าที่เป็นผู้นำเข้าส่งออกจำนวนมาก ธนาคารกรุงไทยจึงตกลงที่จะรับโอนทรัพย์สินทั้งสิ้น และเงินฝากและหนี้สิน ทั้งหมดของธนาคารมหานครโดยไม่ให้ผู้ฝากเงินและลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อน พนักงานทั้งหมดของธนาคารมหานครจะได้รับการโอนมาเป็นพนักงานของธนาคารกรุงไทย สาขาของธนาคาร มหานครจะถูกรวมเข้ากับระบบสาขาของธนาคารกรุงไทยตามความเหมาะสม ส่วนสินเชื่อด้อย คุณภาพของธนาคารมหานครนั้น ธนาคารกรุงไทยจะตั้งหน่วยบริหารสินทรัพย์ขึ้นมาเพื่อบริหารสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นพิเศษ
ในการนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะแปลงหนี้ที่ให้ธนาคารมหานครทั้งหมดเป็นทุนของธนาคารกรุงไทย เนื่องจากการดำเนินการตาม 2.1.1 และ 2.1.2 ธนาคารกรุงไทยจะมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านล้านบาท จึงควรมีการปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารกรุงไทยให้สามารถบริหารงานได้อย่างเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ ธนาคารพาณิชย์เอกชน ซึ่งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะดำเนินการต่อไปโดยเร็ว
2.1.3 ธนาคารศรีนครจำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน)
เนื่องจากธนาคารศรีนคร และธนาคารนครหลวงไทยมีเครือข่ายสาขา และฐานเงินฝากที่กว้างขวาง และมีระบบจัดการที่ดีพอสมควร ซึ่งจะเป็นที่สนใจของผู้ลงทุนเอกชน รัฐบาลจะเข้าไปเสริมสร้างความแข็งแกร่งโดยการเพิ่มทุนให้กับทั้งสองธนาคารก่อนที่จะเปิดโอกาสให้ภาค เอกชนที่สนใจเข้าร่วมทุน โดยคาดว่าจะเริ่มกระบวนการให้เอกชนที่สนใจยื่นข้อเสนอได้ภายในปลายเดือนกันยายน 2541
ในระหว่างนี้ธนาคารทั้งสองแห่งจะยังคงเป็นธนาคารของรัฐ ซึ่งบริหารโดยคณะผู้บริหารชุดเดิม กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะแปลงหนี้ทั้งหมดของธนาคารทั้งสองเป็นทุน และจะตั้งเงินสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้ครบถ้วนในทันทีตามเกณฑ์ปี 2543 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารทั้งสองแห่งจะมีฐานะมั่นคงขึ้น และเป็นที่สนใจของผู้ที่จะมาร่วมลงทุนใหม่มากขึ้น นอกจากนี้เพื่อจูงใจผู้ลงทุนใหม่ รัฐบาลยินดีที่จะพิจารณาข้อเสนอการค้ำประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากหนี้ด้อยคุณภาพที่มีอยู่เดิมด้วย
2.2 การแก้ปัญหาธนาคารพาณิชย์ 2 แห่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งเข้าแทรกแซง
เนื่องจากธนาคารแหลมทองจำกัด (มหาชน) และธนาคารสหธนาคารจำกัด (มหาชน) มีผลขาดทุนสูง มีเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยมาก และไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนได้ตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เข้าแทรกแซงธนาคารทั้งสองแห่งในวันนี้ (14 สิงหาคม 2541) โดยได้สั่งลดทุนให้ราคาหุ้นของธนาคารทั้งสองมีราคาหุ้นละหนึ่งสตางค์ ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าของเดิมเป็นผู้รับภาระความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นก่อนมีการแทรกแซง และเพื่อให้ธนาคารทั้งสองมีอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จึงได้เข้าไปเพิ่มทุน โดยใช้วิธีแปลงหนี้เป็นทุนและเพิ่มเม็ดเงินใหม่ นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้เปลี่ยนผู้บริหารของทั้งสองธนาคารด้วย
การเข้าแทรกแซงธนาคารทั้งสองแห่งในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เตรียมแผนรองรับไว้ก่อนแล้ว ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
2.2.1 ธนาคารแหลมทองจำกัด (มหาชน)
เนื่องจากธนาคารรัตนสินต้องการสร้างเครือข่ายสาขา ธนาคารรัตนสินจึงจะรวมกิจการกับธนาคารแหลมทอง โดยจะรับผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้รวมทั้งสินทรัพย์ สาขาและพนักงานทั้งหมดของธนาคารแหลมทองมาเป็นของธนาคารรัตนสิน ธนาคารแหลมทองจะต้องตั้งเงินสำรองเผื่อหนี้สูญให้ครบถ้วนในทันทีตามเกณฑ์ปี 2543 ก่อนการโอนเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ธนาคารรัตนสิน
2.2.2 ธนาคารสหธนาคารจำกัด (มหาชน)
ธนาคารสหธนาคารจะรวมกิจการเข้ากับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจจำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนอีก 12 แห่งที่ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยแทรกแซง การรวมกิจการของธนาคารสหธนาคารกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจนี้จะเป็นไปในลักษณะเดียวกับกรณีของธนาคารแหลมทองกับธนาคารรัตนสิน และจะมีสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ภายใต้ การบริหารของผู้บริหารจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ พนักงานของธนาคารสหธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกแทรกแซงทั้ง 12 แห่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของธนาคารพาณิชย์ใหม่ด้วย
2.3 การแก้ปัญหาบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซง
ในกรณีของบริษัทเงินทุน 7 แห่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าแทรกแซงเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น ในขณะนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจได้ว่าจ้างสถาบันการเงินที่ปรึกษาศึกษาวิธีที่จะรวม บริษัทเงินทุนทั้งเจ็ดแห่งเข้ากับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ เพื่อที่จะแปลงสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ภายหลังจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจได้รับโอนทรัพย์สินและหนี้สินจากธนาคารสหธนาคารตามที่กล่าวใน 2.2 แล้ว
สำหรับบริษัทเงินทุน 5 แห่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าแทรกแซงในวันนี้ (14 สิงหาคม 2541) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้วิธีการเดียวกับธนาคารสองแห่งที่ได้เข้าแทรกแซงพร้อมกัน คือสั่งลดทุน เปลี่ยนผู้บริหาร แล้วจึงเพิ่มทุนก่อนที่จะนำไปรวมกับธนาคารพาณิชย์ใหม่ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจจะเข้าไปควบรวมต่อไป
การรวมบริษัทเงินทุนเข้าด้วยกัน แล้วแปลงสถานะให้เป็นธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับแนวทางการแก้ปัญหาของบริษัทเงินทุนที่เหลืออยู่เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังตระหนักดีว่าบริษัทเงินทุนมีขอบเขตการประกอบธุรกิจจำกัดทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ในระยะยาวได้ จึงเห็นควรเปิดโอกาสให้บริษัทเงินทุนที่ยังเปิดดำเนินการอยู่ยื่นขอปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ได้
3. ภาระทางการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อรัฐบาล
ภาระทางการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อรัฐบาลจากการดำเนินมาตรการข้างต้นนี้ สามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ
(1) ส่วนที่จะต้องชดเชยความเสียหายต่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในกรณีการแก้ปัญหาของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง และบริษัทเงินทุน 7แห่งที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้เข้าแทรกแซงในช่วงแรก และธนาคารพาณิชย์อีก 2 แห่งและบริษัทเงินทุน 5 แห่งที่กองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯได้เข้าแทรกแซงในวันนี้ (14 สิงหาคม 2541) และ
(2) ภาระทางการเงินที่จะเกิดขึ้นจากโครงการช่วยเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินต่างๆ ในส่วนแรกนั้น ภาระความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะประกอบด้วย
(1) ความเสียหายจากการแปลงหนี้เป็นทุนในสถาบันการเงินที่ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยแทรกแซง เพื่อให้มีเงินกองทุนพอเพียงตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยหลังจากที่ได้กันเงินสำรองเผื่อหนี้สูญครบถ้วนในทันทีตามเกณฑ์ปี 2543
(2) ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประกันผลเสียหายเพิ่มเติมจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารมหานคร ที่ได้โอนให้ธนาคารกรุงไทย และจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารศรีนครและธนาคารนครหลวงไทยที่จะเกิดต่อผู้ร่วมลงทุน และ
(3) ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากการที่ ปรส. ขายทอดตลาดทรัพย์สินของ 56 บริษัทเงินทุนได้น้อยกว่าที่คาดไว้แต่เดิม
ความเสียหายที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงความเสียหายที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นทันทีในเบื้องต้นแต่เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะมีรายได้จากการขายหุ้นที่ถืออยู่ในสถาบันการเงินเหล่านี้ในอนาคต รวมถึงจะมีรายได้จากเงินปันผล รายได้จากการขายทรัพย์สิน จากส่วนแบ่งกำไรในกรณีที่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพมีราคาสูงกว่าที่ได้คาดไว้ตามข้อกำหนดในสัญญาขาย ฯลฯ ดังนั้นภาระความเสียหายที่แท้จริงจึงยังไม่สามารถกำหนดได้โดยชัดเจนรัฐบาลจึงจะยังไม่ดำเนินการชดเชยภาระความเสียหายดังกล่าวให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในขณะนี้ แต่จะดำเนินการโดยทันทีในช่วงต่อไปเมื่อสามารถคำนวณความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนกว่านี้
ภาระผูกพันทางการเงินของรัฐบาลในส่วนที่สองเป็นภาระจากโครงการช่วยเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินสองโครงการ ความจำเป็นของรัฐบาลที่จะต้องใช้เงินในลักษณะภาระผูกพันดังกล่าวจะมีขึ้นทันทีเมื่อเริ่มโครงการ โดยคาดว่าความต้องการเงินในทั้งสองโครงการจะไม่ควรเกิน 300,000 ล้านบาท
การใช้เงินตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 มิได้หมายความว่าเป็นยอดเงินที่เสียหายต่อรัฐบาลแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามรัฐบาลอาจได้กำไรจากการขายหุ้นบุริมสิทธิ์ในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อระบบเศรษฐกิจฟื้นตัว และในกรณีที่สถาบันการเงินมีกำไร รัฐบาลจะได้รับเงินปันผลจากหุ้นของสถาบันการเงินเหล่านี้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลด้วย
สำหรับความช่วยเหลือตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 นั้น ในทางปฏิบัติแล้ว เป็นการแลกพันธบัตรรัฐบาล (ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนมือได้) กับหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ของสถาบันการเงิน รัฐบาลจึงไม่มีภาระในการชำระคืนเงินต้น เว้นแต่ว่าสถาบันการเงินที่รัฐบาลเข้าไปช่วยเหลือจะมีผลดำเนินการขาดทุนจนถึงขั้นปิดกิจการ และรัฐบาลต้องเฉลี่ยรายได้ที่ได้จากการขายทอดตลาดกับ เจ้าหนี้รายอื่นและสำหรับในส่วนของดอกเบี้ยนั้น รัฐบาลได้กำหนดให้หุ้นกู้ของสถาบันการเงินต้องมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลอยู่ร้อยละ 1 ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าความช่วยเหลือตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 จึงไม่สร้างภาระในการชำระคืนทั้งเงินต้น และดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล
4. การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินเป็นไปได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังเห็นควรให้มีการออกกฎหมาย 3 ฉบับ คือ
(1) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 (ฉบับที่..) พ.ศ. …
(2) พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ.…. และ
(3) พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. …. ร่างพระราชกำหนดทั้ง 3 ฉบับมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
4.1 ร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. ….
ร่างพระราชกำหนดฉบับนี้เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อช่วยลดอุปสรรคเกี่ยวกับการควบกิจการและการโอนกิจการระหว่างธนาคารพาณิชย์กับธนาคารพาณิชย์ หรือกับสถาบันการเงินอื่นตลอดจนกำหนดมาตรการในการช่วยเหลือกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการให้มีการควบกิจการหรือโอนกิจการตามความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม รวมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ลดทุนได้โดยไม่ต้องแจ้งการลดทุนเป็นหนังสือไปยังเจ้าหนี้ และสามารถลดมูลค่าหุ้นได้ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาทด้วย
4.2 ร่างพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. …..
ร่างพระราชกำหนดฉบับนี้เป็นกฎหมายรองรับการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อย คุณภาพที่ซื้อหรือรับโอนมาจากสถาบันการเงินโดยอนุญาตให้จัดตั้งในรูปบริษัทเอกชนสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 15 ได้ ให้กระบวนการซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินมีวิธีการที่คล่องตัวและสะดวกขึ้นและมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับโอนสินทรัพย์ การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
4.3 ร่างพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ….
ร่างพระราชกำหนดฉบับนี้ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากแหล่งเงินทุนในประเทศเพื่อนำมาใช้ตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่1 และชั้นที่ 2 ของสถาบันการเงินในระบบ โดยกำหนดวงเงินกู้รวมกันไม่เกิน 300,000 ล้านบาท และต้องกู้ภายใน 31 ธันวาคม 2543
กระทรวงการคลังจึงขอชี้แจงเรื่องแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินมาเพื่อทราบ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยทั่วกันต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 81/14 สิงหาคม 2541--
2.1 ธนาคารพาณิชย์สี่แห่งที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลดทุนธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 แล้วให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯเข้าไปเพิ่มทุน และได้เข้าแทรกแซงธนาคารศรีนครจำกัด (มหาชน) ธนาคารมหานครจำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน) ในช่วงเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2541 โดยการสั่งลดทุนและให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เข้าไปเพิ่มทุน และเปลี่ยนผู้บริหาร โดยทางการมีนโยบายที่จะหาเอกชนที่สนใจมาร่วมทุนในธนาคารดังกล่าวในอนาคต อย่างไรก็ดีธนาคารดังกล่าวมีสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก และต้องจูงใจ ผู้ฝากเงินด้วยการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง จึงมีผลการดำเนินงานขาดทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ในขณะนี้ธนาคารทั้งสี่แห่งมีเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างสถาบันการเงินที่ปรึกษา (JP Morgan) เพื่อตรวจสอบฐานะทางการเงินของธนาคารทั้งสี่แห่งอย่างละเอียด และเสนอแนะวิธีการจัดการกับสินทรัพย์ หนี้สิน และพนักงานของธนาคารทั้งสี่แห่ง โดยยึดหลักที่ว่าการแก้ปัญหาจะต้อง
(1) เกิดต้นทุนต่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯน้อยที่สุด
(2) ช่วยให้ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีจำนวนธนาคารขนาดเล็กลดลงเพื่อส่งเสริมการแข่งขันและเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบสถาบันการเงิน
(3) ทำให้เกิดความมั่นใจต่อทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
(4) ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ไม่ได้รับผลกระทบกระเทือน และ
(5) ดำเนินการแก้ปัญหาอย่างโปร่งใส ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมสำหรับธนาคารทั้งสี่แห่งแล้วสรุปได้ดังนี้
2.1.1 ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจำกัด (มหาชน)
เนื่องจากธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯ มีสินเชื่อด้อยคุณภาพซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก ฐานะการดำเนินงานของธนาคารไม่อยู่ในวิสัยที่จะประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้อย่างมั่นคง การฟื้นฟูกิจการจะต้องใช้เงินทุนจำนวนสูงมาก มีโอกาสที่จะหาผู้เข้าร่วมทุนได้น้อย จึงควรให้ดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องโดยรวมโดยการโอนทรัพย์สินส่วนที่ดี (อันได้แก่สินเชื่อที่ยังมีการจ่ายดอกเบี้ยอยู่อย่างต่อเนื่องและตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ) เงินฝากทั้งหมด และหนี้อื่นๆ รวมทั้งหนี้สินที่เป็นภาระผูกพันล่วงหน้าไปยังธนาคารกรุงไทยจำกัด(มหาชน) โดยไม่ให้ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ และผู้กู้เงินเดือดร้อน เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การฯ จะเหลือเพียงสินเชื่อด้อยคุณภาพ จึงควรแปลงสถานะเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) เพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของตัวธนาคารเอง และรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การฯ จะหยุดทำธุรกรรมใหม่ที่เกี่ยวกับการรับเงินฝาก การปล่อยสินเชื่อ การทำสัญญาค้ำประกัน การปริวรรตเงินตราต่างประเทศ และหยุดเพิ่มวงเงินกู้ที่ให้กับลูกค้าเก่าตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2541 ถ้าหากผู้ฝากเงินหรือเจ้าหนี้รายใดไม่ต้องการโอนไปที่ธนาคารกรุงไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯจะชำระคืนให้ตามการรับประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ ในส่วนของลูกหนี้ดีที่ยังไม่ได้เบิกสินเชื่อครบวงเงิน จะสามารถเบิกเงินได้จนครบจำนวน
ในส่วนของสินเชื่อด้อยคุณภาพนั้น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะจัดตั้งคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเพื่อพิจารณาคำขอสินเชื่อเพิ่มเติมสำหรับหนี้ด้อยคุณภาพที่อยู่ในข่าย ที่จะได้รับการประนอมหนี้ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯจะสามารถเบิกเงินดังกล่าวจากวงเงินที่ธนาคารกรุงไทยได้จัดตั้งให้พนักงานทั้งหมดของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯจะได้รับการจ้างต่อเป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นธนาคารกรุงไทยจะรับโอนพนักงานส่วนหนึ่งเพื่อให้บริการเงินฝากและสินเชื่อที่ดีที่ธนาคารกรุงไทยรับโอน ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯจะยังคงจ้างพนักงานส่วนหนึ่งเพื่อบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพที่เก็บไว้ที่ธนาคาร ในส่วนของพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทุกคน ธนาคารจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามกฎหมายแรงงานใหม่ ในส่วนของสาขาและอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ นั้น ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯจะขายให้กับธนาคารพาณิชย์ไทยต่อไป
ในการแก้ปัญหาครั้งนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะแปลงหนี้ที่ให้ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การฯ เป็นทุนของธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มทุนให้ธนาคารกรุงไทยส่วนหนึ่ง
2.1.2 ธนาคารมหานครจำกัด (มหาชน)
เนื่องจากฐานเงินฝากของธนาคารมหานครได้ลดลงมากในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารมหานครจึงอาจจะไม่เป็นที่ดึงดูดใจของสถาบันการเงินต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาแข่งขันในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ธนาคารมหานครมีจำนวนสาขาส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพ ซึ่งจะช่วยขยายขอบข่ายสาขาของธนาคารกรุงไทยซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในต่างจังหวัด และธนาคารมหานครมีลูกค้าที่เป็นผู้นำเข้าส่งออกจำนวนมาก ธนาคารกรุงไทยจึงตกลงที่จะรับโอนทรัพย์สินทั้งสิ้น และเงินฝากและหนี้สิน ทั้งหมดของธนาคารมหานครโดยไม่ให้ผู้ฝากเงินและลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อน พนักงานทั้งหมดของธนาคารมหานครจะได้รับการโอนมาเป็นพนักงานของธนาคารกรุงไทย สาขาของธนาคาร มหานครจะถูกรวมเข้ากับระบบสาขาของธนาคารกรุงไทยตามความเหมาะสม ส่วนสินเชื่อด้อย คุณภาพของธนาคารมหานครนั้น ธนาคารกรุงไทยจะตั้งหน่วยบริหารสินทรัพย์ขึ้นมาเพื่อบริหารสินทรัพย์ดังกล่าวเป็นพิเศษ
ในการนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะแปลงหนี้ที่ให้ธนาคารมหานครทั้งหมดเป็นทุนของธนาคารกรุงไทย เนื่องจากการดำเนินการตาม 2.1.1 และ 2.1.2 ธนาคารกรุงไทยจะมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านล้านบาท จึงควรมีการปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารกรุงไทยให้สามารถบริหารงานได้อย่างเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ ธนาคารพาณิชย์เอกชน ซึ่งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะดำเนินการต่อไปโดยเร็ว
2.1.3 ธนาคารศรีนครจำกัด (มหาชน) และธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน)
เนื่องจากธนาคารศรีนคร และธนาคารนครหลวงไทยมีเครือข่ายสาขา และฐานเงินฝากที่กว้างขวาง และมีระบบจัดการที่ดีพอสมควร ซึ่งจะเป็นที่สนใจของผู้ลงทุนเอกชน รัฐบาลจะเข้าไปเสริมสร้างความแข็งแกร่งโดยการเพิ่มทุนให้กับทั้งสองธนาคารก่อนที่จะเปิดโอกาสให้ภาค เอกชนที่สนใจเข้าร่วมทุน โดยคาดว่าจะเริ่มกระบวนการให้เอกชนที่สนใจยื่นข้อเสนอได้ภายในปลายเดือนกันยายน 2541
ในระหว่างนี้ธนาคารทั้งสองแห่งจะยังคงเป็นธนาคารของรัฐ ซึ่งบริหารโดยคณะผู้บริหารชุดเดิม กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะแปลงหนี้ทั้งหมดของธนาคารทั้งสองเป็นทุน และจะตั้งเงินสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้ครบถ้วนในทันทีตามเกณฑ์ปี 2543 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารทั้งสองแห่งจะมีฐานะมั่นคงขึ้น และเป็นที่สนใจของผู้ที่จะมาร่วมลงทุนใหม่มากขึ้น นอกจากนี้เพื่อจูงใจผู้ลงทุนใหม่ รัฐบาลยินดีที่จะพิจารณาข้อเสนอการค้ำประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากหนี้ด้อยคุณภาพที่มีอยู่เดิมด้วย
2.2 การแก้ปัญหาธนาคารพาณิชย์ 2 แห่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งเข้าแทรกแซง
เนื่องจากธนาคารแหลมทองจำกัด (มหาชน) และธนาคารสหธนาคารจำกัด (มหาชน) มีผลขาดทุนสูง มีเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยมาก และไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนได้ตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เข้าแทรกแซงธนาคารทั้งสองแห่งในวันนี้ (14 สิงหาคม 2541) โดยได้สั่งลดทุนให้ราคาหุ้นของธนาคารทั้งสองมีราคาหุ้นละหนึ่งสตางค์ ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าของเดิมเป็นผู้รับภาระความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นก่อนมีการแทรกแซง และเพื่อให้ธนาคารทั้งสองมีอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จึงได้เข้าไปเพิ่มทุน โดยใช้วิธีแปลงหนี้เป็นทุนและเพิ่มเม็ดเงินใหม่ นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้เปลี่ยนผู้บริหารของทั้งสองธนาคารด้วย
การเข้าแทรกแซงธนาคารทั้งสองแห่งในครั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เตรียมแผนรองรับไว้ก่อนแล้ว ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
2.2.1 ธนาคารแหลมทองจำกัด (มหาชน)
เนื่องจากธนาคารรัตนสินต้องการสร้างเครือข่ายสาขา ธนาคารรัตนสินจึงจะรวมกิจการกับธนาคารแหลมทอง โดยจะรับผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้รวมทั้งสินทรัพย์ สาขาและพนักงานทั้งหมดของธนาคารแหลมทองมาเป็นของธนาคารรัตนสิน ธนาคารแหลมทองจะต้องตั้งเงินสำรองเผื่อหนี้สูญให้ครบถ้วนในทันทีตามเกณฑ์ปี 2543 ก่อนการโอนเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ธนาคารรัตนสิน
2.2.2 ธนาคารสหธนาคารจำกัด (มหาชน)
ธนาคารสหธนาคารจะรวมกิจการเข้ากับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจจำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนอีก 12 แห่งที่ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยแทรกแซง การรวมกิจการของธนาคารสหธนาคารกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจนี้จะเป็นไปในลักษณะเดียวกับกรณีของธนาคารแหลมทองกับธนาคารรัตนสิน และจะมีสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ภายใต้ การบริหารของผู้บริหารจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ พนักงานของธนาคารสหธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกแทรกแซงทั้ง 12 แห่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของธนาคารพาณิชย์ใหม่ด้วย
2.3 การแก้ปัญหาบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซง
ในกรณีของบริษัทเงินทุน 7 แห่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าแทรกแซงเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น ในขณะนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจได้ว่าจ้างสถาบันการเงินที่ปรึกษาศึกษาวิธีที่จะรวม บริษัทเงินทุนทั้งเจ็ดแห่งเข้ากับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ เพื่อที่จะแปลงสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ภายหลังจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจได้รับโอนทรัพย์สินและหนี้สินจากธนาคารสหธนาคารตามที่กล่าวใน 2.2 แล้ว
สำหรับบริษัทเงินทุน 5 แห่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าแทรกแซงในวันนี้ (14 สิงหาคม 2541) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้วิธีการเดียวกับธนาคารสองแห่งที่ได้เข้าแทรกแซงพร้อมกัน คือสั่งลดทุน เปลี่ยนผู้บริหาร แล้วจึงเพิ่มทุนก่อนที่จะนำไปรวมกับธนาคารพาณิชย์ใหม่ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจจะเข้าไปควบรวมต่อไป
การรวมบริษัทเงินทุนเข้าด้วยกัน แล้วแปลงสถานะให้เป็นธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับแนวทางการแก้ปัญหาของบริษัทเงินทุนที่เหลืออยู่เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังตระหนักดีว่าบริษัทเงินทุนมีขอบเขตการประกอบธุรกิจจำกัดทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ในระยะยาวได้ จึงเห็นควรเปิดโอกาสให้บริษัทเงินทุนที่ยังเปิดดำเนินการอยู่ยื่นขอปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ได้
3. ภาระทางการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อรัฐบาล
ภาระทางการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อรัฐบาลจากการดำเนินมาตรการข้างต้นนี้ สามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ
(1) ส่วนที่จะต้องชดเชยความเสียหายต่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในกรณีการแก้ปัญหาของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง และบริษัทเงินทุน 7แห่งที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้เข้าแทรกแซงในช่วงแรก และธนาคารพาณิชย์อีก 2 แห่งและบริษัทเงินทุน 5 แห่งที่กองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯได้เข้าแทรกแซงในวันนี้ (14 สิงหาคม 2541) และ
(2) ภาระทางการเงินที่จะเกิดขึ้นจากโครงการช่วยเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินต่างๆ ในส่วนแรกนั้น ภาระความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะประกอบด้วย
(1) ความเสียหายจากการแปลงหนี้เป็นทุนในสถาบันการเงินที่ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยแทรกแซง เพื่อให้มีเงินกองทุนพอเพียงตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยหลังจากที่ได้กันเงินสำรองเผื่อหนี้สูญครบถ้วนในทันทีตามเกณฑ์ปี 2543
(2) ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประกันผลเสียหายเพิ่มเติมจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารมหานคร ที่ได้โอนให้ธนาคารกรุงไทย และจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารศรีนครและธนาคารนครหลวงไทยที่จะเกิดต่อผู้ร่วมลงทุน และ
(3) ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากการที่ ปรส. ขายทอดตลาดทรัพย์สินของ 56 บริษัทเงินทุนได้น้อยกว่าที่คาดไว้แต่เดิม
ความเสียหายที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงความเสียหายที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นทันทีในเบื้องต้นแต่เนื่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะมีรายได้จากการขายหุ้นที่ถืออยู่ในสถาบันการเงินเหล่านี้ในอนาคต รวมถึงจะมีรายได้จากเงินปันผล รายได้จากการขายทรัพย์สิน จากส่วนแบ่งกำไรในกรณีที่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพมีราคาสูงกว่าที่ได้คาดไว้ตามข้อกำหนดในสัญญาขาย ฯลฯ ดังนั้นภาระความเสียหายที่แท้จริงจึงยังไม่สามารถกำหนดได้โดยชัดเจนรัฐบาลจึงจะยังไม่ดำเนินการชดเชยภาระความเสียหายดังกล่าวให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในขณะนี้ แต่จะดำเนินการโดยทันทีในช่วงต่อไปเมื่อสามารถคำนวณความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนกว่านี้
ภาระผูกพันทางการเงินของรัฐบาลในส่วนที่สองเป็นภาระจากโครงการช่วยเพิ่มทุนให้สถาบันการเงินสองโครงการ ความจำเป็นของรัฐบาลที่จะต้องใช้เงินในลักษณะภาระผูกพันดังกล่าวจะมีขึ้นทันทีเมื่อเริ่มโครงการ โดยคาดว่าความต้องการเงินในทั้งสองโครงการจะไม่ควรเกิน 300,000 ล้านบาท
การใช้เงินตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 มิได้หมายความว่าเป็นยอดเงินที่เสียหายต่อรัฐบาลแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามรัฐบาลอาจได้กำไรจากการขายหุ้นบุริมสิทธิ์ในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อระบบเศรษฐกิจฟื้นตัว และในกรณีที่สถาบันการเงินมีกำไร รัฐบาลจะได้รับเงินปันผลจากหุ้นของสถาบันการเงินเหล่านี้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลด้วย
สำหรับความช่วยเหลือตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 นั้น ในทางปฏิบัติแล้ว เป็นการแลกพันธบัตรรัฐบาล (ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนมือได้) กับหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ของสถาบันการเงิน รัฐบาลจึงไม่มีภาระในการชำระคืนเงินต้น เว้นแต่ว่าสถาบันการเงินที่รัฐบาลเข้าไปช่วยเหลือจะมีผลดำเนินการขาดทุนจนถึงขั้นปิดกิจการ และรัฐบาลต้องเฉลี่ยรายได้ที่ได้จากการขายทอดตลาดกับ เจ้าหนี้รายอื่นและสำหรับในส่วนของดอกเบี้ยนั้น รัฐบาลได้กำหนดให้หุ้นกู้ของสถาบันการเงินต้องมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลอยู่ร้อยละ 1 ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าความช่วยเหลือตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 จึงไม่สร้างภาระในการชำระคืนทั้งเงินต้น และดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล
4. การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินเป็นไปได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังเห็นควรให้มีการออกกฎหมาย 3 ฉบับ คือ
(1) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 (ฉบับที่..) พ.ศ. …
(2) พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ.…. และ
(3) พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. …. ร่างพระราชกำหนดทั้ง 3 ฉบับมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
4.1 ร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. ….
ร่างพระราชกำหนดฉบับนี้เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อช่วยลดอุปสรรคเกี่ยวกับการควบกิจการและการโอนกิจการระหว่างธนาคารพาณิชย์กับธนาคารพาณิชย์ หรือกับสถาบันการเงินอื่นตลอดจนกำหนดมาตรการในการช่วยเหลือกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการให้มีการควบกิจการหรือโอนกิจการตามความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม รวมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ลดทุนได้โดยไม่ต้องแจ้งการลดทุนเป็นหนังสือไปยังเจ้าหนี้ และสามารถลดมูลค่าหุ้นได้ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาทด้วย
4.2 ร่างพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. …..
ร่างพระราชกำหนดฉบับนี้เป็นกฎหมายรองรับการประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อย คุณภาพที่ซื้อหรือรับโอนมาจากสถาบันการเงินโดยอนุญาตให้จัดตั้งในรูปบริษัทเอกชนสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 15 ได้ ให้กระบวนการซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินมีวิธีการที่คล่องตัวและสะดวกขึ้นและมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับโอนสินทรัพย์ การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
4.3 ร่างพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ….
ร่างพระราชกำหนดฉบับนี้ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากแหล่งเงินทุนในประเทศเพื่อนำมาใช้ตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่1 และชั้นที่ 2 ของสถาบันการเงินในระบบ โดยกำหนดวงเงินกู้รวมกันไม่เกิน 300,000 ล้านบาท และต้องกู้ภายใน 31 ธันวาคม 2543
กระทรวงการคลังจึงขอชี้แจงเรื่องแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินมาเพื่อทราบ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยทั่วกันต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 81/14 สิงหาคม 2541--