I. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
- เนื้อที่ (ตารางไมล์) 8,019
- จำนวนประชากร (ล้านคน) 4.97 (1991)
- เมืองหลวง JERUSALEM
- เมืองธุรกิจ TEL-AVIV, JAFFA, HAIFA
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจ (%) N.A.
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ N.A.
- อัตราเงินเฟ้อ 18.0 % (1990)
- รายได้เฉลี่ยต่อคน (เหรียญสหรัฐ) 10,500 (1990)
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา US$1 = 2.96 SEEQALIM (1993)
- ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ N.A.
- สินค้าส่งออกและนำเข้าที่สำคัญ - ส่งออก เพชรเจียรนัย เครื่องจักรและส่วนประกอบ
เคมีภัณฑ์ ผัก-ผลไม้สด เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า ผ้าผืน
- นำเข้า เพชรยังไม่ได้เจียรนัย เครื่องจักรและ
ส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ - ส่งออก สหรัฐ ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก อังกฤษ
ฮ่องกง
- นำเข้า สหรัฐ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี
อังกฤษ อิตาลี
- ภาษา HEBREW อารบิค อังกฤษ
- ศาสนา ยิว มุสลิม คริสเตียน
- เวลาแตกต่างจากไทย ช้ากว่า 5 ชั่วโมง
- ผู้นำประเทศ ประธานาธิบดี GEN. CHAIM HERZOG
II. ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย
ภาครัฐบาล
1. การลงนามใน Memorandum of Understanding for Counterpurchase ระหว่างไทย-บริษัท
Tadiran (อิสราเอล) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2537
ภาคเอกชน
1. ไม่มีความตกลงทางการค้าระหว่างกัน
III. ภาวะการค้ากับประเทศไทย
1. การส่งออก ในปี 2537 และปี 2538 ไทยส่งออกไปอิสราเอลเป็นมูลค่า 3,433.7 ล้านบาท และ
4,524.7 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.3 และ 0.3 ของมูลค่าการส่งออก
ทั้งหมดของประเทศ
2. สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ข้าว อาหารทะเลแปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก
รองเท้าและชิ้นส่วน ตู้เย็นและชิ้นส่วน
3. การนำเข้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยนำเข้าจากอิสราเอลเป็นมูลค่า 5,768.3 ล้านบาท และ
5,479.0 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.4 และ 0.3 ของมูลค่าการนำเข้า
ทั้งหมดของประเทศ
4. สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้า
เครื่องมือ เครื่องใช้และเครื่องจักรสำหรับการวัดและตรวจสอบต่าง ๆ พร้อมอุปกรณ์ อาวุธ กระสุน
วัตถุระเบิดและส่วนประกอบ ปุ๋ย ยุทธปัจจัย เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ยากำจัดศัตรูพืช เครื่องใช้ไฟฟ้า
5. ดุลการค้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยเสียเปรียบดุลการค้ามูลค่า 2,334.5 ล้านบาท และ 954.2
ล้านบาท ตามลำดับ
IV. ปัญหาทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย
1. โครงสร้างภาษียังมีความซับซ้อนและอัตราภาษียังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกคว่ำบาตรจาก
นานาประเทศ อิสราเอล มีอัตราภาษีหลายอัตราทั้งอัตราภาษีเฉพาะ และอัตราภาษีรวม (Specific and
Combined Rates)
2. อิสราเอลปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ และมีการกีดกันการนำเข้าอย่างเข้มงวด โดยใช้มาตรการ
เกี่ยวกับการขออนุญาต (Licensing) เซอร์ชาร์จการนำเข้า ค่าธรรมเนียมท่าเรือ และมาตรการทางด้านภาษี
3. การนำเข้าและการผลิตตามหลักศาสนายิว (Kosher) เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อนักลงทุนไทย โดยเฉพาะ
สินค้าประเภทอาหาร นักธุรกิจไทยต้องศึกษากฎ ระเบียบ และข้อบังคับทางศาสนา และปฎิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน
จึงสามารถส่งออกไปยังอิสราเอลได้
4. อิสราเอลเป็นประเทศที่มีนโยบายการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐ สหภาพยุโรป ส่งผลให้สินค้า
ไทยที่จะเข้าไปแข่งขันในอิสราเอลมีความเสียเปรียบสินค้าที่มาจากประเทศดังกล่าว
V. สินค้าที่ไทยมีลู่ทางขยายการส่งออก-นำเข้า
1. การส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับ ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง อาหาร
แปรรูป ผลไม้กระป๋อง ผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องตัดต่อหรือป้องกันวงจรไฟฟ้า ผ้าผืน รองเท้าแและ
ชิ้นส่วน อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เครื่องตกแต่งบ้าน
2. การนำเข้า อัญมณี เพชร เครื่องร่อน เครื่องบิน เรือและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและ
ชิ้นส่วน แร่ดิบ เคมีภัณฑ์ ยาปราบศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ผลิตภัณฑ์โลหะ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์
--สรุปความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย--
- เนื้อที่ (ตารางไมล์) 8,019
- จำนวนประชากร (ล้านคน) 4.97 (1991)
- เมืองหลวง JERUSALEM
- เมืองธุรกิจ TEL-AVIV, JAFFA, HAIFA
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจ (%) N.A.
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ N.A.
- อัตราเงินเฟ้อ 18.0 % (1990)
- รายได้เฉลี่ยต่อคน (เหรียญสหรัฐ) 10,500 (1990)
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา US$1 = 2.96 SEEQALIM (1993)
- ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ N.A.
- สินค้าส่งออกและนำเข้าที่สำคัญ - ส่งออก เพชรเจียรนัย เครื่องจักรและส่วนประกอบ
เคมีภัณฑ์ ผัก-ผลไม้สด เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า ผ้าผืน
- นำเข้า เพชรยังไม่ได้เจียรนัย เครื่องจักรและ
ส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ - ส่งออก สหรัฐ ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก อังกฤษ
ฮ่องกง
- นำเข้า สหรัฐ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี
อังกฤษ อิตาลี
- ภาษา HEBREW อารบิค อังกฤษ
- ศาสนา ยิว มุสลิม คริสเตียน
- เวลาแตกต่างจากไทย ช้ากว่า 5 ชั่วโมง
- ผู้นำประเทศ ประธานาธิบดี GEN. CHAIM HERZOG
II. ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย
ภาครัฐบาล
1. การลงนามใน Memorandum of Understanding for Counterpurchase ระหว่างไทย-บริษัท
Tadiran (อิสราเอล) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2537
ภาคเอกชน
1. ไม่มีความตกลงทางการค้าระหว่างกัน
III. ภาวะการค้ากับประเทศไทย
1. การส่งออก ในปี 2537 และปี 2538 ไทยส่งออกไปอิสราเอลเป็นมูลค่า 3,433.7 ล้านบาท และ
4,524.7 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.3 และ 0.3 ของมูลค่าการส่งออก
ทั้งหมดของประเทศ
2. สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ข้าว อาหารทะเลแปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก
รองเท้าและชิ้นส่วน ตู้เย็นและชิ้นส่วน
3. การนำเข้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยนำเข้าจากอิสราเอลเป็นมูลค่า 5,768.3 ล้านบาท และ
5,479.0 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.4 และ 0.3 ของมูลค่าการนำเข้า
ทั้งหมดของประเทศ
4. สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้า
เครื่องมือ เครื่องใช้และเครื่องจักรสำหรับการวัดและตรวจสอบต่าง ๆ พร้อมอุปกรณ์ อาวุธ กระสุน
วัตถุระเบิดและส่วนประกอบ ปุ๋ย ยุทธปัจจัย เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ยากำจัดศัตรูพืช เครื่องใช้ไฟฟ้า
5. ดุลการค้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยเสียเปรียบดุลการค้ามูลค่า 2,334.5 ล้านบาท และ 954.2
ล้านบาท ตามลำดับ
IV. ปัญหาทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย
1. โครงสร้างภาษียังมีความซับซ้อนและอัตราภาษียังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกคว่ำบาตรจาก
นานาประเทศ อิสราเอล มีอัตราภาษีหลายอัตราทั้งอัตราภาษีเฉพาะ และอัตราภาษีรวม (Specific and
Combined Rates)
2. อิสราเอลปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ และมีการกีดกันการนำเข้าอย่างเข้มงวด โดยใช้มาตรการ
เกี่ยวกับการขออนุญาต (Licensing) เซอร์ชาร์จการนำเข้า ค่าธรรมเนียมท่าเรือ และมาตรการทางด้านภาษี
3. การนำเข้าและการผลิตตามหลักศาสนายิว (Kosher) เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อนักลงทุนไทย โดยเฉพาะ
สินค้าประเภทอาหาร นักธุรกิจไทยต้องศึกษากฎ ระเบียบ และข้อบังคับทางศาสนา และปฎิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน
จึงสามารถส่งออกไปยังอิสราเอลได้
4. อิสราเอลเป็นประเทศที่มีนโยบายการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐ สหภาพยุโรป ส่งผลให้สินค้า
ไทยที่จะเข้าไปแข่งขันในอิสราเอลมีความเสียเปรียบสินค้าที่มาจากประเทศดังกล่าว
V. สินค้าที่ไทยมีลู่ทางขยายการส่งออก-นำเข้า
1. การส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับ ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง อาหาร
แปรรูป ผลไม้กระป๋อง ผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องตัดต่อหรือป้องกันวงจรไฟฟ้า ผ้าผืน รองเท้าแและ
ชิ้นส่วน อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เครื่องตกแต่งบ้าน
2. การนำเข้า อัญมณี เพชร เครื่องร่อน เครื่องบิน เรือและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและ
ชิ้นส่วน แร่ดิบ เคมีภัณฑ์ ยาปราบศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ผลิตภัณฑ์โลหะ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์
--สรุปความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย--