สศข.3 แนะวิธีเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติให้เกษตรกรมีอาชีพเสริมและรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น ย้ำชัดผลตอบแทนคุ้มค่า โดยไม่ต้องไม่พึ่งพาเทคโนโลยี ชี้เป็นการนำ ทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า จังหวัดอุดรธานีได้มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) หรือหมูชีวภาพ เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรให้มีอาชีพเสริมและมีรายได้ เพิ่มขึ้น โดยทางจังหวัด ได้ดำเนินการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าว จากการคัดเลือกเกษตรกรที่ลงทะเบียน ปัญหาสังคมและความยากจนจาก 18 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรมไปแล้ว 3 รุ่น โดยรุ่นที่ 3 เป็นตัวแทนเกษตรกรจากอำเภอเมืองอุดรธานี หนองวัวซอ กุดจับ หนองหาน และอำเภอไชยวาน
การเลี้ยงหมูหลุมหรือหมูชีวภาพเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติหรือผลพลอยได้ทางการเกษตร มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลตอบแทนจากการเลี้ยงนอกจากจะมีรายได้จากการขายตัวหมูแล้ว ยังได้ปุ๋ยชีวภาพจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ซึ่งการเลี้ยงหมูโดยทั่วไปส่วนใหญ่ เป็นการเลี้ยงที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและไม่เอื้อต่อการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรกรรายย่อย ไม่สามารถเลี้ยงได้เนื่องจากมีการลงทุนในปัจจัยการผลิตต่าง ๆ สูงมาก นอกจากนี้ถ้าขาด การบริหารจัดการของเสียจากฟาร์มที่ดี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น น้ำเสีย แมลงวัน รวมทั้งโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
สำหรับการเลี้ยงหมูหลุมมีขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงดังนี้คือ เริ่มจากการสร้างโรงเรือน ต้องเลือกสถานที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง วัสดุการก่อสร้างต้องหาง่าย และอากาศถ่ายเทสะดวก ส่วนการขุดหลุมนั้น ต้องขุดหลุมให้ลึก 90 เซนติเมตร กว้างยาวแล้วแต่จำนวนหมู โดยพื้นที่ต่อตัวประมาณ 1-1.5 ตารางเมตร จากนั้นก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้านและให้สูงกว่าปากหลุม ประมาณ 30 เซนติเมตร โดยไม่ต้องเทพื้น และขั้นตอนสุดท้ายคือการเลือกวัสดุที่ใช้รองพื้นคอก ให้ใช้แกลบดินและมูลวัว
ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการเลี้ยงหมูหลุม จะทำให้ต้นทุนค่าอาหารถูกกว่าการเลี้ยงหมู โดยใช้อาหารสำเร็จรูปประมาณ 50 % ลดการเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กลิ่น น้ำเสีย และมูลสุกร เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่เอื้อต่อการเกษตรแบบผสมผสาน คือ ได้ปุ๋ยหมักที่สามารถนำไปใช้ ในกิจกรรมทางพืช ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและใช้ผลพลอยได้จากกิจกรรมทางพืชเป็นอาหารสุกร อีกทั้งผู้เลี้ยงยังมี สุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดีเนื่องจากการใช้สารเคมีต่ำนั่นเอง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า จังหวัดอุดรธานีได้มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) หรือหมูชีวภาพ เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรให้มีอาชีพเสริมและมีรายได้ เพิ่มขึ้น โดยทางจังหวัด ได้ดำเนินการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าว จากการคัดเลือกเกษตรกรที่ลงทะเบียน ปัญหาสังคมและความยากจนจาก 18 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ ซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรมไปแล้ว 3 รุ่น โดยรุ่นที่ 3 เป็นตัวแทนเกษตรกรจากอำเภอเมืองอุดรธานี หนองวัวซอ กุดจับ หนองหาน และอำเภอไชยวาน
การเลี้ยงหมูหลุมหรือหมูชีวภาพเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติหรือผลพลอยได้ทางการเกษตร มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลตอบแทนจากการเลี้ยงนอกจากจะมีรายได้จากการขายตัวหมูแล้ว ยังได้ปุ๋ยชีวภาพจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ซึ่งการเลี้ยงหมูโดยทั่วไปส่วนใหญ่ เป็นการเลี้ยงที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและไม่เอื้อต่อการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรกรรายย่อย ไม่สามารถเลี้ยงได้เนื่องจากมีการลงทุนในปัจจัยการผลิตต่าง ๆ สูงมาก นอกจากนี้ถ้าขาด การบริหารจัดการของเสียจากฟาร์มที่ดี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น น้ำเสีย แมลงวัน รวมทั้งโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
สำหรับการเลี้ยงหมูหลุมมีขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงดังนี้คือ เริ่มจากการสร้างโรงเรือน ต้องเลือกสถานที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง วัสดุการก่อสร้างต้องหาง่าย และอากาศถ่ายเทสะดวก ส่วนการขุดหลุมนั้น ต้องขุดหลุมให้ลึก 90 เซนติเมตร กว้างยาวแล้วแต่จำนวนหมู โดยพื้นที่ต่อตัวประมาณ 1-1.5 ตารางเมตร จากนั้นก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้านและให้สูงกว่าปากหลุม ประมาณ 30 เซนติเมตร โดยไม่ต้องเทพื้น และขั้นตอนสุดท้ายคือการเลือกวัสดุที่ใช้รองพื้นคอก ให้ใช้แกลบดินและมูลวัว
ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการเลี้ยงหมูหลุม จะทำให้ต้นทุนค่าอาหารถูกกว่าการเลี้ยงหมู โดยใช้อาหารสำเร็จรูปประมาณ 50 % ลดการเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กลิ่น น้ำเสีย และมูลสุกร เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่เอื้อต่อการเกษตรแบบผสมผสาน คือ ได้ปุ๋ยหมักที่สามารถนำไปใช้ ในกิจกรรมทางพืช ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและใช้ผลพลอยได้จากกิจกรรมทางพืชเป็นอาหารสุกร อีกทั้งผู้เลี้ยงยังมี สุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดีเนื่องจากการใช้สารเคมีต่ำนั่นเอง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-