ความต้องการใช้
1. ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 2,821 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 100.7 ล้านลิตร หรือ 633,699 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการใช้ร้อยละ 43 น้ำมันเตา ร้อยละ 20 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 19 น้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 9 และก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 8 และในเดือนนี้บริษัทคูเวตปิโตรเลียม จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการค้าน้ำมันเจ.พี. 1 เพิ่มขึ้นอีก 1 ชนิด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2541 ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว และได้เริ่มจำหน่ายน้ำมันเจ.พี.1 เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายของเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อน
- ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 147 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 4.9 โดย ก๊าซแอลพีจี เจ.พี.1 น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันเตา ลดลง ร้อยละ 13.8 6.4 6.1 3.9 และ 3.2 ตามลำดับ
- ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2541 วันละ 1.9 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 1.8 ชนิดน้ำมันที่สำคัญที่ลดลงมากที่สุดได้แก่ ก๊าซแอลพีจี น้ำมันเบนซิน น้ำมันเตา ลดลงร้อยละ 7.7 6.1 และ 1.8 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.9
ส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ ปตท.มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 33.0 จากปริมาณการจำหน่าย 932 ล้านลิตร (รวมปริมาณที่จำหน่ายให้ กฟผ. 245 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 8.7 ของปริมาณการจำหน่ายทั้งประเทศ) อันดับที่ 2 คือ เอสโซ่ ร้อยละ 17.4 มีปริมาณการจำหน่าย 492 ล้านลิตร อันดับที่ 3 คือ เชลล์ ร้อยละ 14.2 จากปริมาณการจำหน่าย 400 ล้านลิตร อันดับที่ 4 คาลเท็กซ์ ร้อยละ 8.1 ปริมาณ 229 ล้านลิตร อันดับที่ 5 บางจาก ร้อยละ 7.1 ปริมาณ 199 ล้านลิตร สำหรับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายอื่นๆ มีปริมาณการจำหน่าย รวมกัน 569 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 20.2
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 585 ล้านลิตร หรือ วันละ 20.9 ล้านลิตร
- น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 512 ล้านลิตร หรือ วันละ 18.3 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย คือ สิงคโปร์ร้อยละ 57 จีนร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 17.2 และ ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 16.5
- น้ำมันองค์ประกอบ ปริมาณ 16 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ และเกาหลี
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) ปริมาณ 57 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ และเวียดนาม
การจัดหา
1. การผลิต ปริมาณ 3,280 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 117.2 ล้านลิตร หรือ 736,898 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 39 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 22 น้ำมันเตา ร้อยละ 19 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 10 และน้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 9 การผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.7 และลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 4.9
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,116 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 111.3 ล้านลิตร หรือ 699,965 บาเรล/วัน ลดลงจากเดือนมกราคมที่ผ่านมา 112 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ร้อยละ 11.4 โดยโรงกลั่นน้ำมันนำน้ำมันดิบและน้ำมันอื่น ๆ เข้าขบวนการกลั่น 3,445 ล้านลิตร เฉลี่ย 773,851 บาเรล/วัน และในเดือนนี้โรงแยกงาน Condensate Residue ของ บจ.ระยองเพียวริฟายเออร์ ได้ปิดเพื่อปรับปรุงและซ่อมแซมเครื่องจักรตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค. - 11 มี.ค. 2542
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 87 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,108 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 396 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 19.9 และลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2541 วันละ 337 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 9.8 โดยโรงแยกก๊าซฯ ปตท. หน่วยที่ 3 มีการหยุดเพื่อซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี ระหว่างวันที่ 12-26 กุมภาพันธ์
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต ปริมาณ 2 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 63 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 69.6 และลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 82.9 โดย บมจ.อะโรเมติกส์ ได้หยุดเพื่อซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี ระหว่างวันที่ 26 มกราคม - 26 กุมภาพันธ์
2. การนำเข้า น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณ รวมทั้งสิ้น 2,840 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 101.4 ล้านลิตร หรือ 638,079 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 7,299 ล้านบาท (ไม่รวมการนำเข้า MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 14 ล้านลิตร มูลค่า 73 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 2,776 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 99.2 ล้านลิตร หรือ 623,705 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 7,080 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย (US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,387 10.74 86.0
ตะวันออกไกล 389 11.97 14.0
รวม 2,776 10.91 100.0
- ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 13.8 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 12.2 โดยการนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 2.1 และจากแหล่งตะวันออกไกลลดลงถึงร้อยละ 46 สำหรับมูลค่าการนำเข้าลดลง 6,333 ล้านบาท หรือลดลงถึงร้อยละ 47.2 มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปัจจุบันอ่อนตัวลงมาก และค่าเงินบาทของไทยแข็งตัวขึ้นจาก 46.61 เป็น 37.19 บาท/เหรียญสหรัฐฯ
- ปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 0.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 10.3 มูลค่าลดลง 748 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.6 โดยการนำเข้าจากตะวันออกไกลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.7 และจากตะวันออกกลางลดลงร้อยละ 33.0
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 64 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 2.3 ล้านลิตร หรือ 14,373 บาเรล/วัน มูลค่า 219 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 94 และน้ำมันเบนซินร้อยละ 6 เป็นการนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์
- เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 1.4 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 150.1 มูลค่าเพิ่มขึ้น 71 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 48.3
- เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 0.5 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 13.8 มูลค่าลดลง 8 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3.6
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - กุมภาพันธ์ 2542
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 5,789 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 98.1 ล้านลิตร หรือ 617,107 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.3 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 4.1
1.2 การส่งออก ปริมาณ 1,125 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 19.1 ล้านลิตร หรือ 119,920 บาเรล/วัน โดยเป็นการส่งออกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 32 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 29 และ ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 18 การส่งออกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 2.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 15.9
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 6,848 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 116.1 ล้านลิตร หรือ 730,060 บาเรล/วัน เพิ่มขึ้นวันละ 6.0 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 5.4 โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ จากโรงกลั่นน้ำมัน 7 แห่ง โรงแยกก๊าซฯ และผลิตผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 6,728 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 114.0 ล้านลิตร หรือ 717,298 บาเรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 5.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.7
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 120 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 2.0 ล้านลิตร หรือ 12,818 บาเรล/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ และเมื่อเทียบกับการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นวันละ 0.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 68.9
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 5,870 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 99.5 ล้านลิตร หรือ 625,841 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 14,911 ล้านบาท โดยนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางร้อยละ 79.1 ตะวันออกไกล ร้อยละ 16.6 และจากแหล่งอื่น ๆ อีกร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณลดลงวันละ 4.3 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 4.1 มูลค่าการนำเข้าลดลง 13,691 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 47.9
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
1. ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 2,821 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 100.7 ล้านลิตร หรือ 633,699 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการใช้ร้อยละ 43 น้ำมันเตา ร้อยละ 20 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 19 น้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 9 และก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 8 และในเดือนนี้บริษัทคูเวตปิโตรเลียม จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการค้าน้ำมันเจ.พี. 1 เพิ่มขึ้นอีก 1 ชนิด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2541 ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว และได้เริ่มจำหน่ายน้ำมันเจ.พี.1 เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการจำหน่ายของเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อน
- ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 147 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 4.9 โดย ก๊าซแอลพีจี เจ.พี.1 น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันเตา ลดลง ร้อยละ 13.8 6.4 6.1 3.9 และ 3.2 ตามลำดับ
- ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2541 วันละ 1.9 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 1.8 ชนิดน้ำมันที่สำคัญที่ลดลงมากที่สุดได้แก่ ก๊าซแอลพีจี น้ำมันเบนซิน น้ำมันเตา ลดลงร้อยละ 7.7 6.1 และ 1.8 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.9
ส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ ปตท.มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 33.0 จากปริมาณการจำหน่าย 932 ล้านลิตร (รวมปริมาณที่จำหน่ายให้ กฟผ. 245 ล้านลิตร คิดเป็น ร้อยละ 8.7 ของปริมาณการจำหน่ายทั้งประเทศ) อันดับที่ 2 คือ เอสโซ่ ร้อยละ 17.4 มีปริมาณการจำหน่าย 492 ล้านลิตร อันดับที่ 3 คือ เชลล์ ร้อยละ 14.2 จากปริมาณการจำหน่าย 400 ล้านลิตร อันดับที่ 4 คาลเท็กซ์ ร้อยละ 8.1 ปริมาณ 229 ล้านลิตร อันดับที่ 5 บางจาก ร้อยละ 7.1 ปริมาณ 199 ล้านลิตร สำหรับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายอื่นๆ มีปริมาณการจำหน่าย รวมกัน 569 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 20.2
2. การส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่างประเทศ รวมปริมาณ 585 ล้านลิตร หรือ วันละ 20.9 ล้านลิตร
- น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 512 ล้านลิตร หรือ วันละ 18.3 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย คือ สิงคโปร์ร้อยละ 57 จีนร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 17.2 และ ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 16.5
- น้ำมันองค์ประกอบ ปริมาณ 16 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ และเกาหลี
- น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) ปริมาณ 57 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ และเวียดนาม
การจัดหา
1. การผลิต ปริมาณ 3,280 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 117.2 ล้านลิตร หรือ 736,898 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 39 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 22 น้ำมันเตา ร้อยละ 19 ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 10 และน้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 9 การผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.7 และลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 4.9
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,116 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 111.3 ล้านลิตร หรือ 699,965 บาเรล/วัน ลดลงจากเดือนมกราคมที่ผ่านมา 112 ล้านลิตร หรือร้อยละ 3.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ร้อยละ 11.4 โดยโรงกลั่นน้ำมันนำน้ำมันดิบและน้ำมันอื่น ๆ เข้าขบวนการกลั่น 3,445 ล้านลิตร เฉลี่ย 773,851 บาเรล/วัน และในเดือนนี้โรงแยกงาน Condensate Residue ของ บจ.ระยองเพียวริฟายเออร์ ได้ปิดเพื่อปรับปรุงและซ่อมแซมเครื่องจักรตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค. - 11 มี.ค. 2542
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 87 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,108 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 396 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 19.9 และลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2541 วันละ 337 เมตริกตัน หรือ ร้อยละ 9.8 โดยโรงแยกก๊าซฯ ปตท. หน่วยที่ 3 มีการหยุดเพื่อซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี ระหว่างวันที่ 12-26 กุมภาพันธ์
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต ปริมาณ 2 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 63 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 69.6 และลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 82.9 โดย บมจ.อะโรเมติกส์ ได้หยุดเพื่อซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี ระหว่างวันที่ 26 มกราคม - 26 กุมภาพันธ์
2. การนำเข้า น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณ รวมทั้งสิ้น 2,840 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 101.4 ล้านลิตร หรือ 638,079 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 7,299 ล้านบาท (ไม่รวมการนำเข้า MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 14 ล้านลิตร มูลค่า 73 ล้านบาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 2,776 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 99.2 ล้านลิตร หรือ 623,705 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 7,080 ล้านบาท โดยแยกรายละเอียดได้ดังนี้
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย (US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,387 10.74 86.0
ตะวันออกไกล 389 11.97 14.0
รวม 2,776 10.91 100.0
- ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 13.8 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 12.2 โดยการนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 2.1 และจากแหล่งตะวันออกไกลลดลงถึงร้อยละ 46 สำหรับมูลค่าการนำเข้าลดลง 6,333 ล้านบาท หรือลดลงถึงร้อยละ 47.2 มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปัจจุบันอ่อนตัวลงมาก และค่าเงินบาทของไทยแข็งตัวขึ้นจาก 46.61 เป็น 37.19 บาท/เหรียญสหรัฐฯ
- ปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 0.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 10.3 มูลค่าลดลง 748 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.6 โดยการนำเข้าจากตะวันออกไกลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.7 และจากตะวันออกกลางลดลงร้อยละ 33.0
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 64 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 2.3 ล้านลิตร หรือ 14,373 บาเรล/วัน มูลค่า 219 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 94 และน้ำมันเบนซินร้อยละ 6 เป็นการนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์
- เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 1.4 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 150.1 มูลค่าเพิ่มขึ้น 71 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 48.3
- เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา วันละ 0.5 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 13.8 มูลค่าลดลง 8 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3.6
ปริมาณการจำหน่ายและการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
มกราคม - กุมภาพันธ์ 2542
1. การจำหน่าย
1.1 จำหน่ายภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 5,789 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 98.1 ล้านลิตร หรือ 617,107 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.3 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 4.1
1.2 การส่งออก ปริมาณ 1,125 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 19.1 ล้านลิตร หรือ 119,920 บาเรล/วัน โดยเป็นการส่งออกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 32 น้ำมันเบนซิน ร้อยละ 29 และ ก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 18 การส่งออกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 2.6 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 15.9
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 6,848 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 116.1 ล้านลิตร หรือ 730,060 บาเรล/วัน เพิ่มขึ้นวันละ 6.0 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 5.4 โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ จากโรงกลั่นน้ำมัน 7 แห่ง โรงแยกก๊าซฯ และผลิตผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 6,728 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 114.0 ล้านลิตร หรือ 717,298 บาเรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 5.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.7
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ ปริมาณรวมทั้งสิ้น 120 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 2.0 ล้านลิตร หรือ 12,818 บาเรล/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ และเมื่อเทียบกับการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นวันละ 0.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 68.9
น้ำมันดิบ
มีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 5,870 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 99.5 ล้านลิตร หรือ 625,841 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 14,911 ล้านบาท โดยนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางร้อยละ 79.1 ตะวันออกไกล ร้อยละ 16.6 และจากแหล่งอื่น ๆ อีกร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณลดลงวันละ 4.3 ล้านลิตร หรือ ร้อยละ 4.1 มูลค่าการนำเข้าลดลง 13,691 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 47.9
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--