สำนักงานเศรษฐกิจการคลังแถลงตัวเลขเศรษฐกิจเดือนธันวาคม พบว่าเศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคมยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยการส่งออกเป็นพระเอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่การนำเข้าชะลอตัวลงส่งผลให้เกิดดุลการค้าสูงที่สุดในรอบปี 2547 นอกจากนั้นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศมีความมั่นคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อได้ปรับตัวลดลง และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบปี
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนธันวาคม 2547 ดังนี้
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี อุปสงค์การบริโภคของประชาชนยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทั้งในกลุ่มสินค้าทั่วไป และสินค้าคงทนอันได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า สะท้อนจากรายได้ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 ต่อปี สอดคล้องกับการขยายตัวของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศในเดือนธันวาคมขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 ช่วงเดียวกันของปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชนและความมั่นใจของนักลงทุนยังคงขยายตัวสูง การลงทุนภาคเอกชนทั้งจากการลงทุนใหม่และใช้ในการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยังคงขยายตัวสูง เนื่องจากนักลงทุนมีความมั่นใจต่อพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย โดยการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ทั้งปี 2547 (เดือนมกราคม — ธันวาคม) เพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 105.7 เทียบกับปีก่อน
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง มูลค่าการส่งออกเดือนธันวาคมอยู่ที่ 8,468 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 16.4 ขณะที่การนำเข้าเดือนธันวาคมชะลอตัวจากเดือนก่อนโดยมีมูลค่า 7,546 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 2.9 ซึ่งต่ำกว่าการขยายตัวของการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าประจำเดือนธันวาคมเกินดุลทั้งสิ้น 922.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเกินดุลสูงที่สุดในรอบปี เป็นผลส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลง
การใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ในระดับอย่างต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 74.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 9.5 อยู่ที่ 150.6 จุด โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดี ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นสูงตามการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ออกสูงตลาด และอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวสูงกว่าเงินฝากอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 11.2 ในเดือนพฤศจิกายน สูงกว่าการขยายตัวของเงินฝากที่เพิ่มขึ้นในระดับต่ำเพียงร้อยละ 2.7 ซึ่งจะช่วยลดสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงจากร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อน เนื่องมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงจากเดือนก่อน สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5 ในเดือนธันวาคม ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนพฤศจิกายนเกินดุลระดับสูงที่ 845 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทุนสำรองทางการอยู่ระดับที่มั่นคงที่ 49.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนธันวาคม คิดเป็น 5.6 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 4.1 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,103,832 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.58 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายาน 2547 ที่มีมูลค่าเท่ากับ 3,110 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.67 ของ GDP ทั้งนี้คิดเป็นหนี้ในประเทศ ร้อยละ 79.02 และหนี้ต่าง ประเทศ ร้อยละ 20.98
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 3/2548 28 มกราคม 2548--
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนธันวาคม 2547 ดังนี้
การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี อุปสงค์การบริโภคของประชาชนยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทั้งในกลุ่มสินค้าทั่วไป และสินค้าคงทนอันได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า สะท้อนจากรายได้ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากสินค้าคงทนในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 ต่อปี สอดคล้องกับการขยายตัวของรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศในเดือนธันวาคมขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 ช่วงเดียวกันของปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชนและความมั่นใจของนักลงทุนยังคงขยายตัวสูง การลงทุนภาคเอกชนทั้งจากการลงทุนใหม่และใช้ในการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยังคงขยายตัวสูง เนื่องจากนักลงทุนมีความมั่นใจต่อพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย โดยการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ทั้งปี 2547 (เดือนมกราคม — ธันวาคม) เพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 105.7 เทียบกับปีก่อน
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูง มูลค่าการส่งออกเดือนธันวาคมอยู่ที่ 8,468 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 16.4 ขณะที่การนำเข้าเดือนธันวาคมชะลอตัวจากเดือนก่อนโดยมีมูลค่า 7,546 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 2.9 ซึ่งต่ำกว่าการขยายตัวของการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้าประจำเดือนธันวาคมเกินดุลทั้งสิ้น 922.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเกินดุลสูงที่สุดในรอบปี เป็นผลส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลง
การใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ในระดับอย่างต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 74.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 9.5 อยู่ที่ 150.6 จุด โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดี ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นสูงตามการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ออกสูงตลาด และอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
สินเชื่อทั้งจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวสูงกว่าเงินฝากอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs ขยายตัวร้อยละ 11.2 ในเดือนพฤศจิกายน สูงกว่าการขยายตัวของเงินฝากที่เพิ่มขึ้นในระดับต่ำเพียงร้อยละ 2.7 ซึ่งจะช่วยลดสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงจากร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อน เนื่องมาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงจากเดือนก่อน สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.5 ในเดือนธันวาคม ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนพฤศจิกายนเกินดุลระดับสูงที่ 845 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทุนสำรองทางการอยู่ระดับที่มั่นคงที่ 49.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนธันวาคม คิดเป็น 5.6 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 4.1 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,103,832 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.58 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายาน 2547 ที่มีมูลค่าเท่ากับ 3,110 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.67 ของ GDP ทั้งนี้คิดเป็นหนี้ในประเทศ ร้อยละ 79.02 และหนี้ต่าง ประเทศ ร้อยละ 20.98
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 3/2548 28 มกราคม 2548--