ความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนพฤศจิกายน 2540 โดยสรุปดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนพฤศจิกายน 2540
- ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2540 เท่ากับ 146.7 (2533 = 100)
2. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนพฤศจิกายน 2540
2.1 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2540 สูงขึ้นร้อยละ 0.8
2.2 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2539 สูงขึ้นร้อยละ 7.6
2.3 เมื่อเทียบดัชนีราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2540 กับช่วงเดียวกันของปี 2539 สูงขึ้นร้อยละ 5.5
3. เหตุผล
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2540 สูงขึ้นจากเดือนตุลาคม 2540 ร้อยละ 0.8 ทั้งนี้ เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.5 เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาโดยเฉลี่ยลดลง ร้อยละ 0.1
3.1 สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง
- เนื้อหมู เนื่องจากปริมาณหมูที่ออกสู่ตลาดมีมาก
- ผัก ได้แก่ ผักชี ต้นหอม มะเขือเทศสีดา กะหล่ำปลี พริกชี้ฟ้า ฟักเขียว ถั่วลันเตา หัวหอมแห้ง และกระเทียมแห้ง จากการที่สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิต ทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน และมะละกอสุก จากการที่ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล
- ไข่ไก่ จากการที่สภาพอากาศในช่วงนี้เอื้ออำนวยต่อการให้ไข่
3.2 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ได้แก่ กาแฟเย็น น้ำแข็งเปล่าน้ำดื่มบริสุทธิ์ โซดา และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
- การขนส่งสาธารณะ และการสื่อสาร ได้แก่ ค่าโดยสารรถไฟ ค่าโดยสารรถแท็กซี่ ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง ค่าโดยสารรถประจำทาง และค่าบริการใช้โทรศัพท์
- การบันเทิง ได้แก่ เครื่องเล่นวิดีโอ ค่าเช่าโต๊ะสนุกเกอร์ ค่าเช่าสนามเทนนิส ค่าเช่าสระว่ายน้ำ และไม้แบดมินตัน
3.3 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ค่ากระแสไฟฟ้า จากการปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น
- น้ำมันเชื้อเพลิงได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
- ผลิตภัณฑ์นมได้แก่นมผงและนมข้นหวาน จากการปรับราคาจำหน่ายตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
- อาหารที่ซื้อบริโภค ได้แก่ ข้าวราดแกง กับข้าวสำเร็จรูป และข้าวผัด จากการปรับราคาจำหน่ายในบางตลาดตามต้นทุนดำเนินการ และภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น
- อาหารที่ซื้อจากตลาด ได้แก่ น้ำมันพืช ซึ่งมีการปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ ซีอิ้วขาว แยมผลไม้ ซ๊อสมะเขือเทศ ปลากระป๋อง และน้ำตาลทรายขาว ก็มีการปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นด้วย
- หนังสือพิมพ์ จากการที่หนังสือพิมพ์บางฉบับได้ปรับราคาจำหน่ายจาก 7 บาทเป็น 8 บาท ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
- การตรวจรักษา ได้แก่ ค่าห้องพักคนไข้ในโรงพยาบาล ค่าตรวจโรค และค่าถอนฟัน ตามต้นทุนดำเนินการที่เพิ่มขึ้น
--กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์--
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนพฤศจิกายน 2540 โดยสรุปดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนพฤศจิกายน 2540
- ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2540 เท่ากับ 146.7 (2533 = 100)
2. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนพฤศจิกายน 2540
2.1 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2540 สูงขึ้นร้อยละ 0.8
2.2 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2539 สูงขึ้นร้อยละ 7.6
2.3 เมื่อเทียบดัชนีราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2540 กับช่วงเดียวกันของปี 2539 สูงขึ้นร้อยละ 5.5
3. เหตุผล
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2540 สูงขึ้นจากเดือนตุลาคม 2540 ร้อยละ 0.8 ทั้งนี้ เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.5 เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาโดยเฉลี่ยลดลง ร้อยละ 0.1
3.1 สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง
- เนื้อหมู เนื่องจากปริมาณหมูที่ออกสู่ตลาดมีมาก
- ผัก ได้แก่ ผักชี ต้นหอม มะเขือเทศสีดา กะหล่ำปลี พริกชี้ฟ้า ฟักเขียว ถั่วลันเตา หัวหอมแห้ง และกระเทียมแห้ง จากการที่สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิต ทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน และมะละกอสุก จากการที่ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล
- ไข่ไก่ จากการที่สภาพอากาศในช่วงนี้เอื้ออำนวยต่อการให้ไข่
3.2 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ได้แก่ กาแฟเย็น น้ำแข็งเปล่าน้ำดื่มบริสุทธิ์ โซดา และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
- การขนส่งสาธารณะ และการสื่อสาร ได้แก่ ค่าโดยสารรถไฟ ค่าโดยสารรถแท็กซี่ ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง ค่าโดยสารรถประจำทาง และค่าบริการใช้โทรศัพท์
- การบันเทิง ได้แก่ เครื่องเล่นวิดีโอ ค่าเช่าโต๊ะสนุกเกอร์ ค่าเช่าสนามเทนนิส ค่าเช่าสระว่ายน้ำ และไม้แบดมินตัน
3.3 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ค่ากระแสไฟฟ้า จากการปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น
- น้ำมันเชื้อเพลิงได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว จากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
- ผลิตภัณฑ์นมได้แก่นมผงและนมข้นหวาน จากการปรับราคาจำหน่ายตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
- อาหารที่ซื้อบริโภค ได้แก่ ข้าวราดแกง กับข้าวสำเร็จรูป และข้าวผัด จากการปรับราคาจำหน่ายในบางตลาดตามต้นทุนดำเนินการ และภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น
- อาหารที่ซื้อจากตลาด ได้แก่ น้ำมันพืช ซึ่งมีการปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ ซีอิ้วขาว แยมผลไม้ ซ๊อสมะเขือเทศ ปลากระป๋อง และน้ำตาลทรายขาว ก็มีการปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้นด้วย
- หนังสือพิมพ์ จากการที่หนังสือพิมพ์บางฉบับได้ปรับราคาจำหน่ายจาก 7 บาทเป็น 8 บาท ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
- การตรวจรักษา ได้แก่ ค่าห้องพักคนไข้ในโรงพยาบาล ค่าตรวจโรค และค่าถอนฟัน ตามต้นทุนดำเนินการที่เพิ่มขึ้น
--กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์--