กรุงเทพ--13 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่เมื่อเดือนเมษายน ศกนี้ คณะผู้พิจารณา (panel) ซึ่งจัดตั้งโดยองค์กรระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement Body - DSB) ขององค์การการค้าโลก (World Trade organization - WTO) ได้ตัดสินว่า การบังคับใช้กฎหมาย PI 101-162 Section 609 ของสหรัฐฯ ต่อประเทศอื่น ขัดต่อกฎของ WTO เนื่องจากเป็นมาตรการฝ่ายเดียว ที่ใช้บังคับต่อประเทศที่สาม และสหรัฐฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ข้อตัดสินนี้ นั้น
ในวันนี้ (13 ตุลาคม) มีรายงานข่าวว่า องค์กรอุทธรณ์ของ WTO ได้พิจารณาคำอุทธรณ์ของ สหรัฐฯ และตัดสินยืนยันว่ากฎหมายของสหรัฐฯ ดังกล่าวขัดกฎของ WTO โดยรายงานข่าวอ้างด้วยว่าองค์กรด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้ความเห็นว่า คำตัดสินของ WTO ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ เต่าทะเล ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์ที่อาจจะสูญพันธ์ได้ กระทรวงการต่างประเทศจึงขอ ชี้แจงภูมิหลังกรณีพิพาทดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1. เมื่อเดือนธันวาคม 2538 สหรัฐฯ บังคับใช้กฎหมาย PI 101-162 Section 609 ของสหรัฐฯ กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยกฎหมายดังกล่าวห้ามนำเข้ากุ้งที่จับโดยวิธีที่เป็นอันตรายกับเต่าทะเล เว้นแต่ประเทศผู้ส่งออกจะได้รับการรับรองจากประธานาธิบดี (certify) การบังคับใช้กฎหมายนี้ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกกุ้งทะเลไปสหรัฐฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2539 และต้องออกใบรับรองในการส่งออกกุ้งเลี้ยง
2. เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2539 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดให้เรือประมงกุ้งติดตั้งเครื่องมือแยกเต่าทะเล (Turtle Excluder Devices : TEDs) ดังนั้น เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2539 สหรัฐฯ ได้ให้การรับรองว่าประเทศไทยมีโครงการหรือกฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่าของสหรัฐฯ ทำให้ไทยได้รับอนุญาตให้ส่งออกกุ้งทุกชนิด รวมทั้งกุ้งทะเล เข้าสหรัฐฯ ได้ และสหรัฐฯ จะทบทวนในวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีว่าประเทศที่ได้ให้การรับรองไปแล้วนั้น ได้ปฏิบัติตาม (enforcement) กฎระเบียบที่ให้ติดเครื่องมือแยกเต่าออกจริง ก่อนที่จะให้การรับรองในปีต่อไป
3. แม้ว่าไทยจะได้รับการรับรองจากสหรัฐฯ ให้ส่งออกกุ้งทะเลไปยังสหรัฐฯ ได้ แต่ไทยเห็นว่าบทบัญญัติของสหรัฐฯ ขัดกับบทบัญญัติของ GATT ในหลักการ ไทยจึงร่วมกับมาเลเซีย อินเดีย และปากีสถาน ขอหารือกับสหรัฐฯ ภายใต้กระบวนการยุติกรณีพิพาทของ WTO เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2539 โดยได้มีการหารือกันเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 และเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2540 ได้มีการตั้งคณะผู้พิจารณา (panel) เพื่อพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าว ต่อมา อีก 14 ประเทศ ขอมีส่วนร่วมในการพิจารณาในฐานะประเทศที่สาม (Third Party) ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย เม็กซิโก โคลอมเบีย ศรีลังกา กัวเตมาลา เซเนกัล คอสตาริกา เอกวาดอร์ และไนจีเรีย
4. ในการร้องเรียนต่อ WTO ในกรณีนี้ ไทยมีข้อพิจารณาว่า
- กฎหมายดังกล่าวของสหรัฐฯ มีลักษณะเป็นการใช้มาตรการฝ่ายเดียว ที่มีลักษณะเป็นการบังคับใช้นอกอาณาเขต ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ภายใต้ระบบการค้าพหุภาคี ทั้ง สหรัฐฯ ยังไม่สามารถอ้างสิทธิในการขอใช้ข้อยกเว้นทั่วไปเพื่อยกเว้นมาตรการดังกล่าวได้
- ไทยต้องการให้ DSB มีคำตัดสินที่ชัดเจนว่า การใช้มาตรการฝ่ายเดียวนอกอาณาเขตเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ภายใต้ WTO เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศใดนำกฎหมายภายในมาบังคับใช้ประเทศอื่นในอนาคต โดยอ้างเหตุผลอื่น เช่น แรงงาน เป็นต้น
- การได้รับการรับรอง (certify) จากสหรัฐฯ เป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้น เพราะสหรัฐฯ อาจยกประเด็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายขึ้นมาอ้างอีกเช่นที่เคยทำในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
- ไทยได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์เต่าทะเลมาอย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จในการเพิ่มจำนวนเต่าในท้องทะเลไทย จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือตามที่สหรัฐฯ บังคับใช้ตามกฎหมายของตน
5. ในเดือนเมษายน 2541 คณะผู้พิจารณาได้ตัดสินว่า การจำกัดการนำเข้าสินค้ากุ้งของสหรัฐฯ เป็นการละเมิดกฎทางการค้าของ WTO กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การที่ไทยร้องเรียนปัญหาการนำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ต่อ WTO มิใช่ว่าไทยไม่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ในทางตรงข้าม ไทยได้ดำเนินมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งในกรณีนี้คือเต่าทะเล ที่เพียงพอและเป็นที่ยอมรับแล้ว และการยื่นข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นการต่อสู้ในหลักการ เพื่อไม่ให้ประเทศใดใช้มาตรการการค้าฝ่ายเดียวมาบังคับประเทศอื่น ซึ่งเป็นการขัดกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ตามที่เมื่อเดือนเมษายน ศกนี้ คณะผู้พิจารณา (panel) ซึ่งจัดตั้งโดยองค์กรระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement Body - DSB) ขององค์การการค้าโลก (World Trade organization - WTO) ได้ตัดสินว่า การบังคับใช้กฎหมาย PI 101-162 Section 609 ของสหรัฐฯ ต่อประเทศอื่น ขัดต่อกฎของ WTO เนื่องจากเป็นมาตรการฝ่ายเดียว ที่ใช้บังคับต่อประเทศที่สาม และสหรัฐฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ข้อตัดสินนี้ นั้น
ในวันนี้ (13 ตุลาคม) มีรายงานข่าวว่า องค์กรอุทธรณ์ของ WTO ได้พิจารณาคำอุทธรณ์ของ สหรัฐฯ และตัดสินยืนยันว่ากฎหมายของสหรัฐฯ ดังกล่าวขัดกฎของ WTO โดยรายงานข่าวอ้างด้วยว่าองค์กรด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้ความเห็นว่า คำตัดสินของ WTO ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คือ เต่าทะเล ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์ที่อาจจะสูญพันธ์ได้ กระทรวงการต่างประเทศจึงขอ ชี้แจงภูมิหลังกรณีพิพาทดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1. เมื่อเดือนธันวาคม 2538 สหรัฐฯ บังคับใช้กฎหมาย PI 101-162 Section 609 ของสหรัฐฯ กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยกฎหมายดังกล่าวห้ามนำเข้ากุ้งที่จับโดยวิธีที่เป็นอันตรายกับเต่าทะเล เว้นแต่ประเทศผู้ส่งออกจะได้รับการรับรองจากประธานาธิบดี (certify) การบังคับใช้กฎหมายนี้ทำให้ไทยไม่สามารถส่งออกกุ้งทะเลไปสหรัฐฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2539 และต้องออกใบรับรองในการส่งออกกุ้งเลี้ยง
2. เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2539 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดให้เรือประมงกุ้งติดตั้งเครื่องมือแยกเต่าทะเล (Turtle Excluder Devices : TEDs) ดังนั้น เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2539 สหรัฐฯ ได้ให้การรับรองว่าประเทศไทยมีโครงการหรือกฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่าของสหรัฐฯ ทำให้ไทยได้รับอนุญาตให้ส่งออกกุ้งทุกชนิด รวมทั้งกุ้งทะเล เข้าสหรัฐฯ ได้ และสหรัฐฯ จะทบทวนในวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีว่าประเทศที่ได้ให้การรับรองไปแล้วนั้น ได้ปฏิบัติตาม (enforcement) กฎระเบียบที่ให้ติดเครื่องมือแยกเต่าออกจริง ก่อนที่จะให้การรับรองในปีต่อไป
3. แม้ว่าไทยจะได้รับการรับรองจากสหรัฐฯ ให้ส่งออกกุ้งทะเลไปยังสหรัฐฯ ได้ แต่ไทยเห็นว่าบทบัญญัติของสหรัฐฯ ขัดกับบทบัญญัติของ GATT ในหลักการ ไทยจึงร่วมกับมาเลเซีย อินเดีย และปากีสถาน ขอหารือกับสหรัฐฯ ภายใต้กระบวนการยุติกรณีพิพาทของ WTO เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2539 โดยได้มีการหารือกันเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 และเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2540 ได้มีการตั้งคณะผู้พิจารณา (panel) เพื่อพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าว ต่อมา อีก 14 ประเทศ ขอมีส่วนร่วมในการพิจารณาในฐานะประเทศที่สาม (Third Party) ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย เม็กซิโก โคลอมเบีย ศรีลังกา กัวเตมาลา เซเนกัล คอสตาริกา เอกวาดอร์ และไนจีเรีย
4. ในการร้องเรียนต่อ WTO ในกรณีนี้ ไทยมีข้อพิจารณาว่า
- กฎหมายดังกล่าวของสหรัฐฯ มีลักษณะเป็นการใช้มาตรการฝ่ายเดียว ที่มีลักษณะเป็นการบังคับใช้นอกอาณาเขต ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ภายใต้ระบบการค้าพหุภาคี ทั้ง สหรัฐฯ ยังไม่สามารถอ้างสิทธิในการขอใช้ข้อยกเว้นทั่วไปเพื่อยกเว้นมาตรการดังกล่าวได้
- ไทยต้องการให้ DSB มีคำตัดสินที่ชัดเจนว่า การใช้มาตรการฝ่ายเดียวนอกอาณาเขตเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ภายใต้ WTO เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศใดนำกฎหมายภายในมาบังคับใช้ประเทศอื่นในอนาคต โดยอ้างเหตุผลอื่น เช่น แรงงาน เป็นต้น
- การได้รับการรับรอง (certify) จากสหรัฐฯ เป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้น เพราะสหรัฐฯ อาจยกประเด็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายขึ้นมาอ้างอีกเช่นที่เคยทำในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
- ไทยได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์เต่าทะเลมาอย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จในการเพิ่มจำนวนเต่าในท้องทะเลไทย จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือตามที่สหรัฐฯ บังคับใช้ตามกฎหมายของตน
5. ในเดือนเมษายน 2541 คณะผู้พิจารณาได้ตัดสินว่า การจำกัดการนำเข้าสินค้ากุ้งของสหรัฐฯ เป็นการละเมิดกฎทางการค้าของ WTO กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การที่ไทยร้องเรียนปัญหาการนำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ต่อ WTO มิใช่ว่าไทยไม่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ในทางตรงข้าม ไทยได้ดำเนินมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งในกรณีนี้คือเต่าทะเล ที่เพียงพอและเป็นที่ยอมรับแล้ว และการยื่นข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นการต่อสู้ในหลักการ เพื่อไม่ให้ประเทศใดใช้มาตรการการค้าฝ่ายเดียวมาบังคับประเทศอื่น ซึ่งเป็นการขัดกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--