การส่งออกสินค้าอาหารของไทยไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ป้ายฉลากสินค้าอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้ส่งออกไทยควรให้ความสนใจเพราะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีความเข้มงวดในเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับอาหารว่าด้วยป้ายฉลากอาหารที่เคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีการตรวจเช็คสินค้าที่นำเข้าอย่างสม่ำเสมอ
อาหารแปรรูปและสำเร็จรูปที่มีกำหนดเวลาการใช้บริโภคและการวางจำหน่ายในซูปเปอร์มาร์เก็ตเมื่อถึงกำหนดหมดอายุของสินค้า ผู้ขายจะต้องทำลายทิ้ง หากมีการฝ่าฝืนเจ้าของร้านค้าหรือผู้จำหน่ายจะถูกปรับ
ป้ายฉลากที่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของเทศบาลรัฐดูไบ (Dubai Municipality) รายละเอียดบนฉลากต้องอ่านง่ายและมองเห็นชัดเจน กระดาษฉลากติดแน่นกับภาชนะบรรจุไม่หลุดลอกเปลี่ยนแปลงได้
ข้อมูลบนฉลากอาหารแปรรูปต่างๆ ต้องระบุข้อมูลดังนี้
ตราหรือยี่ห้อ (Brandname), รายระเอียดเกี่ยวกับสินค้า, วัตถุดิบที่ใช้ (Ingredients), ส่วนประกอบหรือส่วนผสมอื่นๆ (Additives), น้ำหนัก/ขนาดที่บรรจุ, ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต, ประเทศที่เป็นแหล่งผลิต/แหล่งกำเนิดสินค้า (Country of Origin), (ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นสินค้าจากประเทศไทย), วันที่ผลิตและวันหมดอายุ ค.ศ. ก็ได้, วิธีการ / เงื่อนไขในการเก็บรักษา(ถ้าจำเป็น), วิธีการทำอาหาร (ถ้าจำเป็น)
อาหารที่ได้รับการยกเว้น
1.อาหารที่นำเข้าเพื่อใช้ในโรงแรม และอุตสาหกรรมบริการด้านอาหาร (Catering) ไม่จำ
เป็นต้องพิมพ์ฉลากเป็นภาษาอาระบิคแต่ต้องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ
2.ผลิตภัณฑ์จากหมูไม่ต้องมีฉลากเป็นภาษาอาระบิค แต่ต้องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและคำว่าหมู
(POCK) จะต้องเห็นเด่นชัดบนฉลากนั้น อาหารในกลุ่มนี้ห้ามใช้สติกเกอร์แต่สำหรับรายละเอียด
วันที่ผลิตและวันหมดอายุที่ผู้ส่งออกอาหารจะต้องให้ความสำคัญมาก จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับ
มาตรฐานของ GULF STANDARD SPECIFICATION ซึ่งกำหนดวันหมด อายุสินค้าอาหารแตก
ต่างไปตามชนิดลักษณะ และการบรรจุ
ภาษีข้อจำกัดการนำเข้าและเอกสารประกอบการนำเข้า
สินค้าอาหารไม่มีการเก็บภาษีนำเข้า แต่มีกฎระเบียบควบคุมการนำเข้า และจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการนำเข้าเพิ่มเติมจากเอกสารการค้าปกติ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ คือ
1. สินค้าอาหารต้องมีฉลากปิดภาชนะบรรจุระบุรายละเอียด ชื่อสินค้า ส่วนผสมขนาดน้ำหนัก
ประเทศต้นทาง ผู้ผลิต วันผลิต และวันหมดอายุ ป้ายฉลากเหล่านี้จะพิมพ์ด้วยภาษาอะไรก็ได้
แต่จะต้องมีภาษาอาระบิคกำกับด้วย
2. สินค้าอาหารเนื้อสัตว์ จะต้องมี Halal Certificate ใบรับรองการฆ่าว่าผ่านกรรมวิธี ถูก
ต้องตามศาสนาอิสลาม ออกโดยสถาบันทางศาสนาอิสลามในประเทศไทย พร้อมทั้ง ประทับ
ตรารับรองโดยสถานทูตอาหรับในประเทศไทย (ยกเว้นสถานทูตอียิปต์)
3. Health หรือ Sanitary Certificate ใบรับรองคุณภาพหรือสุขลักษณะ ออกโดย หน่วย
ราชการไทยที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข
4. Invoice ใบกำกับสินค้า อย่างน้อยสำเนา 3 ฉบับ รับรองโดยหอการค้าไทย
5. Certificate of Origin อย่างน้อยสำเนา 3 ฉบับ รับรองโดยหอการค้าไทยพร้อมทั้ง
ประทับตรารับรอง (Legelize)
6. Bill of Lading อย่างน้อยต้องมีต้นฉบับ 1 ใบ
7. Packing List ไม่จำเป็น แต่จะช่วยให้ความสะดวกแก่ผู้นำเข้าสำหรับการผ่านพิธีการ
ศุลกากรโดยทั่วไปเอกสารประกอบการนำเข้า ผู้นำเข้าจะระบุไว้เป็นเงื่อนไขใน L/C
ปัญหาของป้ายฉลากสินค้าไทย
1. ผู้ส่งออกบางรายพิมพ์วันผลิต และวันหมดอายุบนแผ่นสติ๊กเกอร์ปิดบนภาชนะบรรจุและลอกออก
ได้ ซึ่งไม่ถูกกฎระเบียบ หากต้องการใช้แผ่นสติ๊กเกอร์พิมพ์ติดจะต้องมีพลาสติกใส่ห่อทับอีก ชั้นหนึ่ง
กันการแกะเปลี่ยน
2. หากมีการพิมพ์วันผลิต และวันหมดอายุสินค้าที่ตัวกระป๋อง รายละเอียดจะต้องตรงกับข้อ ความที่
พิมพ์บนป้ายฉลาก
3. วันที่ผลิต และวันหมดอายุสินค้าจะต้องถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น วัน เดือนที่ผลิตสินค้า ไม่
ใช่หลังจากวันเดือนที่ส่งสินค้ามาถึงรัฐดูไบ และวันเดือนที่ผลิตสินค้าจะต้องไม่มากกว่า 6 เดือน
เพื่อป้องกันการส่งออกสินค้าเหลือค้างสต็อก
ที่มา : ศูนย์พาณิชยกรรม ณ รัฐดูไบ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 5/15 กรกฎาคม 2541--
อาหารแปรรูปและสำเร็จรูปที่มีกำหนดเวลาการใช้บริโภคและการวางจำหน่ายในซูปเปอร์มาร์เก็ตเมื่อถึงกำหนดหมดอายุของสินค้า ผู้ขายจะต้องทำลายทิ้ง หากมีการฝ่าฝืนเจ้าของร้านค้าหรือผู้จำหน่ายจะถูกปรับ
ป้ายฉลากที่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของเทศบาลรัฐดูไบ (Dubai Municipality) รายละเอียดบนฉลากต้องอ่านง่ายและมองเห็นชัดเจน กระดาษฉลากติดแน่นกับภาชนะบรรจุไม่หลุดลอกเปลี่ยนแปลงได้
ข้อมูลบนฉลากอาหารแปรรูปต่างๆ ต้องระบุข้อมูลดังนี้
ตราหรือยี่ห้อ (Brandname), รายระเอียดเกี่ยวกับสินค้า, วัตถุดิบที่ใช้ (Ingredients), ส่วนประกอบหรือส่วนผสมอื่นๆ (Additives), น้ำหนัก/ขนาดที่บรรจุ, ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต, ประเทศที่เป็นแหล่งผลิต/แหล่งกำเนิดสินค้า (Country of Origin), (ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นสินค้าจากประเทศไทย), วันที่ผลิตและวันหมดอายุ ค.ศ. ก็ได้, วิธีการ / เงื่อนไขในการเก็บรักษา(ถ้าจำเป็น), วิธีการทำอาหาร (ถ้าจำเป็น)
อาหารที่ได้รับการยกเว้น
1.อาหารที่นำเข้าเพื่อใช้ในโรงแรม และอุตสาหกรรมบริการด้านอาหาร (Catering) ไม่จำ
เป็นต้องพิมพ์ฉลากเป็นภาษาอาระบิคแต่ต้องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ
2.ผลิตภัณฑ์จากหมูไม่ต้องมีฉลากเป็นภาษาอาระบิค แต่ต้องพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและคำว่าหมู
(POCK) จะต้องเห็นเด่นชัดบนฉลากนั้น อาหารในกลุ่มนี้ห้ามใช้สติกเกอร์แต่สำหรับรายละเอียด
วันที่ผลิตและวันหมดอายุที่ผู้ส่งออกอาหารจะต้องให้ความสำคัญมาก จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับ
มาตรฐานของ GULF STANDARD SPECIFICATION ซึ่งกำหนดวันหมด อายุสินค้าอาหารแตก
ต่างไปตามชนิดลักษณะ และการบรรจุ
ภาษีข้อจำกัดการนำเข้าและเอกสารประกอบการนำเข้า
สินค้าอาหารไม่มีการเก็บภาษีนำเข้า แต่มีกฎระเบียบควบคุมการนำเข้า และจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการนำเข้าเพิ่มเติมจากเอกสารการค้าปกติ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ คือ
1. สินค้าอาหารต้องมีฉลากปิดภาชนะบรรจุระบุรายละเอียด ชื่อสินค้า ส่วนผสมขนาดน้ำหนัก
ประเทศต้นทาง ผู้ผลิต วันผลิต และวันหมดอายุ ป้ายฉลากเหล่านี้จะพิมพ์ด้วยภาษาอะไรก็ได้
แต่จะต้องมีภาษาอาระบิคกำกับด้วย
2. สินค้าอาหารเนื้อสัตว์ จะต้องมี Halal Certificate ใบรับรองการฆ่าว่าผ่านกรรมวิธี ถูก
ต้องตามศาสนาอิสลาม ออกโดยสถาบันทางศาสนาอิสลามในประเทศไทย พร้อมทั้ง ประทับ
ตรารับรองโดยสถานทูตอาหรับในประเทศไทย (ยกเว้นสถานทูตอียิปต์)
3. Health หรือ Sanitary Certificate ใบรับรองคุณภาพหรือสุขลักษณะ ออกโดย หน่วย
ราชการไทยที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข
4. Invoice ใบกำกับสินค้า อย่างน้อยสำเนา 3 ฉบับ รับรองโดยหอการค้าไทย
5. Certificate of Origin อย่างน้อยสำเนา 3 ฉบับ รับรองโดยหอการค้าไทยพร้อมทั้ง
ประทับตรารับรอง (Legelize)
6. Bill of Lading อย่างน้อยต้องมีต้นฉบับ 1 ใบ
7. Packing List ไม่จำเป็น แต่จะช่วยให้ความสะดวกแก่ผู้นำเข้าสำหรับการผ่านพิธีการ
ศุลกากรโดยทั่วไปเอกสารประกอบการนำเข้า ผู้นำเข้าจะระบุไว้เป็นเงื่อนไขใน L/C
ปัญหาของป้ายฉลากสินค้าไทย
1. ผู้ส่งออกบางรายพิมพ์วันผลิต และวันหมดอายุบนแผ่นสติ๊กเกอร์ปิดบนภาชนะบรรจุและลอกออก
ได้ ซึ่งไม่ถูกกฎระเบียบ หากต้องการใช้แผ่นสติ๊กเกอร์พิมพ์ติดจะต้องมีพลาสติกใส่ห่อทับอีก ชั้นหนึ่ง
กันการแกะเปลี่ยน
2. หากมีการพิมพ์วันผลิต และวันหมดอายุสินค้าที่ตัวกระป๋อง รายละเอียดจะต้องตรงกับข้อ ความที่
พิมพ์บนป้ายฉลาก
3. วันที่ผลิต และวันหมดอายุสินค้าจะต้องถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น วัน เดือนที่ผลิตสินค้า ไม่
ใช่หลังจากวันเดือนที่ส่งสินค้ามาถึงรัฐดูไบ และวันเดือนที่ผลิตสินค้าจะต้องไม่มากกว่า 6 เดือน
เพื่อป้องกันการส่งออกสินค้าเหลือค้างสต็อก
ที่มา : ศูนย์พาณิชยกรรม ณ รัฐดูไบ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 5/15 กรกฎาคม 2541--