นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ. 2549 ว่า ฝ่ายค้านขับเคลื่อนงบประมาณไม่ได้เพราะมีเสียงข้างน้อย แต่สิ่งหนึ่งที่มีบทบาทคือ การมีอำนาจในการตรวสอบงบประมาณ ซึ่งการตรวจสอบของฝ่ายค้านก็ต้องลงเอยด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจเกือบทุกครั้ง เช่นเดียวกับงบปี 2549 ที่ฝ่ายค้านพยายามทักท้วงมาตลอด แต่การทักท้วงของฝ่ายค้านและสมาชิกในสภาก็ไม่ได้รับการตอบสนอง
นายนิพิฏฐ์ ยังได้กล่าวถึง ธรรมาภิบาลในการจัดเก็บภาษี โดยอ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2542 หมายถึง การบริหารบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน ซึ่งคลอบคลุม ถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคี และร่วมกันเป็นพลังเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นตัวเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติ ภยันตรายที่อาจจะมีมาในอนาคต ซึ่งสังคมคงจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วมอันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
จากนั้นได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องธรรมาภิบาลในการเก็บภาษีของกรมสรรพากรว่า ที่มีการตรวจสอบแล้วพบว่ากรมสรรพากรวินิจฉัยเรื่องเดียวกัน แต่ผลออกมาไม่เหมือนกัน โดยในปี 2538 นายอรัญ ธัมโน ปลัดกระทรวงการคลัง ได้พูดถึงการโอนหุ้นในราคาท้องตลาด ต้องนำส่วนต่างไปเสียภาษี แต่ในช่วงปี 2543 นายกรัฐมนตรีได้โอนหุ้นให้กับลูกชาย พี่ชาย และน้องสาว ปรากฏว่ามีส่วนต่างจำนวน 14,310 ล้านบาท โดยไม่ต้องเอาเงินส่วนต่างดังกล่าวไปคำนวณภาษี ถ้ายังไม่ได้ขาย ซึ่งได้มีการวินิจฉัยกันในปี 2545 ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2546 มีบุคคลหนึ่งชื่อนาย ร.ได้รับโอนหุ้นจากพ่อจำนวน 5,000 หุ้น ซึ่งเป็นหุ้นทางด่วนกรุงเทพจำกัดมหาชน ในราคาภาหุ้นละ 10 บาท แต่ราคาตลาดอยู่ที่ 21 บาท ทำให้มีส่วนต่างอยู่ที่ 55,000 บาท
“ดังนั้น เขาจึงนำเงินดังกล่าวไปเสียภาษีเงินได้ โดยไม่เสียภาษีส่วนต่างเหมือนกับกรณีของนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่ากรมสรรพากรบอกว่านาย ร. เสียภาษีไม่ถูกต้อง โดยนาย ร.ได้นำคำวินิจฉัยกรณีของนายกรัฐมนตรีเป็นตัวอย่าง ทำให้กรมสรรพากรทำหนังสือชี้แจงว่า ทางกรมได้ยึดคำบรรทัดฐานคำวินิจฉัยของกรมสรรพากร ที่ 28/2538 ทำให้นาย ร.ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษีอากร กทม.เขตพื้นที่ 3 โดยยกกรณีของนายกรัฐมนตรีเป็นตัวอย่าง ซึ่งมีผลตัดสินวันที่ 13 ก.ย. 2547 ถึงแม้ว่าบุคลนี้จะรับโอนหุ้นจากพ่อมา และมีส่วนต่างราคาอยู่ที่ 5,500 บาท และยังไม่จำหน่ายหุ้นนี้ไปจะต้องเสียภาษี จึงขอให้ รมว.คลังแถลงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวเพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน เพราะขณะนี้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในการตรวจสอบบัญชีของประเทศไทยที่ยกเว้นส่วนต่างไม่ตรวจสอบภาษี” นายนิพิฏฐ์ กล่าว
นายนิพิฏฐ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า งบ 1,300,000 เป็นเงินภาษีอากรของประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนยากจน เงินที่เก็บจากคนจนก็ควรคืนให้กับคนจน แต่ภาษีนี้เก็บจากคนจนแต่คืนให้คนรวย ตนจึงรับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายไม่ได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 มิ.ย. 2548--จบ--
นายนิพิฏฐ์ ยังได้กล่าวถึง ธรรมาภิบาลในการจัดเก็บภาษี โดยอ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2542 หมายถึง การบริหารบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน ซึ่งคลอบคลุม ถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคี และร่วมกันเป็นพลังเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นตัวเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ เพื่อบรรเทาป้องกันหรือแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติ ภยันตรายที่อาจจะมีมาในอนาคต ซึ่งสังคมคงจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วมอันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
จากนั้นได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องธรรมาภิบาลในการเก็บภาษีของกรมสรรพากรว่า ที่มีการตรวจสอบแล้วพบว่ากรมสรรพากรวินิจฉัยเรื่องเดียวกัน แต่ผลออกมาไม่เหมือนกัน โดยในปี 2538 นายอรัญ ธัมโน ปลัดกระทรวงการคลัง ได้พูดถึงการโอนหุ้นในราคาท้องตลาด ต้องนำส่วนต่างไปเสียภาษี แต่ในช่วงปี 2543 นายกรัฐมนตรีได้โอนหุ้นให้กับลูกชาย พี่ชาย และน้องสาว ปรากฏว่ามีส่วนต่างจำนวน 14,310 ล้านบาท โดยไม่ต้องเอาเงินส่วนต่างดังกล่าวไปคำนวณภาษี ถ้ายังไม่ได้ขาย ซึ่งได้มีการวินิจฉัยกันในปี 2545 ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2546 มีบุคคลหนึ่งชื่อนาย ร.ได้รับโอนหุ้นจากพ่อจำนวน 5,000 หุ้น ซึ่งเป็นหุ้นทางด่วนกรุงเทพจำกัดมหาชน ในราคาภาหุ้นละ 10 บาท แต่ราคาตลาดอยู่ที่ 21 บาท ทำให้มีส่วนต่างอยู่ที่ 55,000 บาท
“ดังนั้น เขาจึงนำเงินดังกล่าวไปเสียภาษีเงินได้ โดยไม่เสียภาษีส่วนต่างเหมือนกับกรณีของนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่ากรมสรรพากรบอกว่านาย ร. เสียภาษีไม่ถูกต้อง โดยนาย ร.ได้นำคำวินิจฉัยกรณีของนายกรัฐมนตรีเป็นตัวอย่าง ทำให้กรมสรรพากรทำหนังสือชี้แจงว่า ทางกรมได้ยึดคำบรรทัดฐานคำวินิจฉัยของกรมสรรพากร ที่ 28/2538 ทำให้นาย ร.ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษีอากร กทม.เขตพื้นที่ 3 โดยยกกรณีของนายกรัฐมนตรีเป็นตัวอย่าง ซึ่งมีผลตัดสินวันที่ 13 ก.ย. 2547 ถึงแม้ว่าบุคลนี้จะรับโอนหุ้นจากพ่อมา และมีส่วนต่างราคาอยู่ที่ 5,500 บาท และยังไม่จำหน่ายหุ้นนี้ไปจะต้องเสียภาษี จึงขอให้ รมว.คลังแถลงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวเพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน เพราะขณะนี้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในการตรวจสอบบัญชีของประเทศไทยที่ยกเว้นส่วนต่างไม่ตรวจสอบภาษี” นายนิพิฏฐ์ กล่าว
นายนิพิฏฐ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า งบ 1,300,000 เป็นเงินภาษีอากรของประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนยากจน เงินที่เก็บจากคนจนก็ควรคืนให้กับคนจน แต่ภาษีนี้เก็บจากคนจนแต่คืนให้คนรวย ตนจึงรับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายไม่ได้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 มิ.ย. 2548--จบ--