เรื่องที่ 17 การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)
1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 ให้เอกชนสามารถผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ ได้โดยตรง โดยระบบ Cogeneration เพื่อใช้ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ต่อมาได้มีการแก้ไขมาตรา 37 ของพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้ลงทุน และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้ร่วมกันออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก (SPP) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ กฟผ. สามารถรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็กที่ผลิตไฟฟ้า โดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration และเพื่อให้การดำเนินงาน ตามนโยบายการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก บรรลุผลตามเป้าหมาย และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบาย แนวทางและมาตรการในการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ผลกระทบต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กจากการเปลี่ยนแปลง ระบบการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และการพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผลกระทบต่อการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จากนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ในปัจจุบัน (ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2540) มีผู้ผลิตรายเล็กลงนามในสัญญาแล้วจำนวน 46 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย กฟผ. 1,854.67 เมกะวัตต์ มีผู้ผลิตรายเล็กจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้วจำนวน 20 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบในปี 2540 (เดือนมกราคม - สิงหาคม) จำนวน 1,538 ล้านหน่วย แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่ได้รับคัดเลือกจาก กฟผ. แล้วประสบปัญหาในการดำเนินโครงการ คณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก จึงได้พิจารณากำหนดมาตรการ ในการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และได้นำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 โดยมีมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขปัญหาดังนี้
2.1 ในกรณีที่สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. และ SPP ในปัจจุบันขาดความชัดเจน และกรณีที่ ปตท. ไม่สามารถจัดหาก๊าซให้ SPP ได้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจากับ SPP และเร่งดำเนินการหาข้อยุติให้ได้โดยเร็ว ทั้งนี้หากหาข้อยุติได้ให้ กฟผ. ดำเนินการแก้ไขสัญญาไปได้เลย ในกรณีที่ไม่มีข้อยุติให้คณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กเป็นผู้ชี้ขาด
2.2 สพช. ร่วมกับ กฟผ. ได้จัดทำแนวทางการปรับอัตราค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว โดยกำหนดอัตราค่าพลังไฟฟ้าและค่าพลังงานไฟฟ้าสำหรับ SPP ที่ขายไฟฟ้าในสัญญาประเภท Firm อายุสัญญาเกินกว่า 5 ปี ขึ้นไป สำหรับเชื้อเพลิงแต่ละประเภท ให้สอดคล้องกับเงินลงทุนและค่าเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท และดำเนินการปรับโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้า สูตรการปรับค่าพลังงานไฟฟ้าและการเปลี่ยนสูตรราคารับซื้อไฟฟ้า โดยให้ กฟผ. ร่วมกับ สพช. เจรจากับ SPP ในกรณีที่มีข้อยุติให้ กฟผ. และ SPP ดำเนินการแก้ไขสัญญาไปได้เลย หากไม่มีข้อยุติให้นำเสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อหาข้อยุติ
2.3 ให้แก้ไขเงื่อนไขการขอใช้ไฟฟ้าสำรองให้มีความชัดเจนขึ้น และให้ กฟภ. ยกเลิกข้อกำหนดขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้าสำรอง ซึ่งให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตไฟฟ้าร่วมกับพลังงานความร้อน แสดงข้อมูลแจ้งการไฟฟ้าย้อนหลังไป 12 เดือน ส่วนในกรณีที่ขั้นตอนการขอสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้าล่าช้า ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาลดขั้นตอนการนำเสนอ และในระยะยาวให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้การขอใบอนุญาตผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า สามารถดำเนินการได้โดยหน่วยงานเดียว รวมทั้งให้กรมโยธาธิการนำไปพิจารณากำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมต่อไป เพื่อลดปัญหาสัมปทานซ้ำซ้อน
2.4 สพช. กนอ. และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้ร่วมกันพิจารณาและได้ข้อสรุปอัตราค่าใช้บริการสายป้อน และเงื่อนไขการใช้บริการสายป้อนแล้ว โดยเห็นควรเปิดให้เอกชนใช้บริการสายป้อน และมอบหมายให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ยกร่างข้อตกลงการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าและข้อตกลงการใช้บริการสายป้อนแล้วนำเสนอ สพช
ให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศใช้
2.5 เห็นควรให้ SPP ที่มีความประสงค์จะขายไฟฟ้าให้ กฟผ. เกินกว่าปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญาสามารถยื่นข้อเสนอต่อ กฟผ. และในกรณีที่ระบบเชื่อมโยง และระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าสามารถรับไฟฟ้าในส่วนที่เกินดังกล่าวได้ ให้ กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจาก SPP ได้
2.6 เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ลูกค้าตรงของโครงการ SPP ไม่สามารถซื้อไฟฟ้าได้ตามกำหนด จึงเห็นควรช่วยเหลือ SPP โดยการผ่อนผันคุณสมบัติของ SPP ตามที่ระบุไว้ในระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก
การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ทำให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทในการจัดหาพลังงานไฟฟ้า ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้าของประเทศ รวมทั้งเป็นการช่วยส่งเสริม ให้มีการใช้พลังงานพลอยได้ในประเทศ ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของรัฐ ในการลงทุนทางด้านพลังงานอีกด้วย
เรื่องที่ 18 แนวทางการปรับโครงสร้างองค์กรการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
1. ความเป็นมา
รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริม และสนับสนุนให้เอกชน เข้ามามีบทบาททางด้านพลังงานมากขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐก็จะลดบทบาทลง โดยให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ หรือมีการกระจายหุ้นให้แก่ประชาชนมากขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 เห็นชอบแนวทางการปรับโครงสร้าง และการแปรรูปกิจการไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้าออกเป็นระยะยาว (ปี 2543-2548 เป็นต้นไป) และระยะปานกลาง (ปี 2539-2542) โดยในระยะยาวให้มีการแยกกิจการผลิตไฟฟ้า (Generation) กิจการสายส่งไฟฟ้า (Transmission) และกิจการจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution) ออกจากกันอย่างชัดเจน และต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการเพิ่มบทบาท ของภาคเอกชนในกิจการพลังงาน โดยมอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) รับไปจัดทำรายละเอียดเรื่องการแปรรูปกิจการผลิตภัณฑ์คอนกรีต ของการไฟฟ้านครหลวง โดยให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อพิจารณาภายใน 1 เดือน
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
การปรับโครงสร้างองค์กรการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้มีการดำเนินการสรุปได้ดังนี้
2.1 รูปแบบการปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2540 แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ รูปแบบโครงสร้างองค์กรในระยะยาว (ปีงบประมาณ 2543 เป็นต้นไป) และรูปแบบโครงสร้างในระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2541-2542) ซึ่งรูปแบบโครงสร้างทั้ง 2 ระยะ จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วยศูนย์บริหารองค์กร (Corporate Center), กลุ่มงานบริการลูกค้า (Supply), กลุ่มงานระบบจำหน่าย (Distribution System), และหน่วยธุรกิจ (Business Unit) และส่วนที่เป็นบริษัทในเครือ (Subsidiary Companies) ซึ่งประกอบด้วยงานบริการระบบไฟฟ้า (Electrical System Services), งานออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์คอนกรีต (Product Designs and Manufacturing), และงานบริการการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency Service : ESCO) ซึ่งในระยะปานกลางยังอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อม และจะเริ่มมีการจัดตั้งเป็นบริษัทในเครือต่อไปในระยะยาว ในส่วนของการแยกกิจการหลัก คือ กิจการระบบจำหน่าย (Distribution) และกิจการงานบริการลูกค้า (Supply) จะแยกออกจากกิจการอื่นๆ ซึ่งสามารถจัดตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ หรือบริษัทในเครือตามความเหมาะสมต่อไป
2.2 แผนการแปรรูปหน่วยงานสำนักงานออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ของ กฟน. ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 มีแผนการดำเนินการแปรรูปหน่วยงาน สำนักงานออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ เป็นบริษัทออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ จำกัด โดยจะดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จำกัด ในปี พ.ศ. 2541 และปรับแผนการดำเนินการเพื่อให้พ้นการเป็นรัฐวิสาหกิจให้เร็วขึ้น ก่อนปี พ.ศ. 2547 และให้พิจารณาหาพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Investor) แทนการเข้าถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจอื่น โดยให้บริษัทออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ จำกัด ที่การไฟฟ้านครหลวงถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งยังคงสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจได้รับการยกเว้นคำสั่ง กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับ เพื่อให้บริษัทดังกล่าวสามารถดำเนินการได้คล่องตัวเช่นเดียวกับบริษัทเอกชนทั่วไป
ผลจากการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้การบริหารงานของ กฟน. สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดภาระการลงทุนของภาครัฐลงอีกด้วย นอกจากนี้ในระยะยาวจะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถซื้อไฟฟ้า ได้โดยตรงจากผู้ผลิตโดยอาศัยบริการผ่านสายจำหน่าย ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันและเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าต่อไปในอนาคต
เรื่องที่ 19 แนวทางการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการด้านพลังงาน
1. ความเป็นมา
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้เสนอแนวทางในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการด้านพลังงาน เพื่อช่วยลดภาระการลงทุนของภาครัฐในสภาวะ ที่ประเทศประสบปัญหาการเงินการคลังค่อนข้างมาก โดยนำเสนอขอความเห็นชอบ ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามมติ ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้วเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 โดยมีมติให้ดำเนินการขายหุ้นของรัฐที่ดำเนินการได้เร็วได้แก่ การขายหุ้นของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน), การขายหุ้นของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด, และการขายหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) เป็นต้น โดยให้จัดทำรายละเอียดเรื่องการขายหุ้นดังกล่าว เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาภายใน 1 เดือน
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สพช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำรายละเอียดเรื่องการขายหุ้น เพื่อให้เป็นไปตามมติดังกล่าว และได้เสนอขอความเห็นชอบ ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้วเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
2.1 การขายหุ้นของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในบริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) อาจทำโดยการเพิ่มทุนของ ปตท. สผ. เอง และ/หรือ วิธีการจำหน่ายหุ้น ปตท.สผ. เดิมของ ปตท. เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ในการลงทุน ของ ปตท.สผ. และ/หรือ ปตท. เพื่อลดภาระการกู้ยืมเงินของประเทศและลดภาระภาครัฐ ซึ่งแนวทางการจำหน่ายหุ้นควรเลือกวิธีการจำหน่ายให้กับนักลงทุนทั่วไป ส่วนระยะเวลาการจำหน่ายหุ้นควรเป็นช่วงครึ่งปีแรกของปี 2541 ซึ่งตลาดทุนจะมีความพร้อมรับหุ้นในจำนวนและราคาที่ดีกว่าในปัจจุบัน และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้กำหนดให้ ปตท.ถือหุ้นใน ปตท.สผ. ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 แต่ในภาวะปัจจุบันเห็นควรให้จำหน่ายประมาณร้อยละ 5-10 ของปริมาณหุ้นทั้งหมดของบริษัท โดยให้ ปตท. และ/หรือ ปตท.สผ. คัดเลือกและว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อดำเนินการจำหน่ายหุ้นดังกล่าว และเพื่อให้สามารถจำหน่ายหุ้นได้ในระยะเวลาที่กำหนด จึงให้มีการยกเว้นกฎระเบียบที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจ เกี่ยวกับการจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นหรือกิจการของรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้การกำหนดราคาและวิธีการจำหน่ายหุ้น ปตท.สผ. ให้เป็นไปตามกลไกตลาด และวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาวะตลาด ณ ช่วงเวลาที่ดำเนินการจำหน่ายหุ้น รวมทั้งการแก้ไขข้อบังคับในส่วนของข้อจำกัดในการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติ โดยมอบหมายให้ ปตท. และ ปตท.สผ. รับไปดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
2.2 การขายหุ้นของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปเจรจากับบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อขายหุ้นคืนทั้งหมด หรือเจรจาทางเลือกอื่น ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่รัฐมากที่สุด และให้เพิ่มกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการพิจารณาจัดทำแผนการขายหุ้น ของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วย เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ในฐานะคู่สัญญาของบริษัทเอสโซ่ฯ และเมื่อจัดทำแผนเสร็จแล้ว ให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พิจารณาต่อไป
2.3 การขายหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขายหุ้นโดยใช้แนวทางการลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บผฟ. จากร้อยละ 40 ลงเหลือร้อยละ 25.1 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ บผฟ. โดยให้ กฟผ. พิจารณาเสนอขายหุ้นเป็นจำนวนร้อยละ 14.9 ให้กับพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Investor) โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกพันธมิตรร่วมทุน เพื่อทำการคัดเลือกพันธมิตรร่วมทุนดังกล่าว และกำหนดราคาหุ้นซึ่งรวมหุ้นเดิมที่ กฟผ. ประสงค์จะขายและหรือหุ้นออกใหม่จากการเพิ่มทุน และหุ้นที่ กฟผ. จะต้องขายให้กับพันธมิตรร่วมทุนตามสิทธิพึงได้รับก่อน (Rights of First Refusal) ภายใต้สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholders Agreement) แล้วให้คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อนุมัติเลือกพันธมิตรร่วมทุนและกำหนดราคาหุ้นที่จำหน่าย แล้วนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป ซึ่งเงินที่ได้จากการจำหน่ายหุ้นร้อยละ 90 ของรายได้สุทธิจากการจำหน่ายหุ้น ใช้สำหรับการลงทุนของ กฟผ. ในอนาคตแทนการใช้เงินกู้ และร้อยละ 10 ใช้สำหรับจัดตั้งกองทุนบริหารทรัพยากรบุคคล
แนวทางการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน โดยการลดสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐในกิจการพลังงานดังกล่าว จะช่วยลดภาระหนี้สินของประเทศได้ในระดับหนึ่ง และช่วยลดภาระการลงทุนด้านพลังงานของภาครัฐได้ในระยะยาว นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการพัฒนากิจการด้านพลังงานของประเทศ
เรื่องที่ 20 การยกเลิกการจัดเก็บเงินผลประโยชน์พิเศษจากโรงกลั่นน้ำมัน
1. ความเป็นมา
เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบาย ให้มีการเพิ่มกำลังการกลั่นปิโตรเลียม ให้มีความเสรีอย่างแท้จริง และมีการแข่งขันภายใต้กฎเกณฑ์ที่เท่าเทียมกัน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2539 เห็นชอบให้ปรับปรุงกฎเกณฑ์การจัดตั้งโรงกลั่นปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น รวมทั้งขยายโรงกลั่นปิโตรเลียมเดิม โดยให้ผู้สนใจประกอบกิจการ สามารถเลือกปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 เกี่ยวกับการจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่รัฐ ดังนี้
ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 ทั้งในกรณีการตั้งโรงกลั่นใหม่และขยายโรงกลั่นเดิม โดยต้องจ่ายเงินอุดหนุนอย่างน้อย 350 ล้านบาท รวมทั้งเงินประจำปีในอัตราร้อยละ 2 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผลิตและส่งออกจากโรงกลั่นปิโตรเลียม โดยมีสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการส่งเสริมการลงทุน หรือ
การไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 กล่าวคือ ไม่จ่ายเงินอุดหนุนอย่างน้อย 350 ล้านบาท และเงินประจำปีในอัตราร้อยละ 2 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผลิตและส่งออกจากโรงกลั่นปิโตรเลียม โดยจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปดำเนินการเจรจา และแก้ไขสัญญากับโรงกลั่นที่มีสัญญาอยู่เดิม 4 โรง คือ โรงกลั่นของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด, บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด, และบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด เพื่อไม่ให้เสียเปรียบโรงกลั่นน้ำมันบางราย และกิจการที่มีผลพลอยได้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงบางราย ซึ่งไม่ต้องจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษ แต่ยังได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนด้วย
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สพช. ได้หารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม และได้เจรจากับโรงกลั่นทั้ง 4 โรง จนได้ข้อยุติแล้ว โดยได้จัดทำข้อเสนอปรับปรุงกฎเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของโรงกลั่นปิโตรเลียม เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาต ิเพื่อพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2540 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติดังนี้
2.1 เห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจัดสร้าง หรือขยายและประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมัน ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับบริษัทน้ำมันทั้ง 4 โรงดังกล่าว เพื่อยกเลิกการจัดเก็บเงินผลประโยชน์พิเศษ โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม รับไปลงนามกับคู่สัญญาต่อไป
2.2 ให้กระทรวงการคลังดำเนินการเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน ก๊าด และดีเซลขึ้น 5.5 สตางค์ต่อลิตร เพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาขึ้นร้อยละ 0.5 ของมูลค่า และลดอากรขาเข้าน้ำมันเบนซิน ก๊าด และดีเซลลง 5.5 สตางค์ต่อลิตร เหลือ 1.0 สตางค์ต่อลิตร โดยให้การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีและอากรขาเข้า มีผลบังคับใช้ในวันที่มีการลงนามในสัญญาตามข้อ 2.1
2.3 ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2539 เรื่อง นโยบายการจัดเก็บเงินผลประโยชน์พิเศษจากโรงกลั่นน้ำมัน โดยให้การตั้งโรงกลั่นน้ำมันไม่ต้องมีสัญญากับกระทรวงอุตสาหกรรม และให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการตั้งโรงงานอื่นๆ ส่วนสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนให้เป็นไปตามเงื่อนไข ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด
2.4 ให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาทบทวนแก้ไขสัญญาสำหรับโรงกลั่นอีก 3 ราย ที่ยังมีสัญญาจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐ ได้แก่ บริษัท สุโขทัยปิโตรเลียม จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด และบริษัท ไทยบิทูเมน จำกัด โดยให้ใช้แนวทางเดียวกับการแก้ไขสัญญา ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วตามข้อ 2.1 หากมีการร้องขอจากบริษัทดังกล่าว ให้มีการทบทวนแก้ไขสัญญา
ขณะนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจัดสร้าง หรือขยายและประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมัน กับ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด, บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด, บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม จำกัด, บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด, และบริษัท ไทยบิทูเมน จำกัด แล้วเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 ส่วนบริษัท สุโขทัยปิโตรเลียม จำกัด ได้มีการพิจารณาทบทวนแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมแล้วเสร็จ ซึ่งได้รับความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 และในส่วนของกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการประกาศเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิต และลดอากรขาเข้า โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2540 เป็นต้นไป
การปรับปรุงกฎเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของโรงกลั่นปิโตรเลียมดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรม การกลั่นน้ำมันภายในประเทศให้เป็นไปอย่างเสรี และมีการแข่งขันกันบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน
เรื่องที่ 21 การเพิกถอนที่ดินสาธารณประโยชน์ในบริเวณโรงกลั่นปิโตรเลียมของบริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด
1. ความเป็นมา
ตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2539 อนุมัติให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขอถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชน ใช้ร่วมกันในเขตโรงกลั่นปิโตรเลียม ของบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด ต่อมากรมที่ดินได้มีหนังสือถึง สพช. ขอให้พิจารณาคำร้อง ของสำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุด ซึ่งขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ดังกล่าว
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สพช. ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้ข้อยุติว่าให้มีการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี โดยให้สำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุด เข้ามาเป็นผู้ขอถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์ และดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ แทนการนิคมอุตสาหกรรมฯ ซึ่งในเรื่องนี้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีการพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2540 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 โดยเห็นชอบให้ดำเนินการดังนี้
2.1 เห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีขอทบทวนมติ ให้เพิกถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน ในบริเวณโรงกลั่นปิโตรเลียม ของบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มอบหมายให้สำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุด เป็นผู้จัดหาประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งถูกเพิกถอนสภาพดังกล่าว โดยให้สำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุด ดำเนินการให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเช่าซื้อที่ดินดังกล่าว เพื่อที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะได้ดำเนินการให้บริษัทสตาร์ ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด เช่าต่อไป ทั้งนี้หากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เลือกที่จะเช่าซื้อ จากสำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุด ให้การเช่าซื้อมีเงื่อนไขและรายละเอียด ดังนี้
ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเช่าซื้อ โดยมีระยะเวลาการเช่าซื้อ 3 ปี ชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายปี และสามารถนำไปให้บริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด เช่าได้
การกำหนดราคาเช่าซื้อ ควรใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในปัจจุบัน ของกรมที่ดิน
การคิดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดี (Prime Rate) ของธนาคารพาณิชย์ของไทย บวกร้อยละ 1 ต่อไป
2.2 ให้การถอนสภาพเพื่อจัดหาผลประโยชน์ในข้อ 2.1 ไม่ต้องนำเสนอคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ เนื่องจากเป็นการขายให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
2.3 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรมที่ดิน รับไปดำเนินการ กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณา และขั้นตอนดำเนินการ สำหรับการร้องขอเพิกถอนที่ดินสาธารณประโยชน์ ในลักษณะเช่นนี้รายต่อๆ ไป โดยเฉพาะในเรื่องการนำที่ดินไปจัดหาผลประโยชน์ เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้มีการดำเนินงานได้ โดยไม่ต้องให้มีการพิจารณาคำร้องขอเป็นรายๆ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ผลจากการดำเนินการดังกล่าว จะช่วยให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการเพิกถอนสภาพที่ดิน โดยมีสำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุดเป็นผู้จัดหาประโยชน์ เพื่อนำรายได้ไปสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ท้องถิ่นโดยรวมต่อไป นอกจากนี้ยังช่วยให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน และเป็นการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนอีกด้วย
-ยังมีต่อ-
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ/กองนโยบายและแผนพลังงาน--
-ยก-
1. ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 ให้เอกชนสามารถผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ ได้โดยตรง โดยระบบ Cogeneration เพื่อใช้ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ต่อมาได้มีการแก้ไขมาตรา 37 ของพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้ลงทุน และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้ร่วมกันออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก (SPP) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ กฟผ. สามารถรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็กที่ผลิตไฟฟ้า โดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Cogeneration และเพื่อให้การดำเนินงาน ตามนโยบายการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก บรรลุผลตามเป้าหมาย และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2540 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบาย แนวทางและมาตรการในการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ผลกระทบต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กจากการเปลี่ยนแปลง ระบบการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และการพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผลกระทบต่อการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จากนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
ในปัจจุบัน (ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2540) มีผู้ผลิตรายเล็กลงนามในสัญญาแล้วจำนวน 46 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย กฟผ. 1,854.67 เมกะวัตต์ มีผู้ผลิตรายเล็กจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้วจำนวน 20 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบในปี 2540 (เดือนมกราคม - สิงหาคม) จำนวน 1,538 ล้านหน่วย แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ที่ได้รับคัดเลือกจาก กฟผ. แล้วประสบปัญหาในการดำเนินโครงการ คณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก จึงได้พิจารณากำหนดมาตรการ ในการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และได้นำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 โดยมีมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขปัญหาดังนี้
2.1 ในกรณีที่สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. และ SPP ในปัจจุบันขาดความชัดเจน และกรณีที่ ปตท. ไม่สามารถจัดหาก๊าซให้ SPP ได้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจากับ SPP และเร่งดำเนินการหาข้อยุติให้ได้โดยเร็ว ทั้งนี้หากหาข้อยุติได้ให้ กฟผ. ดำเนินการแก้ไขสัญญาไปได้เลย ในกรณีที่ไม่มีข้อยุติให้คณะอนุกรรมการพิจารณานโยบายส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กเป็นผู้ชี้ขาด
2.2 สพช. ร่วมกับ กฟผ. ได้จัดทำแนวทางการปรับอัตราค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว โดยกำหนดอัตราค่าพลังไฟฟ้าและค่าพลังงานไฟฟ้าสำหรับ SPP ที่ขายไฟฟ้าในสัญญาประเภท Firm อายุสัญญาเกินกว่า 5 ปี ขึ้นไป สำหรับเชื้อเพลิงแต่ละประเภท ให้สอดคล้องกับเงินลงทุนและค่าเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท และดำเนินการปรับโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้า สูตรการปรับค่าพลังงานไฟฟ้าและการเปลี่ยนสูตรราคารับซื้อไฟฟ้า โดยให้ กฟผ. ร่วมกับ สพช. เจรจากับ SPP ในกรณีที่มีข้อยุติให้ กฟผ. และ SPP ดำเนินการแก้ไขสัญญาไปได้เลย หากไม่มีข้อยุติให้นำเสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อหาข้อยุติ
2.3 ให้แก้ไขเงื่อนไขการขอใช้ไฟฟ้าสำรองให้มีความชัดเจนขึ้น และให้ กฟภ. ยกเลิกข้อกำหนดขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้าสำรอง ซึ่งให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตไฟฟ้าร่วมกับพลังงานความร้อน แสดงข้อมูลแจ้งการไฟฟ้าย้อนหลังไป 12 เดือน ส่วนในกรณีที่ขั้นตอนการขอสัมปทานประกอบกิจการไฟฟ้าล่าช้า ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาลดขั้นตอนการนำเสนอ และในระยะยาวให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้การขอใบอนุญาตผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า สามารถดำเนินการได้โดยหน่วยงานเดียว รวมทั้งให้กรมโยธาธิการนำไปพิจารณากำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมต่อไป เพื่อลดปัญหาสัมปทานซ้ำซ้อน
2.4 สพช. กนอ. และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้ร่วมกันพิจารณาและได้ข้อสรุปอัตราค่าใช้บริการสายป้อน และเงื่อนไขการใช้บริการสายป้อนแล้ว โดยเห็นควรเปิดให้เอกชนใช้บริการสายป้อน และมอบหมายให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ยกร่างข้อตกลงการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าและข้อตกลงการใช้บริการสายป้อนแล้วนำเสนอ สพช
ให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศใช้
2.5 เห็นควรให้ SPP ที่มีความประสงค์จะขายไฟฟ้าให้ กฟผ. เกินกว่าปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญาสามารถยื่นข้อเสนอต่อ กฟผ. และในกรณีที่ระบบเชื่อมโยง และระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าสามารถรับไฟฟ้าในส่วนที่เกินดังกล่าวได้ ให้ กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจาก SPP ได้
2.6 เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้ลูกค้าตรงของโครงการ SPP ไม่สามารถซื้อไฟฟ้าได้ตามกำหนด จึงเห็นควรช่วยเหลือ SPP โดยการผ่อนผันคุณสมบัติของ SPP ตามที่ระบุไว้ในระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก
การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ทำให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทในการจัดหาพลังงานไฟฟ้า ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้าของประเทศ รวมทั้งเป็นการช่วยส่งเสริม ให้มีการใช้พลังงานพลอยได้ในประเทศ ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของรัฐ ในการลงทุนทางด้านพลังงานอีกด้วย
เรื่องที่ 18 แนวทางการปรับโครงสร้างองค์กรการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
1. ความเป็นมา
รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริม และสนับสนุนให้เอกชน เข้ามามีบทบาททางด้านพลังงานมากขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐก็จะลดบทบาทลง โดยให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ หรือมีการกระจายหุ้นให้แก่ประชาชนมากขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2539 เห็นชอบแนวทางการปรับโครงสร้าง และการแปรรูปกิจการไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้าออกเป็นระยะยาว (ปี 2543-2548 เป็นต้นไป) และระยะปานกลาง (ปี 2539-2542) โดยในระยะยาวให้มีการแยกกิจการผลิตไฟฟ้า (Generation) กิจการสายส่งไฟฟ้า (Transmission) และกิจการจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution) ออกจากกันอย่างชัดเจน และต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการเพิ่มบทบาท ของภาคเอกชนในกิจการพลังงาน โดยมอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) รับไปจัดทำรายละเอียดเรื่องการแปรรูปกิจการผลิตภัณฑ์คอนกรีต ของการไฟฟ้านครหลวง โดยให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อพิจารณาภายใน 1 เดือน
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
การปรับโครงสร้างองค์กรการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้มีการดำเนินการสรุปได้ดังนี้
2.1 รูปแบบการปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2540 แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ รูปแบบโครงสร้างองค์กรในระยะยาว (ปีงบประมาณ 2543 เป็นต้นไป) และรูปแบบโครงสร้างในระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2541-2542) ซึ่งรูปแบบโครงสร้างทั้ง 2 ระยะ จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วยศูนย์บริหารองค์กร (Corporate Center), กลุ่มงานบริการลูกค้า (Supply), กลุ่มงานระบบจำหน่าย (Distribution System), และหน่วยธุรกิจ (Business Unit) และส่วนที่เป็นบริษัทในเครือ (Subsidiary Companies) ซึ่งประกอบด้วยงานบริการระบบไฟฟ้า (Electrical System Services), งานออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์คอนกรีต (Product Designs and Manufacturing), และงานบริการการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency Service : ESCO) ซึ่งในระยะปานกลางยังอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อม และจะเริ่มมีการจัดตั้งเป็นบริษัทในเครือต่อไปในระยะยาว ในส่วนของการแยกกิจการหลัก คือ กิจการระบบจำหน่าย (Distribution) และกิจการงานบริการลูกค้า (Supply) จะแยกออกจากกิจการอื่นๆ ซึ่งสามารถจัดตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ หรือบริษัทในเครือตามความเหมาะสมต่อไป
2.2 แผนการแปรรูปหน่วยงานสำนักงานออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ของ กฟน. ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 มีแผนการดำเนินการแปรรูปหน่วยงาน สำนักงานออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ เป็นบริษัทออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ จำกัด โดยจะดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จำกัด ในปี พ.ศ. 2541 และปรับแผนการดำเนินการเพื่อให้พ้นการเป็นรัฐวิสาหกิจให้เร็วขึ้น ก่อนปี พ.ศ. 2547 และให้พิจารณาหาพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Investor) แทนการเข้าถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจอื่น โดยให้บริษัทออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ จำกัด ที่การไฟฟ้านครหลวงถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งยังคงสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจได้รับการยกเว้นคำสั่ง กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับ เพื่อให้บริษัทดังกล่าวสามารถดำเนินการได้คล่องตัวเช่นเดียวกับบริษัทเอกชนทั่วไป
ผลจากการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้การบริหารงานของ กฟน. สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดภาระการลงทุนของภาครัฐลงอีกด้วย นอกจากนี้ในระยะยาวจะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถซื้อไฟฟ้า ได้โดยตรงจากผู้ผลิตโดยอาศัยบริการผ่านสายจำหน่าย ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันและเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าต่อไปในอนาคต
เรื่องที่ 19 แนวทางการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการด้านพลังงาน
1. ความเป็นมา
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้เสนอแนวทางในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในกิจการด้านพลังงาน เพื่อช่วยลดภาระการลงทุนของภาครัฐในสภาวะ ที่ประเทศประสบปัญหาการเงินการคลังค่อนข้างมาก โดยนำเสนอขอความเห็นชอบ ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามมติ ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้วเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 โดยมีมติให้ดำเนินการขายหุ้นของรัฐที่ดำเนินการได้เร็วได้แก่ การขายหุ้นของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน), การขายหุ้นของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด, และการขายหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) เป็นต้น โดยให้จัดทำรายละเอียดเรื่องการขายหุ้นดังกล่าว เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติพิจารณาภายใน 1 เดือน
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สพช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำรายละเอียดเรื่องการขายหุ้น เพื่อให้เป็นไปตามมติดังกล่าว และได้เสนอขอความเห็นชอบ ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้วเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
2.1 การขายหุ้นของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในบริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) อาจทำโดยการเพิ่มทุนของ ปตท. สผ. เอง และ/หรือ วิธีการจำหน่ายหุ้น ปตท.สผ. เดิมของ ปตท. เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ในการลงทุน ของ ปตท.สผ. และ/หรือ ปตท. เพื่อลดภาระการกู้ยืมเงินของประเทศและลดภาระภาครัฐ ซึ่งแนวทางการจำหน่ายหุ้นควรเลือกวิธีการจำหน่ายให้กับนักลงทุนทั่วไป ส่วนระยะเวลาการจำหน่ายหุ้นควรเป็นช่วงครึ่งปีแรกของปี 2541 ซึ่งตลาดทุนจะมีความพร้อมรับหุ้นในจำนวนและราคาที่ดีกว่าในปัจจุบัน และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้กำหนดให้ ปตท.ถือหุ้นใน ปตท.สผ. ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 แต่ในภาวะปัจจุบันเห็นควรให้จำหน่ายประมาณร้อยละ 5-10 ของปริมาณหุ้นทั้งหมดของบริษัท โดยให้ ปตท. และ/หรือ ปตท.สผ. คัดเลือกและว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อดำเนินการจำหน่ายหุ้นดังกล่าว และเพื่อให้สามารถจำหน่ายหุ้นได้ในระยะเวลาที่กำหนด จึงให้มีการยกเว้นกฎระเบียบที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจ เกี่ยวกับการจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นหรือกิจการของรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้การกำหนดราคาและวิธีการจำหน่ายหุ้น ปตท.สผ. ให้เป็นไปตามกลไกตลาด และวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาวะตลาด ณ ช่วงเวลาที่ดำเนินการจำหน่ายหุ้น รวมทั้งการแก้ไขข้อบังคับในส่วนของข้อจำกัดในการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติ โดยมอบหมายให้ ปตท. และ ปตท.สผ. รับไปดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
2.2 การขายหุ้นของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปเจรจากับบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อขายหุ้นคืนทั้งหมด หรือเจรจาทางเลือกอื่น ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่รัฐมากที่สุด และให้เพิ่มกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการพิจารณาจัดทำแผนการขายหุ้น ของกระทรวงการคลังในบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วย เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ในฐานะคู่สัญญาของบริษัทเอสโซ่ฯ และเมื่อจัดทำแผนเสร็จแล้ว ให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พิจารณาต่อไป
2.3 การขายหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขายหุ้นโดยใช้แนวทางการลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บผฟ. จากร้อยละ 40 ลงเหลือร้อยละ 25.1 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ บผฟ. โดยให้ กฟผ. พิจารณาเสนอขายหุ้นเป็นจำนวนร้อยละ 14.9 ให้กับพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Investor) โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกพันธมิตรร่วมทุน เพื่อทำการคัดเลือกพันธมิตรร่วมทุนดังกล่าว และกำหนดราคาหุ้นซึ่งรวมหุ้นเดิมที่ กฟผ. ประสงค์จะขายและหรือหุ้นออกใหม่จากการเพิ่มทุน และหุ้นที่ กฟผ. จะต้องขายให้กับพันธมิตรร่วมทุนตามสิทธิพึงได้รับก่อน (Rights of First Refusal) ภายใต้สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholders Agreement) แล้วให้คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อนุมัติเลือกพันธมิตรร่วมทุนและกำหนดราคาหุ้นที่จำหน่าย แล้วนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป ซึ่งเงินที่ได้จากการจำหน่ายหุ้นร้อยละ 90 ของรายได้สุทธิจากการจำหน่ายหุ้น ใช้สำหรับการลงทุนของ กฟผ. ในอนาคตแทนการใช้เงินกู้ และร้อยละ 10 ใช้สำหรับจัดตั้งกองทุนบริหารทรัพยากรบุคคล
แนวทางการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน โดยการลดสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐในกิจการพลังงานดังกล่าว จะช่วยลดภาระหนี้สินของประเทศได้ในระดับหนึ่ง และช่วยลดภาระการลงทุนด้านพลังงานของภาครัฐได้ในระยะยาว นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการพัฒนากิจการด้านพลังงานของประเทศ
เรื่องที่ 20 การยกเลิกการจัดเก็บเงินผลประโยชน์พิเศษจากโรงกลั่นน้ำมัน
1. ความเป็นมา
เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบาย ให้มีการเพิ่มกำลังการกลั่นปิโตรเลียม ให้มีความเสรีอย่างแท้จริง และมีการแข่งขันภายใต้กฎเกณฑ์ที่เท่าเทียมกัน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2539 เห็นชอบให้ปรับปรุงกฎเกณฑ์การจัดตั้งโรงกลั่นปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น รวมทั้งขยายโรงกลั่นปิโตรเลียมเดิม โดยให้ผู้สนใจประกอบกิจการ สามารถเลือกปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 เกี่ยวกับการจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษให้แก่รัฐ ดังนี้
ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 ทั้งในกรณีการตั้งโรงกลั่นใหม่และขยายโรงกลั่นเดิม โดยต้องจ่ายเงินอุดหนุนอย่างน้อย 350 ล้านบาท รวมทั้งเงินประจำปีในอัตราร้อยละ 2 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผลิตและส่งออกจากโรงกลั่นปิโตรเลียม โดยมีสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการส่งเสริมการลงทุน หรือ
การไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 กล่าวคือ ไม่จ่ายเงินอุดหนุนอย่างน้อย 350 ล้านบาท และเงินประจำปีในอัตราร้อยละ 2 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผลิตและส่งออกจากโรงกลั่นปิโตรเลียม โดยจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปดำเนินการเจรจา และแก้ไขสัญญากับโรงกลั่นที่มีสัญญาอยู่เดิม 4 โรง คือ โรงกลั่นของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด, บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด, และบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด เพื่อไม่ให้เสียเปรียบโรงกลั่นน้ำมันบางราย และกิจการที่มีผลพลอยได้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงบางราย ซึ่งไม่ต้องจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษ แต่ยังได้รับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนด้วย
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สพช. ได้หารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม และได้เจรจากับโรงกลั่นทั้ง 4 โรง จนได้ข้อยุติแล้ว โดยได้จัดทำข้อเสนอปรับปรุงกฎเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของโรงกลั่นปิโตรเลียม เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาต ิเพื่อพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2540 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติดังนี้
2.1 เห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจัดสร้าง หรือขยายและประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมัน ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับบริษัทน้ำมันทั้ง 4 โรงดังกล่าว เพื่อยกเลิกการจัดเก็บเงินผลประโยชน์พิเศษ โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม รับไปลงนามกับคู่สัญญาต่อไป
2.2 ให้กระทรวงการคลังดำเนินการเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน ก๊าด และดีเซลขึ้น 5.5 สตางค์ต่อลิตร เพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาขึ้นร้อยละ 0.5 ของมูลค่า และลดอากรขาเข้าน้ำมันเบนซิน ก๊าด และดีเซลลง 5.5 สตางค์ต่อลิตร เหลือ 1.0 สตางค์ต่อลิตร โดยให้การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีและอากรขาเข้า มีผลบังคับใช้ในวันที่มีการลงนามในสัญญาตามข้อ 2.1
2.3 ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2539 เรื่อง นโยบายการจัดเก็บเงินผลประโยชน์พิเศษจากโรงกลั่นน้ำมัน โดยให้การตั้งโรงกลั่นน้ำมันไม่ต้องมีสัญญากับกระทรวงอุตสาหกรรม และให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการตั้งโรงงานอื่นๆ ส่วนสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนให้เป็นไปตามเงื่อนไข ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด
2.4 ให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาทบทวนแก้ไขสัญญาสำหรับโรงกลั่นอีก 3 ราย ที่ยังมีสัญญาจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐ ได้แก่ บริษัท สุโขทัยปิโตรเลียม จำกัด บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด และบริษัท ไทยบิทูเมน จำกัด โดยให้ใช้แนวทางเดียวกับการแก้ไขสัญญา ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วตามข้อ 2.1 หากมีการร้องขอจากบริษัทดังกล่าว ให้มีการทบทวนแก้ไขสัญญา
ขณะนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจัดสร้าง หรือขยายและประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมัน กับ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด, บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด, บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม จำกัด, บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด, และบริษัท ไทยบิทูเมน จำกัด แล้วเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 ส่วนบริษัท สุโขทัยปิโตรเลียม จำกัด ได้มีการพิจารณาทบทวนแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมแล้วเสร็จ ซึ่งได้รับความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 และในส่วนของกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการประกาศเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิต และลดอากรขาเข้า โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2540 เป็นต้นไป
การปรับปรุงกฎเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของโรงกลั่นปิโตรเลียมดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรม การกลั่นน้ำมันภายในประเทศให้เป็นไปอย่างเสรี และมีการแข่งขันกันบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน
เรื่องที่ 21 การเพิกถอนที่ดินสาธารณประโยชน์ในบริเวณโรงกลั่นปิโตรเลียมของบริษัท สตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด
1. ความเป็นมา
ตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2539 อนุมัติให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขอถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชน ใช้ร่วมกันในเขตโรงกลั่นปิโตรเลียม ของบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด ต่อมากรมที่ดินได้มีหนังสือถึง สพช. ขอให้พิจารณาคำร้อง ของสำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุด ซึ่งขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ดังกล่าว
2. ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
สพช. ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้ข้อยุติว่าให้มีการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี โดยให้สำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุด เข้ามาเป็นผู้ขอถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์ และดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ แทนการนิคมอุตสาหกรรมฯ ซึ่งในเรื่องนี้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีการพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2540 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 โดยเห็นชอบให้ดำเนินการดังนี้
2.1 เห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีขอทบทวนมติ ให้เพิกถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน ในบริเวณโรงกลั่นปิโตรเลียม ของบริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มอบหมายให้สำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุด เป็นผู้จัดหาประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งถูกเพิกถอนสภาพดังกล่าว โดยให้สำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุด ดำเนินการให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเช่าซื้อที่ดินดังกล่าว เพื่อที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะได้ดำเนินการให้บริษัทสตาร์ ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด เช่าต่อไป ทั้งนี้หากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เลือกที่จะเช่าซื้อ จากสำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุด ให้การเช่าซื้อมีเงื่อนไขและรายละเอียด ดังนี้
ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเช่าซื้อ โดยมีระยะเวลาการเช่าซื้อ 3 ปี ชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายปี และสามารถนำไปให้บริษัทสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด เช่าได้
การกำหนดราคาเช่าซื้อ ควรใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในปัจจุบัน ของกรมที่ดิน
การคิดอัตราดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดี (Prime Rate) ของธนาคารพาณิชย์ของไทย บวกร้อยละ 1 ต่อไป
2.2 ให้การถอนสภาพเพื่อจัดหาผลประโยชน์ในข้อ 2.1 ไม่ต้องนำเสนอคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ เนื่องจากเป็นการขายให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
2.3 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรมที่ดิน รับไปดำเนินการ กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณา และขั้นตอนดำเนินการ สำหรับการร้องขอเพิกถอนที่ดินสาธารณประโยชน์ ในลักษณะเช่นนี้รายต่อๆ ไป โดยเฉพาะในเรื่องการนำที่ดินไปจัดหาผลประโยชน์ เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้มีการดำเนินงานได้ โดยไม่ต้องให้มีการพิจารณาคำร้องขอเป็นรายๆ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ผลจากการดำเนินการดังกล่าว จะช่วยให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการเพิกถอนสภาพที่ดิน โดยมีสำนักงานเทศบาลตำบลมาบตาพุดเป็นผู้จัดหาประโยชน์ เพื่อนำรายได้ไปสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ท้องถิ่นโดยรวมต่อไป นอกจากนี้ยังช่วยให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน และเป็นการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนอีกด้วย
-ยังมีต่อ-
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ/กองนโยบายและแผนพลังงาน--
-ยก-