ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. บง. และ บค. ที่ไม่ผ่านการขอยกระดับเป็นธนาคารควรวางกรอบการทำธุรกิจให้ชัดเจนไม่เกิน
ปี 49 ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทเงิน
ทุน (บง.) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ที่ไม่ผ่านการพิจารณายกระดับขึ้นเป็นธนาคาร กำลังเจรจาหาทางอ
อกกับ ธปท. โดยการทำธุรกิจต่าง ๆ จะต้องทยอยลดบทบาทและลดขนาดลงมา รวมทั้งธุรกรรมในส่วนของเจ้าหนี้
และลูกหนี้ด้วย ซึ่ง ธปท. ก็เข้าใจว่าคงต้องใช้เวลาในการลดบทบาทเพราะจะทำในทันทีคงไม่ได้ แต่ก็ไม่ควรจะ
เกินปีหน้า สำหรับความคืบหน้าในการเจรจามีหลายรูปแบบ โดยบางแห่งมีแผนที่จะควบรวมกิจการกัน ขณะที่บาง
แห่งจะขอเป็นบริษัทที่ไม่รับฝากเงิน จะเน้นธุรกรรมด้านสินเชื่อเพียงอย่างเดียว (Credit Institution) ส่วน
บางแห่งอาจจะล้มเลิกดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่ไม่ผ่านการยกระดับขึ้นเป็นธนาคาร ได้แก่ บง.สิน
อุตสาหกรรม บง.กรุงเทพธนาทร บง.แอ๊ดวานซ์ บค.เอเชีย บค.ยูนิโก้ เฮ้าส์ซิ่ง บค.สหวิริยา บง.ฟินันซ่า
และ บค.อเมริกันเอ็กซ์เพรส (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. ก.คลังเตรียมอนุมัติใบอนุญาต ธ.พาณิชย์แห่งใหม่เร็ว ๆ นี้ นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เปิดเผย
ว่า ก.คลังได้ส่งเรื่องการยกระดับ บง.สินเอเชีย เป็น ธ.พาณิชย์เต็มรูปแบบ ตามแผนแม่บทพัฒนาระบบสถาบันการ
เงินของ ธปท. มาแล้ว คาดว่าจะลงนามอนุมัติเร็ว ๆ นี้ โดยก่อนหน้านี้ ก.คลังเห็นชอบใบอนุญาตธนาคารของ
บง.ทิสโก้ และ บง.เกียรตินาคิน รวมทั้งได้ลงนามอนุมัติให้ ธ.โซซิเอเต้ เจนาราล และ ธ.ยูเอฟเจ เป็นสาขา
ธนาคารเต็มรูปแบบ และ ธ.สากลพาณิชย์แห่งประเทศจีน เป็นธนาคารที่เป็นบริษัทลูกของ ธ.พาณิชย์ต่าง
ประเทศ สำหรับ บง.เอไอจีไฟแนนซ์ บง.จีอี มันนี่ บค.ไทยเคหะ และ บง.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่ได้รับอนุมัติ
จาก ก.คลังให้จัดตั้ง ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยไปแล้ว ขณะนี้ ธปท. ยังไม่ได้ส่งชื่อกลับมาเพื่อขอใบอนุญาตธนาคาร
รายย่อย (โพสต์ทูเดย์)
3. กรมบัญชีกลางกำลังดำเนินการเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน นายทนง พิทยะ รมว.
คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหานี้ภาคประชาชนว่า กรมบัญชีกลางกำลังดำเนินการในเรื่องนี้อยู่ ซึ่ง
ได้หารือกับ ธ.พาณิชย์ต่าง ๆ แล้ว เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาทั้งหมดจะได้ข้อสรุปก่อนที่ นรม. จะเดินทางกลับจากการ
เยือนสหภาพยุโรปอย่างแน่นอน ส่วนการที่นักวิชาการวิจารณ์ว่าเป็นการแก้ไขหนี้ที่เกิดจากนโยบายประชานิยมของ
รัฐบาลนั้น การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ยังไม่เคยได้รับการดูแลจากภาครัฐมาก่อน ด้าน
นายชาติศิริ โสภณพนิช กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ ในฐานะสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ได้เข้าหารือร่วมกับ นาย
บุญศักดิ์ เจียมปรีชา อธิบดีกรมบัญชีกลาง แล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งจะนำกลับไปพิจารณาว่าจะต้องดำเนินการ
อย่างไร ทั้งนี้ ในหลักการแล้วทุกธนาคารพร้อมให้ความร่วมมือกับทางการอย่างเต็มที่ ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นเรื่อง
ของความสมัครใจ โดยจะต้องใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 2-3 วัน และคงได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ เชื่อว่า
จะไม่ต้องมีการหารือร่วมกันอีกแล้ว (โลกวันนี้)
4. ก.คลังให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจลด NPL ให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ภายใน 3 ปี นายทน
ง พิทยะ รมว. คลัง ได้กำหนดเป้าหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งปรับลดสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(NPL) ให้เหลือระดับต่ำกว่าร้อยละ 10 ภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยให้ทุกแห่งไปศึกษาแนวทางบริหารจัดการ NPL
และนำกลับมาเสนอ ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปีนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งระบบมีการปล่อยสินเชื่อ 1,171,778
ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 9,719.37 ล้านบาท มี NPL ร้อยละ 7.41 หรือ 92,755 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขโดยรวมถือ
ว่าดี มีเพียงบางแห่งที่เป็นปัญหา ได้แก่ ธ.เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มี NPL สูงถึงร้อยละ
21 และ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ร้อยละ 21.46 จึงสั่งให้ทำแผนการบริหารมานำเสนอโดยเร็ว
(มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
5.สหภาพยุโรปจะเปิดตลาดภายในประเทศให้กว้างขึ้นเพื่อกระตุ้นตลาดแรงงาน รายงาน
จาก ลักเซมเบอร์กเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 48 รมว.คลังสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า จะเดินหน้าอย่างจริงจังใน
การเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ตลาดแรงงานในประเทศโดยการสร้างงานเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจพ้นจากภาวะ
ชะงักงัน โดยการดำเนินการด้านการค้าและบริการระหว่างชาติต่างๆในสหภาพยุโรป (EU) ที่มีประชากรมากถึง
450 ล้านคน ให้มีความสะดวกยิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัว เนื่องจากกลุ่ม EU ประสบกับภาวะ
ประชากรสูงอายุส่งผลให้ประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดโลกลดลง รวมทั้งมาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพ ธพ.
และกิจการ ซึ่งมาตรการทั้ง 2 ต่างมีเป้าหมายในการเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ด้วยเหตุนี้รมว.คลังของ EU
จะสนับสนุนให้ประชากรของ EU ออมเงินในกองทุนระหว่างประเทศในสหภาพยุโรป นอกจากนั้นนาย กอดอน
บราวน์ รมว.คลังอังกฤษซึ่งดำรงตำแหน่งประธาน EU จะร้องขอต่อคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปให้ผ่อนปรนบริการ
ด้านการเงินเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันให้ตลาดโลกด้วย (รอยเตอร์)
6.คณะกรรมการสภายุโรปกำหนดให้เยอรมนีต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือร้อยละ 3.0 ของ
GDP ภายในปี 50 รายงานจากลักเซมเบอร์ก เมื่อ 10 ต.ค.48 ประธานกลุ่ม รมต.คลังของเขตเศรษฐกิจยุโรป
ให้สัมภาษณ์ว่าคณะกรรมการสภายุโรปจะกำหนดให้เยอรมนีต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือร้อยละ 3.0 ของ
GDP ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกในเขตเศรษฐกิจยุโรปภายในปี 50 และได้แจ้งเรื่องนี้ให้ผู้นำ
รัฐบาลคนใหม่ของเยอรมนีทราบแล้ว โดยก่อนหน้านี้เยอรมนีสัญญาที่จะตัดลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือร้อยละ
3.0 ของ GDP ภายในปีนี้ แต่คาดว่าการขาดดุลงบประมาณในปีนี้จะถึงร้อยละ 3.7 ของ GDP ซึ่งจะทำให้เยอรมนี
ขาดดุลงบประมาณเกินกว่าที่กำหนดเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่ สนง.สถิติของสหภาพยุโรปคาดว่าการขาดดุลงบ
ประมาณของเยอรมนีในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4 ของ GDP โดยผู้นำของประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปมีกำหนด
จะนำเสนอประมาณการงบประมาณต่อคณะกรรมการสภายุโรปในวันที่ 17 พ.ย.48 นี้ และคาดว่า รมต.คลังของ
ประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปจะประชุมกันในราวต้นเดือน ธ.ค.48 ซึ่งจะทำให้รัฐบาลใหม่ของเยอรมนีต้องหาคำ
ตอบให้ได้อย่างรวดเร็วว่าจะทำอย่างไรจึงจะลดการขาดดุลงบประมาณของเยอรมนีลงให้ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของ
GDP ได้ภายในปี 50 (รอยเตอร์)
7.อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.5 ในปี 49 รายงานจาก
เซี่ยงไฮ้ เมื่อ 11 ต.ค.48 ว่า จากรายงานของ National Development and Reform Commission ที่
เผยแพร่ใน China Securities Journal คาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 49 จะขยายตัว
ประมาณร้อยละ 8.5 ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.2 ในปีนี้ เนื่องจากการลงทุนจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระดับ
ที่เหมาะสม ในขณะที่การส่งออกจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมกับการชะลอตัวของการบริโภค ทั้งนี้ คาดว่าใน 3
ไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 9.4 ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
(รอยเตอร์)
8. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
รายงานจากโซลเมื่อ 10 ต.ค.48 The National Statistical Office เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคเกาหลีใต้ (Consumer expectation index) ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่
ระดับ 96.7 จากระดับ 94.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนียังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน พ.
ค. ซึ่งสะท้อนว่าจำนวนผู้บริโภคที่มีมุมมองในแง่ลบมีมากกว่าผู้บริโภคที่มีมุมมองในแง่บวก อย่างไรก็ตาม บรรดานัก
เศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การที่ดัชนีฯ ในเดือน ก.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากสะท้อนภาพที่ดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยเสริมการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจที่เคยพึ่งพาการส่งออกเป็นปัจจัยหลัก อนึ่ง ก.คลังได้เปิดเผยประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในช่วงไตรมาส 3 ปี 48 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบต่อปี ขณะที่ ธ.กลาง
เกาหลีใต้ได้คาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ที่ร้อยละ 3.8 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่ง
ขยายตัวร้อยละ 4.6 เนื่องจากความต้องการภายในประเทศอาจไม่สามารถฟื้นตัวชดเชยกับการชะลอตัวของการส่ง
ออกได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 ต.ค. 48 10 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.818 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6232/40.9158 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47417 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 707.05/ 14.00 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,150/9,250 9,150/9,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.47 53.65 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.34*/24.19 27.34*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 10 ต.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. บง. และ บค. ที่ไม่ผ่านการขอยกระดับเป็นธนาคารควรวางกรอบการทำธุรกิจให้ชัดเจนไม่เกิน
ปี 49 ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทเงิน
ทุน (บง.) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ที่ไม่ผ่านการพิจารณายกระดับขึ้นเป็นธนาคาร กำลังเจรจาหาทางอ
อกกับ ธปท. โดยการทำธุรกิจต่าง ๆ จะต้องทยอยลดบทบาทและลดขนาดลงมา รวมทั้งธุรกรรมในส่วนของเจ้าหนี้
และลูกหนี้ด้วย ซึ่ง ธปท. ก็เข้าใจว่าคงต้องใช้เวลาในการลดบทบาทเพราะจะทำในทันทีคงไม่ได้ แต่ก็ไม่ควรจะ
เกินปีหน้า สำหรับความคืบหน้าในการเจรจามีหลายรูปแบบ โดยบางแห่งมีแผนที่จะควบรวมกิจการกัน ขณะที่บาง
แห่งจะขอเป็นบริษัทที่ไม่รับฝากเงิน จะเน้นธุรกรรมด้านสินเชื่อเพียงอย่างเดียว (Credit Institution) ส่วน
บางแห่งอาจจะล้มเลิกดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่ไม่ผ่านการยกระดับขึ้นเป็นธนาคาร ได้แก่ บง.สิน
อุตสาหกรรม บง.กรุงเทพธนาทร บง.แอ๊ดวานซ์ บค.เอเชีย บค.ยูนิโก้ เฮ้าส์ซิ่ง บค.สหวิริยา บง.ฟินันซ่า
และ บค.อเมริกันเอ็กซ์เพรส (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. ก.คลังเตรียมอนุมัติใบอนุญาต ธ.พาณิชย์แห่งใหม่เร็ว ๆ นี้ นายทนง พิทยะ รมว.คลัง เปิดเผย
ว่า ก.คลังได้ส่งเรื่องการยกระดับ บง.สินเอเชีย เป็น ธ.พาณิชย์เต็มรูปแบบ ตามแผนแม่บทพัฒนาระบบสถาบันการ
เงินของ ธปท. มาแล้ว คาดว่าจะลงนามอนุมัติเร็ว ๆ นี้ โดยก่อนหน้านี้ ก.คลังเห็นชอบใบอนุญาตธนาคารของ
บง.ทิสโก้ และ บง.เกียรตินาคิน รวมทั้งได้ลงนามอนุมัติให้ ธ.โซซิเอเต้ เจนาราล และ ธ.ยูเอฟเจ เป็นสาขา
ธนาคารเต็มรูปแบบ และ ธ.สากลพาณิชย์แห่งประเทศจีน เป็นธนาคารที่เป็นบริษัทลูกของ ธ.พาณิชย์ต่าง
ประเทศ สำหรับ บง.เอไอจีไฟแนนซ์ บง.จีอี มันนี่ บค.ไทยเคหะ และ บง.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่ได้รับอนุมัติ
จาก ก.คลังให้จัดตั้ง ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อยไปแล้ว ขณะนี้ ธปท. ยังไม่ได้ส่งชื่อกลับมาเพื่อขอใบอนุญาตธนาคาร
รายย่อย (โพสต์ทูเดย์)
3. กรมบัญชีกลางกำลังดำเนินการเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน นายทนง พิทยะ รมว.
คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหานี้ภาคประชาชนว่า กรมบัญชีกลางกำลังดำเนินการในเรื่องนี้อยู่ ซึ่ง
ได้หารือกับ ธ.พาณิชย์ต่าง ๆ แล้ว เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาทั้งหมดจะได้ข้อสรุปก่อนที่ นรม. จะเดินทางกลับจากการ
เยือนสหภาพยุโรปอย่างแน่นอน ส่วนการที่นักวิชาการวิจารณ์ว่าเป็นการแก้ไขหนี้ที่เกิดจากนโยบายประชานิยมของ
รัฐบาลนั้น การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ยังไม่เคยได้รับการดูแลจากภาครัฐมาก่อน ด้าน
นายชาติศิริ โสภณพนิช กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ ในฐานะสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ได้เข้าหารือร่วมกับ นาย
บุญศักดิ์ เจียมปรีชา อธิบดีกรมบัญชีกลาง แล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งจะนำกลับไปพิจารณาว่าจะต้องดำเนินการ
อย่างไร ทั้งนี้ ในหลักการแล้วทุกธนาคารพร้อมให้ความร่วมมือกับทางการอย่างเต็มที่ ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นเรื่อง
ของความสมัครใจ โดยจะต้องใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 2-3 วัน และคงได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ เชื่อว่า
จะไม่ต้องมีการหารือร่วมกันอีกแล้ว (โลกวันนี้)
4. ก.คลังให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจลด NPL ให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ภายใน 3 ปี นายทน
ง พิทยะ รมว. คลัง ได้กำหนดเป้าหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งปรับลดสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(NPL) ให้เหลือระดับต่ำกว่าร้อยละ 10 ภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยให้ทุกแห่งไปศึกษาแนวทางบริหารจัดการ NPL
และนำกลับมาเสนอ ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 2 ปีนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งระบบมีการปล่อยสินเชื่อ 1,171,778
ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 9,719.37 ล้านบาท มี NPL ร้อยละ 7.41 หรือ 92,755 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขโดยรวมถือ
ว่าดี มีเพียงบางแห่งที่เป็นปัญหา ได้แก่ ธ.เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มี NPL สูงถึงร้อยละ
21 และ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ร้อยละ 21.46 จึงสั่งให้ทำแผนการบริหารมานำเสนอโดยเร็ว
(มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
5.สหภาพยุโรปจะเปิดตลาดภายในประเทศให้กว้างขึ้นเพื่อกระตุ้นตลาดแรงงาน รายงาน
จาก ลักเซมเบอร์กเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 48 รมว.คลังสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า จะเดินหน้าอย่างจริงจังใน
การเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ตลาดแรงงานในประเทศโดยการสร้างงานเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจพ้นจากภาวะ
ชะงักงัน โดยการดำเนินการด้านการค้าและบริการระหว่างชาติต่างๆในสหภาพยุโรป (EU) ที่มีประชากรมากถึง
450 ล้านคน ให้มีความสะดวกยิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัว เนื่องจากกลุ่ม EU ประสบกับภาวะ
ประชากรสูงอายุส่งผลให้ประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดโลกลดลง รวมทั้งมาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพ ธพ.
และกิจการ ซึ่งมาตรการทั้ง 2 ต่างมีเป้าหมายในการเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ด้วยเหตุนี้รมว.คลังของ EU
จะสนับสนุนให้ประชากรของ EU ออมเงินในกองทุนระหว่างประเทศในสหภาพยุโรป นอกจากนั้นนาย กอดอน
บราวน์ รมว.คลังอังกฤษซึ่งดำรงตำแหน่งประธาน EU จะร้องขอต่อคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปให้ผ่อนปรนบริการ
ด้านการเงินเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันให้ตลาดโลกด้วย (รอยเตอร์)
6.คณะกรรมการสภายุโรปกำหนดให้เยอรมนีต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือร้อยละ 3.0 ของ
GDP ภายในปี 50 รายงานจากลักเซมเบอร์ก เมื่อ 10 ต.ค.48 ประธานกลุ่ม รมต.คลังของเขตเศรษฐกิจยุโรป
ให้สัมภาษณ์ว่าคณะกรรมการสภายุโรปจะกำหนดให้เยอรมนีต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือร้อยละ 3.0 ของ
GDP ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกในเขตเศรษฐกิจยุโรปภายในปี 50 และได้แจ้งเรื่องนี้ให้ผู้นำ
รัฐบาลคนใหม่ของเยอรมนีทราบแล้ว โดยก่อนหน้านี้เยอรมนีสัญญาที่จะตัดลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือร้อยละ
3.0 ของ GDP ภายในปีนี้ แต่คาดว่าการขาดดุลงบประมาณในปีนี้จะถึงร้อยละ 3.7 ของ GDP ซึ่งจะทำให้เยอรมนี
ขาดดุลงบประมาณเกินกว่าที่กำหนดเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่ สนง.สถิติของสหภาพยุโรปคาดว่าการขาดดุลงบ
ประมาณของเยอรมนีในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4 ของ GDP โดยผู้นำของประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปมีกำหนด
จะนำเสนอประมาณการงบประมาณต่อคณะกรรมการสภายุโรปในวันที่ 17 พ.ย.48 นี้ และคาดว่า รมต.คลังของ
ประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปจะประชุมกันในราวต้นเดือน ธ.ค.48 ซึ่งจะทำให้รัฐบาลใหม่ของเยอรมนีต้องหาคำ
ตอบให้ได้อย่างรวดเร็วว่าจะทำอย่างไรจึงจะลดการขาดดุลงบประมาณของเยอรมนีลงให้ไม่เกินร้อยละ 3.0 ของ
GDP ได้ภายในปี 50 (รอยเตอร์)
7.อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.5 ในปี 49 รายงานจาก
เซี่ยงไฮ้ เมื่อ 11 ต.ค.48 ว่า จากรายงานของ National Development and Reform Commission ที่
เผยแพร่ใน China Securities Journal คาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 49 จะขยายตัว
ประมาณร้อยละ 8.5 ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.2 ในปีนี้ เนื่องจากการลงทุนจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระดับ
ที่เหมาะสม ในขณะที่การส่งออกจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมกับการชะลอตัวของการบริโภค ทั้งนี้ คาดว่าใน 3
ไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 9.4 ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
(รอยเตอร์)
8. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
รายงานจากโซลเมื่อ 10 ต.ค.48 The National Statistical Office เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคเกาหลีใต้ (Consumer expectation index) ในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่
ระดับ 96.7 จากระดับ 94.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนียังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน พ.
ค. ซึ่งสะท้อนว่าจำนวนผู้บริโภคที่มีมุมมองในแง่ลบมีมากกว่าผู้บริโภคที่มีมุมมองในแง่บวก อย่างไรก็ตาม บรรดานัก
เศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การที่ดัชนีฯ ในเดือน ก.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากสะท้อนภาพที่ดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยเสริมการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจที่เคยพึ่งพาการส่งออกเป็นปัจจัยหลัก อนึ่ง ก.คลังได้เปิดเผยประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในช่วงไตรมาส 3 ปี 48 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบต่อปี ขณะที่ ธ.กลาง
เกาหลีใต้ได้คาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ที่ร้อยละ 3.8 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่ง
ขยายตัวร้อยละ 4.6 เนื่องจากความต้องการภายในประเทศอาจไม่สามารถฟื้นตัวชดเชยกับการชะลอตัวของการส่ง
ออกได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 ต.ค. 48 10 ต.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.818 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6232/40.9158 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.47417 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 707.05/ 14.00 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,150/9,250 9,150/9,250 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.47 53.65 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.34*/24.19 27.34*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด 40 สตางค์ เมื่อ 10 ต.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--