ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2541 ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเซียอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากค่าเงินเยนของญี่ปุ่นได้ลดลง ส่งผลให้จีนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะปัญหาภาคการส่งออก ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า จีนอาจไม่สามารถทนกระแสความกดดันของการลดค่าเงินเยนต่อไป จนต้องลดค่าเงินหยวนลง แต่ในที่สุด จีนก็สามารถรักษาเสถียรภาพของค่าเงินหยวนเอาไว้ได้ แม้ว่าจีนจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ก็ตามแต่การที่จีนสามารถรักษาเสถียรภาพของค่าเงินหยวนเอาไว้ได้นั้น โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของจีนทั้งอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้ากับต่างประเทศ จะต้องแข็งแกร่งพอสมควร ซึ่งภาพรวมภาวะทางเศรษฐกิจของจีนมีดังนี้
การค้ากับต่างประเทศ
การค้ากับต่างประเทศของจีนระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2541 มีมูลค่า 123,690 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นมูลค่าการส่งออก 71,110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จีนยอมรับว่า ความล่าช้าในการแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินของเอเซียมีผลอย่างมากต่อการส่งออกของจีน ทำให้การส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2541 ลดลงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกของการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และการส่งออกไปประเทศที่มีปัญหาทางการเงินได้ลดลงในขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับ 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 มูลค่า 13,340 ล้านเหรียญสหรัฐ
การนำเข้าของจีนในรอบ 5 เดือนแรก มีมูลค่า 52,580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อัตราการนำเข้าใน 4 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด แต่เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม อุปสงค์การนำเข้ากลับลดลงถึงร้อยละ 2.5 และการนำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 มูลค่า 6,410 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ญี่ปุ่นและฮ่องกงยังเป็นคู่ค้าอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ สินค้านำเข้าเพื่อการแปรรูปและส่งออก ซึ่งยังคงเป็นสินค้าส่งออกหลักของจีนในรอบ 5 เดือกแรก มีมูลค่า 38,870 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 แต่เมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มในช่วงเดือนเดียวกันของปี 2539 และ 2540 ถือว่าเพิ่มในอัตราที่ลดลง เป็นการบ่งชี้ได้ว่าสินค้าแปรรูปของจีนกำลังจะประสบปัญหาอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้ เพราะการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อมาแปรรูปในรอบ 4 เดือนแรกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.5 แต่กลับลดลงร้อยละ 6.15 ในเดือนพฤษภาคม
การจัดเก็บภาษี
หน่วยงานสรรพากรแห่งชาติจีนได้มีเป้าหมายที่จะเก็บภาษีให้มากกว่าปีก่อน 9,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การจัดเก็บภาษีส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องความล่าช้า เพราะผลกระทบที่ได้รับจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเซีย การชะลอตัวของการส่งออก และสมรรถนะการแข่งขันและการผลิตของรัฐวิสาหกิจจีนลดลง จึงทำให้ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ จีนเก็บภาษีการค้าและอุตสาหกรรมได้ 36,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีผู้บริโภคเก็บได้ 18,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้องละ 1
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แสดงสัญญาณให้เห็นชัดเจนว่า เงินหยวนจะอ่อนค่าลง เช่น อัตราอ้างอิงของธนาคารกลางจีน (People's Bank) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2541 อยู่ที่ 8.2799 ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน (TT) ของ Bank of China ซื้อ 8.2671 ขาย 8.2919 วันที่ 12 มิถุนายน อัตราอ้างอิงเท่าเดิม อัตราซื้อขายของ Bank of China ซื้อ 8.2675 ขาย 8.2923 ซึ่งอ่อนตัวลงเพียง .0004 วันที่ 16 มิถุนายน อัตราอ้างอิงเท่าเดิม อัตราซื้อขายของ Bank of China เท่ากับอัตราของวันที่ 6 มิถุนายน แต่อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจจีนทั่วไปต่างเริ่มไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจีนจะทนต่อสถานการณ์ได้นานเท่าใด และเชื่อว่า จีนจะต้องลดค่าเงินหยวนลง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์กับเงินหยวนในตลาดมืดเพิ่มขึ้นจากเดิม 1 ดอลลาร์ 8.32 หยวน ขณะนี้ได้เพิ่มขึ้นถึง 1 ดอลลาร์เท่ากับ 8.42-8.45 หยวน นักธุรกิจจีนจึงเริ่มทำการกักตุนดอลลาร์โดยเชื่อมั่นว่า ค่าเงินหยวนจะคงค่าได้ไม่นาน
ท่าทีของผู้ที่เกี่ยวข้องในจีน
ผู้นำจีนต่างได้ออกมายืนยันว่า จีนจะไม่ลดค่าเงินในชั้นนี้ แต่ยอมรับว่า การลดค่าเงินเยนได้ส่งผลกระทบต่อจีนและจะรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อค่าเงินเยนอ่อนตัวลงอีก
นายไต้ เซียงหลง ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน ได้กล่าวในพิธีเปิดการประชุม Association of Development and Industrial Banks in Asia (ADIBA) ครั้งที่ 4 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 ว่า
- ปัจจุบันประเทศในเอเซียกำลังปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและหลายประเทศกำลังฟื้นตัว หากมีการลด ค่าเงินเยนจะส่งผลกระทบทางลบต่อสถานการณ์ที่กำลังจะดีขึ้นจึงมีความยินดีที่มีการแทรกแซงเงินเยนเกิดขึ้น
-เงินหยวนยังมีเสถียรภาพ อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนมีระดับคงที่ ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่จีนจะต้องลดค่าเงิน หยวน เพราะวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไม่ได้ทำลายโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจีนแต่อย่างใด
- รัฐบาลจีนมีความรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเซียและได้ช่วยแก้ไข 3 ประการคือ 1) ไม่ลดค่าเงินหยวน 2) ให้เงินกู้ช่วยเหลือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ แก่ประเทศที่กำลังประสบปัญหาแล้วกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 3) รักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 8 เพื่อกระตุ้นการส่งออก การลงทุน และการสร้างอุปสงค์ในประเทศ
เจ้าหน้าที่ด้านการคลังของจีนวิเคราะห์ว่า ปัจจุบันจีนได้รับแรงบีบคั้นมากขึ้น แม้ว่าช่วงไตรมาสแรกภาวะเศรษฐกิจของจีนยังดำเนินไปด้วยดี โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออก แต่มีสัญญาณเกี่ยวกับค่าเงินเยนให้เห็นเด่นชัดตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งหากเงินเยนอ่อนตัวกว่า 153 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะเป็นจุดที่จีนได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีความผูกพันธ์กับญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับ 1 และมีการลงทุนในจีนมากที่สุดและว่า การที่ผู้นำจีนให้คำมั่นจะไม่ลดค่าเงินหยวนนั้น สามารถช่วยให้สถานการณ์ในภูมิภาคไม่ให้เลวร้ายลงจากการที่เงินเยนอ่อนตัวลงเรื่อย ๆ
กระทรวงเศรษฐกิจสัมพันธ์และการค้าต่างประเทศของจีน (MOFTEC) ได้ประกาศที่จะคืนภาษีการส่งออกให้แก่สินค้าประเภทต่างๆ อาทิ ถ่านหิน เครื่องไฟฟ้า เครื่องจักรกลสินค้า Hi-Tech บางชนิด ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป ซึ่งจีนยอมรับว่าเป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นการส่งออก และต่อสู้กับความตกต่ำทางการเงินในภูมิภาคเอเซียที่มีสาเหตุจากความไม่แน่นอนของเงินเยน ซึ่งทำให้การนำเข้าสินค้าจีนของประเทศต่างๆ มีปริมาณลดลงเพราะสินค้าจีนแพงขึ้น นอกจากนี้สินค้ากว่าครึ่งหนึ่งเป็นการส่งออกไปยังประเทศที่กำลังประสบกับปัญหาทางการเงินทั้งสิ้น
ข้อสังเกต
1) วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อจีนอย่างมากโดยเฉพาะด้านการส่งออก เพราะนอกจากสินค้าจีนจะแพงขึ้นแล้ว ลูกค้าต่างประเทศที่สำคัญยังไม่มีเงินสั่งซื้อสินค้า ดังนั้น การไม่ลดค่าเงินหยวนของจีนจึงน่าจะเป็นเหตุผลทางการเมืองไม่น้อยกว่าประเด็นทางเศรษฐกิจ เพราะมิเช่นนั้นแล้ว จีนน่าจะลดค่าเงินหยวนตั้งแต่เกิดวิกฤตใหม่ๆ เมื่อปลายปี 2540 แล้ว เพื่อพยุงสภาพคล่องในการส่งออก แต่เมื่อไม่ลดค่าเงินก็ต้องหันมาปรับกลยุทธด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ ซึ่งไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจจีนโดยรวมอยู่ดี ทำให้เห็นชัดว่า จีนได้พยายามรักษาสถานะทางการเงินในภูมิภาคไว้โดยยอมรับความเสียหายในระดับหนึ่ง ซึ่งจีนก็ทราบดีว่า หากจีนจะเอาตัวรอดโดยลดค่าเงินหยวนแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ ในเอเซียจะเลวร้ายกว่านี้
2) แม้จีนจะมีปัญหาด้านการส่งอก แต่โครงสร้างเศรษฐกิจหลัก ๆ ของจีนยังดีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จีนยังไม่มีระบบเศรษฐกิจเปิดแบบโลกเสรี แต่คงลักษณะเศรษฐกิจปิดในบางด้านซึ่งยังไม่เป็นไปตามกลไกการตลาด และรัฐบาลสามารถควบคุมได้ อาทิ การค้าบริการ การธนาคาร การเงิน การประกันภัย และที่สำคัญคือ การที่เงินหยวนยังไม่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนโดยเสรี ทำให้ยากแก่การถูกโจมตีค่าเงิน
3) อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนพึ่งพาการส่งออกถึงประมาณร้อยละ 3 (อัตราเจริญเติบโตของ GDP เฉลี่ยร้อยละ 8) เมื่อมีแนวโน้มการส่งออกของจีนในครึ่งปีหลังจะลดลงมาก ทำให้เชื่อว่า มีผลให้ GDP ของจีนเติบโตลดลงอย่างน้อยร้อยละ 2 และหากรวมกับปัจจัยภายในที่จีนไม่สามารถกระตุ้นตลาดภายในเพื่อทดแทนการส่งออก ซึ่งปัจจุบันตลาดภายในจีนมีอุปสงค์เพียงร้อยละ 25 ของอุปทานที่มีอยู่ จะสร้างปัญหาให้แก่จีนในการระบายสินค้าที่ค้างอยู่ร้อยละ 75 ดังนั้นในภาพรวม GDP ของจีนปีนี้ หากสูงถึงร้อยละ 8 ตามที่รัฐบาลจีนประกาศไว้ ก็นับว่ารัฐบาลจีนมีความสามารถอย่างยิ่ง
4) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนอีกด้านคือ ผลสืบเนื่องจากการปฏิรูปวิสาหกิจ และการปฎิรูประบบราชการ ทำให้รัฐบาลมีภาระต้องเลี้ยงดูคนว่างงานมากขึ้น ในขณะที่การจัดเก็บภาษีมีแนวโน้มที่จะไม่เข้าเป้าหมาย
5) ฮ่องกงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จีนไม่อาจละเลยได้ จีนคงตระหนักดีว่า หากลดค่าเงินหยวน เศรษฐกิจของฮ่องกงซึ่งผูกพันกับจีนก็จะถดถอยหรือขาดเสถียรภาพ ซึ่งจีนคงจะยอมไม่ได้และจะถูกโจมตีได้ว่าเป็นผลพวงของการปกครองตามแนวทางหนึ่งประเทศสองระบบของจีน
ที่มา: กรมเอเซียตะวันออก (กองเอเซียตะวันออก 3) กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/31 กรกฎาคม 2541--
การค้ากับต่างประเทศ
การค้ากับต่างประเทศของจีนระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2541 มีมูลค่า 123,690 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นมูลค่าการส่งออก 71,110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จีนยอมรับว่า ความล่าช้าในการแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินของเอเซียมีผลอย่างมากต่อการส่งออกของจีน ทำให้การส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2541 ลดลงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกของการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และการส่งออกไปประเทศที่มีปัญหาทางการเงินได้ลดลงในขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับ 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 มูลค่า 13,340 ล้านเหรียญสหรัฐ
การนำเข้าของจีนในรอบ 5 เดือนแรก มีมูลค่า 52,580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อัตราการนำเข้าใน 4 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด แต่เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม อุปสงค์การนำเข้ากลับลดลงถึงร้อยละ 2.5 และการนำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 มูลค่า 6,410 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ญี่ปุ่นและฮ่องกงยังเป็นคู่ค้าอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ สินค้านำเข้าเพื่อการแปรรูปและส่งออก ซึ่งยังคงเป็นสินค้าส่งออกหลักของจีนในรอบ 5 เดือกแรก มีมูลค่า 38,870 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 แต่เมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มในช่วงเดือนเดียวกันของปี 2539 และ 2540 ถือว่าเพิ่มในอัตราที่ลดลง เป็นการบ่งชี้ได้ว่าสินค้าแปรรูปของจีนกำลังจะประสบปัญหาอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้ เพราะการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อมาแปรรูปในรอบ 4 เดือนแรกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.5 แต่กลับลดลงร้อยละ 6.15 ในเดือนพฤษภาคม
การจัดเก็บภาษี
หน่วยงานสรรพากรแห่งชาติจีนได้มีเป้าหมายที่จะเก็บภาษีให้มากกว่าปีก่อน 9,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การจัดเก็บภาษีส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องความล่าช้า เพราะผลกระทบที่ได้รับจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเซีย การชะลอตัวของการส่งออก และสมรรถนะการแข่งขันและการผลิตของรัฐวิสาหกิจจีนลดลง จึงทำให้ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ จีนเก็บภาษีการค้าและอุตสาหกรรมได้ 36,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีผู้บริโภคเก็บได้ 18,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้องละ 1
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แสดงสัญญาณให้เห็นชัดเจนว่า เงินหยวนจะอ่อนค่าลง เช่น อัตราอ้างอิงของธนาคารกลางจีน (People's Bank) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2541 อยู่ที่ 8.2799 ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน (TT) ของ Bank of China ซื้อ 8.2671 ขาย 8.2919 วันที่ 12 มิถุนายน อัตราอ้างอิงเท่าเดิม อัตราซื้อขายของ Bank of China ซื้อ 8.2675 ขาย 8.2923 ซึ่งอ่อนตัวลงเพียง .0004 วันที่ 16 มิถุนายน อัตราอ้างอิงเท่าเดิม อัตราซื้อขายของ Bank of China เท่ากับอัตราของวันที่ 6 มิถุนายน แต่อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจจีนทั่วไปต่างเริ่มไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจีนจะทนต่อสถานการณ์ได้นานเท่าใด และเชื่อว่า จีนจะต้องลดค่าเงินหยวนลง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์กับเงินหยวนในตลาดมืดเพิ่มขึ้นจากเดิม 1 ดอลลาร์ 8.32 หยวน ขณะนี้ได้เพิ่มขึ้นถึง 1 ดอลลาร์เท่ากับ 8.42-8.45 หยวน นักธุรกิจจีนจึงเริ่มทำการกักตุนดอลลาร์โดยเชื่อมั่นว่า ค่าเงินหยวนจะคงค่าได้ไม่นาน
ท่าทีของผู้ที่เกี่ยวข้องในจีน
ผู้นำจีนต่างได้ออกมายืนยันว่า จีนจะไม่ลดค่าเงินในชั้นนี้ แต่ยอมรับว่า การลดค่าเงินเยนได้ส่งผลกระทบต่อจีนและจะรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อค่าเงินเยนอ่อนตัวลงอีก
นายไต้ เซียงหลง ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน ได้กล่าวในพิธีเปิดการประชุม Association of Development and Industrial Banks in Asia (ADIBA) ครั้งที่ 4 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 ว่า
- ปัจจุบันประเทศในเอเซียกำลังปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและหลายประเทศกำลังฟื้นตัว หากมีการลด ค่าเงินเยนจะส่งผลกระทบทางลบต่อสถานการณ์ที่กำลังจะดีขึ้นจึงมีความยินดีที่มีการแทรกแซงเงินเยนเกิดขึ้น
-เงินหยวนยังมีเสถียรภาพ อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนมีระดับคงที่ ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่จีนจะต้องลดค่าเงิน หยวน เพราะวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไม่ได้ทำลายโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจีนแต่อย่างใด
- รัฐบาลจีนมีความรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเซียและได้ช่วยแก้ไข 3 ประการคือ 1) ไม่ลดค่าเงินหยวน 2) ให้เงินกู้ช่วยเหลือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ แก่ประเทศที่กำลังประสบปัญหาแล้วกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 3) รักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 8 เพื่อกระตุ้นการส่งออก การลงทุน และการสร้างอุปสงค์ในประเทศ
เจ้าหน้าที่ด้านการคลังของจีนวิเคราะห์ว่า ปัจจุบันจีนได้รับแรงบีบคั้นมากขึ้น แม้ว่าช่วงไตรมาสแรกภาวะเศรษฐกิจของจีนยังดำเนินไปด้วยดี โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออก แต่มีสัญญาณเกี่ยวกับค่าเงินเยนให้เห็นเด่นชัดตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งหากเงินเยนอ่อนตัวกว่า 153 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะเป็นจุดที่จีนได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด เนื่องจากเศรษฐกิจจีนมีความผูกพันธ์กับญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับ 1 และมีการลงทุนในจีนมากที่สุดและว่า การที่ผู้นำจีนให้คำมั่นจะไม่ลดค่าเงินหยวนนั้น สามารถช่วยให้สถานการณ์ในภูมิภาคไม่ให้เลวร้ายลงจากการที่เงินเยนอ่อนตัวลงเรื่อย ๆ
กระทรวงเศรษฐกิจสัมพันธ์และการค้าต่างประเทศของจีน (MOFTEC) ได้ประกาศที่จะคืนภาษีการส่งออกให้แก่สินค้าประเภทต่างๆ อาทิ ถ่านหิน เครื่องไฟฟ้า เครื่องจักรกลสินค้า Hi-Tech บางชนิด ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป ซึ่งจีนยอมรับว่าเป็นมาตรการเพื่อกระตุ้นการส่งออก และต่อสู้กับความตกต่ำทางการเงินในภูมิภาคเอเซียที่มีสาเหตุจากความไม่แน่นอนของเงินเยน ซึ่งทำให้การนำเข้าสินค้าจีนของประเทศต่างๆ มีปริมาณลดลงเพราะสินค้าจีนแพงขึ้น นอกจากนี้สินค้ากว่าครึ่งหนึ่งเป็นการส่งออกไปยังประเทศที่กำลังประสบกับปัญหาทางการเงินทั้งสิ้น
ข้อสังเกต
1) วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อจีนอย่างมากโดยเฉพาะด้านการส่งออก เพราะนอกจากสินค้าจีนจะแพงขึ้นแล้ว ลูกค้าต่างประเทศที่สำคัญยังไม่มีเงินสั่งซื้อสินค้า ดังนั้น การไม่ลดค่าเงินหยวนของจีนจึงน่าจะเป็นเหตุผลทางการเมืองไม่น้อยกว่าประเด็นทางเศรษฐกิจ เพราะมิเช่นนั้นแล้ว จีนน่าจะลดค่าเงินหยวนตั้งแต่เกิดวิกฤตใหม่ๆ เมื่อปลายปี 2540 แล้ว เพื่อพยุงสภาพคล่องในการส่งออก แต่เมื่อไม่ลดค่าเงินก็ต้องหันมาปรับกลยุทธด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ ซึ่งไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจจีนโดยรวมอยู่ดี ทำให้เห็นชัดว่า จีนได้พยายามรักษาสถานะทางการเงินในภูมิภาคไว้โดยยอมรับความเสียหายในระดับหนึ่ง ซึ่งจีนก็ทราบดีว่า หากจีนจะเอาตัวรอดโดยลดค่าเงินหยวนแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ ในเอเซียจะเลวร้ายกว่านี้
2) แม้จีนจะมีปัญหาด้านการส่งอก แต่โครงสร้างเศรษฐกิจหลัก ๆ ของจีนยังดีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จีนยังไม่มีระบบเศรษฐกิจเปิดแบบโลกเสรี แต่คงลักษณะเศรษฐกิจปิดในบางด้านซึ่งยังไม่เป็นไปตามกลไกการตลาด และรัฐบาลสามารถควบคุมได้ อาทิ การค้าบริการ การธนาคาร การเงิน การประกันภัย และที่สำคัญคือ การที่เงินหยวนยังไม่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนโดยเสรี ทำให้ยากแก่การถูกโจมตีค่าเงิน
3) อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนพึ่งพาการส่งออกถึงประมาณร้อยละ 3 (อัตราเจริญเติบโตของ GDP เฉลี่ยร้อยละ 8) เมื่อมีแนวโน้มการส่งออกของจีนในครึ่งปีหลังจะลดลงมาก ทำให้เชื่อว่า มีผลให้ GDP ของจีนเติบโตลดลงอย่างน้อยร้อยละ 2 และหากรวมกับปัจจัยภายในที่จีนไม่สามารถกระตุ้นตลาดภายในเพื่อทดแทนการส่งออก ซึ่งปัจจุบันตลาดภายในจีนมีอุปสงค์เพียงร้อยละ 25 ของอุปทานที่มีอยู่ จะสร้างปัญหาให้แก่จีนในการระบายสินค้าที่ค้างอยู่ร้อยละ 75 ดังนั้นในภาพรวม GDP ของจีนปีนี้ หากสูงถึงร้อยละ 8 ตามที่รัฐบาลจีนประกาศไว้ ก็นับว่ารัฐบาลจีนมีความสามารถอย่างยิ่ง
4) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนอีกด้านคือ ผลสืบเนื่องจากการปฏิรูปวิสาหกิจ และการปฎิรูประบบราชการ ทำให้รัฐบาลมีภาระต้องเลี้ยงดูคนว่างงานมากขึ้น ในขณะที่การจัดเก็บภาษีมีแนวโน้มที่จะไม่เข้าเป้าหมาย
5) ฮ่องกงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จีนไม่อาจละเลยได้ จีนคงตระหนักดีว่า หากลดค่าเงินหยวน เศรษฐกิจของฮ่องกงซึ่งผูกพันกับจีนก็จะถดถอยหรือขาดเสถียรภาพ ซึ่งจีนคงจะยอมไม่ได้และจะถูกโจมตีได้ว่าเป็นผลพวงของการปกครองตามแนวทางหนึ่งประเทศสองระบบของจีน
ที่มา: กรมเอเซียตะวันออก (กองเอเซียตะวันออก 3) กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/31 กรกฎาคม 2541--