สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตยังคงปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากและมีแนวโน้วว่าจะสูงขึ้นอีก เพราะผลผลิตมีปริมาณน้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากสุกรประสบความสูญเสียจากโรคระบาดและผลจากการปรับลดการเลี้ยงลงในช่วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ในภาคเหนือยังเกิดการขาดแคลนสุกร ต้องนำสุกรจากภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นไปจำหน่าย ส่งผลให้การค้าสุกรตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาประสบกับภาวะตึงตัว คาดว่าสถานการณ์ต่อจากนี้ไป ราคาจะปรับสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 44.22 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 แยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 46.02 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 42.90 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.89 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 43.22 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 1,400 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อปรับลดลงในทุกพื้นที่ เพราะความต้องการยังมีไม่มาก ประกอบกับสถานการณ์ตลาดต่างประเทศยังคงซบเซาอยู่ อย่างไรก็ตามสภาพอากาศที่เริ่มร้อนขึ้นในช่วงนี้เป็นต้นไป คาดว่าจะทำให้ผลผลิตน้อยลง ประกอบกับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นจากเทศกาลตรุษจีน จะทำให้ไก่เนื้อปรับราคาขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.13 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.22 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.80 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.42 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี. มีราคาอยู่ที่ตัวละ 9.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ลดลงจากสัปดาห์ก่อน เพราะในช่วงนี้ผลไม้ตามดูกาลออกมาหลายชนิด ทำให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่อ่อนตัวลง คาดว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีน ผู้บริโภคน่าจะมีกำลังซื้อมากขึ้น และราคาจะปรับขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 180 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 184 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 196 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 175 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 179 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 192 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 188 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 194 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.09
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 227 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 232 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 219 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 232 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 209 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 277 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 285 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.81
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 27.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.09 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 17.31 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 5 ประจำวันที่ 1-7 ก.พ. 2542--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตยังคงปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากและมีแนวโน้วว่าจะสูงขึ้นอีก เพราะผลผลิตมีปริมาณน้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากสุกรประสบความสูญเสียจากโรคระบาดและผลจากการปรับลดการเลี้ยงลงในช่วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ในภาคเหนือยังเกิดการขาดแคลนสุกร ต้องนำสุกรจากภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นไปจำหน่าย ส่งผลให้การค้าสุกรตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาประสบกับภาวะตึงตัว คาดว่าสถานการณ์ต่อจากนี้ไป ราคาจะปรับสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 44.22 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 แยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 46.02 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 42.90 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.89 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 43.22 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 1,400 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อปรับลดลงในทุกพื้นที่ เพราะความต้องการยังมีไม่มาก ประกอบกับสถานการณ์ตลาดต่างประเทศยังคงซบเซาอยู่ อย่างไรก็ตามสภาพอากาศที่เริ่มร้อนขึ้นในช่วงนี้เป็นต้นไป คาดว่าจะทำให้ผลผลิตน้อยลง ประกอบกับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นจากเทศกาลตรุษจีน จะทำให้ไก่เนื้อปรับราคาขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.13 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.22 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 26.80 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.42 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี. มีราคาอยู่ที่ตัวละ 9.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ลดลงจากสัปดาห์ก่อน เพราะในช่วงนี้ผลไม้ตามดูกาลออกมาหลายชนิด ทำให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่อ่อนตัวลง คาดว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีน ผู้บริโภคน่าจะมีกำลังซื้อมากขึ้น และราคาจะปรับขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 180 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 184 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.17 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 196 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 175 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 179 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 192 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 188 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 194 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.09
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 227 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 232 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 219 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 232 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 209 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 277 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 285 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.81
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 27.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.09 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 17.31 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 5 ประจำวันที่ 1-7 ก.พ. 2542--