บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง ที่ประชุม วุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณา ต่อไป ตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ค้างพิจารณาในวาระที่ ๑ ของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำ
ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ….
ซึ่ง นายนิกร จำนง กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๕)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ และ นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย
โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม และ
รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายจรัญ ภักดีธนากุล ๐๒. นางรัศมี วิศทเวทย์
๐๓. นายวรรณชัย บุญบำรุง ๐๔. นายธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์
๐๕. นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ ๐๖. นายภิมุข สิมะโรจน์
๐๗. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์๐๘. นายชาญยุทธ เฮงตระกูล
๐๙. นางสาวเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ไชย ๑๐. นายเรวัต สิรินุกุล
๑๑. นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา ๑๒. นางสิรินทร รามสูต
๑๓. นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ ๑๔. นางสาวอรุณี ชำนาญยา
๑๕. นายศรัณย์ ศรัณย์เกตุ ๑๖. นายทองดี มนิสสาร
๑๗. นายเอกธนัช อินทร์รอด ๑๘. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
๑๙. นายเฉลิมชาติ การุญ ๒๐. นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์
๒๑. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๒๒. นายจตุพร เจริญเชื้อ
๒๓. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ๒๔. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
๒๕. นายสุภาพ คลี่ขจาย ๒๖. นางฐิติมา ฉายแสง
๒๗. นายชาญชัย ปทุมารักษ์ ๒๘. นายเชน เทือกสุบรรณ
๒๙. นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ๓๐. นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ
๓๑. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ๓๒. นายทวี กาญจนภู
๓๓. นายโมฮามัดยาสรี ยูซง ๓๔. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๕. นายเสมอกัน เที่ยงธรรม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. พิจารณาเรื่อง ขอให้ยกร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้ตาม
บทบัญญัติมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นมาพิจารณาใหม่ (ร่างพระราชบัญญัติ
กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….) ซึ่ง
นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระ เรื่องด่วนที่ ๒)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา ประธานสภา
ผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ ที่ประชุมได้ลงมติยืนยันร่างเดิมซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว ด้วยคะแนนเสียง
มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้
ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๓. พิจารณาเรื่อง ขอให้ยกร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้ตาม บทบัญญัติมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นมาพิจารณาใหม่ (ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….) (ปรับปรุงการบังคับคดีการคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้และลูกหนี้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาและอัตราค่าธรรมเนียม)
ซึ่ง นายวัฒนา เซ่งไพเราะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติยืนยันร่างเดิมซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว
ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงการบังคับคดีการคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้และ
ลูกหนี้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาและ อัตราค่าธรรมเนียม) เป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๔. พิจารณาเรื่อง ขอให้ยกร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้ตาม บทบัญญัติมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นมาพิจารณาใหม่ (ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….)
ซึ่ง นายสามารถ แก้วมีชัย เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติยืนยันร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติทางหลวง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(กำหนดหลักการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนสามัญ) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้ แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ
อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ๐๒. นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช
๐๓. นายดุสิต อุชุพงศ์อมร ๐๔. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ
๐๕. นางสาวจารุวรรณ เฮงตระกูล ๐๖. นายกฤษ ศรีฟ้า
๐๗. นางสาวณหทัย ทิวไผ่งาม ๐๘. นายฉัตรชัย ศิลาพร
๐๙. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๑๐. พลโท มะ โพธิ์งาม
๑๑. นายลิขิต หมู่ดี ๑๒. นางมยุรา มนะสิการ
๑๓. นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ๑๔. นายชำนาญ สันติพนารักษ์
๑๕. นายเสริมสุข เหลาหชัยอรุณ ๑๖. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๗. นายเจริญ จรรย์โกมล ๑๘. นายมานพ จรัสดำรงนิตย์
๑๙. นายมานิตย์ สังข์พุ่ม ๒๐. นายกริช กงเพชร
๒๑. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๒๒. นางมุกดา พงษ์สมบัติ
๒๓. นายประสิทธิ์ ภักดีพาณิชพงศ์ ๒๔. นายประสพ บุษราคัม
๒๕. นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ ๒๖. นายสุวรรณ วลัยเสถียร
๒๗. นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ ๒๘. นายอิสสระ สมชัย
๒๙. นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ๓๐. นายประพร เอกอุรุ
๓๑. นายอันวาร์ สาและ ๓๒. นายณรงค์ ดูดิง
๓๓. นายโมฮามัดยาสรี ยูซง ๓๔. นายยุทธนา โพธสุธน
๓๕. นายสมชาติ จงผิตะ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๖. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม
และมูลนิธิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดโทษปรับของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ)
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดหลักการจดทะเบียน
ของห้างหุ้นส่วนสามัญ) เป็นผู้พิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๗. ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง
เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ)
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายวัส ติงสมิตร ๐๒. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์
๐๓. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์ ๐๔. นายพรชัย อัศววัฒนาพร
๐๕. นายสุชัย งามจิตต์เอื้อ ๐๖. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ
๐๗. นายมานะ คงวุฒิปัญญา ๐๘. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
๐๙. นายประเสริฐ ประเสริฐโสภา ๑๐. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
๑๑. นายลิขิต หมู่ดี ๑๒. พันตำรวจโท อดุลย์ บุญเสรฐ
๑๓. นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร ๑๔. นายปัญญา จีนาคำ
๑๕. นางผณินทรา ภัคเกษม ๑๖. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๑๗. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๑๘. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๑๙. นางสาวอรดี สุทธศรี ๒๐. นางจันทร์เพ็ญ แสงเจริญรัตน์
๒๑. นางสาวภัทรา วรามิตร ๒๒. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์
๒๓. นายวีระ มุสิกพงศ์ ๒๔. นายสิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์
๒๕. นายประทีป กรีฑาเวช ๒๖. นายรังสรรค์ วิจิตรไกรสร
๒๗. นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ ๒๘. นายทิวา เงินยวง
๒๙. นายเจริญ คันธวงศ์ ๓๐. นายถนอม อ่อนเกตุพล
๓๑. หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล ๓๒. นางสุภัคสิริ หฤษฎางค์กูร
๓๓. นายฐิติ ชัยนาม ๓๔. นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร
๓๕. นายมงคล โค้ววัฒนะวงษ์รักษ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๘. ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี
และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๘)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้แถลงหลักการและเหตุผล ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. …. เป็นผู้พิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๕๒ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๕ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๓ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดหลักการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนสามัญ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม
และมูลนิธิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดโทษปรับของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ)
๔. ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้ตามมาตรา ๑๗๖ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ปรับปรุงการบังคับคดีการคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้และลูกหนี้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาและอัตราค่าธรรมเนียม)
๓. ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
******************************
ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง ที่ประชุม วุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ….
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณา ต่อไป ตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ค้างพิจารณาในวาระที่ ๑ ของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำ
ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ….
ซึ่ง นายนิกร จำนง กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๕)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ และ นายภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย
โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม และ
รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายจรัญ ภักดีธนากุล ๐๒. นางรัศมี วิศทเวทย์
๐๓. นายวรรณชัย บุญบำรุง ๐๔. นายธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์
๐๕. นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ ๐๖. นายภิมุข สิมะโรจน์
๐๗. นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์๐๘. นายชาญยุทธ เฮงตระกูล
๐๙. นางสาวเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ไชย ๑๐. นายเรวัต สิรินุกุล
๑๑. นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา ๑๒. นางสิรินทร รามสูต
๑๓. นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ ๑๔. นางสาวอรุณี ชำนาญยา
๑๕. นายศรัณย์ ศรัณย์เกตุ ๑๖. นายทองดี มนิสสาร
๑๗. นายเอกธนัช อินทร์รอด ๑๘. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
๑๙. นายเฉลิมชาติ การุญ ๒๐. นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์
๒๑. นายสงกรานต์ คำพิไสย์ ๒๒. นายจตุพร เจริญเชื้อ
๒๓. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ๒๔. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
๒๕. นายสุภาพ คลี่ขจาย ๒๖. นางฐิติมา ฉายแสง
๒๗. นายชาญชัย ปทุมารักษ์ ๒๘. นายเชน เทือกสุบรรณ
๒๙. นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ๓๐. นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ
๓๑. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ๓๒. นายทวี กาญจนภู
๓๓. นายโมฮามัดยาสรี ยูซง ๓๔. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๕. นายเสมอกัน เที่ยงธรรม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. พิจารณาเรื่อง ขอให้ยกร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้ตาม
บทบัญญัติมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นมาพิจารณาใหม่ (ร่างพระราชบัญญัติ
กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….) ซึ่ง
นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระ เรื่องด่วนที่ ๒)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา ประธานสภา
ผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ ที่ประชุมได้ลงมติยืนยันร่างเดิมซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว ด้วยคะแนนเสียง
มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้
ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๓. พิจารณาเรื่อง ขอให้ยกร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้ตาม บทบัญญัติมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นมาพิจารณาใหม่ (ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….) (ปรับปรุงการบังคับคดีการคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้และลูกหนี้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาและอัตราค่าธรรมเนียม)
ซึ่ง นายวัฒนา เซ่งไพเราะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๓)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติยืนยันร่างเดิมซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว
ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงการบังคับคดีการคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้และ
ลูกหนี้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาและ อัตราค่าธรรมเนียม) เป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๔. พิจารณาเรื่อง ขอให้ยกร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้ตาม บทบัญญัติมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นมาพิจารณาใหม่ (ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….)
ซึ่ง นายสามารถ แก้วมีชัย เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติยืนยันร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติทางหลวง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(กำหนดหลักการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนสามัญ) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๕)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้ แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ
อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ๐๒. นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช
๐๓. นายดุสิต อุชุพงศ์อมร ๐๔. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ
๐๕. นางสาวจารุวรรณ เฮงตระกูล ๐๖. นายกฤษ ศรีฟ้า
๐๗. นางสาวณหทัย ทิวไผ่งาม ๐๘. นายฉัตรชัย ศิลาพร
๐๙. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๑๐. พลโท มะ โพธิ์งาม
๑๑. นายลิขิต หมู่ดี ๑๒. นางมยุรา มนะสิการ
๑๓. นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ๑๔. นายชำนาญ สันติพนารักษ์
๑๕. นายเสริมสุข เหลาหชัยอรุณ ๑๖. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๗. นายเจริญ จรรย์โกมล ๑๘. นายมานพ จรัสดำรงนิตย์
๑๙. นายมานิตย์ สังข์พุ่ม ๒๐. นายกริช กงเพชร
๒๑. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๒๒. นางมุกดา พงษ์สมบัติ
๒๓. นายประสิทธิ์ ภักดีพาณิชพงศ์ ๒๔. นายประสพ บุษราคัม
๒๕. นางสาวปาริชาติ ชาลีเครือ ๒๖. นายสุวรรณ วลัยเสถียร
๒๗. นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ ๒๘. นายอิสสระ สมชัย
๒๙. นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธุ์ ๓๐. นายประพร เอกอุรุ
๓๑. นายอันวาร์ สาและ ๓๒. นายณรงค์ ดูดิง
๓๓. นายโมฮามัดยาสรี ยูซง ๓๔. นายยุทธนา โพธสุธน
๓๕. นายสมชาติ จงผิตะ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๖. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม
และมูลนิธิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดโทษปรับของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ)
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดหลักการจดทะเบียน
ของห้างหุ้นส่วนสามัญ) เป็นผู้พิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๗. ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง
เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๗)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ)
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. นายวัส ติงสมิตร ๐๒. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์
๐๓. นายประเชิญ ติยะปัญจนิตย์ ๐๔. นายพรชัย อัศววัฒนาพร
๐๕. นายสุชัย งามจิตต์เอื้อ ๐๖. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ
๐๗. นายมานะ คงวุฒิปัญญา ๐๘. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
๐๙. นายประเสริฐ ประเสริฐโสภา ๑๐. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
๑๑. นายลิขิต หมู่ดี ๑๒. พันตำรวจโท อดุลย์ บุญเสรฐ
๑๓. นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร ๑๔. นายปัญญา จีนาคำ
๑๕. นางผณินทรา ภัคเกษม ๑๖. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
๑๗. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๑๘. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
๑๙. นางสาวอรดี สุทธศรี ๒๐. นางจันทร์เพ็ญ แสงเจริญรัตน์
๒๑. นางสาวภัทรา วรามิตร ๒๒. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์
๒๓. นายวีระ มุสิกพงศ์ ๒๔. นายสิทธิรัตน์ รัตนวิจารณ์
๒๕. นายประทีป กรีฑาเวช ๒๖. นายรังสรรค์ วิจิตรไกรสร
๒๗. นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ ๒๘. นายทิวา เงินยวง
๒๙. นายเจริญ คันธวงศ์ ๓๐. นายถนอม อ่อนเกตุพล
๓๑. หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล ๓๒. นางสุภัคสิริ หฤษฎางค์กูร
๓๓. นายฐิติ ชัยนาม ๓๔. นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร
๓๕. นายมงคล โค้ววัฒนะวงษ์รักษ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๘. ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี
และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๘)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ได้แถลงหลักการและเหตุผล ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. …. เป็นผู้พิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๕๒ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๕ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๓ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดหลักการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนสามัญ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม
และมูลนิธิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดโทษปรับของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ)
๔. ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งต้องยับยั้งไว้ตามมาตรา ๑๗๖ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ปรับปรุงการบังคับคดีการคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้และลูกหนี้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาและอัตราค่าธรรมเนียม)
๓. ร่างพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
******************************