ความต้องการใช้
1. ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,168 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.2 หรือ
642,844 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีสัดส่วนการใช้ร้อยละ 42 น้ำมันเบนซินร้อยละ 20 น้ำมัน
เตาร้อยละ 19 น้ำมันอากาศยานร้อยละ 10 และก๊าซแอลพีจีร้อยละ 9 ตามลำดับ
ส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ ปตท.มีส่วนแบ่ง
การตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 35.2 จาปริมาณการจำหน่าย 1,116 ล้านลิตร เอสโซ่เป็นอัน
ดับที่ 2 ร้อยละ 15.8 จากปริมาณการจำหน่าย 500 ล้านลิตร อันดับที่ 3 คือเชลล์ร้อยละ 14.4 มีปริ
มาณการจำหน่าย 457 ล้านลิตร อันดับที่ 4 คาลเท็กซ์ร้อยละ 11.2 ปริมาณ 354 ล้านลิตร สำหรับกลุ่มผู้
ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ มีปริมาณการจำหน่ายรวมกัน 741 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 23.4
เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการจำหน่ายของเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อน
-ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 1.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 1.5 โดยน้ำมันก๊าดลดลงร้อยละ
17.1 น้ำมันเตาร้อยละ 5.1 ดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 2.6 สำหรับน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เจ
พี 1 ร้อยละ 1.5 และก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 1.1
-ลดลงจากเดือนมกราคม 2540 วันละ 9.9 ล้านลิตร หรือร้อยละ 8.9 โดยลดลงเกือบ
ทุกชนิด ยกเว้นน้ำมันเบนซินและ เจ.พี.1 ซึ่งการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และ 3.1 ตามลำดับ
2. ส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่าง
ประเทศ รวมปริมาณ 626 ล้านลิตร หรือวันละ 20.2 ล้านลิตร
-น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 534 ล้านลิตร หรือวันละ 17.2 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งออก
ไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนที่
ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.1 และ 35.4 ตามลำดับ
-น้ำมันองค์ประกอบ ปริมาณ 26 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
-น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) ปริมาณ 66 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
การจัดหา
ปริมาณการจัดหาน้ำมันสำเร็จรูป ได้มาจากการผลิตภายในประเทศ ร้อยละ 98.7 และ
จากการนำเข้าอีกร้อยละ 1.3 โดยแยกรายละเอียดดังนี้
1. การผลิต ปริมาณ 3,434 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 110.8 ล้านลิตร หรือ 696,687 บา
เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 40 น้ำมันเบนซินร้อยละ 23 น้ำมันเตาร้อย
ละ 18 ก๊าซแอลพีจีร้อยละ 10 และเมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตเมื่อเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน ลดลงร้อยละ 7.5 และ 3.5 ตามลำดับ
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,226 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 104.1 ล้านลิตร หรือ
654,524 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.5 และ
ลดลงจากเดือนธันวาคมที่ผ่านมาวันละ 9.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 8.0 โดยในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมัน นำ
น้ำมันดิบและน้ำมันอื่น ๆ เข้าขบวนการกลั่น 3,596 ล้านลิตร เฉลี่ย 729,563 บาเรล/วัน
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 100 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,237 เมตริกตัน
โดยปริมาณการผลิตอยู่ในระดับเดียวกับการผลิตของเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากเดือน
มกราคม 2540 วันละ 466 เมตริกตัน หรือร้อยละ 18.9
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต ปริ
มาณ 10 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 324 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนและจากเดือนที่
ผ่านมา ร้อยละ 16.0 และ 2.4 ตามลำดับ
2. การนำเข้า
น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,004
ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 96.9 ล้านลิตรหรือ 609,465 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 14,455
ล้านบาท (ไม่รวมการนำเข้า MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 31 ล้านลิตร มูลค่า 320 ล้าน
บาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 2,958 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 95 ล้านลิตร หรือ 600,216
บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 14,311 ล้านบาท
-ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 15 ล้านลิตร หรือร้อยละ 13.2
แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 985 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.4 เนื่องจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท ซึ่งมีผลสืบ
เนื่องมาจากการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราทำให้ราคานำเข้าน้ำมันดิบของประเทศแพงขึ้น
-ปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 19 ล้านลิตร หรือร้อยละ 16.5 มูลค่า
ลดลง 4,280 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.0
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,583 14.10 87.3
ตะวันออกไกล 304 15.45 10.3
อื่น ๆ 71 14.15 2.4
รวม 2,958 14.24 100.0
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 46 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 1.5 ล้านลิตร หรือ 9,249
บาเรล/วัน มูล่า 227 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันเตาถึงร้อยละ 58 สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
และน้ำมันเบนซิน มีการนำเข้ามาเพื่อใช้ในเขตพื้นที่ภาคใต้ของประเทศและเป็นการนำเข้ามาจากประ
เทศสิงคโปร์ทั้งสิ้น
-ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 3.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 71.8
มูลค่าลดลง 585 ล้านบาท หรือร้อยละ 72.0
-เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 0.9 ล้านลิตร หรือร้อยละ 152.5 มูลค่าเพิ่ม
ขึ้น 116 ล้านบาท หรือร้อยละ 104.1
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
1. ภายในประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,168 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 102.2 หรือ
642,844 บาเรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีสัดส่วนการใช้ร้อยละ 42 น้ำมันเบนซินร้อยละ 20 น้ำมัน
เตาร้อยละ 19 น้ำมันอากาศยานร้อยละ 10 และก๊าซแอลพีจีร้อยละ 9 ตามลำดับ
ส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนนี้ ปตท.มีส่วนแบ่ง
การตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 35.2 จาปริมาณการจำหน่าย 1,116 ล้านลิตร เอสโซ่เป็นอัน
ดับที่ 2 ร้อยละ 15.8 จากปริมาณการจำหน่าย 500 ล้านลิตร อันดับที่ 3 คือเชลล์ร้อยละ 14.4 มีปริ
มาณการจำหน่าย 457 ล้านลิตร อันดับที่ 4 คาลเท็กซ์ร้อยละ 11.2 ปริมาณ 354 ล้านลิตร สำหรับกลุ่มผู้
ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ มีปริมาณการจำหน่ายรวมกัน 741 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 23.4
เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการจำหน่ายของเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อน
-ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 1.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 1.5 โดยน้ำมันก๊าดลดลงร้อยละ
17.1 น้ำมันเตาร้อยละ 5.1 ดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 2.6 สำหรับน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เจ
พี 1 ร้อยละ 1.5 และก๊าซแอลพีจี ร้อยละ 1.1
-ลดลงจากเดือนมกราคม 2540 วันละ 9.9 ล้านลิตร หรือร้อยละ 8.9 โดยลดลงเกือบ
ทุกชนิด ยกเว้นน้ำมันเบนซินและ เจ.พี.1 ซึ่งการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และ 3.1 ตามลำดับ
2. ส่งออกไปต่างประเทศ มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันองค์ประกอบและน้ำมันดิบไปต่าง
ประเทศ รวมปริมาณ 626 ล้านลิตร หรือวันละ 20.2 ล้านลิตร
-น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 534 ล้านลิตร หรือวันละ 17.2 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งออก
ไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนที่
ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.1 และ 35.4 ตามลำดับ
-น้ำมันองค์ประกอบ ปริมาณ 26 ล้านลิตร โดยเป็นการส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
-น้ำมันดิบ (NGL และคอนเดนเสท) ปริมาณ 66 ล้านลิตร ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์
การจัดหา
ปริมาณการจัดหาน้ำมันสำเร็จรูป ได้มาจากการผลิตภายในประเทศ ร้อยละ 98.7 และ
จากการนำเข้าอีกร้อยละ 1.3 โดยแยกรายละเอียดดังนี้
1. การผลิต ปริมาณ 3,434 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 110.8 ล้านลิตร หรือ 696,687 บา
เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 40 น้ำมันเบนซินร้อยละ 23 น้ำมันเตาร้อย
ละ 18 ก๊าซแอลพีจีร้อยละ 10 และเมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตเมื่อเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของ
ปีก่อน ลดลงร้อยละ 7.5 และ 3.5 ตามลำดับ
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,226 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 104.1 ล้านลิตร หรือ
654,524 บาเรล/วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 4.8 ล้านลิตร หรือร้อยละ 4.5 และ
ลดลงจากเดือนธันวาคมที่ผ่านมาวันละ 9.0 ล้านลิตร หรือร้อยละ 8.0 โดยในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมัน นำ
น้ำมันดิบและน้ำมันอื่น ๆ เข้าขบวนการกลั่น 3,596 ล้านลิตร เฉลี่ย 729,563 บาเรล/วัน
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 100 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 3,237 เมตริกตัน
โดยปริมาณการผลิตอยู่ในระดับเดียวกับการผลิตของเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากเดือน
มกราคม 2540 วันละ 466 เมตริกตัน หรือร้อยละ 18.9
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจีซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต ปริ
มาณ 10 พันเมตริกตัน เฉลี่ยวันละ 324 เมตริกตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนและจากเดือนที่
ผ่านมา ร้อยละ 16.0 และ 2.4 ตามลำดับ
2. การนำเข้า
น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 3,004
ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 96.9 ล้านลิตรหรือ 609,465 บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้ารวม 14,455
ล้านบาท (ไม่รวมการนำเข้า MTBE ที่นำมาผสมน้ำมันเบนซิน ปริมาณ 31 ล้านลิตร มูลค่า 320 ล้าน
บาท)
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 2,958 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 95 ล้านลิตร หรือ 600,216
บาเรล/วัน มูลค่าการนำเข้า 14,311 ล้านบาท
-ปริมาณลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนวันละ 15 ล้านลิตร หรือร้อยละ 13.2
แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 985 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.4 เนื่องจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท ซึ่งมีผลสืบ
เนื่องมาจากการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราทำให้ราคานำเข้าน้ำมันดิบของประเทศแพงขึ้น
-ปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 19 ล้านลิตร หรือร้อยละ 16.5 มูลค่า
ลดลง 4,280 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.0
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(US$/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,583 14.10 87.3
ตะวันออกไกล 304 15.45 10.3
อื่น ๆ 71 14.15 2.4
รวม 2,958 14.24 100.0
2.2 น้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณ 46 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 1.5 ล้านลิตร หรือ 9,249
บาเรล/วัน มูล่า 227 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันเตาถึงร้อยละ 58 สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
และน้ำมันเบนซิน มีการนำเข้ามาเพื่อใช้ในเขตพื้นที่ภาคใต้ของประเทศและเป็นการนำเข้ามาจากประ
เทศสิงคโปร์ทั้งสิ้น
-ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน วันละ 3.5 ล้านลิตร หรือร้อยละ 71.8
มูลค่าลดลง 585 ล้านบาท หรือร้อยละ 72.0
-เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาวันละ 0.9 ล้านลิตร หรือร้อยละ 152.5 มูลค่าเพิ่ม
ขึ้น 116 ล้านบาท หรือร้อยละ 104.1
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--