กรุงเทพ--2 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541 กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากคณะทูตถาวรประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กว่า ที่ประชุม Annual Coordination Committee ระดับรัฐมนตรีของ OIC ณ นครนิวยอร์ก ได้มีฉันทามติรับประเทศไทยเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของ OIC ตามที่ฝ่ายไทยได้มีหนังสือแสดงเจตจำนงค์
ก่อนหน้านี้ ฝ่ายไทยได้ดำเนินการขอรับความสนับสนุนการสมัครของไทยมา โดยตลอด โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีหนังสือถึงนาย Azzedin Laraki เลขาธิการ OIC และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก OIC แจ้งความประสงค์และขอรับการสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ใน OIC และในเดือนกันยายน 2541 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีหนังสือถึงเลขาธิการ OIC อีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันความประสงค์ของไทยที่จะสมัครเป็นผู้สังเกตการณ์ OIC
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และกระทรวงการต่างประเทศได้โน้มน้าวกับประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเป็นสมาชิก OIC และสมาชิกกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในการประชุม NAM Summit ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ให้สนับสนุนตามความประสงค์ของไทยซึ่งไทยจำเป็นจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกส่วนใหญ่ 2 ใน 3 ของ OIC
นอกจากนี้ ระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ครั้งที่ 53 ณ นครนิวยอร์ก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เดินทางเข้าหารือกับเลขาธิการ OIC แจ้งย้ำความมุ่งมั่นและเหตุผลของไทยที่ต้องการสมัครเป็นผู้สังเกตการณ์ใน OIC จนในที่ประชุม Annual Coordination Committee ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ OIC ที่นครนิวยอร์กได้มีฉันทามติรับประเทศไทยเข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ของ OIC ในที่สุด
อนึ่ง OIC เป็นองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศอิสลาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1971 โดยมติที่ประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศอิสลามที่กรุงราบาต ราชอาณาจักรโมร็อกโก เมื่อ ค.ศ. 1969 โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ เพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก สนับสนุนการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์และชาวมุสลิมทั้งปวงรวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศอื่น ๆ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 55 ประเทศ การที่ประเทศไทยจะได้เข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ใน OIC จะได้รับผลประโยชน์หลายประการ เช่น การใช้ประโยชน์จากเวทีดังกล่าวในการเผยแพร่และการประชามพันธ์นโยบายของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลประชาชนมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย ตลอดจนการขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับสมาชิก OIC
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541 กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากคณะทูตถาวรประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กว่า ที่ประชุม Annual Coordination Committee ระดับรัฐมนตรีของ OIC ณ นครนิวยอร์ก ได้มีฉันทามติรับประเทศไทยเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ของ OIC ตามที่ฝ่ายไทยได้มีหนังสือแสดงเจตจำนงค์
ก่อนหน้านี้ ฝ่ายไทยได้ดำเนินการขอรับความสนับสนุนการสมัครของไทยมา โดยตลอด โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีหนังสือถึงนาย Azzedin Laraki เลขาธิการ OIC และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก OIC แจ้งความประสงค์และขอรับการสนับสนุนการสมัครเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ใน OIC และในเดือนกันยายน 2541 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีหนังสือถึงเลขาธิการ OIC อีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันความประสงค์ของไทยที่จะสมัครเป็นผู้สังเกตการณ์ OIC
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ และกระทรวงการต่างประเทศได้โน้มน้าวกับประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเป็นสมาชิก OIC และสมาชิกกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในการประชุม NAM Summit ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ให้สนับสนุนตามความประสงค์ของไทยซึ่งไทยจำเป็นจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกส่วนใหญ่ 2 ใน 3 ของ OIC
นอกจากนี้ ระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ครั้งที่ 53 ณ นครนิวยอร์ก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เดินทางเข้าหารือกับเลขาธิการ OIC แจ้งย้ำความมุ่งมั่นและเหตุผลของไทยที่ต้องการสมัครเป็นผู้สังเกตการณ์ใน OIC จนในที่ประชุม Annual Coordination Committee ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ OIC ที่นครนิวยอร์กได้มีฉันทามติรับประเทศไทยเข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ของ OIC ในที่สุด
อนึ่ง OIC เป็นองค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศอิสลาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1971 โดยมติที่ประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศอิสลามที่กรุงราบาต ราชอาณาจักรโมร็อกโก เมื่อ ค.ศ. 1969 โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ เพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก สนับสนุนการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์และชาวมุสลิมทั้งปวงรวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศอื่น ๆ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 55 ประเทศ การที่ประเทศไทยจะได้เข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ใน OIC จะได้รับผลประโยชน์หลายประการ เช่น การใช้ประโยชน์จากเวทีดังกล่าวในการเผยแพร่และการประชามพันธ์นโยบายของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลประชาชนมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย ตลอดจนการขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับสมาชิก OIC
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--