อุตสาหกรรมยานยนต์
กรมสรรพสามิตมีคำสั่งที่ 204/2548 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2548 กำหนดแนวทางปฏิบัติของพนักงาน
เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า ปัจจุบันการแจ้งราคา
ขาย ณ โรงอุตสาหกรรม เพื่อคำนวณภาษีสรรพสามิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์แต่ละราย ไม่เป็นไปตาม
มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการบริหารการจัดเก็บภาษี คำสั่งกรมสรรพสามิตฉบับนี้ ได้กำหนด
ว่าโครงสร้างราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมรถยนต์ ต้องเป็นรถยนต์ที่ผลิตออกจากโรงอุตสาหกรรม โดยมีชิ้นส่วนและ
อุปกรณ์ ซึ่งจำหน่ายและเหมาะแก่การใช้ตามปกติวิสัยของรถยนต์รุ่นนั้นๆ สำหรับรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก
(Pick-up Passenger Vehicle : PPV) อย่างน้อยต้องประกอบด้วยแบตเตอรี่ เครื่องปรับอากาศ วิทยุเทป ล้อ
อะไหล่ เครื่องมือประจำรถพร้อมแม่แรง ส่วนรถยนต์กระบะและรถยนต์นั่งที่มีกระบะ(Double Cab) อย่างน้อยต้อง
ประกอบด้วยแบตเตอรี่ ล้ออะไหล่ เครื่องมือประจำรถพร้อมแม่แรง ทั้งนี้ ในการรับชำระภาษี ถ้าราคาขาย ณ โรง
อุตสาหกรรมรวมกับภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ มีจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 76
ของราคาขายปลีกรถยนต์ที่แนะนำโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรม(Suggested Retail Price : SRP) ซึ่งรวมภาษี
มูลค่าเพิ่มแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมดังกล่าว เพื่อใช้เป็นมูลค่าในการคำนวณภาษี
สรรพสามิตได้
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2548
มีจำนวน 250,393 คัน และ 166,491 คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีการผลิตลดลง
ร้อยละ 6.03 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 13.87,
2.30 และ 18.80 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 11.05 โดยมี
การจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 26.18, 2.70 และ
18.15 ตามลำดับ ซึ่งในไตรมาสแรกปี 2548 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ร้อยละ 67.75
รองลงมาเป็นรถยนต์นั่ง ร้อยละ 25.50 เมื่อพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.49 และ 12.81 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1
ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.89 แต่รถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 14.68 และ 7.67 ตาม
ลำดับ ในส่วนการจำหน่าย รถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 18.96 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.10 และ 7.55 ตามลำดับ
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2548 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU)
จำนวน 86,962 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 9.35 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 40,337.99 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 7.89 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 มีการส่งออกรถยนต์ (CBU) เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 18.14 โดยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.44 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์จากประเทศไทยใน
ช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 ได้แก่ ออสเตรเลีย , อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักร โดยมีตลาดส่งออกรถยนต์
นั่งที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรฯ
ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย
การนำเข้ารถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง(รวมรถบรรทุกคนไข้)คิด
เป็นมูลค่า 3,922.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 2.45 และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถ
บรรทุกคิดเป็นมูลค่า 2,996.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 91.08 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.60 และ
96.72 ตามลำดับ ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญในในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 ได้แก่ อินโดนีเซีย,
ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ แหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่
ผ่านมา แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งเบนซิน และดีเซล จะมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็ไม่ส่งผล
กระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในภาพรวมมากนัก แต่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ในแต่ละประเภท
มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ที่มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจาก
นี้ ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูการจำหน่ายมีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ปริมาณการ
ผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นมากจากสองเดือนแรกของปี เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด พร้อมข้อ
เสนอพิเศษที่กระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค สำหรับการส่งออกรถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมา
จากการส่งออกรถยนต์ปิกอัพ 1ตัน จากฐานการผลิตในประเทศไทยเป็นสำคัญ
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2548 คาดว่า จะขยายตัวเล็กน้อย จากไตรมาสแรก
ของปี 2548 อย่างไรก็ตาม จากการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตเกี่ยวกับการพิจารณา
ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรมสินค้ารถยนต์ เมื่อ 11 เมษายน 2548 อาจส่งกระทบต่อการปรับราคาขายปลีกขึ้น
ของรถยนต์บางยี่ห้อ บางรุ่น ที่เคยแจ้งโครงสร้างราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมไว้ต่ำกว่าร้อยละ 76 ของราคาขาย
ปลีกรถยนต์ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคในไตรมาสที่สองของปี 2548
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 มี
จำนวน 837,136 คัน และ 521,511 คัน ซึ่งลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 5.36 และ
5.18 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 4.71
และ 22.03 ตามลำดับ มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ
5.15 และ 9.17 ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปี 2548 รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง
ถึงร้อยละ 99.31(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวนี้ ได้รวมข้อมูลของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต และแบบ
สกู๊ตเตอร์ ไว้ด้วย) และเมื่อพิจารณาไตรมาสแรกของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการ
ผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.43 และ 0.09 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ
ครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.40 และการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.40 ในส่วนของการ
จำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28 แต่แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 20.63
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2548 มีปริมาณการส่งออกรถ
จักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 266,359 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.28
โดยคิดเป็นมูลค่า 4,621.70 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.19 สำหรับปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ในไตรมาส
แรกของปี 2548 เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.09 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 58.18 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี
2548 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า
442.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.28 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีที่
แล้ว มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.24 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงไตร
มาสแรกของปี 2548 ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีที่ผ่านมา ทั้งด้านการผลิตและการส่งออก โดยเฉพาะตลาดรถจักรยานยนต์ของไทยในต่างประเทศมีการขยายตัว
สูง เช่น อาเซียน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เนื่องจากรถจักรยานยนต์ไทยมีคุณภาพดี ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า รูปแบบ
ตรงตามรสนิยมของผู้บริโภคในต่างประเทศ ประกอบกับ ในช่วงไตรมาสแรกของปีเป็นช่วงที่มีการส่งออกไปยังตลาดใน
ยุโรปมาก เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศในแถบนั้น จึงมีการเตรียมนำเข้ารถจักรยานยนต์จากไทยเพื่อออกวาง
จำหน่าย อย่างไรก็ตาม ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศขยายตัวเพียงเล็กน้อย เนื่องจากปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ได้แก่ ปัญหาโรคไข้หวัดนก ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การเกิดคลื่น
ยักษ์ Tsunami ถล่ม 6 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจน ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและส่งผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อผู้
บริโภค
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2548 คาดว่า จะขยายตัวเล็กน้อยจากไตร
มาสแรกของปี 2548 เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมของไทยจะยังคงมีการขยายตัว มีการแข่งขันสูงในธุรกิจการจัด
จำหน่ายและการให้สินเชื่อ ประกอบกับ ผู้ผลิตค่ายต่างๆ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ และนำเสนอกลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ ที่
สนองตรงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น สำหรับการส่งออกจะยังคงขยายตัว เนื่องจาก ตลาดต่างประเทศยังคงมีการ
ขยายตัว และผู้ผลิตค่ายต่างๆ พยายามที่จะขยายตลาด โดยเข้าไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายในต่างประเทศด้วย
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2548 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
เป็นการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) มูลค่า 15,164.59 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์มูลค่า
1,495.11 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มูลค่า 866.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.04,
27.44 และ 5.27 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า
3,496.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.00 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มูลค่า 141.19 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 83.13 และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถยนต์(OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.68, 25.95 และ 40.87 ตาม
ลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.20 แต่ชิ้นส่วน
อะไหล่รถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 86.27 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จาก
ประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 ได้แก่ ญี่ปุ่น , มาเลเซีย, สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย ส่วน
ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย , เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และ
ญี่ปุ่น
ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะในไตรมาสแรกของปี 2548 มีมูลค่า 30,563.8 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 3.11 สำหรับการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถ
จักรยาน มีมูลค่า 1,391.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 48.04 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.26 ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบ
และอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.58 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์
ยานพาหนะของไทยที่สำคัญในไตรมาสแรกของปี 2548 ได้แก่ ญี่ปุ่น , ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี และแหล่งนำเข้าส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยานที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น , จีน และอินโดนีเซีย
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2546 2547 2548(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ 750,512 928,081 250,393
รถยนต์นั่ง 260,649 304,349 65,155
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 468,938 597,914 179,415
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 20,925 25,818 5,823
รถจักรยานยนต์ 2,424,676 3,028,070 837,136
ครอบครัว 2,368,270 2,936,738 811,158
สปอร์ต 56,406 91,332 25,978
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และสถาบันยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2547 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง
รถยนต์ 266,462 250,393 -6.03 218,706 250,393 14.49
รถยนต์นั่ง 75,647 65,155 -13.87 76,367 65,155 -14.68
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 183,644 179,415 -2.3 136,032 179,415 31.89
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 7,171 5,823 -18.8 6,307 5,823 -7.67
รถจักรยานยนต์ 884,561 837,136 -5.36 725,234 837,136 15.43
ครอบครัว 851,241 811,158 -4.71 709,038 811,158 14.4
สปอร์ต 33,320 25,978 -22.03 16,196 25,978 60.4
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และสถาบันยานยนต์
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2546 2547 2548(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ 533,176 626,039 166,491
รถยนต์นั่ง 179,005 209,103 42,456
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 309,114 368,911 112,803
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 45,057 48,025 11,232
รถจักรยานยนต์ 1,755,297 2,033,766 521,511
ครอบครัว 1,735,446 2,017,319 517,906
สปอร์ต 19,851 16,447 3,605
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2547 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง
รถยนต์ 187,170 166,491 -11.05 147,585 166,491 12.81
รถยนต์นั่ง 57,510 42,456 -26.18 52,388 42,456 -18.96
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 115,938 112,803 -2.7 84,753 112,803 33.1
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 13,722 11,232 -18.15 10,444 11,232 7.55
รถจักรยานยนต์ 549,977 521,511 -5.18 521,022 521,511 0.09
ครอบครัว 546,008 517,906 -5.15 516,480 517,906 0.28
สปอร์ต 3,969 3,605 -9.17 4,542 3,605 -20.63
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2546 2547 2548(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ (CBU) (คัน 235,022 332,053 86,962
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 102,208.06 149,232.80 40,337.99
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) 27,720.30 43,873.39 15,164.59
เครื่องยนต์ 5,290.96 4,316.07 1,495.11
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 2,182.00 2,909.43 866.14
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 604,995 846,619 266,359
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 8,732.62 15,430.63 4,621.70
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 6,634.37 14,883.59 3,496.99
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 2,221.19 2,510.57 141.19
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2547 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 95,934 86,962 -9.35 73,609 86,962 18.14
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 43,792.61 40,337.99 -7.89 32,416.26 40,337.99 24.44
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) 13,297.42 15,164.59 14.04 8,393.11 15,164.59 80.68
เครื่องยนต์ 1,173.20 1,495.11 27.44 1,187.06 1,495.11 25.95
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 822.78 866.14 5.27 614.87 866.14 40.87
รถจักรยานยนต์ (คัน) 227,110 266,359 17.28 201,654 266,359 32.09
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 5,385.83 4,621.70 -14.19 2,921.89 4,621.70 58.18
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 2,843.05 3,496.99 23 2,958.48 3,496.99 18.2
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 837.04 141.19 -83.13 1,028.47 141.19 -86.27
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2546 2547 2548(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์นั่ง 16,096.70 15,046.60 3,922.60
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 4,711.50 6,507.50 2,996.10
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ 104,058.70 120,681.00 30,563.80
รถจักรยานยนต์ 1,347.60 1,550.10 442.3
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 4,199.50 4,978.30 1,391.60
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2547 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง
รถยนต์นั่ง 3,828.70 3,922.60 2.45 2,871.50 3,922.60 36.6
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 1,568.00 2,996.10 91.08 1,523.00 2,996.10 96.72
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ 29,642.50 30,563.80 3.11 29,035.90 30,563.80 5.26
รถจักรยานยนต์ 436.7 442.3 1.28 383.8 442.3 15.24
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 940 1,391.60 48.04 1,090.80 1,391.60 27.58
ที่มา : :กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ 2546 2547 2548(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์นั่ง 383.7 371.3 101
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 112.7 161 77.4
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ 2,490.50 2,986.00 788.1
รถจักรยานยนต์ 32.4 38.4 11.4
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 100.1 123.2 35.9
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2547 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง
รถยนต์นั่ง 93.4 101 8.14 73 101 38.36
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 38.1 77.4 103.15 38.8 77.4 99.48
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ 721.4 788.1 9.25 738.9 788.1 6.66
รถจักรยานยนต์ 10.6 11.4 7.55 9.8 11.4 16.33
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 22.9 35.9 56.77 27.7 35.9 29.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
กรมสรรพสามิตมีคำสั่งที่ 204/2548 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2548 กำหนดแนวทางปฏิบัติของพนักงาน
เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า ปัจจุบันการแจ้งราคา
ขาย ณ โรงอุตสาหกรรม เพื่อคำนวณภาษีสรรพสามิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์แต่ละราย ไม่เป็นไปตาม
มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการบริหารการจัดเก็บภาษี คำสั่งกรมสรรพสามิตฉบับนี้ ได้กำหนด
ว่าโครงสร้างราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมรถยนต์ ต้องเป็นรถยนต์ที่ผลิตออกจากโรงอุตสาหกรรม โดยมีชิ้นส่วนและ
อุปกรณ์ ซึ่งจำหน่ายและเหมาะแก่การใช้ตามปกติวิสัยของรถยนต์รุ่นนั้นๆ สำหรับรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก
(Pick-up Passenger Vehicle : PPV) อย่างน้อยต้องประกอบด้วยแบตเตอรี่ เครื่องปรับอากาศ วิทยุเทป ล้อ
อะไหล่ เครื่องมือประจำรถพร้อมแม่แรง ส่วนรถยนต์กระบะและรถยนต์นั่งที่มีกระบะ(Double Cab) อย่างน้อยต้อง
ประกอบด้วยแบตเตอรี่ ล้ออะไหล่ เครื่องมือประจำรถพร้อมแม่แรง ทั้งนี้ ในการรับชำระภาษี ถ้าราคาขาย ณ โรง
อุตสาหกรรมรวมกับภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ มีจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 76
ของราคาขายปลีกรถยนต์ที่แนะนำโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรม(Suggested Retail Price : SRP) ซึ่งรวมภาษี
มูลค่าเพิ่มแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมดังกล่าว เพื่อใช้เป็นมูลค่าในการคำนวณภาษี
สรรพสามิตได้
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2548
มีจำนวน 250,393 คัน และ 166,491 คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีการผลิตลดลง
ร้อยละ 6.03 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 13.87,
2.30 และ 18.80 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 11.05 โดยมี
การจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 26.18, 2.70 และ
18.15 ตามลำดับ ซึ่งในไตรมาสแรกปี 2548 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด ร้อยละ 67.75
รองลงมาเป็นรถยนต์นั่ง ร้อยละ 25.50 เมื่อพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.49 และ 12.81 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1
ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.89 แต่รถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 14.68 และ 7.67 ตาม
ลำดับ ในส่วนการจำหน่าย รถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 18.96 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.10 และ 7.55 ตามลำดับ
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2548 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU)
จำนวน 86,962 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 9.35 โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 40,337.99 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 7.89 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 มีการส่งออกรถยนต์ (CBU) เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 18.14 โดยคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.44 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์จากประเทศไทยใน
ช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 ได้แก่ ออสเตรเลีย , อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักร โดยมีตลาดส่งออกรถยนต์
นั่งที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรฯ
ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย
การนำเข้ารถยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง(รวมรถบรรทุกคนไข้)คิด
เป็นมูลค่า 3,922.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 2.45 และมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถ
บรรทุกคิดเป็นมูลค่า 2,996.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 91.08 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีที่แล้ว มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.60 และ
96.72 ตามลำดับ ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญในในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 ได้แก่ อินโดนีเซีย,
ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ แหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่
ผ่านมา แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งเบนซิน และดีเซล จะมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็ไม่ส่งผล
กระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในภาพรวมมากนัก แต่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ในแต่ละประเภท
มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ที่มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจาก
นี้ ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูการจำหน่ายมีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ปริมาณการ
ผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นมากจากสองเดือนแรกของปี เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด พร้อมข้อ
เสนอพิเศษที่กระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค สำหรับการส่งออกรถยนต์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมา
จากการส่งออกรถยนต์ปิกอัพ 1ตัน จากฐานการผลิตในประเทศไทยเป็นสำคัญ
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2548 คาดว่า จะขยายตัวเล็กน้อย จากไตรมาสแรก
ของปี 2548 อย่างไรก็ตาม จากการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตเกี่ยวกับการพิจารณา
ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรมสินค้ารถยนต์ เมื่อ 11 เมษายน 2548 อาจส่งกระทบต่อการปรับราคาขายปลีกขึ้น
ของรถยนต์บางยี่ห้อ บางรุ่น ที่เคยแจ้งโครงสร้างราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมไว้ต่ำกว่าร้อยละ 76 ของราคาขาย
ปลีกรถยนต์ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคในไตรมาสที่สองของปี 2548
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 มี
จำนวน 837,136 คัน และ 521,511 คัน ซึ่งลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 5.36 และ
5.18 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 4.71
และ 22.03 ตามลำดับ มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ
5.15 และ 9.17 ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปี 2548 รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง
ถึงร้อยละ 99.31(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวนี้ ได้รวมข้อมูลของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต และแบบ
สกู๊ตเตอร์ ไว้ด้วย) และเมื่อพิจารณาไตรมาสแรกของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการ
ผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.43 และ 0.09 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบ
ครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.40 และการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.40 ในส่วนของการ
จำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28 แต่แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 20.63
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2548 มีปริมาณการส่งออกรถ
จักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 266,359 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.28
โดยคิดเป็นมูลค่า 4,621.70 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.19 สำหรับปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ในไตรมาส
แรกของปี 2548 เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.09 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 58.18 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี
2548 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า
442.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.28 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีที่
แล้ว มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.24 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงไตร
มาสแรกของปี 2548 ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีที่ผ่านมา ทั้งด้านการผลิตและการส่งออก โดยเฉพาะตลาดรถจักรยานยนต์ของไทยในต่างประเทศมีการขยายตัว
สูง เช่น อาเซียน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เนื่องจากรถจักรยานยนต์ไทยมีคุณภาพดี ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า รูปแบบ
ตรงตามรสนิยมของผู้บริโภคในต่างประเทศ ประกอบกับ ในช่วงไตรมาสแรกของปีเป็นช่วงที่มีการส่งออกไปยังตลาดใน
ยุโรปมาก เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศในแถบนั้น จึงมีการเตรียมนำเข้ารถจักรยานยนต์จากไทยเพื่อออกวาง
จำหน่าย อย่างไรก็ตาม ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศขยายตัวเพียงเล็กน้อย เนื่องจากปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ ได้แก่ ปัญหาโรคไข้หวัดนก ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การเกิดคลื่น
ยักษ์ Tsunami ถล่ม 6 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจน ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและส่งผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อผู้
บริโภค
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2548 คาดว่า จะขยายตัวเล็กน้อยจากไตร
มาสแรกของปี 2548 เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมของไทยจะยังคงมีการขยายตัว มีการแข่งขันสูงในธุรกิจการจัด
จำหน่ายและการให้สินเชื่อ ประกอบกับ ผู้ผลิตค่ายต่างๆ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ และนำเสนอกลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ ที่
สนองตรงความต้องการของลูกค้ามากขึ้น สำหรับการส่งออกจะยังคงขยายตัว เนื่องจาก ตลาดต่างประเทศยังคงมีการ
ขยายตัว และผู้ผลิตค่ายต่างๆ พยายามที่จะขยายตลาด โดยเข้าไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายในต่างประเทศด้วย
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2548 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
เป็นการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) มูลค่า 15,164.59 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์มูลค่า
1,495.11 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มูลค่า 866.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.04,
27.44 และ 5.27 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า
3,496.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.00 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มูลค่า 141.19 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 83.13 และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและ
อุปกรณ์รถยนต์(OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.68, 25.95 และ 40.87 ตาม
ลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.20 แต่ชิ้นส่วน
อะไหล่รถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 86.27 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จาก
ประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 ได้แก่ ญี่ปุ่น , มาเลเซีย, สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย ส่วน
ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย , เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และ
ญี่ปุ่น
ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะในไตรมาสแรกของปี 2548 มีมูลค่า 30,563.8 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 3.11 สำหรับการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถ
จักรยาน มีมูลค่า 1,391.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 48.04 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.26 ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบ
และอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.58 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์
ยานพาหนะของไทยที่สำคัญในไตรมาสแรกของปี 2548 ได้แก่ ญี่ปุ่น , ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี และแหล่งนำเข้าส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์และรถจักรยานที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น , จีน และอินโดนีเซีย
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2546 2547 2548(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ 750,512 928,081 250,393
รถยนต์นั่ง 260,649 304,349 65,155
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 468,938 597,914 179,415
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 20,925 25,818 5,823
รถจักรยานยนต์ 2,424,676 3,028,070 837,136
ครอบครัว 2,368,270 2,936,738 811,158
สปอร์ต 56,406 91,332 25,978
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และสถาบันยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2547 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง
รถยนต์ 266,462 250,393 -6.03 218,706 250,393 14.49
รถยนต์นั่ง 75,647 65,155 -13.87 76,367 65,155 -14.68
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 183,644 179,415 -2.3 136,032 179,415 31.89
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 7,171 5,823 -18.8 6,307 5,823 -7.67
รถจักรยานยนต์ 884,561 837,136 -5.36 725,234 837,136 15.43
ครอบครัว 851,241 811,158 -4.71 709,038 811,158 14.4
สปอร์ต 33,320 25,978 -22.03 16,196 25,978 60.4
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และสถาบันยานยนต์
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2546 2547 2548(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ 533,176 626,039 166,491
รถยนต์นั่ง 179,005 209,103 42,456
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 309,114 368,911 112,803
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 45,057 48,025 11,232
รถจักรยานยนต์ 1,755,297 2,033,766 521,511
ครอบครัว 1,735,446 2,017,319 517,906
สปอร์ต 19,851 16,447 3,605
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2547 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง
รถยนต์ 187,170 166,491 -11.05 147,585 166,491 12.81
รถยนต์นั่ง 57,510 42,456 -26.18 52,388 42,456 -18.96
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 115,938 112,803 -2.7 84,753 112,803 33.1
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 13,722 11,232 -18.15 10,444 11,232 7.55
รถจักรยานยนต์ 549,977 521,511 -5.18 521,022 521,511 0.09
ครอบครัว 546,008 517,906 -5.15 516,480 517,906 0.28
สปอร์ต 3,969 3,605 -9.17 4,542 3,605 -20.63
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2546 2547 2548(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ (CBU) (คัน 235,022 332,053 86,962
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 102,208.06 149,232.80 40,337.99
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) 27,720.30 43,873.39 15,164.59
เครื่องยนต์ 5,290.96 4,316.07 1,495.11
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 2,182.00 2,909.43 866.14
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 604,995 846,619 266,359
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 8,732.62 15,430.63 4,621.70
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 6,634.37 14,883.59 3,496.99
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 2,221.19 2,510.57 141.19
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2547 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 95,934 86,962 -9.35 73,609 86,962 18.14
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 43,792.61 40,337.99 -7.89 32,416.26 40,337.99 24.44
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) 13,297.42 15,164.59 14.04 8,393.11 15,164.59 80.68
เครื่องยนต์ 1,173.20 1,495.11 27.44 1,187.06 1,495.11 25.95
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 822.78 866.14 5.27 614.87 866.14 40.87
รถจักรยานยนต์ (คัน) 227,110 266,359 17.28 201,654 266,359 32.09
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 5,385.83 4,621.70 -14.19 2,921.89 4,621.70 58.18
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 2,843.05 3,496.99 23 2,958.48 3,496.99 18.2
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 837.04 141.19 -83.13 1,028.47 141.19 -86.27
ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ 2546 2547 2548(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์นั่ง 16,096.70 15,046.60 3,922.60
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 4,711.50 6,507.50 2,996.10
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ 104,058.70 120,681.00 30,563.80
รถจักรยานยนต์ 1,347.60 1,550.10 442.3
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 4,199.50 4,978.30 1,391.60
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2547 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง
รถยนต์นั่ง 3,828.70 3,922.60 2.45 2,871.50 3,922.60 36.6
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 1,568.00 2,996.10 91.08 1,523.00 2,996.10 96.72
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ 29,642.50 30,563.80 3.11 29,035.90 30,563.80 5.26
รถจักรยานยนต์ 436.7 442.3 1.28 383.8 442.3 15.24
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 940 1,391.60 48.04 1,090.80 1,391.60 27.58
ที่มา : :กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ 2546 2547 2548(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์นั่ง 383.7 371.3 101
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 112.7 161 77.4
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ 2,490.50 2,986.00 788.1
รถจักรยานยนต์ 32.4 38.4 11.4
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 100.1 123.2 35.9
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2547 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง
รถยนต์นั่ง 93.4 101 8.14 73 101 38.36
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 38.1 77.4 103.15 38.8 77.4 99.48
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ 721.4 788.1 9.25 738.9 788.1 6.66
รถจักรยานยนต์ 10.6 11.4 7.55 9.8 11.4 16.33
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน 22.9 35.9 56.77 27.7 35.9 29.6
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-