พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร
วัน พุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 104/2548
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม - 6 กันยายน 2548
พายุดีเปรสชั่น (เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 31 ส.ค.) มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศลาว ห่างประมาณ 50 กิโลเมตรทางเหนือของจังหวัดหนองคาย มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้จะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเข้าใกล้ภาคเหนือของประเทศไทยมากขึ้น และจะอ่อนกำลังลงเป็นความกดอากาศต่ำเข้าปกคลุมภาคเหนือในคืนวันนี้ (30 ส.ค.) ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2-6 ก.ย. ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนจะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 31 ส.ค. — 2 ก.ย. เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดเลย หนองคาย สกลนคร หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุตรดิตถ์ เชียงราย พะเยา น่าน และเพชรบูรณ์ ควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในระยะนี้ไว้ด้วย
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่างๆในระยะ7วันข้างหน้ามีดังนี้
เหนือ
ลักษณอากาศ
# ในช่วงวันที่ 31 ส.ค. — 2 ก.ย. มีฝนหรือฝนฟ้าคะนอง 70-80 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ ส่วนตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย. มีฝนหรือฝนฟ้าคะนองกระจาย 60 % ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 70%
ผลกระทบต่อการเกษตร
# เนื่องจากระยะนี้มีฝนตกชุกซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่ สำหรับพื้นที่เพาะปลูกซึ่งเป็นที่ลุ่มเกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง นอกจากนี้ควรยก พื้นคอกสัตว์ให้สูงขึ้นและเตรียมอพยพสัตว์เลี้ยงไปที่น้ำท่วมไม่ถึง
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะอากาศ
# มีฝนฟ้าคะนอง 40-60% ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ กาญจนบุรี อุทัยธานี และสุพรรณบุรี โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 31 ส.ค. และ 3-5 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 60%
ผลกระทบต่อการเกษตร
# สำหรับบริเวณที่มีฝนตกทำให้อากาศมีความชื้นสูง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคไหม้ในข้าว ส่วนผู้ที่ปลูกส้มโอควรระวังและป้องกันการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้มีอากาศถ่ายเทปลอดโปร่ง อย่าให้เปียกชื้น
กลาง
ลักษณะอากาศ
# มีฝนฟ้าคะนอง 60-80 % ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 31 ส.ค. และ 3-5 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 65%
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ระยะนี้บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด มีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะบริเวณซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออก นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชพวกเชื้อราที่อาจเกิด ในพืชไร่และไม้ผล
ตะวันออก
ลักษณะอากาศ
# มีฝนฟ้าคะนอง 60-80 % ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 31 ส.ค. และ 3-5 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 65%
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ระยะนี้บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด มีฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะบริเวณซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออก นอกจากนี้ควรระวังโรคพืชพวกเชื้อราที่อาจเกิด ในพืชไร่และไม้ผล
ใต้
ลักษณะอากาศ
# ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนอง 30-40 % ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
# ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนอง 40-60% ของพื้นที่ตลอดช่วงโดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต ตรัง และสตูล ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95% ตอนบ่าย 60%
ผลกระทบต่อการเกษตร
# สำหรับบริเวณที่มีฝนตกทำให้อากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกสับปะรดควรระวังการระบาดของ โรคยอดเน่า ส่วนชาวสวนมังคุดควรป้องกันการระบาดของโรคใบจุดและหนอนชอนใบด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-