I. ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
- เนื้อที่ (ตารางไมล์) 120,727
- จำนวนประชากร (ล้านคน) 38.36 (1992)
- เมืองหลวง WARSAW
- เมืองธุรกิจ LODZ, CRACOW, POZNAN, GDANSK
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจ (%) - อุตสาหกรรมและเหมืองแร่ 48.3
- เกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง 14.5
- ก่อสร้าง 11.9 - อื่น ๆ 25.3
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ N.A.
- อัตราเงินเฟ้อ 70.0 % (1991)
- รายได้เฉลี่ยต่อคน (เหรียญสหรัฐ) 1,440.0 (1991)
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา US$1 = 16,559.3 0 ZLOTYS
- ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ N.A.
- สินค้าส่งออกและนำเข้าที่สำคัญ - ส่งออก ถ่านหิน เรือประมง เสื้อผ้าสำเร็จรูป
วัสดุก่อสร้างรถตู้สินค้า ปุ๋ยไนโตรเจน เภสัชกรรม
รองเท้าหนัง ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า
- นำเข้า ข้าวโพด ข้าวสาลี ธัญพืช ถั่วเหลือง
เครื่องจักรงาน-โลหะ รถแทรกเตอร์และอุปกรณ์
ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
ก๊าซธรรมชาติ เหล็กและเหล็กกล้า
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ - ส่งออก เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษ
เนเธอร์แลนด์
- นำเข้า เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส รัสเซีย ออสเตรีย
สหรัฐ
- ภาษา โปลิช อังกฤษ
- ศาสนา โรมันคาธอลิค
- เวลาแตกต่างจากไทย ช้ากว่า 6 ชั่วโมง
- ผู้นำประเทศ ประธานาธิบดี LECH WALESA
II. ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย
ภาครัฐบาล
1. อนุสัญญาเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2521
2. ความตกลงทางการค้าเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2523
3. บันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-โปแลนด์ เมื่อวันที่ 14
มิถุนายน 2528
4. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-โปแลนด์ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2534
ณ กรุงวอร์ซอ
5. ความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2535
6. พิธีสารความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2536
ภาคเอกชน
1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้าต่างประเทศ
โปแลนด์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2530
III. ภาวะการค้ากับประเทศไทย
1. การส่งออก ในปี 2537 และปี 2538 ไทยส่งออกไปโปแลนด์เป็นมูลค่า 9,788.5 ล้านบาท และ
14,927.1 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.8 และ 1.06 ของมูลค่าการ
ส่งออกทั้งหมดของประเทศ
2. สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยางพารา
เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ ข้าว กาแฟดิบ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ผ้าเช็ดหน้า
ถุงเท้าและถุงน่อง
3. การนำเข้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยนำเข้าจากโปแลนด์เป็นมูลค่า 6,431.4 ล้านบาท
และ 3,451.4 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.2 และ 0.2 ของมูลค่า
การนำเข้าทั้งหมดของประเทศ
4. สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์นม ปุ๋ย เยื่อกระดาษและ
เศษกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง สินแร่ โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ รถไฟและอุปกรณ์
การรถไฟ ยากำจัดศัตรูพืช เครื่องจักรไฟฟ้า
5. ดุลการค้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 6,431.4 ล้านบาท และ
11,475.7 ล้านบาท ตามลำดับ
IV. ปัญหาทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย
1. โปแลนด์ขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ทำให้การติดต่อการค้ากับภาคเอกชนไทยไม่ได้รับความ
สนใจเท่าที่ควร
2. โปแลนด์มีแนวโน้มที่จะมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าหรือการคุ้มครองสินค้า
ภายในและการอุดหนุนสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรกรรม
3. ความไม่แน่นอนของกฎหมาย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง
4. ไม่มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เพียงพอ
5. การธนาคาร และการค้าระหว่างประเทศ ขาดความทันสมัยและไม่พอเพียง
6. ขาดแคลนแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย ทั้งด้านสถิติและเศรษฐกิจ
7. การโทรคมนาคมและการติดต่อสื่อสารยังไม่ทันสมัย
8. อัตราค่าเช่าพื้นที่เพื่อประกอบธุรกิจและอยู่อาศัยสูงมาก
9. รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้า นอกเหนือจากการเรียกเก้บค่า
ธรรมเนียมพิเศษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้าออกของไทยโดยตรง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป
สินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค
V. สินค้าที่ไทยมีลู่ทางขยายการส่งออก-นำเข้า
1. การส่งออก อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
ของเล่น ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สิ่งทอประเภทด้าย เฟอร์นิเจอร์ ไม้ตัดดอก (กล้วยไม้)
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กาแฟดิบ ข้าว
2. การนำเข้า ผลิตภัณฑ์เหล็ก อาทิ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแท่งและผลิตภัณฑ์ ครีมและนม
เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า
--สรุปความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย--
- เนื้อที่ (ตารางไมล์) 120,727
- จำนวนประชากร (ล้านคน) 38.36 (1992)
- เมืองหลวง WARSAW
- เมืองธุรกิจ LODZ, CRACOW, POZNAN, GDANSK
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจ (%) - อุตสาหกรรมและเหมืองแร่ 48.3
- เกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง 14.5
- ก่อสร้าง 11.9 - อื่น ๆ 25.3
- อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ N.A.
- อัตราเงินเฟ้อ 70.0 % (1991)
- รายได้เฉลี่ยต่อคน (เหรียญสหรัฐ) 1,440.0 (1991)
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา US$1 = 16,559.3 0 ZLOTYS
- ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ N.A.
- สินค้าส่งออกและนำเข้าที่สำคัญ - ส่งออก ถ่านหิน เรือประมง เสื้อผ้าสำเร็จรูป
วัสดุก่อสร้างรถตู้สินค้า ปุ๋ยไนโตรเจน เภสัชกรรม
รองเท้าหนัง ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า
- นำเข้า ข้าวโพด ข้าวสาลี ธัญพืช ถั่วเหลือง
เครื่องจักรงาน-โลหะ รถแทรกเตอร์และอุปกรณ์
ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
ก๊าซธรรมชาติ เหล็กและเหล็กกล้า
- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ - ส่งออก เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษ
เนเธอร์แลนด์
- นำเข้า เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส รัสเซีย ออสเตรีย
สหรัฐ
- ภาษา โปลิช อังกฤษ
- ศาสนา โรมันคาธอลิค
- เวลาแตกต่างจากไทย ช้ากว่า 6 ชั่วโมง
- ผู้นำประเทศ ประธานาธิบดี LECH WALESA
II. ความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทย
ภาครัฐบาล
1. อนุสัญญาเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2521
2. ความตกลงทางการค้าเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2523
3. บันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-โปแลนด์ เมื่อวันที่ 14
มิถุนายน 2528
4. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-โปแลนด์ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2534
ณ กรุงวอร์ซอ
5. ความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2535
6. พิธีสารความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2536
ภาคเอกชน
1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้าต่างประเทศ
โปแลนด์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2530
III. ภาวะการค้ากับประเทศไทย
1. การส่งออก ในปี 2537 และปี 2538 ไทยส่งออกไปโปแลนด์เป็นมูลค่า 9,788.5 ล้านบาท และ
14,927.1 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.8 และ 1.06 ของมูลค่าการ
ส่งออกทั้งหมดของประเทศ
2. สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยางพารา
เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ ข้าว กาแฟดิบ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ผ้าเช็ดหน้า
ถุงเท้าและถุงน่อง
3. การนำเข้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยนำเข้าจากโปแลนด์เป็นมูลค่า 6,431.4 ล้านบาท
และ 3,451.4 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.2 และ 0.2 ของมูลค่า
การนำเข้าทั้งหมดของประเทศ
4. สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์นม ปุ๋ย เยื่อกระดาษและ
เศษกระดาษ กระดาษ และกระดาษแข็ง สินแร่ โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ รถไฟและอุปกรณ์
การรถไฟ ยากำจัดศัตรูพืช เครื่องจักรไฟฟ้า
5. ดุลการค้า ในปี 2537 และปี 2538 ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 6,431.4 ล้านบาท และ
11,475.7 ล้านบาท ตามลำดับ
IV. ปัญหาทางการค้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทย
1. โปแลนด์ขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ทำให้การติดต่อการค้ากับภาคเอกชนไทยไม่ได้รับความ
สนใจเท่าที่ควร
2. โปแลนด์มีแนวโน้มที่จะมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าหรือการคุ้มครองสินค้า
ภายในและการอุดหนุนสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรกรรม
3. ความไม่แน่นอนของกฎหมาย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง
4. ไม่มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เพียงพอ
5. การธนาคาร และการค้าระหว่างประเทศ ขาดความทันสมัยและไม่พอเพียง
6. ขาดแคลนแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย ทั้งด้านสถิติและเศรษฐกิจ
7. การโทรคมนาคมและการติดต่อสื่อสารยังไม่ทันสมัย
8. อัตราค่าเช่าพื้นที่เพื่อประกอบธุรกิจและอยู่อาศัยสูงมาก
9. รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้า นอกเหนือจากการเรียกเก้บค่า
ธรรมเนียมพิเศษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้าออกของไทยโดยตรง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป
สินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค
V. สินค้าที่ไทยมีลู่ทางขยายการส่งออก-นำเข้า
1. การส่งออก อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
ของเล่น ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สิ่งทอประเภทด้าย เฟอร์นิเจอร์ ไม้ตัดดอก (กล้วยไม้)
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กาแฟดิบ ข้าว
2. การนำเข้า ผลิตภัณฑ์เหล็ก อาทิ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแท่งและผลิตภัณฑ์ ครีมและนม
เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า
--สรุปความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย--