บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ในปัจจุบันรูปแบบของตลาดโลกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป อันสืบเนื่องมาจากการแข่งขันที่รุนแรงมาก
ขึ้น มีการร่วมมือในการกำหนดเขตการค้าเฉพาะ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการนำเข้าของนานา
ประเทศ ทำให้เชื่อว่าการดำเนินการค้าระหว่างประเทศจำเป็นจะต้องมีแบบแผนและการเตรียมการที่รัดกุมยิ่ง
ขึ้น ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้ดูแลช่วยเหลือและให้การสนับสนุนกิจ
กรรมทางด้านการส่งออกของประเทศ ได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะให้มีการรวบรวมข้อมูลด้านการผลิตหรืออุป
ทานสินค้าในอุตสาหกรรมสินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารขบ
เคี้ยว เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์และชัดเจนทั้งในด้านการผลิต การตลาด และ
ปัญหาอุปสรรค ตามรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
1. พัฒนาการทางด้านการผลิตอาหารเพื่อการส่งออก
1.1.วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
วัตถุดิบที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารเพื่อการส่งออกนี้ ผู้ประกอบการส่วน
ใหญ่จะเลือกใช้วัตถุดิบจากแหล่งผลิตภายในประเทศมากกว่าที่จะนำเข้าจากต่างประเทศ การ
จัดเตรียมวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิต มี 2 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ การจัดเตรียมด้วยการซื้อ
วัตถุดิบจากแหล่งผลิตภายนอก และการจัดเตรียมวัตถุดิบด้วยวิธีการมีแหล่งวัตถุดิบเป็นของตนเอง
1.2.กระบวนการในการผลิต
ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภททั้งที่เป็นอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat อาหารกึ่ง
สำเร็จรูป อาหารขบเคี้ยว เครื่องเทศและเครื่องปรุงรสจะมีกระบวนการผลิตที่เฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม
การผลิตอาหารแต่ละชนิดคงจะต้องอาศัยทั้งแรงงานคนและเครื่องจักรควบคู่กันไปซึ่งความ
สำคัญของแรงงานคนและเครื่องมือเครื่องจักรที่มีต่อกระบวนการในการผลิตนั้นกล่าวได้ว่ามีความเท่า
เทียมกัน
อย่างไรก็ตามจากสภาวะการณ์แข่งขันด้านการตลาดในปัจจุบัน กระบวนการผลิตสิน
ค้าอาหารเพื่อการส่งออกในอนาคต มีแนวโน้มที่จะมีสัดส่วนของการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ
เครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงานคนมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตตลอดจนเพิ่มปริมาณ
การผลิตให้สูงขึ้น และเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานคนในอุตสาหกรรม
การผลิตอาหาร รวมทั้งปัญหาค่าแรงที่สูงขึ้น
1.3.การควบคุมคุณภาพ
การควบคุมคุณภาพเป็นส่วนที่สำคัญต่อการผลิตสินค้าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสิน
ค้าอาหารเพื่อการส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศผู้นำเข้าจะมีมาตรการและข้อบังคับที่เข้มงวดในการ
ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของสินค้าที่จะนำเข้า ผู้ผลิตสินค้าอาหารของไทยส่วนใหญ่ทราบและ
คำนึงถึงความสำคัญของการควบคุมคุณภาพมาโดยตลอด และได้ยึดถือเอามาตรฐานที่แต่ละ
ประเทศเลือกใช้มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดระบบควบคุมคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำการผลิตรวม
ทั้งได้มีการติดตามถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของแต่ละประเทศคู่ค้าในเรื่องของมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับ
การผลิตเพื่อการส่งออกอยู่อย่างสม่ำเสมอ
หน่วยงานราชการที่เข้ามามีบทบาททางด้านการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อ
การส่งออก มีอยู่ 4 หน่วยงานด้วยกัน คือ
1.กองวิเคราะห์อาหารส่งออก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวง
สาธารณสุข
2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) กระทรวงสาธารณสุข
3.กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4.กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2.พัฒนาการของอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออก
พัฒนาการของอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออกมีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาเป็น
ที่แน่นอนว่าลำดับขั้นของการพัฒนาที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลโดยตรงมาจากทั้งปริมาณและลักษณะของความต้องการ
ของผู้บริโภคในตลาดโลกเป็นหลัก ซึ่งจากที่ผ่านมานั้นผู้ประกอบการชาวไทยสามารถทำการผลิตและนำ
เสนอรูปแบบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของอาหารไทยหรืออาหารของชาติอื่นๆ
สู่ตลาดโลกจนเป็นที่ยอม รับของผู้บริโภคจำนวนมากในปัจจุบัน
อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยมีมูลค่ารวมในปี 2539 อยู่ที่ประมาณ 92,000 ล้านบาท อัตรา
การขยายตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.7 ต่อปี ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไป
จำหน่ายในต่างประเทศหรือประมาณร้อยละ 70.00 ของผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมดที่ผู้ผลิตสามารถผลิตได้
2.1.พัฒนาการของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
พัฒนาการของอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปชนิด Ready to Eat นี้เริ่มมาจากแนว
ความคิดที่จะนำอาหารที่ปรุงแต่งขึ้นเพื่อรับประทานตามปกติประจำในแต่ละวันมาทำการเก็บรักษาให้
คงสภาพความสดใหม่ให้ได้นานที่สุด ซึ่งวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษานี้ มี 3 วิธีหลักๆ คือ วิธี
การแช่เย็น วิธีการแช่แข็ง หรือวิธีการบรรจุกระป๋องซึ่งพัฒนาการของกลุ่มผู้ผลิตในอุตสาหกรรม
ประเภทอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ของประเทศไทยนั้น สามารถกล่าวโดยสรุปตามประเด็น
ที่สำคัญ ดังนี้
- ผู้ประกอบการที่ทำการผลิตอาหารสำเร็จรูปในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นธุรกิจที่มีพื้นฐาน
ในการผลิตสินค้าประเภทอาหารชนิดอื่น ๆ มาก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการในกลุ่มของปลาทูน่ากระป๋อง
หรือกลุ่มของเนื้อสัตว์แช่เย็น
- ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสำเร็จรูป
จำพวกแช่เย็นหรือแช่แข็งนั้น ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานเฉพาะเกี่ยวกับ สินค้านั้นๆ มาแล้ว กล่าวคือจะเป็นกลุ่มของ
ผู้ผลิตจำหน่ายอาหารโดยทั่วไป
- ผู้ประกอบการที่ส่งออกอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ไปจำหน่ายในต่าง
ประเทศในปัจจุบัน ในช่วงเริ่มแรกของการผลิตนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการทดลองจำหน่ายสินค้าที่ผลิตเฉพาะกับ
ตลาดภายในประเทศก่อนที่จะทำการกระจายสินค้าออกสู่ตลาดต่างประเทศ
2.2.ผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูป
พัฒนาการของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกของไทยนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่แปรรูปจากผลิตภัณฑ์ข้าว ได้มีพัฒนาการของธุรกิจมาเป็นระยะเวลา
ที่ยาวนาน โดยได้รับการพัฒนามาจากประเทศญี่ปุ่นและเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2515 และได้รับการ
พัฒนามาเป็นลำดับจนถึงขั้นส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศส่วนกลุ่มของอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ทำจากเนื้อ
สัตว์ต่างๆ จะเป็นอาหารที่มี การจำหน่ายในประเทศเท่านั้น และต่อมาจึงได้รับการพัฒนาจนถึงขั้นส่ง
ออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ
ลำดับการพัฒนาอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกของประเทศไทยนั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่
เป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปมาเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตามพัฒนาการของ
แต่ละกิจการยังคงมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไปโดยสามารถสรุปเป็นประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้
- กลุ่มผู้ประกอบการสามารถแบ่งได้มากกว่าหนึ่งกลุ่มคือ กลุ่มของผู้ทำการผลิตเฉพาะ
สินค้าอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวและกลุ่มของผู้ที่ทำการผลิตทั้งอาหารกึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรูปแบบ
Ready to Eat
- ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่จะอยู่ในวงการผลิตสินค้าประเภทนี้มานาน
- สินค้าที่มีการผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีต้น
ตำรับมาจากอาหารต่างชาติ
2.3. อาหารขบเคี้ยว
พัฒนาการของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารขบเคี้ยวมีการพัฒนาไปอย่างมากทั้งในเรื่องของการผลิต
ตลอดจนรูปแบบและชนิดของสินค้า แต่ส่วนใหญ่การพัฒนายังคงมุ่งเน้นเฉพาะเพื่อการจำหน่ายในส่วนของตลาด
ภายในประเทศเป็นหลัก
อาหารขบเคี้ยวที่มีการผลิตเพื่อการส่งออกแบ่งออกเป็น อาหารขบเคี้ยวประเภทที่ทำจากแป้ง
อาหารขบเคี้ยวประเภทถั่ว อาหารขบเคี้ยวประเภทมันฝรั่งทอดกรอบ อาหารขบเคี้ยวประเภทข้าวเกรียบกุ้ง
อาหารขบเคี้ยวประเภทปลาหมึกและปลาเส้นอาหารขบเคี้ยวประเภทข้าวโพด
2.4. เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส
พัฒนาการของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสเพื่อการส่งออกของ
ไทย ผู้ประกอบการเกือบทั้งหมดเป็นกิจการที่เริ่มต้นดำเนินการจากอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
โดยในช่วงเริ่มต้นได้ทำการผลิตเพื่อการจำหน่ายเฉพาะตลาดภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งโดยปกติสินค้า
ในกลุ่มนี้เป็นสินค้าหลักที่มีความต้องการจากในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ส่งผลให้เกิดการพัฒนา
ทั้งในด้านของกระบวนการและปริมาณการผลิตที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
ทางด้านของการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องเทศและเครื่องปรุงรสไปจำหน่ายในต่าง
ประเทศนั้น ปัจจุบันได้มีความก้าวหน้าพอสมควร ทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าการส่งออกที่เพิ่ม
สูงขึ้นสำหรับสินค้าในกลุ่มนี้
3.สถานภาพของผู้ประกอบการผลิตในธุรกิจอาหารเพื่อการส่งออก
3.1. ผู้ประกอบการผลิตในธุรกิจอาหารเพื่อการส่งออก
เมื่อแยกพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการอาหารใน 4 ประเภท คือ กลุ่มอาหาร
สำเร็จรูปชนิด Ready to Eat กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป กลุ่มอาหารขบเคี้ยว และกลุ่มอาหาร
เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส พบว่า มีผู้ประกอบการในธุรกิจประเภทเหล่านี้ จำนวนทั้งสิ้น
102 ราย หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 3 ของผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารทั้งหมด
1. กลุ่มอาหารสำเร็จรูปชนิด Ready to Eat จำนวน 38 ราย
2. กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป จำนวน 22 ราย
3. กลุ่มอาหารขบเคี้ยว จำนวน 27 ราย
4. กลุ่มเครื่องเทศและเครื่องปรุงรส จำนวน 41 ราย
สัดส่วนของผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกมีอยู่จำนวนร้อยละ 45 โดย
แยกเป็นผลิตเฉพาะเพื่อส่งออกอาหารสำเร็จรูปชนิด Ready to Eat เพียงอย่างเดียวมีอยู่จำนวนร้อยละ
13 ผลิตเฉพาะเพื่อส่งออกอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวจำนวนร้อยละ 3 ผลิตเฉพาะเพื่อส่งออก
อาหารขบเคี้ยวเพียงอย่างเดียวจำนวนร้อยละ 8 และผลิตเฉพาะเพื่อส่งออกเครื่องเทศและเครื่องปรุง
รสเพียงอย่างเดียวมีสัดส่วนร้อยละ 12
จำนวนที่เหลือแบ่งออกเป็นกลุ่มของผู้ผลิตที่ทำการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าอาหารมาก
กว่าหนึ่งประเภท กล่าวคือ ผลิตเพื่อส่งออกอาหารสำเร็จรูปชนิด Ready to Eat และอาหารกึ่งสำเร็จรูป
จำนวนร้อยละ 3 ผลิตเพื่อส่งออกอาหารสำเร็จรูปชนิด Ready to Eat และเครื่องเทศ/เครื่องปรุงรส
จำนวนร้อยละ 3 ผลิตเพื่อส่งออกอาหารกึ่งสำเร็จรูป และเครื่องเทศเครื่องปรุงรส จำนวน
ร้อยละ 2 ผลิตและส่งออกอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารขบเคี้ยว
และเครื่องเทศ/เครื่องปรุงรส มีจำนวนร้อยละ 1 เท่านั้น
3.2. การมีสำนักงานสาขาในต่างประเทศ
ผู้ประกอบการผลิตอาหารเพื่อส่งออกทั้ง 4 ประเภท ประมาณร้อยละ 71 จาก
กิจการทั้งหมด ไม่มีสำนักงานสาขาในต่างประเทศ จำนวนประมาณร้อยละ 29 เท่านั้นที่มีกิจ
การหรือสำนักงานสาขาในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการหรือสำนักงานสาขาที่มีอยู่ในประเทศในแถบ
ทวีปเอเซียโดยคิดเป็นจำนวนประมาณร้อยละ 87 รองลงมาในจำนวนประมาณร้อยละ 40 ระบุ
ว่ามีกิจการหรือสาขาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 7 ระบุว่ามีอยู่ในประเทศ
แถบยุโรป
3.3. นโยบายการดำเนินการและการร่วมทุนดำเนินกิจการกับต่างประเทศ
ผู้ผลิตสินค้าอาหารเพื่อการส่งออก จำนวนกว่าร้อยละ 73 เป็นกิจการที่ดำเนินการโดย
คนไทยทั้งหมด ส่วนกิจการในลักษณะของการร่วมลงทุนระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ
มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 23 สำหรับกิจการและหรือสาขาของบริษัทต่างประเทศมีประมาณร้อยละ 4
3.4. ลักษณะการดำเนินงานธุรกิจของกิจการ
ในกลุ่มของผู้ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกจากจำนวนที่สำรวจ พบว่าการดำเนิน
ธุรกิจ โดยส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะที่เป็นทั้งผู้ผลิตสินค้าและผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่ผลิตขึ้นเองโดย
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73 รองลงมาจะดำเนินธุรกิจในลักษณะเป็นผู้ผลิตสินค้าแต่เพียงอย่างเดียวโดย
มีบริษัทอื่นเป็นผู้จำหน่ายสินค้าให้ คิดเป็นจำนวนประมาณร้อยละ 15
3.5. ปริมาณการผลิต กำลังการผลิต และแนวโน้มในอนาคต
อาหารทั้ง 4 ประเภท ที่ผู้ประกอบการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในต่าง
ประเทศ ในปัจจุบันสามารถจำแนกออกตามลักษณะที่สำคัญได้ดังนี้
หมวดที่ 1 อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
1.1 อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ชนิดแช่เย็นหรือแช่แข็ง
1.1.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อเป็ด/ไก่
1.1.2 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.1.3 อาหารไทยลักษณะอาหารเจ
1.1.4 อาหารเอเซียที่ทำจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อเป็ด/ไก่
1.1.5 อาหารเอเซียที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.1.6 อาหารเอเซียลักษณะอาหารเจ
1.2 อาหารกระป๋องสำเร็จรูปแบบ Read to Eat หรือบรรจุถุงสูญญากาศ
แบบ Ready to Eat
1.2.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อเป็ด/ไก่
1.2.2 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.2.3 อาหารไทยลักษณะอาหารเจ
1.2.4 อาหารเอเซียที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.2.5 อาหารยุโรปที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.3 อาหารแห้งสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
1.3.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อเป็ด/ไก่
1.3.2 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.3.3 อาหารเอเซียลักษณะอาหารเจ
ทั้ง 3 ลักษณะในหมวดอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat มีปริมาณการผลิตโดยรวม
ทั้งสิ้นประมาณ 123,625 ตัน/ปี จากกำลังการผลิตสูงสุดที่ประมาณ 174,252 ตัน/ปี
ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เชื่อว่าปริมาณการผลิตของสินค้าในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก
ประมาณ 24% ในอนาคต
หมวดที่ 2 อาหารกึ่งสำเร็จรูป
2.1 อาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดแช่เย็นหรือแช่แข็ง
2.1.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
2.1.2 อาหารเอเซียที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
2.2 อาหารกระป๋องกึ่งสำเร็จรูป
2.2.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
2.3 อาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูป
2.3.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
2.3.2 อาหารเอเซียที่ทำจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อเป็ด/ไก่
2.3.3 อาหารไทยที่ทำจากแป้ง (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป)
ทั้ง 3 ลักษณะในหมวดอาหารกึ่งสำเร็จรูป มีปริมาณการผลิตโดยรวมทั้งสิ้น
ประมาณ 18,097 ตัน/ปี จากกำลังการผลิตสูงสุดที่ประมาณ 23,701 ตัน/ปี ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เชื่อ
ว่าปริมาณการผลิตของสินค้าในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 29% ในอนาคต
หมวดที่ 3 อาหารขบเคี้ยว
3.1 อาหารขบเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง
3.2 อาหารขบเคี้ยวที่ทำจากผลิตผลทางการเกษตร
3.3 อาหารขบเคี้ยวที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
ทั้ง 3 กลุ่มในหมวดอาหารขบเคี้ยว มีปริมาณการผลิตโดยรวมทั้งสิ้นประมาณ
7,870 ตัน/ปี จากกำลังการผลิตสูงสุดที่ประมาณ 12,460 ตัน/ปี ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เชื่อว่าปริมาณการ
ผลิตของสินค้าในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10% ในอนาคต
หมวดที่ 4 เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส
4.1 เครื่องเทศทั่วไป
4.2 เครื่องแกงสำเร็จรูปทั่วไป
4.3 ซอสที่ทำจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทั่วไป
4.4 ซอสมะเขือเทศ
4.5 น้ำปลา
4.6 น้ำพริกเผา
4.7 น้ำจิ้มไก่
ทั้ง 7 กลุ่มในหมวดเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสมีปริมาณการผลิตโดยรวมทั้งสิ้น
ประมาณ 45,830 ตัน/ปี จากกำลังการผลิตสูงสุดที่ประมาณ 93,054 ตัน/ปี ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เชื่อ
ว่าปริมาณการผลิตของสินค้านี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 15% ในอนาคต
4. สภาวะตลาดอาหารเพื่อการส่งออก
4.1 ภาพรวมทางการตลาดสินค้าอาหารเพื่อการส่งออก
ตลาดภายในประเทศเป็นตลาดหลักสำหรับผู้ประกอบการผลิตสินค้าอาหารซึ่งผู้
ประกอบการที่ทำการผลิตสินค้าประเภทอาหารเพื่อการส่งออกในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญกับ
ตลาดในประเทศนี้ไม่น้อยไปกว่ากิจกรรมทางด้านการส่งออกที่ดำเนินการอยู่ภายใต้สภาวะการณ์
ด้านการขยายตัวของตลาดภายในประเทศที่เป็นอยู่และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้นนี้ พฤติกรรมของ
ผู้บริโภคได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งผู้บริโภคอาหารต่างให้ความสนใจเกี่ยวกับคุณภาพและมาตร
ฐานอาหารมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการผลิตที่มีความสนใจที่จะผลิตสินค้าอาหารเพื่อจำหน่ายในประเทศ
ควรให้ความสนใจในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของสินค้ามากขึ้นไม่ควรให้ความสำคัญกับเฉพาะอาหารที่
ผลิตเพียงเพื่อการส่งออกเพียงอย่างเดียว
จำนวนของผู้ประกอบการมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ผู้ประกอบการรายใหม่
จึงมีทั้งผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตสินค้าอาหารอยู่แล้ว แต่เป็นคนละประเภทอาหารที่
หันมาให้ความสนใจที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตอาหารในกลุ่มนี้และผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความ
สนใจที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมในการผลิตสินค้าประเภทอาหารนี้เช่นกัน
ตลาดต่างประเทศโดยภาพรวมที่เป็นอยู่ของอาหารทั้ง 4 ประเภททั้งอาหาร
สำเร็จรูปแบบ Ready to Eat อาหารกึ่งสำเร็จรูปอาหารขบเคี้ยว และเครื่องเทศ/เครื่องปรุงรส ล้วนแต่
เป็นกลุ่มอาหารที่มีศักยภาพที่เจริญเติบโตมากขึ้น ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของกลุ่มผู้
บริโภคในต่างประเทศที่หันมาให้ความนิยมบริโภคอาหารในรูปแบบของประเทศในแถบภาคพื้นเอเซีย
มากขึ้น
ตลาดส่งออกในประเทศต่าง ๆ แม้ว่าจะเป็นตลาดใหญ่ที่มีสัดส่วนของผู้บริโภคค่อน
ข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดในประเทศ แต่จำนวนของคู่แข่งนั้นก็มีอยู่ในจำนวนที่สูงมากเช่นเดียวกัน คู่
แข่งที่มีอยู่นั้นจะเป็นคู่แข่งขันที่มาจากทั้งในประเทศของตลาดส่งออกนั้น ๆ และ/หรือคู่แข่งขันที่มาจาก
ประเทศอื่น ๆ ซึ่งการแข่งขันส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของคุณภาพสินค้าและราคาของสินค้าเป็นหลัก
ที่สำคัญมากที่สุด สำหรับการจำหน่ายสินค้าในตลาดส่งออกต่างๆ คือ เรื่องของช่อง
ทางการจำหน่ายสินค้าและการนำเสนอสินค้าให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในตลาด ณ จุดนี้คงต้อง
อาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐบาลในการที่จะหาช่องทางและวิธีการให้ความช่วยเหลือให้การส่งออกประสบ
ความสำเร็จมากขึ้น
อัตราการขยายตัว และสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกสินค้าแต่ละประเภท ในช่วงปี
2534 ถึง 2538 จากการศึกษาสรุปได้ว่า อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat เป็นประเภทอาหารส่งออก
ที่สำคัญที่สุด โดยมีสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกในปี 2538 สูงถึงร้อยละ 46 รองลงมาคือเครื่องเทศและ
เครื่องปรุงรส ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30 ขณะที่อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารขบเคี้ยว มีสัดส่วนร้อยละ 18
และ 6 ตามลำดับ
4.2 ตลาดหลักและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกสินค้าอาหาร
4.2.1 ตลาดหลักและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกอาหารสำเร็จรูปแบบ
Ready to Eat
(1) อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ชนิดแช่เย็นและแช่แข็ง
ตลาดหลักเพื่อการส่งออกอาหารประเภทนี้ คือ ตลาดส่งออก
ญี่ปุ่นและประเทศในแถบเอเซีย (อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และ
จีน) อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ชนิดแช่เย็นและแช่แข็งส่วน
ใหญ่มากกว่าร้อยละ 47 จะถูกส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ตลาดเป้าหมาย
ที่น่าสนใจ ซึ่งมีศักยภาพในการส่งออกในอนาคตของอาหารกลุ่มนี้ คือ สหรัฐอเมริกา
(2) อาหารกระป๋องสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
ตลาดหลักเพื่อการส่งออกอาหารประเภทนี้คือญี่ปุ่นและประเทศ
ในแถบเอเซียเช่นเดียวกับอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to eat ชนิดแช่เย็น
และแช่แข็ง โดยพบว่าสินค้าอาหารกระป๋องสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
จำนวนประมาณร้อยละ 40 ถูกส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น และอีกร้อยละ 33 ถูกส่งไป
จำหน่ายยังตลาดในประเทศต่างๆ ในภูมภาคเอเซีย สำหรับตลาดเป้าหมายซึ่งมีศักยภาพ
ในอนาคตนั้น คือ ประเทศฝรั่งเศส
(3) อาหารแห้งสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
อาหารแห้งสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ถูกส่งไปจำหน่ายเฉพาะประเทศ
ในภูมิภาคเอเซียเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ประเทศออสเตรเลียน่าที่จะเป็นตลาดเป้าหมาย
ของการส่งออกอาหารแห้งสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ในอนาคตได้
4.2.2 ตลาดหลักและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกอาหารกึ่งสำเร็จรูป
(1) อาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดแช่เย็นหรือแช่แข็ง
ตลาดหลักเพื่อการส่งออกอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดแช่เย็นหรือ
แช่แข็งนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศญี่ปุ่นและประเทศในภูมิภาคเอเซีย
เป็นหลักโดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 48.66 และ 35.71 ตามลำดับ ทั้งนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกาน่าจะเป็นตลาดเป้าหมายที่น่าสนใจในอนาคต
(2) อาหารกระป๋องกึ่งสำเร็จรูป
ตลาดหลักเพื่อการส่งออกอาหารกระป๋องกึ่งสำเร็จรูปจะได้แก่
ประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษเท่านั้น โดยยังไม่มีตลาดเป้าหมายที่
น่าสนใจในขณะนี้ จึงยังคงมีเพียง 3 ประเทศดังกล่าวที่เป็นตลาดหลัก
(3) อาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูป
อาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูป ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปจำหน่ายใน
ประเทศในภูมิภาคเอเซียมากที่สุด โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 68 ของ
การส่งออก สำหรับสินค้าในกลุ่มนี้ทั้งหมด รองลงมาจะถูกส่งไปจำหน่าย
ที่ประเทศญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 9.64 โดยมีประเทศในทวีปยุโรปเป็น
ตลาดเป้าหมายที่น่าสนใจในอนาคต อาทิ เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ
สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก
4.2.3 ตลาดหลักและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกอาหารขบเคี้ยว
ตลาดหลักของอาหารขบเคี้ยวในการส่งออกเกือบทั้งหมดเป็นตลาดที่
อยู่ในภูมิภาคเอเซีย อันได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี จีน ฟิลิปปินส์
และ ลาว โดยมีการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ
90.23
4.2.4 ตลาดหลักและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกเครื่องเทศและ เครื่องปรุงรส (ยกเว้นผลิตภัณฑ์น้ำปลา)
ตลาดหลักสำหรับสินค้าในประเภทเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสที่สำคัญของไทยคือ สหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีสัดส่วนการจำหน่ายสูงที่สุด คือ ร้อยละ 36.32 รองลงมาเป็นตลาดส่งออกออสเตรเลีย ร้อยละ
26.92 ตลาดใหม่ที่น่าสนใจ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เยอรมัน และ ลาว
5. ศักยภาพในการส่งออกอาหารของไทย
5.1 สัดส่วนระหว่างการจำหน่ายในประเทศกับการส่งออก
จากการสำรวจปริมาณการส่งออก พบว่า มีปริมาณการผลิตรวม 195,422 ตันต่อปี
(เฉพาะข้อมูลของผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์) เป็นการส่งออกประมาณ 78,860 ตันต่อปีหรือคิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 40.4
ปริมาณการส่งออกอาหารแต่ละประเภท พบว่า อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to eat
มีปริมาณการส่งออกต่อปีมากที่สุด ประมาณ 60,065 ตันต่อปี รองลงมาคือ เครื่องเทศ/เครื่องปรุงรส
และอาหารกึ่งสำเร็จรูป ประมาณ 14,050 และ 3,875 ตันต่อปี ตามลำดับขณะที่อาหารขบเคี้ยว มี
ปริมาณการส่งออกน้อยที่สุดเพียงประมาณปีละ 870 ตันเท่านั้น
เมื่อพิจารณาสัดส่วนของการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ พบว่า อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
มีสัดส่วนของการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศสูงที่สุด โดยมีสัดส่วนการส่งออกมากกว่าในกลุ่มอาหารประเภทฃ
อื่นๆ รองลงมาเป็นเครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารขบเคี้ยว
5.2 ทิศทางอุตสาหกรรมการส่งออกอาหารของไทยในอนาคต
อุตสาหกรรมการส่งออกอาหารของไทยในอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้านั้นคาดว่าจะมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
ไม่มากนัก โดยผู้ประกอบการมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือประมาณร้อยละ 54 คาดว่าน่าจะมีการขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ
ร้อยละ 10-15 อย่างไรก็ตาม ถ้าจะมีการขยายตัวในอัตราที่สูงกว่านี้ ก็น่าที่จะเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 50 ทั้งนี้เพราะมีผู้ประกอบการถึงประมาณ
ร้อยละ 23 ที่เห็นว่าน่าจะมีแนวโน้มการขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 ทั้งนี้สามารถสรุป
รายละเอียดความคิดเป็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับทิศทางอุตสาหกรรมการส่งออกอาหารที่ทำการ
ศึกษาของประเทศไทยในอนาคตได้ดังนี้
ทิศทางการเปลี่ยนแปลง สัดส่วนของผู้ประกอบการ (ร้อยละ)
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 54
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 23
ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวหรือมากกว่า 19
คาดว่าขนาดการส่งออกน่าจะเล็กลง 4
-- ยังมีต่อ --
ในปัจจุบันรูปแบบของตลาดโลกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป อันสืบเนื่องมาจากการแข่งขันที่รุนแรงมาก
ขึ้น มีการร่วมมือในการกำหนดเขตการค้าเฉพาะ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการนำเข้าของนานา
ประเทศ ทำให้เชื่อว่าการดำเนินการค้าระหว่างประเทศจำเป็นจะต้องมีแบบแผนและการเตรียมการที่รัดกุมยิ่ง
ขึ้น ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้ดูแลช่วยเหลือและให้การสนับสนุนกิจ
กรรมทางด้านการส่งออกของประเทศ ได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะให้มีการรวบรวมข้อมูลด้านการผลิตหรืออุป
ทานสินค้าในอุตสาหกรรมสินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารขบ
เคี้ยว เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์และชัดเจนทั้งในด้านการผลิต การตลาด และ
ปัญหาอุปสรรค ตามรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
1. พัฒนาการทางด้านการผลิตอาหารเพื่อการส่งออก
1.1.วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
วัตถุดิบที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารเพื่อการส่งออกนี้ ผู้ประกอบการส่วน
ใหญ่จะเลือกใช้วัตถุดิบจากแหล่งผลิตภายในประเทศมากกว่าที่จะนำเข้าจากต่างประเทศ การ
จัดเตรียมวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิต มี 2 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ การจัดเตรียมด้วยการซื้อ
วัตถุดิบจากแหล่งผลิตภายนอก และการจัดเตรียมวัตถุดิบด้วยวิธีการมีแหล่งวัตถุดิบเป็นของตนเอง
1.2.กระบวนการในการผลิต
ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภททั้งที่เป็นอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat อาหารกึ่ง
สำเร็จรูป อาหารขบเคี้ยว เครื่องเทศและเครื่องปรุงรสจะมีกระบวนการผลิตที่เฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม
การผลิตอาหารแต่ละชนิดคงจะต้องอาศัยทั้งแรงงานคนและเครื่องจักรควบคู่กันไปซึ่งความ
สำคัญของแรงงานคนและเครื่องมือเครื่องจักรที่มีต่อกระบวนการในการผลิตนั้นกล่าวได้ว่ามีความเท่า
เทียมกัน
อย่างไรก็ตามจากสภาวะการณ์แข่งขันด้านการตลาดในปัจจุบัน กระบวนการผลิตสิน
ค้าอาหารเพื่อการส่งออกในอนาคต มีแนวโน้มที่จะมีสัดส่วนของการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ
เครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงานคนมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตตลอดจนเพิ่มปริมาณ
การผลิตให้สูงขึ้น และเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานคนในอุตสาหกรรม
การผลิตอาหาร รวมทั้งปัญหาค่าแรงที่สูงขึ้น
1.3.การควบคุมคุณภาพ
การควบคุมคุณภาพเป็นส่วนที่สำคัญต่อการผลิตสินค้าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสิน
ค้าอาหารเพื่อการส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศผู้นำเข้าจะมีมาตรการและข้อบังคับที่เข้มงวดในการ
ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของสินค้าที่จะนำเข้า ผู้ผลิตสินค้าอาหารของไทยส่วนใหญ่ทราบและ
คำนึงถึงความสำคัญของการควบคุมคุณภาพมาโดยตลอด และได้ยึดถือเอามาตรฐานที่แต่ละ
ประเทศเลือกใช้มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดระบบควบคุมคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำการผลิตรวม
ทั้งได้มีการติดตามถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของแต่ละประเทศคู่ค้าในเรื่องของมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับ
การผลิตเพื่อการส่งออกอยู่อย่างสม่ำเสมอ
หน่วยงานราชการที่เข้ามามีบทบาททางด้านการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อ
การส่งออก มีอยู่ 4 หน่วยงานด้วยกัน คือ
1.กองวิเคราะห์อาหารส่งออก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวง
สาธารณสุข
2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) กระทรวงสาธารณสุข
3.กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4.กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2.พัฒนาการของอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออก
พัฒนาการของอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออกมีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาเป็น
ที่แน่นอนว่าลำดับขั้นของการพัฒนาที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลโดยตรงมาจากทั้งปริมาณและลักษณะของความต้องการ
ของผู้บริโภคในตลาดโลกเป็นหลัก ซึ่งจากที่ผ่านมานั้นผู้ประกอบการชาวไทยสามารถทำการผลิตและนำ
เสนอรูปแบบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของอาหารไทยหรืออาหารของชาติอื่นๆ
สู่ตลาดโลกจนเป็นที่ยอม รับของผู้บริโภคจำนวนมากในปัจจุบัน
อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยมีมูลค่ารวมในปี 2539 อยู่ที่ประมาณ 92,000 ล้านบาท อัตรา
การขยายตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.7 ต่อปี ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไป
จำหน่ายในต่างประเทศหรือประมาณร้อยละ 70.00 ของผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมดที่ผู้ผลิตสามารถผลิตได้
2.1.พัฒนาการของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
พัฒนาการของอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปชนิด Ready to Eat นี้เริ่มมาจากแนว
ความคิดที่จะนำอาหารที่ปรุงแต่งขึ้นเพื่อรับประทานตามปกติประจำในแต่ละวันมาทำการเก็บรักษาให้
คงสภาพความสดใหม่ให้ได้นานที่สุด ซึ่งวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษานี้ มี 3 วิธีหลักๆ คือ วิธี
การแช่เย็น วิธีการแช่แข็ง หรือวิธีการบรรจุกระป๋องซึ่งพัฒนาการของกลุ่มผู้ผลิตในอุตสาหกรรม
ประเภทอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ของประเทศไทยนั้น สามารถกล่าวโดยสรุปตามประเด็น
ที่สำคัญ ดังนี้
- ผู้ประกอบการที่ทำการผลิตอาหารสำเร็จรูปในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นธุรกิจที่มีพื้นฐาน
ในการผลิตสินค้าประเภทอาหารชนิดอื่น ๆ มาก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการในกลุ่มของปลาทูน่ากระป๋อง
หรือกลุ่มของเนื้อสัตว์แช่เย็น
- ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสำเร็จรูป
จำพวกแช่เย็นหรือแช่แข็งนั้น ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานเฉพาะเกี่ยวกับ สินค้านั้นๆ มาแล้ว กล่าวคือจะเป็นกลุ่มของ
ผู้ผลิตจำหน่ายอาหารโดยทั่วไป
- ผู้ประกอบการที่ส่งออกอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ไปจำหน่ายในต่าง
ประเทศในปัจจุบัน ในช่วงเริ่มแรกของการผลิตนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการทดลองจำหน่ายสินค้าที่ผลิตเฉพาะกับ
ตลาดภายในประเทศก่อนที่จะทำการกระจายสินค้าออกสู่ตลาดต่างประเทศ
2.2.ผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูป
พัฒนาการของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกของไทยนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่แปรรูปจากผลิตภัณฑ์ข้าว ได้มีพัฒนาการของธุรกิจมาเป็นระยะเวลา
ที่ยาวนาน โดยได้รับการพัฒนามาจากประเทศญี่ปุ่นและเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2515 และได้รับการ
พัฒนามาเป็นลำดับจนถึงขั้นส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศส่วนกลุ่มของอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ทำจากเนื้อ
สัตว์ต่างๆ จะเป็นอาหารที่มี การจำหน่ายในประเทศเท่านั้น และต่อมาจึงได้รับการพัฒนาจนถึงขั้นส่ง
ออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ
ลำดับการพัฒนาอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกของประเทศไทยนั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่
เป็นผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปมาเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตามพัฒนาการของ
แต่ละกิจการยังคงมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไปโดยสามารถสรุปเป็นประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้
- กลุ่มผู้ประกอบการสามารถแบ่งได้มากกว่าหนึ่งกลุ่มคือ กลุ่มของผู้ทำการผลิตเฉพาะ
สินค้าอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวและกลุ่มของผู้ที่ทำการผลิตทั้งอาหารกึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรูปแบบ
Ready to Eat
- ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่จะอยู่ในวงการผลิตสินค้าประเภทนี้มานาน
- สินค้าที่มีการผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีต้น
ตำรับมาจากอาหารต่างชาติ
2.3. อาหารขบเคี้ยว
พัฒนาการของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารขบเคี้ยวมีการพัฒนาไปอย่างมากทั้งในเรื่องของการผลิต
ตลอดจนรูปแบบและชนิดของสินค้า แต่ส่วนใหญ่การพัฒนายังคงมุ่งเน้นเฉพาะเพื่อการจำหน่ายในส่วนของตลาด
ภายในประเทศเป็นหลัก
อาหารขบเคี้ยวที่มีการผลิตเพื่อการส่งออกแบ่งออกเป็น อาหารขบเคี้ยวประเภทที่ทำจากแป้ง
อาหารขบเคี้ยวประเภทถั่ว อาหารขบเคี้ยวประเภทมันฝรั่งทอดกรอบ อาหารขบเคี้ยวประเภทข้าวเกรียบกุ้ง
อาหารขบเคี้ยวประเภทปลาหมึกและปลาเส้นอาหารขบเคี้ยวประเภทข้าวโพด
2.4. เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส
พัฒนาการของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสเพื่อการส่งออกของ
ไทย ผู้ประกอบการเกือบทั้งหมดเป็นกิจการที่เริ่มต้นดำเนินการจากอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
โดยในช่วงเริ่มต้นได้ทำการผลิตเพื่อการจำหน่ายเฉพาะตลาดภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งโดยปกติสินค้า
ในกลุ่มนี้เป็นสินค้าหลักที่มีความต้องการจากในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ส่งผลให้เกิดการพัฒนา
ทั้งในด้านของกระบวนการและปริมาณการผลิตที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
ทางด้านของการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องเทศและเครื่องปรุงรสไปจำหน่ายในต่าง
ประเทศนั้น ปัจจุบันได้มีความก้าวหน้าพอสมควร ทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าการส่งออกที่เพิ่ม
สูงขึ้นสำหรับสินค้าในกลุ่มนี้
3.สถานภาพของผู้ประกอบการผลิตในธุรกิจอาหารเพื่อการส่งออก
3.1. ผู้ประกอบการผลิตในธุรกิจอาหารเพื่อการส่งออก
เมื่อแยกพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการอาหารใน 4 ประเภท คือ กลุ่มอาหาร
สำเร็จรูปชนิด Ready to Eat กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป กลุ่มอาหารขบเคี้ยว และกลุ่มอาหาร
เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส พบว่า มีผู้ประกอบการในธุรกิจประเภทเหล่านี้ จำนวนทั้งสิ้น
102 ราย หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 3 ของผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารทั้งหมด
1. กลุ่มอาหารสำเร็จรูปชนิด Ready to Eat จำนวน 38 ราย
2. กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป จำนวน 22 ราย
3. กลุ่มอาหารขบเคี้ยว จำนวน 27 ราย
4. กลุ่มเครื่องเทศและเครื่องปรุงรส จำนวน 41 ราย
สัดส่วนของผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกมีอยู่จำนวนร้อยละ 45 โดย
แยกเป็นผลิตเฉพาะเพื่อส่งออกอาหารสำเร็จรูปชนิด Ready to Eat เพียงอย่างเดียวมีอยู่จำนวนร้อยละ
13 ผลิตเฉพาะเพื่อส่งออกอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวจำนวนร้อยละ 3 ผลิตเฉพาะเพื่อส่งออก
อาหารขบเคี้ยวเพียงอย่างเดียวจำนวนร้อยละ 8 และผลิตเฉพาะเพื่อส่งออกเครื่องเทศและเครื่องปรุง
รสเพียงอย่างเดียวมีสัดส่วนร้อยละ 12
จำนวนที่เหลือแบ่งออกเป็นกลุ่มของผู้ผลิตที่ทำการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าอาหารมาก
กว่าหนึ่งประเภท กล่าวคือ ผลิตเพื่อส่งออกอาหารสำเร็จรูปชนิด Ready to Eat และอาหารกึ่งสำเร็จรูป
จำนวนร้อยละ 3 ผลิตเพื่อส่งออกอาหารสำเร็จรูปชนิด Ready to Eat และเครื่องเทศ/เครื่องปรุงรส
จำนวนร้อยละ 3 ผลิตเพื่อส่งออกอาหารกึ่งสำเร็จรูป และเครื่องเทศเครื่องปรุงรส จำนวน
ร้อยละ 2 ผลิตและส่งออกอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารขบเคี้ยว
และเครื่องเทศ/เครื่องปรุงรส มีจำนวนร้อยละ 1 เท่านั้น
3.2. การมีสำนักงานสาขาในต่างประเทศ
ผู้ประกอบการผลิตอาหารเพื่อส่งออกทั้ง 4 ประเภท ประมาณร้อยละ 71 จาก
กิจการทั้งหมด ไม่มีสำนักงานสาขาในต่างประเทศ จำนวนประมาณร้อยละ 29 เท่านั้นที่มีกิจ
การหรือสำนักงานสาขาในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการหรือสำนักงานสาขาที่มีอยู่ในประเทศในแถบ
ทวีปเอเซียโดยคิดเป็นจำนวนประมาณร้อยละ 87 รองลงมาในจำนวนประมาณร้อยละ 40 ระบุ
ว่ามีกิจการหรือสาขาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 7 ระบุว่ามีอยู่ในประเทศ
แถบยุโรป
3.3. นโยบายการดำเนินการและการร่วมทุนดำเนินกิจการกับต่างประเทศ
ผู้ผลิตสินค้าอาหารเพื่อการส่งออก จำนวนกว่าร้อยละ 73 เป็นกิจการที่ดำเนินการโดย
คนไทยทั้งหมด ส่วนกิจการในลักษณะของการร่วมลงทุนระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ
มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 23 สำหรับกิจการและหรือสาขาของบริษัทต่างประเทศมีประมาณร้อยละ 4
3.4. ลักษณะการดำเนินงานธุรกิจของกิจการ
ในกลุ่มของผู้ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกจากจำนวนที่สำรวจ พบว่าการดำเนิน
ธุรกิจ โดยส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะที่เป็นทั้งผู้ผลิตสินค้าและผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่ผลิตขึ้นเองโดย
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73 รองลงมาจะดำเนินธุรกิจในลักษณะเป็นผู้ผลิตสินค้าแต่เพียงอย่างเดียวโดย
มีบริษัทอื่นเป็นผู้จำหน่ายสินค้าให้ คิดเป็นจำนวนประมาณร้อยละ 15
3.5. ปริมาณการผลิต กำลังการผลิต และแนวโน้มในอนาคต
อาหารทั้ง 4 ประเภท ที่ผู้ประกอบการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในต่าง
ประเทศ ในปัจจุบันสามารถจำแนกออกตามลักษณะที่สำคัญได้ดังนี้
หมวดที่ 1 อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
1.1 อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ชนิดแช่เย็นหรือแช่แข็ง
1.1.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อเป็ด/ไก่
1.1.2 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.1.3 อาหารไทยลักษณะอาหารเจ
1.1.4 อาหารเอเซียที่ทำจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อเป็ด/ไก่
1.1.5 อาหารเอเซียที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.1.6 อาหารเอเซียลักษณะอาหารเจ
1.2 อาหารกระป๋องสำเร็จรูปแบบ Read to Eat หรือบรรจุถุงสูญญากาศ
แบบ Ready to Eat
1.2.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อเป็ด/ไก่
1.2.2 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.2.3 อาหารไทยลักษณะอาหารเจ
1.2.4 อาหารเอเซียที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.2.5 อาหารยุโรปที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.3 อาหารแห้งสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
1.3.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อเป็ด/ไก่
1.3.2 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
1.3.3 อาหารเอเซียลักษณะอาหารเจ
ทั้ง 3 ลักษณะในหมวดอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat มีปริมาณการผลิตโดยรวม
ทั้งสิ้นประมาณ 123,625 ตัน/ปี จากกำลังการผลิตสูงสุดที่ประมาณ 174,252 ตัน/ปี
ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เชื่อว่าปริมาณการผลิตของสินค้าในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก
ประมาณ 24% ในอนาคต
หมวดที่ 2 อาหารกึ่งสำเร็จรูป
2.1 อาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดแช่เย็นหรือแช่แข็ง
2.1.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
2.1.2 อาหารเอเซียที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
2.2 อาหารกระป๋องกึ่งสำเร็จรูป
2.2.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
2.3 อาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูป
2.3.1 อาหารไทยที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
2.3.2 อาหารเอเซียที่ทำจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อเป็ด/ไก่
2.3.3 อาหารไทยที่ทำจากแป้ง (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป)
ทั้ง 3 ลักษณะในหมวดอาหารกึ่งสำเร็จรูป มีปริมาณการผลิตโดยรวมทั้งสิ้น
ประมาณ 18,097 ตัน/ปี จากกำลังการผลิตสูงสุดที่ประมาณ 23,701 ตัน/ปี ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เชื่อ
ว่าปริมาณการผลิตของสินค้าในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 29% ในอนาคต
หมวดที่ 3 อาหารขบเคี้ยว
3.1 อาหารขบเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง
3.2 อาหารขบเคี้ยวที่ทำจากผลิตผลทางการเกษตร
3.3 อาหารขบเคี้ยวที่ทำจากเนื้อสัตว์ทะเล
ทั้ง 3 กลุ่มในหมวดอาหารขบเคี้ยว มีปริมาณการผลิตโดยรวมทั้งสิ้นประมาณ
7,870 ตัน/ปี จากกำลังการผลิตสูงสุดที่ประมาณ 12,460 ตัน/ปี ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เชื่อว่าปริมาณการ
ผลิตของสินค้าในกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10% ในอนาคต
หมวดที่ 4 เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส
4.1 เครื่องเทศทั่วไป
4.2 เครื่องแกงสำเร็จรูปทั่วไป
4.3 ซอสที่ทำจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทั่วไป
4.4 ซอสมะเขือเทศ
4.5 น้ำปลา
4.6 น้ำพริกเผา
4.7 น้ำจิ้มไก่
ทั้ง 7 กลุ่มในหมวดเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสมีปริมาณการผลิตโดยรวมทั้งสิ้น
ประมาณ 45,830 ตัน/ปี จากกำลังการผลิตสูงสุดที่ประมาณ 93,054 ตัน/ปี ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เชื่อ
ว่าปริมาณการผลิตของสินค้านี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 15% ในอนาคต
4. สภาวะตลาดอาหารเพื่อการส่งออก
4.1 ภาพรวมทางการตลาดสินค้าอาหารเพื่อการส่งออก
ตลาดภายในประเทศเป็นตลาดหลักสำหรับผู้ประกอบการผลิตสินค้าอาหารซึ่งผู้
ประกอบการที่ทำการผลิตสินค้าประเภทอาหารเพื่อการส่งออกในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญกับ
ตลาดในประเทศนี้ไม่น้อยไปกว่ากิจกรรมทางด้านการส่งออกที่ดำเนินการอยู่ภายใต้สภาวะการณ์
ด้านการขยายตัวของตลาดภายในประเทศที่เป็นอยู่และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้นนี้ พฤติกรรมของ
ผู้บริโภคได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งผู้บริโภคอาหารต่างให้ความสนใจเกี่ยวกับคุณภาพและมาตร
ฐานอาหารมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการผลิตที่มีความสนใจที่จะผลิตสินค้าอาหารเพื่อจำหน่ายในประเทศ
ควรให้ความสนใจในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของสินค้ามากขึ้นไม่ควรให้ความสำคัญกับเฉพาะอาหารที่
ผลิตเพียงเพื่อการส่งออกเพียงอย่างเดียว
จำนวนของผู้ประกอบการมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ผู้ประกอบการรายใหม่
จึงมีทั้งผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการผลิตสินค้าอาหารอยู่แล้ว แต่เป็นคนละประเภทอาหารที่
หันมาให้ความสนใจที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตอาหารในกลุ่มนี้และผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความ
สนใจที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมในการผลิตสินค้าประเภทอาหารนี้เช่นกัน
ตลาดต่างประเทศโดยภาพรวมที่เป็นอยู่ของอาหารทั้ง 4 ประเภททั้งอาหาร
สำเร็จรูปแบบ Ready to Eat อาหารกึ่งสำเร็จรูปอาหารขบเคี้ยว และเครื่องเทศ/เครื่องปรุงรส ล้วนแต่
เป็นกลุ่มอาหารที่มีศักยภาพที่เจริญเติบโตมากขึ้น ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของกลุ่มผู้
บริโภคในต่างประเทศที่หันมาให้ความนิยมบริโภคอาหารในรูปแบบของประเทศในแถบภาคพื้นเอเซีย
มากขึ้น
ตลาดส่งออกในประเทศต่าง ๆ แม้ว่าจะเป็นตลาดใหญ่ที่มีสัดส่วนของผู้บริโภคค่อน
ข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดในประเทศ แต่จำนวนของคู่แข่งนั้นก็มีอยู่ในจำนวนที่สูงมากเช่นเดียวกัน คู่
แข่งที่มีอยู่นั้นจะเป็นคู่แข่งขันที่มาจากทั้งในประเทศของตลาดส่งออกนั้น ๆ และ/หรือคู่แข่งขันที่มาจาก
ประเทศอื่น ๆ ซึ่งการแข่งขันส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของคุณภาพสินค้าและราคาของสินค้าเป็นหลัก
ที่สำคัญมากที่สุด สำหรับการจำหน่ายสินค้าในตลาดส่งออกต่างๆ คือ เรื่องของช่อง
ทางการจำหน่ายสินค้าและการนำเสนอสินค้าให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในตลาด ณ จุดนี้คงต้อง
อาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐบาลในการที่จะหาช่องทางและวิธีการให้ความช่วยเหลือให้การส่งออกประสบ
ความสำเร็จมากขึ้น
อัตราการขยายตัว และสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกสินค้าแต่ละประเภท ในช่วงปี
2534 ถึง 2538 จากการศึกษาสรุปได้ว่า อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat เป็นประเภทอาหารส่งออก
ที่สำคัญที่สุด โดยมีสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกในปี 2538 สูงถึงร้อยละ 46 รองลงมาคือเครื่องเทศและ
เครื่องปรุงรส ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30 ขณะที่อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารขบเคี้ยว มีสัดส่วนร้อยละ 18
และ 6 ตามลำดับ
4.2 ตลาดหลักและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกสินค้าอาหาร
4.2.1 ตลาดหลักและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกอาหารสำเร็จรูปแบบ
Ready to Eat
(1) อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ชนิดแช่เย็นและแช่แข็ง
ตลาดหลักเพื่อการส่งออกอาหารประเภทนี้ คือ ตลาดส่งออก
ญี่ปุ่นและประเทศในแถบเอเซีย (อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และ
จีน) อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ชนิดแช่เย็นและแช่แข็งส่วน
ใหญ่มากกว่าร้อยละ 47 จะถูกส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ตลาดเป้าหมาย
ที่น่าสนใจ ซึ่งมีศักยภาพในการส่งออกในอนาคตของอาหารกลุ่มนี้ คือ สหรัฐอเมริกา
(2) อาหารกระป๋องสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
ตลาดหลักเพื่อการส่งออกอาหารประเภทนี้คือญี่ปุ่นและประเทศ
ในแถบเอเซียเช่นเดียวกับอาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to eat ชนิดแช่เย็น
และแช่แข็ง โดยพบว่าสินค้าอาหารกระป๋องสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
จำนวนประมาณร้อยละ 40 ถูกส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น และอีกร้อยละ 33 ถูกส่งไป
จำหน่ายยังตลาดในประเทศต่างๆ ในภูมภาคเอเซีย สำหรับตลาดเป้าหมายซึ่งมีศักยภาพ
ในอนาคตนั้น คือ ประเทศฝรั่งเศส
(3) อาหารแห้งสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
อาหารแห้งสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ถูกส่งไปจำหน่ายเฉพาะประเทศ
ในภูมิภาคเอเซียเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ประเทศออสเตรเลียน่าที่จะเป็นตลาดเป้าหมาย
ของการส่งออกอาหารแห้งสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat ในอนาคตได้
4.2.2 ตลาดหลักและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกอาหารกึ่งสำเร็จรูป
(1) อาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดแช่เย็นหรือแช่แข็ง
ตลาดหลักเพื่อการส่งออกอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดแช่เย็นหรือ
แช่แข็งนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศญี่ปุ่นและประเทศในภูมิภาคเอเซีย
เป็นหลักโดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 48.66 และ 35.71 ตามลำดับ ทั้งนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกาน่าจะเป็นตลาดเป้าหมายที่น่าสนใจในอนาคต
(2) อาหารกระป๋องกึ่งสำเร็จรูป
ตลาดหลักเพื่อการส่งออกอาหารกระป๋องกึ่งสำเร็จรูปจะได้แก่
ประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษเท่านั้น โดยยังไม่มีตลาดเป้าหมายที่
น่าสนใจในขณะนี้ จึงยังคงมีเพียง 3 ประเทศดังกล่าวที่เป็นตลาดหลัก
(3) อาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูป
อาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูป ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปจำหน่ายใน
ประเทศในภูมิภาคเอเซียมากที่สุด โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 68 ของ
การส่งออก สำหรับสินค้าในกลุ่มนี้ทั้งหมด รองลงมาจะถูกส่งไปจำหน่าย
ที่ประเทศญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 9.64 โดยมีประเทศในทวีปยุโรปเป็น
ตลาดเป้าหมายที่น่าสนใจในอนาคต อาทิ เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ
สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก
4.2.3 ตลาดหลักและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกอาหารขบเคี้ยว
ตลาดหลักของอาหารขบเคี้ยวในการส่งออกเกือบทั้งหมดเป็นตลาดที่
อยู่ในภูมิภาคเอเซีย อันได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี จีน ฟิลิปปินส์
และ ลาว โดยมีการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ
90.23
4.2.4 ตลาดหลักและตลาดเป้าหมายเพื่อการส่งออกเครื่องเทศและ เครื่องปรุงรส (ยกเว้นผลิตภัณฑ์น้ำปลา)
ตลาดหลักสำหรับสินค้าในประเภทเครื่องเทศและเครื่องปรุงรสที่สำคัญของไทยคือ สหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีสัดส่วนการจำหน่ายสูงที่สุด คือ ร้อยละ 36.32 รองลงมาเป็นตลาดส่งออกออสเตรเลีย ร้อยละ
26.92 ตลาดใหม่ที่น่าสนใจ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เยอรมัน และ ลาว
5. ศักยภาพในการส่งออกอาหารของไทย
5.1 สัดส่วนระหว่างการจำหน่ายในประเทศกับการส่งออก
จากการสำรวจปริมาณการส่งออก พบว่า มีปริมาณการผลิตรวม 195,422 ตันต่อปี
(เฉพาะข้อมูลของผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์) เป็นการส่งออกประมาณ 78,860 ตันต่อปีหรือคิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 40.4
ปริมาณการส่งออกอาหารแต่ละประเภท พบว่า อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to eat
มีปริมาณการส่งออกต่อปีมากที่สุด ประมาณ 60,065 ตันต่อปี รองลงมาคือ เครื่องเทศ/เครื่องปรุงรส
และอาหารกึ่งสำเร็จรูป ประมาณ 14,050 และ 3,875 ตันต่อปี ตามลำดับขณะที่อาหารขบเคี้ยว มี
ปริมาณการส่งออกน้อยที่สุดเพียงประมาณปีละ 870 ตันเท่านั้น
เมื่อพิจารณาสัดส่วนของการส่งออกและการจำหน่ายในประเทศ พบว่า อาหารสำเร็จรูปแบบ Ready to Eat
มีสัดส่วนของการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศสูงที่สุด โดยมีสัดส่วนการส่งออกมากกว่าในกลุ่มอาหารประเภทฃ
อื่นๆ รองลงมาเป็นเครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารขบเคี้ยว
5.2 ทิศทางอุตสาหกรรมการส่งออกอาหารของไทยในอนาคต
อุตสาหกรรมการส่งออกอาหารของไทยในอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้านั้นคาดว่าจะมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
ไม่มากนัก โดยผู้ประกอบการมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือประมาณร้อยละ 54 คาดว่าน่าจะมีการขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ
ร้อยละ 10-15 อย่างไรก็ตาม ถ้าจะมีการขยายตัวในอัตราที่สูงกว่านี้ ก็น่าที่จะเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 50 ทั้งนี้เพราะมีผู้ประกอบการถึงประมาณ
ร้อยละ 23 ที่เห็นว่าน่าจะมีแนวโน้มการขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 ทั้งนี้สามารถสรุป
รายละเอียดความคิดเป็นของผู้ประกอบการเกี่ยวกับทิศทางอุตสาหกรรมการส่งออกอาหารที่ทำการ
ศึกษาของประเทศไทยในอนาคตได้ดังนี้
ทิศทางการเปลี่ยนแปลง สัดส่วนของผู้ประกอบการ (ร้อยละ)
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 54
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 23
ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวหรือมากกว่า 19
คาดว่าขนาดการส่งออกน่าจะเล็กลง 4
-- ยังมีต่อ --