สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลผลิตสุกรมีปริมาณมาก ภาวะตลาดยังไม่ค่อยแจ่มใสและมีแนวโน้มว่าราคาจะลดลงอีก เพราะจะเข้าสู่ช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจในเดือนหน้า
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.44 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 36.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 36.21 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ35.40 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 42.11 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 600 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อมีชีวิตยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง การซื้อขายซบเซาทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยราคาเสนอขายเนื้อไก่ของผู้ส่งออกขณะนี้อยู่ที่ตันละ1,400-1,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นราคาที่ตกต่ำมากในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา แต่แม้ว่าราคาจะตกต่ำ ความต้องการของผู้ซื้อกลับไม่ได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ทางด้านตลาดในประเทศก็มีผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมาก เนื่องจากมีปริมาณลูกไก่เนื้อมากเกินไป จากสาเหตุต่างๆดังกล่าว คาดว่าราคาไก่เนื้อมีโอกาสปรับลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.91 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 22.37 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.35 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 19.57 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 25.49 บาทส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 3.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.04ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.94
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาอ่อนตัวลงเล็กน้อย แต่ภาวะการค้าโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเป็นผลผลิตของไก่ไข่รุ่นใหม่ที่มีขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามราคามีโอกาสปรับลดลงอีก สาเหตุเนื่องจากการที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ ทำให้มีการบริโภคโปรตีนจากสัตว์น้ำทดแทนไข่ไก่มากขึ้นประกอบกับราคาไก่เนื้อที่ตกต่ำทำให้มีการระบายไข่เชื้อของไก่เนื้อออกมาขายแย่งตลาดไข่ไก่
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 172 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 173 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 200 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 164บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 175 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 176 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 217 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 215 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 222 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 218 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 216 บาทและ ภาคใต้ร้อยฟองละ 198 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 267 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 30.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.13 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ข่าว ปศุสัตว์
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำสัปดาห์ 20 - 26 ก.ย. 2542--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลผลิตสุกรมีปริมาณมาก ภาวะตลาดยังไม่ค่อยแจ่มใสและมีแนวโน้มว่าราคาจะลดลงอีก เพราะจะเข้าสู่ช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจในเดือนหน้า
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.44 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 36.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 36.21 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ35.40 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 42.11 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 600 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อมีชีวิตยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง การซื้อขายซบเซาทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยราคาเสนอขายเนื้อไก่ของผู้ส่งออกขณะนี้อยู่ที่ตันละ1,400-1,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นราคาที่ตกต่ำมากในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา แต่แม้ว่าราคาจะตกต่ำ ความต้องการของผู้ซื้อกลับไม่ได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ทางด้านตลาดในประเทศก็มีผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมาก เนื่องจากมีปริมาณลูกไก่เนื้อมากเกินไป จากสาเหตุต่างๆดังกล่าว คาดว่าราคาไก่เนื้อมีโอกาสปรับลดลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.91 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 22.37 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.35 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 19.57 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 25.49 บาทส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 3.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.04ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.94
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาอ่อนตัวลงเล็กน้อย แต่ภาวะการค้าโดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเป็นผลผลิตของไก่ไข่รุ่นใหม่ที่มีขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามราคามีโอกาสปรับลดลงอีก สาเหตุเนื่องจากการที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ ทำให้มีการบริโภคโปรตีนจากสัตว์น้ำทดแทนไข่ไก่มากขึ้นประกอบกับราคาไก่เนื้อที่ตกต่ำทำให้มีการระบายไข่เชื้อของไก่เนื้อออกมาขายแย่งตลาดไข่ไก่
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 172 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 173 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 200 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 164บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 175 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 176 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 217 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 215 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 222 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 218 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 216 บาทและ ภาคใต้ร้อยฟองละ 198 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 267 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 30.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.13 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ข่าว ปศุสัตว์
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 37 ประจำสัปดาห์ 20 - 26 ก.ย. 2542--