คำต่อคำ : นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ รับมอบเป็นหัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ให้ร่วมเสวนาหัวข้อ ‘4 ปี ของประเทศ กับ รัฐบาลพรรคเดียว’ ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) จัดโดยนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดเสวนาประชาธิปไตย ในหัวข้อ โดยมีผู้ร่วมการเสวนาดังนี้คือ ดร.ลิขิต ถิรเวคิน ตัวแทนจากพรรคไทยรักไทย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ ร.ศ.สุขุม นวลสกุล นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และนายภัทระ คำพิทักษ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมี นายบุญเลิศ คชายุทธเดช บรรณาธิการอาวุโสหนังสือพิมพ์มติชน เป็นผู้ดำเนินรายการ
ความจริงหัวข้อที่เราตั้งเอาไว้ ‘4 ปีของประเทศ กับรัฐบาลพรรคเดียว’ มันก็มองได้หลายแง่มุม หลายแนวทาง ทางท่านอาจารย์ลิขิตเองก็มองจากมุมของรัฐบาล ซึ่งก้พยายามแจกแจงให้เราเห็นว่าปัญหาต่อไปที่ต้องเผชิญและรัฐบาลจะต้องดำเนินการเข้าไปจัดการนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งก็เป็นมุมมองที่น่าสนใจ แต่ว่าอย่างไรก็ตามในมุมมองของพวกเรา ในฝ่ายค้านหรือในพรรคประชาธิปัตย์นั้น เราก็มีการพูดคุยกันค่อนข้างมากภายหลังจากการเลือกตั้ง ซึ่งผมจะนำเสนอแนวคิดบางส่วน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมองการเมืองหรือการบริหาราชการแผ่นดินในอีก 4 ปีข้างหน้า
ผมจะไม่ลงลึกไปในเรื่องของนโยบายหรือปัญหาที่เผชิญพวกเราอยู่ในแต่ละด้านว่ารัฐบาลควรจะจัดการอย่างไร เหตุผลเพราะว่าอีกไม่กี่วันก็จะมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่วเวทีตรงนั้นก็จะเป็นเวทีที่จะได้รับทราบอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลจะมีนโยบายในการแก้ปัญหาของประเทศอย่างไร และสมาชิกของรัฐสภาเองคงจะต้องไปอภิปรายกันค่อนข้างมาก ในประเด้นที่ผมเสนอต่อไปนี้นั้น ผมพยายามมองจากผลของการเลือกตั้ง และผลของการบริหาราชการแผ่นดินของรัฐบาลในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มองจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา เมื่อช่วงวันที่ 6 กุทมภาพันธ์ และพยายามที่จะคิด วิเคราะห์ มองสภาพเหตุการณ์ รวมถึงสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 4 ปีข้างหน้า ผมคิดว่ามุมมองเช่นนี้นั้น เป็นมุมมองที่อยากไปถึงพี่น้องประชาชน รวมถึงฝั่งของรัฐบาล ซึ่งอาจจะรับเรื่องนี้ไป และไปประกอบเป็นแนวทางในการทำงานอีก 4 ปีข้างหน้า
เราไม่เชื่อว่ารัฐบาลฝ่ายเดียวจะเป็นคนที่แก้ปัญหาของประเทศชาติได้ และเราก็ไม่เชื่ออีกเช่นเดียวกันว่า รัฐสภาฯ โดย ส.ส. ทั้ง 500 คน เพียงองค์กรหรือสถาบันเดียวที่จะแก้ปัญหาของประเทศชาติได้ เรายังเชื่อมั่นว่า การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมต่อกระบวนการในการแก้ไขปัญหามีความจำเป็น บทบาทของทางรัฐบาล และโดยอย่างยิ่งบทบาทของฝ่ายค้าน จึงจะต้องไม่เป็นฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลของพรรคไทยรักไทย จะต้องไม่เป็นฝ่ายค้านของพรรคประชาธิปัตย์ แต่จะต้องเป็นรัฐลาของประชาชนและเป็นฝ่ายค้านของประชาชน ถ้าทั้ง 2 ฝ่าย ต่างยึดถือแนวทางเช่นนี้ได้ ผมเชื่อว่าเรามีแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศชาติร่วมกันได้ เพราะอย่างน้อยที่สุด เมื่อมองดูตัวเลขจากการเลือกตั้งช่วงวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น ตัวเลขของพรรคไทยรักไทยที่ได้สูงถึง 376 ที่นั่ง บ่งบอกถึงฉันทานุมัติจากประชาชนว่า ประสงค์ให้พรรคไทยรักไทยไปเป็นรัฐบาลเพียงพรรคเดียว ที่เหลือก็ต้องเป็นฝ่ายค้านในสภาฯ พรรคประชาธิปัตย์เองเรายอมรับผลการเลือกตั้งตรงนี้ว่า นี่เป็นผลการเลือกตั้งที่ประชาชนได้ตัดสินใจแล้ว เมื่อยอมรับผลการเลือกตั้งตรงนี้ แนวทางการทำงานของฝ่ายค้านเองก็จะสามารถกำหนดจุดเริ่มต้น การทำงานที่ชัดเจนได้มากขึ้น อย่างน้อยที่สุดในอีก 4 ปีข้างหน้านี้ สิ่งที่จะไม่เกิดแน่ๆ คือ การล้มล้างรัฐลา หรือการช่วงชิงอำนาจ พรรคประชาธิปัตย์ โดยท่านหัวหน้าก็พูดอย่างชัดเจนว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมากก็สามารถทำงานไปได้เลย โดยที่ฝ่ายค้านก็จะทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ทั้งในสภาฯ และการเชื่อมต่อกับทุกภาคส่วน หรือฝ่ายประชาชน หลายฝ่ายก็อาจจะบอกว่านี่เป็นมิติใหม่หรืออย่างไร อันนั้นก็เป็นความเห็นที่บุคคลภายนอกจะมองเข้ามาที่พรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคฝ่ายค้าน
แต่มีสิ่งหนึ่งที่คิดว่าน่าสนใจ และน่าที่ต้องพูดถึงมาก 1.ประเด็นของคนที่ทำงานในสภาฯก็คือ ผลการเลือกตั้งวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา และย้อนกลับไป 4 ปีที่แล้ว เมื่อปี 2544 มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ รัฐธรรมนูญปี 2540 รมต.เมื่อมีความเป็น รมต.แล้ว ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ หมายความว่าคนเป็นรัฐมนตรีก็ต้องพ้นจากสภาฯไปทำหน้าที่ฝ่ายบริหารเต็มตัว ผลจากการที่ลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้น ผมคิดว่ามีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือ อำนาจของการทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร รวมถึงความสนใจของสื่อมวลชนและของภาคประชาชนเองจะเปลี่ยนจากความสนใจในสภาฯไปสู่ความสนใจของฝ่ายบริหารมากขึ้น เราจะเห็นข่าวคราวของฝ่ายสภาฯเงียบหายไป หรือเบาลงในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา อาจจะมีข่าวก็ตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้กระทั่งการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งเป็นเรื่องการจัดสรรทรัพยากรหลักของประเทศ ข่าวคราวที่มีความสนใจกันในภาคส่วนของสังคมน้อยมาก ขณะเดียวกันแนวคิด คำพูด การบริหาร วิวาทะทั้งหลายในภาคการบริหารในส่วนนายกฯ หรือรัฐมนตรีกลับได้รับความสนใจจากองค์กร หรือจากสื่อมวลชน หรือจากภาคอื่นๆมากขึ้น สภาเองดูเหมือนว่าในช่วงหลังๆมา เราก็มีการดำเนินการในแง่ของพฤติกรรม จนกลายเป็นว่า ส.ส.บางคน บอกว่าสภาฯเป็นที่รับรองกฎหมาย ผ่านไปเพื่อให้รัฐบาลได้ไปทำงานเท่านั้น ผมคิดว่าตรงนี้น่าสนใจ เพราะว่ามองตรงนี้ ผมมีความเห็นว่า แต่เดิมการต่อรองผลประโยชน์ระหว่างฝ่ายจัดสรรทรัพยากรคือฝ่ายของรัฐบาล อยู่ในสภาฯ สภาฯประกอบไปด้วยตัวแทนของประชาชน จากการเลือกตั้ง จากทุกเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ แต่วันนี้เมื่อความสนใจในเรื่องนี้ เปลี่ยนจากสภาฯไปอยู่ที่ฝ่ายบริหารทำให้สภาในฐานะตัวแทนปวงชนชาวไทยมีอำนาจในการต่อรองผลประโยชน์เพื่อประชาชนลดน้อยลง อำนาจส่วนนี้ไปอยู่ใน ครม. หรือคณะฝ่ายบริหาร แม้กระทั่งกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี เราจะเห็นแนวโน้ม การจัดสรรงบประมาณที่แต่เดิม ต้องแจกแจงรายละเอียด ส.ส. สามารถตัดงบเพิ่มเติมได้ เพราะ ส.ส.รับรู้ปัญหาของประชาชนเป็นอย่างดี กลับกลายเป็นงบที่ฝ่ายบริหารสามารถนำไปใช้ได้ ฝ่ายบริหารอาจจะบอกว่า เพื่อความสะดวก ในขณะเดียวกันก็ปราศจากการรับรู้ว่าจะไปดำเนินการตรงไหน อย่างไร อย่างที่ท่านทราบในส่วนของงบกลาง หรืองบฉุกเฉิน
ประเด็นนี้นำไปสู่สิ่งที่ผมอยากจะเรียกว่า การจัดสรรทรัพยากรของประเทศห่างออกไปจากตัวแทนของประชาชน ไปอยู่ในมือของฝ่ายบริหารมากขึ้น ผมไม่ได้บอกว่าตรงนี้ดี หรือไม่ดีอย่างไร แต่เป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตาอย่างมาก ประเด็นคือว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝ่ายบริหารเองก็ตอกย้ำการมีอำนาจ ด้วยการจัดสรรงบประมาณให้เห็นอำนาจรัฐว่าจัดจากอำนาจรัฐส่วนกลาง ไปถึงประชาชนโดยตรง ไม่จำเป็นต้องผ่านสภาฯ อย่างเช่นกรณีงบกลาง งบฉุกเฉิน หรืองบกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งนายกฯสามารถใช้จ่ายได้ ปรากฏการณ์นี้น่าสนใจ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไปก็คือ ถ้าโครงสร้างของฝ่ายบริหารประกอบด้วยหลายฝ่าย ก็อาจจะมีความหลากหลายเกิดขึ้น แต่บังเอิญว่า เมื่อเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอีก 4 ปีข้างหน้า นับจากวันนี้ไป คือ ไม่ได้เป็นระบบบริหารแบบพรรคเดียวเท่านั้น แต่เป็นระบบแบบพรรคเดียว คนเดียว ผมย้ำคำว่าระบบพรรคเดียว คนเดียวก็เพราะ นายกฯมีอำนาจเต็ม 4 ปีที่แล้ว ปรับ ครม. 10 ครั้ง นายกฯเองก็ย้ำบอกว่า ผมสามารถปรับรัฐมนตรี สามารถไปทำหน้าที่อะไรก็ได้ แต่ทั้งหมดนั้นตอกย้ำว่า นายกฯมีอำนาจเต็ม เพราะทุกอย่างมาจากโครงสร้างบริหารพรการเมืองพรรคเดียวที่ท่านมีสถานะ ผู้เป็นเสมือนเจ้าของพรรคโดยตรง เมื่อมาเป็นรัฐบาลพรรคเดียวเลยกลายเป็นพรรคเดียว คนเดียว ผมก็ไม่ได้บอกอีกเช่นเดียวกันว่า ตรงนี้ดี หรือไม่ดีอย่างไร ท่านในฐานะประชาชนต้องติดตามต่อไป
ปัญหาเกิดขึ้นอย่างนี้ เมื่อกลายเป็นรัฐบาลพรรคเดียว คนเดียวมีอำนาจเต็มในการจัดสรร การปรับ ครม. จึงกลายเป็นเรื่องที่นายกฯตัดสินใจได้คนเดียว การจัดสรร ครม. ในช่วงนี้ก็เช่นเดียวกัน เมื่อนายกฯมีอำนาจเต็ม นายกฯพูดอะไรไป สั่งการคิดอะไรไป องคาพยพของ ครม. ไปตามนายกฯหมด ปัญหาที่เกิดใน 4 ปีที่แล้ว นายกฯไม่ให้ความสำคัญกับสภามากนัก ท่านมาน้อยมาก พอท่านนายกฯไม่ให้ความสำคัญ รัฐมนตรีก็หายหน้าจากสภาไปด้วย ทั้งๆที่สภาฯมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศ ปัญหาทั้งหมดที่มาจากทั่วประเทศรวมอยู่ในสภา ความจริง ครม.สัญจร ไม่จำเป็นเลยถ้ามารับฟังปัญหาในสภาฯ ยิ่งเที่ยวนี้อีก 4 ปีข้างหน้า ผู้แทนราษฎรจากไทยรักไทยมากที่สุด 376 คน คนเหล่านี้มาจากทุกที่ของประเทศ ถ้า 376 คนบวกกับฝ่ายค้านในสภา สะท้อนปัญหาและรัฐบาลรับฟังอย่างเต็มที่ ผมเชื่อว่าไม่จำเป็นเลยที่ต้องไปประชุม ครม. สัญจร ปัญหาวันนี้คือ รัฐมนตรีเมื่อห่างเหินสภาก็ไม่รับรู้ข้อเท็จจริงในแต่ละพื้นที่ ก็ต้องวิ่งไปหาเอง และไม่แน่ใจว่าจะได้ข้อมูลครบถ้วน นี่คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 4 ปีที่แล้ว และคิดว่าต่อเนื่องไปถึง 4 ปีข้างหน้า
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
ความจริงหัวข้อที่เราตั้งเอาไว้ ‘4 ปีของประเทศ กับรัฐบาลพรรคเดียว’ มันก็มองได้หลายแง่มุม หลายแนวทาง ทางท่านอาจารย์ลิขิตเองก็มองจากมุมของรัฐบาล ซึ่งก้พยายามแจกแจงให้เราเห็นว่าปัญหาต่อไปที่ต้องเผชิญและรัฐบาลจะต้องดำเนินการเข้าไปจัดการนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งก็เป็นมุมมองที่น่าสนใจ แต่ว่าอย่างไรก็ตามในมุมมองของพวกเรา ในฝ่ายค้านหรือในพรรคประชาธิปัตย์นั้น เราก็มีการพูดคุยกันค่อนข้างมากภายหลังจากการเลือกตั้ง ซึ่งผมจะนำเสนอแนวคิดบางส่วน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมองการเมืองหรือการบริหาราชการแผ่นดินในอีก 4 ปีข้างหน้า
ผมจะไม่ลงลึกไปในเรื่องของนโยบายหรือปัญหาที่เผชิญพวกเราอยู่ในแต่ละด้านว่ารัฐบาลควรจะจัดการอย่างไร เหตุผลเพราะว่าอีกไม่กี่วันก็จะมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่วเวทีตรงนั้นก็จะเป็นเวทีที่จะได้รับทราบอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลจะมีนโยบายในการแก้ปัญหาของประเทศอย่างไร และสมาชิกของรัฐสภาเองคงจะต้องไปอภิปรายกันค่อนข้างมาก ในประเด้นที่ผมเสนอต่อไปนี้นั้น ผมพยายามมองจากผลของการเลือกตั้ง และผลของการบริหาราชการแผ่นดินของรัฐบาลในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มองจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา เมื่อช่วงวันที่ 6 กุทมภาพันธ์ และพยายามที่จะคิด วิเคราะห์ มองสภาพเหตุการณ์ รวมถึงสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 4 ปีข้างหน้า ผมคิดว่ามุมมองเช่นนี้นั้น เป็นมุมมองที่อยากไปถึงพี่น้องประชาชน รวมถึงฝั่งของรัฐบาล ซึ่งอาจจะรับเรื่องนี้ไป และไปประกอบเป็นแนวทางในการทำงานอีก 4 ปีข้างหน้า
เราไม่เชื่อว่ารัฐบาลฝ่ายเดียวจะเป็นคนที่แก้ปัญหาของประเทศชาติได้ และเราก็ไม่เชื่ออีกเช่นเดียวกันว่า รัฐสภาฯ โดย ส.ส. ทั้ง 500 คน เพียงองค์กรหรือสถาบันเดียวที่จะแก้ปัญหาของประเทศชาติได้ เรายังเชื่อมั่นว่า การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมต่อกระบวนการในการแก้ไขปัญหามีความจำเป็น บทบาทของทางรัฐบาล และโดยอย่างยิ่งบทบาทของฝ่ายค้าน จึงจะต้องไม่เป็นฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลของพรรคไทยรักไทย จะต้องไม่เป็นฝ่ายค้านของพรรคประชาธิปัตย์ แต่จะต้องเป็นรัฐลาของประชาชนและเป็นฝ่ายค้านของประชาชน ถ้าทั้ง 2 ฝ่าย ต่างยึดถือแนวทางเช่นนี้ได้ ผมเชื่อว่าเรามีแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศชาติร่วมกันได้ เพราะอย่างน้อยที่สุด เมื่อมองดูตัวเลขจากการเลือกตั้งช่วงวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น ตัวเลขของพรรคไทยรักไทยที่ได้สูงถึง 376 ที่นั่ง บ่งบอกถึงฉันทานุมัติจากประชาชนว่า ประสงค์ให้พรรคไทยรักไทยไปเป็นรัฐบาลเพียงพรรคเดียว ที่เหลือก็ต้องเป็นฝ่ายค้านในสภาฯ พรรคประชาธิปัตย์เองเรายอมรับผลการเลือกตั้งตรงนี้ว่า นี่เป็นผลการเลือกตั้งที่ประชาชนได้ตัดสินใจแล้ว เมื่อยอมรับผลการเลือกตั้งตรงนี้ แนวทางการทำงานของฝ่ายค้านเองก็จะสามารถกำหนดจุดเริ่มต้น การทำงานที่ชัดเจนได้มากขึ้น อย่างน้อยที่สุดในอีก 4 ปีข้างหน้านี้ สิ่งที่จะไม่เกิดแน่ๆ คือ การล้มล้างรัฐลา หรือการช่วงชิงอำนาจ พรรคประชาธิปัตย์ โดยท่านหัวหน้าก็พูดอย่างชัดเจนว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมากก็สามารถทำงานไปได้เลย โดยที่ฝ่ายค้านก็จะทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ทั้งในสภาฯ และการเชื่อมต่อกับทุกภาคส่วน หรือฝ่ายประชาชน หลายฝ่ายก็อาจจะบอกว่านี่เป็นมิติใหม่หรืออย่างไร อันนั้นก็เป็นความเห็นที่บุคคลภายนอกจะมองเข้ามาที่พรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคฝ่ายค้าน
แต่มีสิ่งหนึ่งที่คิดว่าน่าสนใจ และน่าที่ต้องพูดถึงมาก 1.ประเด็นของคนที่ทำงานในสภาฯก็คือ ผลการเลือกตั้งวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา และย้อนกลับไป 4 ปีที่แล้ว เมื่อปี 2544 มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ รัฐธรรมนูญปี 2540 รมต.เมื่อมีความเป็น รมต.แล้ว ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ หมายความว่าคนเป็นรัฐมนตรีก็ต้องพ้นจากสภาฯไปทำหน้าที่ฝ่ายบริหารเต็มตัว ผลจากการที่ลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้น ผมคิดว่ามีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือ อำนาจของการทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร รวมถึงความสนใจของสื่อมวลชนและของภาคประชาชนเองจะเปลี่ยนจากความสนใจในสภาฯไปสู่ความสนใจของฝ่ายบริหารมากขึ้น เราจะเห็นข่าวคราวของฝ่ายสภาฯเงียบหายไป หรือเบาลงในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา อาจจะมีข่าวก็ตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้กระทั่งการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งเป็นเรื่องการจัดสรรทรัพยากรหลักของประเทศ ข่าวคราวที่มีความสนใจกันในภาคส่วนของสังคมน้อยมาก ขณะเดียวกันแนวคิด คำพูด การบริหาร วิวาทะทั้งหลายในภาคการบริหารในส่วนนายกฯ หรือรัฐมนตรีกลับได้รับความสนใจจากองค์กร หรือจากสื่อมวลชน หรือจากภาคอื่นๆมากขึ้น สภาเองดูเหมือนว่าในช่วงหลังๆมา เราก็มีการดำเนินการในแง่ของพฤติกรรม จนกลายเป็นว่า ส.ส.บางคน บอกว่าสภาฯเป็นที่รับรองกฎหมาย ผ่านไปเพื่อให้รัฐบาลได้ไปทำงานเท่านั้น ผมคิดว่าตรงนี้น่าสนใจ เพราะว่ามองตรงนี้ ผมมีความเห็นว่า แต่เดิมการต่อรองผลประโยชน์ระหว่างฝ่ายจัดสรรทรัพยากรคือฝ่ายของรัฐบาล อยู่ในสภาฯ สภาฯประกอบไปด้วยตัวแทนของประชาชน จากการเลือกตั้ง จากทุกเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ แต่วันนี้เมื่อความสนใจในเรื่องนี้ เปลี่ยนจากสภาฯไปอยู่ที่ฝ่ายบริหารทำให้สภาในฐานะตัวแทนปวงชนชาวไทยมีอำนาจในการต่อรองผลประโยชน์เพื่อประชาชนลดน้อยลง อำนาจส่วนนี้ไปอยู่ใน ครม. หรือคณะฝ่ายบริหาร แม้กระทั่งกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี เราจะเห็นแนวโน้ม การจัดสรรงบประมาณที่แต่เดิม ต้องแจกแจงรายละเอียด ส.ส. สามารถตัดงบเพิ่มเติมได้ เพราะ ส.ส.รับรู้ปัญหาของประชาชนเป็นอย่างดี กลับกลายเป็นงบที่ฝ่ายบริหารสามารถนำไปใช้ได้ ฝ่ายบริหารอาจจะบอกว่า เพื่อความสะดวก ในขณะเดียวกันก็ปราศจากการรับรู้ว่าจะไปดำเนินการตรงไหน อย่างไร อย่างที่ท่านทราบในส่วนของงบกลาง หรืองบฉุกเฉิน
ประเด็นนี้นำไปสู่สิ่งที่ผมอยากจะเรียกว่า การจัดสรรทรัพยากรของประเทศห่างออกไปจากตัวแทนของประชาชน ไปอยู่ในมือของฝ่ายบริหารมากขึ้น ผมไม่ได้บอกว่าตรงนี้ดี หรือไม่ดีอย่างไร แต่เป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตาอย่างมาก ประเด็นคือว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝ่ายบริหารเองก็ตอกย้ำการมีอำนาจ ด้วยการจัดสรรงบประมาณให้เห็นอำนาจรัฐว่าจัดจากอำนาจรัฐส่วนกลาง ไปถึงประชาชนโดยตรง ไม่จำเป็นต้องผ่านสภาฯ อย่างเช่นกรณีงบกลาง งบฉุกเฉิน หรืองบกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งนายกฯสามารถใช้จ่ายได้ ปรากฏการณ์นี้น่าสนใจ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไปก็คือ ถ้าโครงสร้างของฝ่ายบริหารประกอบด้วยหลายฝ่าย ก็อาจจะมีความหลากหลายเกิดขึ้น แต่บังเอิญว่า เมื่อเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอีก 4 ปีข้างหน้า นับจากวันนี้ไป คือ ไม่ได้เป็นระบบบริหารแบบพรรคเดียวเท่านั้น แต่เป็นระบบแบบพรรคเดียว คนเดียว ผมย้ำคำว่าระบบพรรคเดียว คนเดียวก็เพราะ นายกฯมีอำนาจเต็ม 4 ปีที่แล้ว ปรับ ครม. 10 ครั้ง นายกฯเองก็ย้ำบอกว่า ผมสามารถปรับรัฐมนตรี สามารถไปทำหน้าที่อะไรก็ได้ แต่ทั้งหมดนั้นตอกย้ำว่า นายกฯมีอำนาจเต็ม เพราะทุกอย่างมาจากโครงสร้างบริหารพรการเมืองพรรคเดียวที่ท่านมีสถานะ ผู้เป็นเสมือนเจ้าของพรรคโดยตรง เมื่อมาเป็นรัฐบาลพรรคเดียวเลยกลายเป็นพรรคเดียว คนเดียว ผมก็ไม่ได้บอกอีกเช่นเดียวกันว่า ตรงนี้ดี หรือไม่ดีอย่างไร ท่านในฐานะประชาชนต้องติดตามต่อไป
ปัญหาเกิดขึ้นอย่างนี้ เมื่อกลายเป็นรัฐบาลพรรคเดียว คนเดียวมีอำนาจเต็มในการจัดสรร การปรับ ครม. จึงกลายเป็นเรื่องที่นายกฯตัดสินใจได้คนเดียว การจัดสรร ครม. ในช่วงนี้ก็เช่นเดียวกัน เมื่อนายกฯมีอำนาจเต็ม นายกฯพูดอะไรไป สั่งการคิดอะไรไป องคาพยพของ ครม. ไปตามนายกฯหมด ปัญหาที่เกิดใน 4 ปีที่แล้ว นายกฯไม่ให้ความสำคัญกับสภามากนัก ท่านมาน้อยมาก พอท่านนายกฯไม่ให้ความสำคัญ รัฐมนตรีก็หายหน้าจากสภาไปด้วย ทั้งๆที่สภาฯมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศ ปัญหาทั้งหมดที่มาจากทั่วประเทศรวมอยู่ในสภา ความจริง ครม.สัญจร ไม่จำเป็นเลยถ้ามารับฟังปัญหาในสภาฯ ยิ่งเที่ยวนี้อีก 4 ปีข้างหน้า ผู้แทนราษฎรจากไทยรักไทยมากที่สุด 376 คน คนเหล่านี้มาจากทุกที่ของประเทศ ถ้า 376 คนบวกกับฝ่ายค้านในสภา สะท้อนปัญหาและรัฐบาลรับฟังอย่างเต็มที่ ผมเชื่อว่าไม่จำเป็นเลยที่ต้องไปประชุม ครม. สัญจร ปัญหาวันนี้คือ รัฐมนตรีเมื่อห่างเหินสภาก็ไม่รับรู้ข้อเท็จจริงในแต่ละพื้นที่ ก็ต้องวิ่งไปหาเอง และไม่แน่ใจว่าจะได้ข้อมูลครบถ้วน นี่คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 4 ปีที่แล้ว และคิดว่าต่อเนื่องไปถึง 4 ปีข้างหน้า
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-