กรุงเทพ--5 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
อนุสนธิข่าวสารนิเทศที่ 785/2541 เรื่อง กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) จะจัดงาน "ราตรีผ้าไทย" ในวันที่ 6 สิงหาคมศกนี้ ที่กระทรวงการต่างประเทศ วังสราญรมย์ เวลา 18.00-20.00 นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอสรุปข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผ้าไทย ดังต่อไปนี้
1.สถานะของ "ผ้าไทย" ในความหมายของหัตถกรรมพื้นบ้าน (ผ้าไหม ผ้าฝ้ายผ้าทอมือต่าง ๆ ) คือ
- การผลิตมีลักษณะเป็นการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน หรือขายเพียงเล็กน้อยในหมู่บ้าน ไม่มีการตลาดที่เป็นระบบทั้งในและนอกประเทศ
- การผลิต "ผ้าไทย" น้อยลงมาก เนื่องจากไม่มีการพัฒนาตลาด และไม่สามารถแข่งขันได้กับผ้าที่ผลิตจากโรงงาน ทั้งในแง่ราคา ความคงทน การดูแลรักษา เวลาที่ใช้ในการผลิต นอกจากนี้ คนรุ่นเก่าที่นิยมใช้ผ้าทอมือเริ่มหมดไปแล้ว
- ในช่วงหลัง เริ่มมีการส่งเสริมการใช้ผ้าไทย และทางราชการเริ่มส่งเสริมอาชีพทอผ้า จึงเริ่มมีการพัฒนาตลาดมากขึ้น แต่ตลาดในประเทศยังจำกัดอยู่เฉพาะคนในท้องถิ่นและคนจากกรุงเทพฯ ที่ใช้ผ้าไทยในโอกาสสำคัญเท่านั้น และผ้าไทยเหล่านี้ยังต้องแข่งขันกับผ้าโพลีเอสเตอร์จากโรงงาน (ซึ่งมี import content ไม่มากก็น้อย) ที่มีลวดลายเลียนแบบผ้าไทย ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าผ้าไทยทอมือ เนื่องจากราคาถูก ดูแลรักษาง่ายกว่า
- ตลาดต่างประเทศยังแคบมาก แบ่งเป็น 1)นักท่องเที่ยว จะซื้อผ้าที่ทำเป็นของที่ระลึก หรือผ้าใช้งาน (เช่น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่) หรือชุดสำเร็จรูป และ 2)ตลาดส่งออกมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นผ้าผืนเพื่อใช้เป็นเคหะสิ่งทอ มากกว่าเพื่อเป็นเครื่องแต่งกาย เนื่องจากดูแลรักษายาก สีตก และไม่มีคนทำตลาดอย่างเป็นระบบ จึงติดปัญหาโควต้าในการส่งออก
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งดูแลการส่งเสริมผ้าไทยโดยตรง มีความเห็นว่า การส่งออกผ้าไทยยังทำได้ยาก เพราะต้องพัฒนาคุณภาพ และรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ แต่ยังน่าจะส่งเสริมตลาดภายในประเทศและตลาดนักท่องเที่ยวได้ โดยต้องพยายามเสริมสร้างค่านิยมในประเทศ
- กระทรวงพาณิชย์ไม่มีสถิติการส่งออกไหมไทย / ผ้าไทย / เสื้อสำเร็จรูป ที่ทำจากผ้าไทย เนื่องจากไม่ใช้สินค้าเป้าหมาย 250 ตัวแรก สถิติที่อาจเกี่ยวข้อง มีดังนี้
- ด้ายฝ้าย ปี 2540 ส่งออก 4584.5 ล้านบาท ปี 2541 (มค.-พค.) ส่งออก 2227.4 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 61.7 และ 53.2 ตามลำดับ
- เคหะสิ่งทอ ปี 2540 ส่งออก 4419.4 ล้านบาท ปี 2541 (มค.-พค.) ส่งออก 1984.5 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 42.2 และ 78.9 ตามลำดับ
- ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ (ไม่จำเป็นต้องเป็นผ้าไทย) ปี 2540 ส่งออก 454.1 ล้านบาท ปี 2541 (มค.-พค.) ส่งออก 60.1 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 9.9 และ -65.7 ตามลำดับ
- เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอ (ไม่จำเป็นต้องเป็นผ้าไทย) ปี 2540 ส่งออก 46,1034.4 ล้านบาท ปี 2541 (มค.-พค.) ส่งออก 23,081.4 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 54.3 ตามลำดับ
- แผนแม่บทปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมกำหนดให้อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็น 1 ใน 11 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะปรับโครงสร้าง แต่เน้นการปรับปรุงสิ่งทอในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อส่งออก ตามยี่ห้อ (brand) /คำสั่งซื้อจากต่างประเทศมากกว่า "ผ้าไทย" พื้นบ้าน
2.การนำเข้าผ้าจากต่างประเทศไทย
- ผ้าทอด้วยขนสัตว์ เป็นสินค้านำเข้าฟุ่มเฟือย 1 ใน 17 รายการในเดือนมีนาคม 2541 มีมูลค่านำเข้า 4.98 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยอันดับ 2 และในเดือนเมษายน 2541 มีมูลค่านำเข้า 5.38 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยอันดับ 1 มูลค่าการนำเข้าเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมและเมษายน 2540 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.36 และ 12.71 ตามลำดับ
สูท เสื้อ กระโปรง กางเกง สำหรับบุรุษ สตรี เด็กชาย เด็กหญิง และเนคไท ในปี 2540 นำเข้า 3385.8 ล้านบาท และปี 2541 (มค.-พค.) นำเข้า 1024.7 ล้านบาท เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีอัตราการนำเข้าลดลงมาก คือ ลดลงร้อยละ 56.07 ในเดือนมีนาคม 2541 เมื่อเทีบกับเดือนมีนาคม 2540
- การนำเข้าผ้าผืน ด้าย เส้นใย (ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อการผลิตเสื้อผ้าเพื่อส่งออก) ในปี 2540 นำเข้า 51,029.2 ล้านบาท และปี 2541 (มค.-พค.) นำเข้า 28,718.2 ล้านบาท อัตราการนำเข้าขยายตัวร้อยละ -0.2 และ 46.0 ตามลำดับ
3.วัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจของการจัดงานราตรีผ้าไทย
- การจัดงานราตรีผ้าไทย มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่ง เพื่อปรับเปลี่ยนความนิยมของผู้บริโภคในประเทศ โดยการกระตุ้นจิตสำนึกของคนในประเทศให้นิยมใช้ผ้าไทยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยทดแทนการนำเข้าผ้า/เครื่องแต่งกายจากต่างประเทศ และเพิ่มการผลิตผ้าไทยในประเทศ
- อาจกล่าวได้ว่าการจัดงานราตรีผ้าไทย สอดคล้องกับแผนแม่บทปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (2541-2545) ซึ่งมุ่งการผลิตสินค้าระดับกลางและสูง ที่มีมูลค่าเพิ่มและมีมาตรฐานคุณภาพสูงขึ้น และกระจายการผลิตไปสู่ภูมิภาค และชนบท
- สอดคล้องกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" ตามแนวทางพระราชดำริ เพื่อรองรับคนว่างงานจากเมืองที่โยกย้ายกลับถิ่นฐานเดิมในชนบท
- สิ่งทอ/เครื่องนุ่งห่มไทยในภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (ซึ่งเป็นคนละ sector กับผ้าไทยในเชิงหัตถกรรม) ประสบปัญหาจากความสามารถในการแข่งขันลดลงด้วย สาเหตุต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาค่าแรงที่สูงขึ้น แต่ค่าแรงไม่จำเป็นต้องเป็นปัจจัยฉุด เพราะหลายประเทศ เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ มีค่าแรงสูงกว่าไทย แต่ก็ยังมีการส่งออกสิ่งทอมาก เพราะประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาการตาด มีการสร้าง brand name ของสินค้า การส่งเสริมการขายและการหาตลาดใหม่ ซึ่งการจัดงานราตรีผ้าไทย น่าจะช่วยสร้างการยอมรับของตลาดต่างประเทศถึงคุณภาพของสิ่งทอไทย จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าจะช่วยส่งเสริมการขาย สร้าง brand name และยกระดับตลาดของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
อนุสนธิข่าวสารนิเทศที่ 785/2541 เรื่อง กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) จะจัดงาน "ราตรีผ้าไทย" ในวันที่ 6 สิงหาคมศกนี้ ที่กระทรวงการต่างประเทศ วังสราญรมย์ เวลา 18.00-20.00 นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอสรุปข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผ้าไทย ดังต่อไปนี้
1.สถานะของ "ผ้าไทย" ในความหมายของหัตถกรรมพื้นบ้าน (ผ้าไหม ผ้าฝ้ายผ้าทอมือต่าง ๆ ) คือ
- การผลิตมีลักษณะเป็นการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน หรือขายเพียงเล็กน้อยในหมู่บ้าน ไม่มีการตลาดที่เป็นระบบทั้งในและนอกประเทศ
- การผลิต "ผ้าไทย" น้อยลงมาก เนื่องจากไม่มีการพัฒนาตลาด และไม่สามารถแข่งขันได้กับผ้าที่ผลิตจากโรงงาน ทั้งในแง่ราคา ความคงทน การดูแลรักษา เวลาที่ใช้ในการผลิต นอกจากนี้ คนรุ่นเก่าที่นิยมใช้ผ้าทอมือเริ่มหมดไปแล้ว
- ในช่วงหลัง เริ่มมีการส่งเสริมการใช้ผ้าไทย และทางราชการเริ่มส่งเสริมอาชีพทอผ้า จึงเริ่มมีการพัฒนาตลาดมากขึ้น แต่ตลาดในประเทศยังจำกัดอยู่เฉพาะคนในท้องถิ่นและคนจากกรุงเทพฯ ที่ใช้ผ้าไทยในโอกาสสำคัญเท่านั้น และผ้าไทยเหล่านี้ยังต้องแข่งขันกับผ้าโพลีเอสเตอร์จากโรงงาน (ซึ่งมี import content ไม่มากก็น้อย) ที่มีลวดลายเลียนแบบผ้าไทย ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าผ้าไทยทอมือ เนื่องจากราคาถูก ดูแลรักษาง่ายกว่า
- ตลาดต่างประเทศยังแคบมาก แบ่งเป็น 1)นักท่องเที่ยว จะซื้อผ้าที่ทำเป็นของที่ระลึก หรือผ้าใช้งาน (เช่น ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่) หรือชุดสำเร็จรูป และ 2)ตลาดส่งออกมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นผ้าผืนเพื่อใช้เป็นเคหะสิ่งทอ มากกว่าเพื่อเป็นเครื่องแต่งกาย เนื่องจากดูแลรักษายาก สีตก และไม่มีคนทำตลาดอย่างเป็นระบบ จึงติดปัญหาโควต้าในการส่งออก
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งดูแลการส่งเสริมผ้าไทยโดยตรง มีความเห็นว่า การส่งออกผ้าไทยยังทำได้ยาก เพราะต้องพัฒนาคุณภาพ และรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ แต่ยังน่าจะส่งเสริมตลาดภายในประเทศและตลาดนักท่องเที่ยวได้ โดยต้องพยายามเสริมสร้างค่านิยมในประเทศ
- กระทรวงพาณิชย์ไม่มีสถิติการส่งออกไหมไทย / ผ้าไทย / เสื้อสำเร็จรูป ที่ทำจากผ้าไทย เนื่องจากไม่ใช้สินค้าเป้าหมาย 250 ตัวแรก สถิติที่อาจเกี่ยวข้อง มีดังนี้
- ด้ายฝ้าย ปี 2540 ส่งออก 4584.5 ล้านบาท ปี 2541 (มค.-พค.) ส่งออก 2227.4 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 61.7 และ 53.2 ตามลำดับ
- เคหะสิ่งทอ ปี 2540 ส่งออก 4419.4 ล้านบาท ปี 2541 (มค.-พค.) ส่งออก 1984.5 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 42.2 และ 78.9 ตามลำดับ
- ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ (ไม่จำเป็นต้องเป็นผ้าไทย) ปี 2540 ส่งออก 454.1 ล้านบาท ปี 2541 (มค.-พค.) ส่งออก 60.1 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 9.9 และ -65.7 ตามลำดับ
- เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอ (ไม่จำเป็นต้องเป็นผ้าไทย) ปี 2540 ส่งออก 46,1034.4 ล้านบาท ปี 2541 (มค.-พค.) ส่งออก 23,081.4 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 54.3 ตามลำดับ
- แผนแม่บทปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมกำหนดให้อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็น 1 ใน 11 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะปรับโครงสร้าง แต่เน้นการปรับปรุงสิ่งทอในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อส่งออก ตามยี่ห้อ (brand) /คำสั่งซื้อจากต่างประเทศมากกว่า "ผ้าไทย" พื้นบ้าน
2.การนำเข้าผ้าจากต่างประเทศไทย
- ผ้าทอด้วยขนสัตว์ เป็นสินค้านำเข้าฟุ่มเฟือย 1 ใน 17 รายการในเดือนมีนาคม 2541 มีมูลค่านำเข้า 4.98 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยอันดับ 2 และในเดือนเมษายน 2541 มีมูลค่านำเข้า 5.38 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยอันดับ 1 มูลค่าการนำเข้าเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมและเมษายน 2540 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.36 และ 12.71 ตามลำดับ
สูท เสื้อ กระโปรง กางเกง สำหรับบุรุษ สตรี เด็กชาย เด็กหญิง และเนคไท ในปี 2540 นำเข้า 3385.8 ล้านบาท และปี 2541 (มค.-พค.) นำเข้า 1024.7 ล้านบาท เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีอัตราการนำเข้าลดลงมาก คือ ลดลงร้อยละ 56.07 ในเดือนมีนาคม 2541 เมื่อเทีบกับเดือนมีนาคม 2540
- การนำเข้าผ้าผืน ด้าย เส้นใย (ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อการผลิตเสื้อผ้าเพื่อส่งออก) ในปี 2540 นำเข้า 51,029.2 ล้านบาท และปี 2541 (มค.-พค.) นำเข้า 28,718.2 ล้านบาท อัตราการนำเข้าขยายตัวร้อยละ -0.2 และ 46.0 ตามลำดับ
3.วัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจของการจัดงานราตรีผ้าไทย
- การจัดงานราตรีผ้าไทย มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่ง เพื่อปรับเปลี่ยนความนิยมของผู้บริโภคในประเทศ โดยการกระตุ้นจิตสำนึกของคนในประเทศให้นิยมใช้ผ้าไทยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยทดแทนการนำเข้าผ้า/เครื่องแต่งกายจากต่างประเทศ และเพิ่มการผลิตผ้าไทยในประเทศ
- อาจกล่าวได้ว่าการจัดงานราตรีผ้าไทย สอดคล้องกับแผนแม่บทปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (2541-2545) ซึ่งมุ่งการผลิตสินค้าระดับกลางและสูง ที่มีมูลค่าเพิ่มและมีมาตรฐานคุณภาพสูงขึ้น และกระจายการผลิตไปสู่ภูมิภาค และชนบท
- สอดคล้องกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" ตามแนวทางพระราชดำริ เพื่อรองรับคนว่างงานจากเมืองที่โยกย้ายกลับถิ่นฐานเดิมในชนบท
- สิ่งทอ/เครื่องนุ่งห่มไทยในภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (ซึ่งเป็นคนละ sector กับผ้าไทยในเชิงหัตถกรรม) ประสบปัญหาจากความสามารถในการแข่งขันลดลงด้วย สาเหตุต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาค่าแรงที่สูงขึ้น แต่ค่าแรงไม่จำเป็นต้องเป็นปัจจัยฉุด เพราะหลายประเทศ เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ มีค่าแรงสูงกว่าไทย แต่ก็ยังมีการส่งออกสิ่งทอมาก เพราะประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาการตาด มีการสร้าง brand name ของสินค้า การส่งเสริมการขายและการหาตลาดใหม่ ซึ่งการจัดงานราตรีผ้าไทย น่าจะช่วยสร้างการยอมรับของตลาดต่างประเทศถึงคุณภาพของสิ่งทอไทย จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าจะช่วยส่งเสริมการขาย สร้าง brand name และยกระดับตลาดของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--