คณะรัฐมนตรีในการประชุมที่จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2548 ได้มีมติรับทราบ
แผนการลงทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548-2552 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. วงเงินลงทุนรวมในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบวงเงินลงทุนรวมในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ
ซึ่งจะดำเนินงานในช่วงปี 2548-2552 เป็นเงิน 1,701 พันล้านบาท โดยมีรายละเอียดของ
การลงทุนในสาขาเศรษฐกิจต่างๆ 7 สาขา แยกเป็นรายปี ดังนี้
หน่วย: พันล้านบาท
สาขา 2548 2549 2550 2551 2552 2548-2552 สัดส่วน
Mass Transit 1.13 46.61 98.06 143.64 133.99 423.43 25%
คมนาคม 34.72 48.42 81.4 80.24 83.83 328.61 19%
ที่อยู่อาศัย 14.81 54.32 64.06 57.18 23.43 213.8 12%
ทรัพยากรน้ำ 0 38.12 53.96 53.96 53.96 200 12%
การศึกษา 0.2 13.98 27.44 27.43 27.38 96.43 6%
สาธารณสุข 1.6 12 29.21 27.31 26.27 96.39 6%
อื่นๆ 14.83 41.9 73.39 96.4 115.57 342.09 20%
รวมทั้งสิ้น 67.29 255.35 427.52 486.16 464.43 1,700.75 100%
หมายเหตุ : ไม่รวมโครงการ Ongoing ที่ดำเนินการก่อนปี 2548 และยังคงดำเนินการต่อเนื่อง
ในช่วงปี 2548-2552
2. แนวทางการระดมทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548-2552
คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนการระดมทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548-2552
โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนเงินที่จะจัดสรรจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีร้อยละ 39 ของ
วงเงินลงทุนทั้งหมด เงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13 เงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ร้อยละ 42 และการระดมทุนโดยวิธีอื่นๆ อีกร้อยละ 6 โดยมีรายละเอียดของแหล่งเงินลงทุน ดังนี้
หน่วย : พันล้านบาท
แหล่งเงินลงทุน 2548 2549 2550 2551 2552 2548-2552 สัดส่วน
งบประมาณ 9.26 94.6 180.25 193.82 180.01 657.94 39%
รายได้รัฐวิสาหกิจ 18.74 37.19 47.86 62.92 55.57 222.28 13%
เงินกู้
- เงินกู้ในประเทศ 23.76 75.37 112.48 119.33 79.09 410.03 24%
- เงินกู้ต่างประเทศ 15.52 38.63 62.14 76.02 112.72 305.03 18%
อื่นๆ 0 9.56 24.8 34.07 37.04 105.47 6%
รวม 67.28 255.35 427.53 486.16 464.43 1,700.75 100%
3. ผลกระทบจากการลงทุน
ผลกระทบต่อ GDP คาดว่า การลงทุนดังกล่าวจะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจ
เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเป็นร้อยละ 5.48 ในช่วงปี 2548-2552
ผลกระทบต่อกรอบความยั่งยืนทางการคลัง คาดว่าการลงทุนดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อกรอบความ
ยั่งยืนทางการคลัง โดยจะยังคงดำเนินนโยบายงบประมาณแบบสมดุล ทั้งนี้ หนี้สาธารณะต่อ GDP จะทยอยลดลง
ตามลำดับและอยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 50 และภาระหนี้ต่องบประมาณ จะอยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 15
ผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด ในช่วงปี 2548-2552 คาดว่าการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่จะ
ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเฉลี่ยร้อยละ 1.6 ต่อ GDP ถึงแม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลเพิ่มขึ้นบ้าง แต่
โครงการลงทุนดังกล่าวมีความจำเป็นในระยะยาว เพราะการลงทุนในโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ (Mass
Transit) และการขนส่งในระบบรางอื่นๆ จะส่งผลให้ลดการนำเข้าน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของประ
เทศในระยะต่อไปปรับตัวดีขึ้นในที่สุด
4. การจัดสรรงบประมาณและกลยุทธ์การระดมทุน
คณะรัฐมนตรีรับทราบการจัดสรรงบประมาณและกลยุทธ์การระดมทุน สำหรับโครงการลงทุนขนาด
ใหญ่ของภาครัฐ ดังนี้
การจัดสรรงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2549 จะมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการลงทุน
ขนาดใหญ่เป็นเงินรวม 94.,600.8 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
Mass Transit 11,845.20 ล้านบาท
คมนาคม 12,507.90 ”
ที่อยู่อาศัย 6,000.00 ”
ทรัพยากรน้ำ 38,124.50 ”
การศึกษา 13,527.00 ”
สาธารณสุข 12,000.00 ”
อื่นๆ 596.2 ”
รวม 94,600.80 ”
กรอบการบริหารจัดการหนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมของแหล่งเงินกู้
ทั้งจากแหล่งภายในประเทศโดยการออกพันธบัตรหรือตราสารหนี้อื่น และจากต่างประเทศ ส่วนหนึ่ง เพื่อนำมา
ชดเชยการนำเข้า (Import Content) ส่วนในระยะปานกลาง จะเร่งสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดตรา
สารหนี้ในประเทศ ภายใต้ Asian Bond Market Framework เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติให้เข้ามาลง
ทุนในตลาดตราสารหนี้ในประเทศ นอกจากนั้น จะมีการจัดทำ Exit Plan เพื่อบริหารหนี้ และลดความเสี่ยง
จากอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนเงินทุนหรือรายได้ของรัฐวิสาหกิจ โดยการระดม
ทุนจากตลาดหลักทรัพย์ และการนำนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ มาใช้ เช่น การทำ Securitization และ
การพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล
5. แนวทางในการดำเนินโครงการ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการดำเนินโครงการ โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัด และหน่วยงานเจ้า
ของโครงการ เร่งรัดการขออนุมัติโครงการ รวมทั้ง เร่งรัดการศึกษาและออกแบบ และการพิจารณาผลกระ
ทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Accessment : EIA) ทั้งนี้ ในการพิจารณาจัดสรรงบ
ประมาณจะพิจารณาถึงความพร้อมของหน่วยงานในการดำเนินโครงการทั้งในด้านการจัดเตรียมโครงการ
(Project Design and Preparation) และความสามารถในการดำเนินงาน (Implementation
Capacity) ด้วย
6. ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่
แผนการลงทุน จะรวมถึงสายทางที่จะลงทุนโดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การ
รถไฟแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร รวม 7 สายทาง มีวงเงินลงทุนรวม 555,737 ล้านบาท เป็น
การลงทุนในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน (Civil Works) จำนวน 424,437 ล้านบาท และการลงทุนในระบบ
รถไฟฟ้า (Rolling Stocks) จำนวน 131,300 ล้านบาท ดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
สาย 2548 2549 2550 2251 2552 2548-2552 2553-2555 รวม
1. สายสีม่วง 921 12,862 16,657 25,834 31,854 88,128 23,708 111,836
2. สายสีน้ำเงิน 106 5,049 8,900 13,071 23,515 50,641 24,362 75,003
3. สายสีส้ม 107 5,311 8,741 13,917 24,436 52,512 30,176 82,688
4. สายสีแดงเข้ม - 9,896 32,998 32,270 19,145 94,309 - 94,309
5. สายสีแดงอ่อน - 3,230 12,509 40,019 13,720 69,478 36,914 106,392
รวม 1,134 36,348 79,805 125,111 112,670 355,068 115,160 470,228
6. สายสีเขียวอ่อน - 4,323 11,914 12,312 14,643 43,192 12,369 55,561
7. สายสีเขียวเข้ม - 5,934 6,338 6,220 6,678 25,170 4,778 29,948
รวมทั้งสิ้น 1,134 46,605 98,057 143,643 133,991 423,430 132,307 555,737
- ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Civil Works) รัฐบาลเป็นผู้รับภาระการลงทุนในส่วนของ
โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ยกเว้นในส่วนสายสีเขียว ซึ่งรัฐบาลกลางและกรุงเทพมหานครจะร่วม
กันรับภาระการลงทุน สำหรับสัดส่วนการระดมทุนคาดว่าจะใช้เงินงบประมาณร้อยละ 30 และเงินกู้ร้อยละ 70
ดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
แหล่งเงินลงทุน 2548 2549 2550 2551 2552 2548 -2552 2553 - 2555 รวม
งบประมาณ (30%) 1,134 11,845 23,442 34,336 29,611 100,368 27,757 128,125
เงินกู้ในประเทศ (40%) - 15,794 31,256 45,780 39,481 132,311 37,010 169,321
เงินกู้ต่างประเทศ (30%) - 11,845 23,442 34,336 29,611 99,234 27,757 126,991
รวม Civil Works 1,134 39,484 78,140 114,452 98,703 331,913 92,524 424,437
- ระบบรถไฟฟ้าและการเดินรถ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาจัดตั้ง
Holding Company เพื่อลงทุนและบริหารระบบรถไฟฟ้าให้เป็นแบบ Single Operator/ Joint Owner โดย
ให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้รับสัมปทานเข้ามาร่วมลงทุนใน Holding Company และบริหารการเดินรถ
ให้เชื่อมโยงและเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งระบบ ทำให้ผู้ใช้บริการเสียค่าเข้าระบบเพียงครั้งเดียว มีต้นทุนบริหาร
งานต่ำ และมีการแบ่งผลประโยชน์จากส่วนต่อขยายให้แก่รัฐและผู้รับสัมปทานรายเดิมอย่างเป็นธรรม
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ
กำกับ ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้ง ปรับปรุงแผนงาน ตามความจำ
เป็นและความเหมาะสม โดยอยู่ในกรอบวงเงินข้างต้น และรายงานให้ ครม. ทราบเป็นระยะๆ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 43/2548 14 มิถุนายน 48--
แผนการลงทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548-2552 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. วงเงินลงทุนรวมในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบวงเงินลงทุนรวมในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ
ซึ่งจะดำเนินงานในช่วงปี 2548-2552 เป็นเงิน 1,701 พันล้านบาท โดยมีรายละเอียดของ
การลงทุนในสาขาเศรษฐกิจต่างๆ 7 สาขา แยกเป็นรายปี ดังนี้
หน่วย: พันล้านบาท
สาขา 2548 2549 2550 2551 2552 2548-2552 สัดส่วน
Mass Transit 1.13 46.61 98.06 143.64 133.99 423.43 25%
คมนาคม 34.72 48.42 81.4 80.24 83.83 328.61 19%
ที่อยู่อาศัย 14.81 54.32 64.06 57.18 23.43 213.8 12%
ทรัพยากรน้ำ 0 38.12 53.96 53.96 53.96 200 12%
การศึกษา 0.2 13.98 27.44 27.43 27.38 96.43 6%
สาธารณสุข 1.6 12 29.21 27.31 26.27 96.39 6%
อื่นๆ 14.83 41.9 73.39 96.4 115.57 342.09 20%
รวมทั้งสิ้น 67.29 255.35 427.52 486.16 464.43 1,700.75 100%
หมายเหตุ : ไม่รวมโครงการ Ongoing ที่ดำเนินการก่อนปี 2548 และยังคงดำเนินการต่อเนื่อง
ในช่วงปี 2548-2552
2. แนวทางการระดมทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548-2552
คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนการระดมทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในช่วงปี 2548-2552
โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนเงินที่จะจัดสรรจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีร้อยละ 39 ของ
วงเงินลงทุนทั้งหมด เงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13 เงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ร้อยละ 42 และการระดมทุนโดยวิธีอื่นๆ อีกร้อยละ 6 โดยมีรายละเอียดของแหล่งเงินลงทุน ดังนี้
หน่วย : พันล้านบาท
แหล่งเงินลงทุน 2548 2549 2550 2551 2552 2548-2552 สัดส่วน
งบประมาณ 9.26 94.6 180.25 193.82 180.01 657.94 39%
รายได้รัฐวิสาหกิจ 18.74 37.19 47.86 62.92 55.57 222.28 13%
เงินกู้
- เงินกู้ในประเทศ 23.76 75.37 112.48 119.33 79.09 410.03 24%
- เงินกู้ต่างประเทศ 15.52 38.63 62.14 76.02 112.72 305.03 18%
อื่นๆ 0 9.56 24.8 34.07 37.04 105.47 6%
รวม 67.28 255.35 427.53 486.16 464.43 1,700.75 100%
3. ผลกระทบจากการลงทุน
ผลกระทบต่อ GDP คาดว่า การลงทุนดังกล่าวจะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจ
เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเป็นร้อยละ 5.48 ในช่วงปี 2548-2552
ผลกระทบต่อกรอบความยั่งยืนทางการคลัง คาดว่าการลงทุนดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อกรอบความ
ยั่งยืนทางการคลัง โดยจะยังคงดำเนินนโยบายงบประมาณแบบสมดุล ทั้งนี้ หนี้สาธารณะต่อ GDP จะทยอยลดลง
ตามลำดับและอยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 50 และภาระหนี้ต่องบประมาณ จะอยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 15
ผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด ในช่วงปี 2548-2552 คาดว่าการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่จะ
ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเฉลี่ยร้อยละ 1.6 ต่อ GDP ถึงแม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลเพิ่มขึ้นบ้าง แต่
โครงการลงทุนดังกล่าวมีความจำเป็นในระยะยาว เพราะการลงทุนในโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ (Mass
Transit) และการขนส่งในระบบรางอื่นๆ จะส่งผลให้ลดการนำเข้าน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของประ
เทศในระยะต่อไปปรับตัวดีขึ้นในที่สุด
4. การจัดสรรงบประมาณและกลยุทธ์การระดมทุน
คณะรัฐมนตรีรับทราบการจัดสรรงบประมาณและกลยุทธ์การระดมทุน สำหรับโครงการลงทุนขนาด
ใหญ่ของภาครัฐ ดังนี้
การจัดสรรงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2549 จะมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการลงทุน
ขนาดใหญ่เป็นเงินรวม 94.,600.8 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
Mass Transit 11,845.20 ล้านบาท
คมนาคม 12,507.90 ”
ที่อยู่อาศัย 6,000.00 ”
ทรัพยากรน้ำ 38,124.50 ”
การศึกษา 13,527.00 ”
สาธารณสุข 12,000.00 ”
อื่นๆ 596.2 ”
รวม 94,600.80 ”
กรอบการบริหารจัดการหนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมของแหล่งเงินกู้
ทั้งจากแหล่งภายในประเทศโดยการออกพันธบัตรหรือตราสารหนี้อื่น และจากต่างประเทศ ส่วนหนึ่ง เพื่อนำมา
ชดเชยการนำเข้า (Import Content) ส่วนในระยะปานกลาง จะเร่งสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดตรา
สารหนี้ในประเทศ ภายใต้ Asian Bond Market Framework เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติให้เข้ามาลง
ทุนในตลาดตราสารหนี้ในประเทศ นอกจากนั้น จะมีการจัดทำ Exit Plan เพื่อบริหารหนี้ และลดความเสี่ยง
จากอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนเงินทุนหรือรายได้ของรัฐวิสาหกิจ โดยการระดม
ทุนจากตลาดหลักทรัพย์ และการนำนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ มาใช้ เช่น การทำ Securitization และ
การพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล
5. แนวทางในการดำเนินโครงการ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการดำเนินโครงการ โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัด และหน่วยงานเจ้า
ของโครงการ เร่งรัดการขออนุมัติโครงการ รวมทั้ง เร่งรัดการศึกษาและออกแบบ และการพิจารณาผลกระ
ทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Accessment : EIA) ทั้งนี้ ในการพิจารณาจัดสรรงบ
ประมาณจะพิจารณาถึงความพร้อมของหน่วยงานในการดำเนินโครงการทั้งในด้านการจัดเตรียมโครงการ
(Project Design and Preparation) และความสามารถในการดำเนินงาน (Implementation
Capacity) ด้วย
6. ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่
แผนการลงทุน จะรวมถึงสายทางที่จะลงทุนโดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การ
รถไฟแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร รวม 7 สายทาง มีวงเงินลงทุนรวม 555,737 ล้านบาท เป็น
การลงทุนในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน (Civil Works) จำนวน 424,437 ล้านบาท และการลงทุนในระบบ
รถไฟฟ้า (Rolling Stocks) จำนวน 131,300 ล้านบาท ดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
สาย 2548 2549 2550 2251 2552 2548-2552 2553-2555 รวม
1. สายสีม่วง 921 12,862 16,657 25,834 31,854 88,128 23,708 111,836
2. สายสีน้ำเงิน 106 5,049 8,900 13,071 23,515 50,641 24,362 75,003
3. สายสีส้ม 107 5,311 8,741 13,917 24,436 52,512 30,176 82,688
4. สายสีแดงเข้ม - 9,896 32,998 32,270 19,145 94,309 - 94,309
5. สายสีแดงอ่อน - 3,230 12,509 40,019 13,720 69,478 36,914 106,392
รวม 1,134 36,348 79,805 125,111 112,670 355,068 115,160 470,228
6. สายสีเขียวอ่อน - 4,323 11,914 12,312 14,643 43,192 12,369 55,561
7. สายสีเขียวเข้ม - 5,934 6,338 6,220 6,678 25,170 4,778 29,948
รวมทั้งสิ้น 1,134 46,605 98,057 143,643 133,991 423,430 132,307 555,737
- ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Civil Works) รัฐบาลเป็นผู้รับภาระการลงทุนในส่วนของ
โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ยกเว้นในส่วนสายสีเขียว ซึ่งรัฐบาลกลางและกรุงเทพมหานครจะร่วม
กันรับภาระการลงทุน สำหรับสัดส่วนการระดมทุนคาดว่าจะใช้เงินงบประมาณร้อยละ 30 และเงินกู้ร้อยละ 70
ดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
แหล่งเงินลงทุน 2548 2549 2550 2551 2552 2548 -2552 2553 - 2555 รวม
งบประมาณ (30%) 1,134 11,845 23,442 34,336 29,611 100,368 27,757 128,125
เงินกู้ในประเทศ (40%) - 15,794 31,256 45,780 39,481 132,311 37,010 169,321
เงินกู้ต่างประเทศ (30%) - 11,845 23,442 34,336 29,611 99,234 27,757 126,991
รวม Civil Works 1,134 39,484 78,140 114,452 98,703 331,913 92,524 424,437
- ระบบรถไฟฟ้าและการเดินรถ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาจัดตั้ง
Holding Company เพื่อลงทุนและบริหารระบบรถไฟฟ้าให้เป็นแบบ Single Operator/ Joint Owner โดย
ให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้รับสัมปทานเข้ามาร่วมลงทุนใน Holding Company และบริหารการเดินรถ
ให้เชื่อมโยงและเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งระบบ ทำให้ผู้ใช้บริการเสียค่าเข้าระบบเพียงครั้งเดียว มีต้นทุนบริหาร
งานต่ำ และมีการแบ่งผลประโยชน์จากส่วนต่อขยายให้แก่รัฐและผู้รับสัมปทานรายเดิมอย่างเป็นธรรม
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ
กำกับ ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้ง ปรับปรุงแผนงาน ตามความจำ
เป็นและความเหมาะสม โดยอยู่ในกรอบวงเงินข้างต้น และรายงานให้ ครม. ทราบเป็นระยะๆ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 43/2548 14 มิถุนายน 48--