วิกฤตการณ์ทางการเงินภายในประเทศ ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้ทำความตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อขอรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 เป็นมูลค่า 57,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ และได้ดำเนินการ ตามที่ผูกพันไว้กับ IMF ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นจากต่างประเทศได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี มาตรการเข้มงวดทางการเงินและการคลังก็ได้ส่งผลให้ภาคธุรกิจขาดสภาพคล่องอย่างหนัก และอุปสงค์ภายในประเทศหดตัวลงอย่างมาก รัฐบาลเกาหลีใต้จึงออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการอัดฉีดเงินในระบบ และลดอัตราดอกเบี้ย และต้องเจรจากับ IMF จนสามารถผ่อนคลาย มาตรการเข้มงวดทางเศรษฐกิจดังกล่าว และเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2541 ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ประกาศชำระเงินคืนแก่ IMF จำนวน 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการชำระเงินแบ่งเป็นสองงวด งวดแรก 18 ธันวาคม 2541 จำนวน 2.8 ล้านพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยชำระเงินแบ่งเป็นสองงวด งวดแรก 18 ธันวาคม 2541 จำนวน 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และงวดที่สอง 30 ธันวาคม 2541 จำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยให้เหตุผลว่า การชำระเงินดังกล่าวมีนัยสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นแก่ต่างชาติ โดยเกาหลีใต้เป็นประเทศเอเชียที่ประสบวิกฤติเศรษฐกิจประเทศแรก ที่ชำระเงินคืนแก่ IMF ซึ่งสะท้อนถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจ อีกทั้งมั่นใจว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะฟื้นตัวในปี 2542 การชำระเงินคืนแก่ IMF ทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางรายไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจดังกล่าวของรัฐบาลเกาหลีใต้ เนื่องจากเห็นว่าวิกฤตทางการเงินยังไม่ผ่านพ้นไป รัฐบาลควรนำเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาจะเหมาะกว่า แต่นาย Michel Camdessus ผู้อำนวยการใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้แสดงความชื่นชม ที่เกาหลีใต้สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ต่างชาติ และประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ มีเงินสำรองต่างประเทศสูงและเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลให้ค่าเงินวอนแข็งขึ้น พร้อมทั้งแสดงความเชื่อมั่นว่า ประชาคมการเงินนานาชาติจะเห็นการชำระเงินคืนเป็นพัฒนาการในทางบวก ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกาหลีใต้จะผ่านพ้นวิกฤตทางการเงิน และให้คำมั่นว่า IMF พร้อมจะให้ความช่วยเหลือเกาหลีใต้ หากต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินอีกการปฏิรูปเศรษฐกิจของเกาหลีใต้
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ถดถอยอย่างหนักตลอดสามไตรมาสแรกของปี 2541 ในไตรมาสที่เริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว กล่าวคือ ในเดือนพฤศจิกายน 2541 ดัชนีทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ อาทิ การลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกขยายตัวร้อยละ 12 และเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และการเพิ่มลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ค่าเงินวอนแข็งขึ้น ในระดับต่ำกว่า 1,200 วอน/ดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันเกาหลีใต้มีเงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศ (usable foreign reserves) 48.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จากการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจังและรวดเร็ว ส่งผลให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัว ทั้งนี้ ตลอดหนึ่งปีนับตั้งแต่วิกฤตการณ์ รัฐบาลเกาหลีใต้ดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจหลายประการได้แก่
1) เปิดเสรีการตลาดทุน เพื่อให้ทุนและเทคโนโลยีต่างประเทศเข้าประเทศ โดยรัฐบาลยกเลิกกฏระเบียบข้อจำกัด สำหรับชาวต่างชาติในการเป็นเจ้าของหุ้นบริษัท การซื้อพันธบัตรในประเทศและตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นต้น
2) เปิดเสรีการลงทุนจากต่างประเทศ โดยออกกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศฉบับใหม่ เพื่อเปิดเสรี 1,148 สาขาการลงทุน และสงวนสาขาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย การรักษาสภาพแวดล้อม ศีลธรรม และการสาธารณสุข จำนวนเพียง 31 สาขา อีกทั้งจัดหน่วยงานการส่งเสริมการลงทุน โดยมีศูนย์บริการ one-stop-service เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
3) เปิดเสรีแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยออกกฏหมาย Foreign Transaction Act ในเดือนกันยายน 2541 โดยมีผลบังคับใช้ในสองขั้นตอนคือ เดือนเมษายน 2542 และปลายปี 2543 ในขณะนี้ รัฐบาลเตรียมการสร้างความเข้มแข็งให้กับระเบียบเพื่อควบคุมตลาดเงินและจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อสร้างเสถียรภาพในการเปิดเสรีดังกล่าว
4) ปฏิรูปการดำเนินธุรกิจ โดยเน้นการสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือของบริษัทธุรกิจ โดยจัดตั้ง Fair Trade Commission เพื่อควบคุมการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้ง ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการล้มละลายขึ้นเมื่อกุมภาพันธ์ 2541
5) การปฏิรูปสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ Financial Supervisory Commission หรือ FSC โดยรัฐบาลใช้มาตรการด้านการคลังเพื่อฟื้นฟูสถาบันการเงินประมาณ 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเปิดหรือพักการดำเนินการของสถาบันการเงิน 84 แห่ง รวมทั้ง ธนาคารพาณิชย์ 5 แห่ง ซึ่ง FSC กำหนดให้ธนาคาร ปรับปรุงการบริหาร มีการซื้อและโอนกิจการ (Purchase & Acquisitions) ธนาคาร 5 แห่ง การควบโอนกิจการระหว่างธนาคารจำนวน 6 แห่ง นอกจากนี้ รัฐบาลยังกำหนดมาตรการ การคลังเพื่อให้ความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน โดยการเพิ่มทุนและขจัดหุ้นที่ไม่ก่อผลกำไร และรัฐบาลจัดตั้ง Korea Asset Managment Corporation เพื่อรับซื้อหนี้ที่ไม่เกิดผลกำไร
6) การปฏิรูปองค์กรธุรกิจ รัฐบาลกระตุ้นให้ Chaebol ปฏิรูปตนเองด้วยความสมัครใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Chaebol ชั้นนำ 5 แห่ง ได้แก่ Hyundai, Samsung Daewoo, LG และ SK กลุ่ม Chaebol ได้สนองตอบนโยบายและรัฐบาลโดยดำเนินการแลก ขยาย ควบ และโอนกิจการเพื่อลดความซ้ำซ้อนกันใน 7 สาขาคือ ปิโตรเคมี เครื่องบิน รถไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องจักรกลเรือ ซิมิคอนดัคเตอร์ และการกลั่นน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ลดการอุดหนุนกิจการ 264 แห่งเป็น 130 แห่ง
7) การปฏิรูปแรงงาน รัฐบาลออกกฎหมาย Labour Standard Act เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 อนุญาตให้นายจ้างปลดพนักงานออกได้ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานในการปรับโครงสร้าง ในขณะเดียวกันรัฐบาลมุ่งสร้างมาตรการรองรับทางสังคมเพื่อบรรเทาปัญหาของผู้ว่างงานด้วย
8) การปฏิรูประบบราชการ รัฐบาลดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานราชการ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2541 และมีแผนที่จะลดจำนวนข้าราชการลงอีกร้อยละ 11 ภายในปี 2542 นอกจากนี้ รัฐบาลจะดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ดังนี้ 1) แปรรูปอย่างเต็มรูปแบบและทันทีในปี 2541 ได้แก่ POSCO, Korea Heavy Industry & Construction และ Korea Technology Financing Corporation 2) แปรรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปี 2542 ได้แก่ Korea Telecom, Korea Tobacco & Ginseng Corporation Korea Electric Powe Corporation และ 3) ปฏิรูปการบริหารและโครงสร้าง ได้แก่ Korea Security Printing & Minting Corporation, Korea Trade-Investment Promotion Agency, Korea national Tourism organization และ Korea Coal Corporation นอกจากนั้น รัฐบาลพยายามยกเลิกกฎหมายระเบียบ (Regulation) ที่ซ้ำซ้อน เพื่อให้เป็นไปตามระบบเศรษฐกิจแบบตลาด โปร่งใส และเป็นไปตามมาตรการ โดยจัดตั้ง Regulation Reform Commission เพื่อพิจารณาในเรื่องนี้
กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจคาดว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะพ้นจากจุดต่ำสุด และฟื้นตัวในปี 2542 ซึ่งนโยบายยืดหยุ่นของอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งความสำเร็จในการปฏิรูปสถาบันการเงินและองค์กรธุรกิจ ทำให้เศรษฐกิจจะไม่ถดถอยลง ซึ่ง IMF คาดว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2542 จะเป็นในด้านบวก
ที่มา : กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2/31 มกราคม 2542--
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ถดถอยอย่างหนักตลอดสามไตรมาสแรกของปี 2541 ในไตรมาสที่เริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว กล่าวคือ ในเดือนพฤศจิกายน 2541 ดัชนีทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ อาทิ การลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกขยายตัวร้อยละ 12 และเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และการเพิ่มลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ค่าเงินวอนแข็งขึ้น ในระดับต่ำกว่า 1,200 วอน/ดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันเกาหลีใต้มีเงินกองทุนสำรองระหว่างประเทศ (usable foreign reserves) 48.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จากการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจังและรวดเร็ว ส่งผลให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัว ทั้งนี้ ตลอดหนึ่งปีนับตั้งแต่วิกฤตการณ์ รัฐบาลเกาหลีใต้ดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจหลายประการได้แก่
1) เปิดเสรีการตลาดทุน เพื่อให้ทุนและเทคโนโลยีต่างประเทศเข้าประเทศ โดยรัฐบาลยกเลิกกฏระเบียบข้อจำกัด สำหรับชาวต่างชาติในการเป็นเจ้าของหุ้นบริษัท การซื้อพันธบัตรในประเทศและตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นต้น
2) เปิดเสรีการลงทุนจากต่างประเทศ โดยออกกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศฉบับใหม่ เพื่อเปิดเสรี 1,148 สาขาการลงทุน และสงวนสาขาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย การรักษาสภาพแวดล้อม ศีลธรรม และการสาธารณสุข จำนวนเพียง 31 สาขา อีกทั้งจัดหน่วยงานการส่งเสริมการลงทุน โดยมีศูนย์บริการ one-stop-service เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
3) เปิดเสรีแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยออกกฏหมาย Foreign Transaction Act ในเดือนกันยายน 2541 โดยมีผลบังคับใช้ในสองขั้นตอนคือ เดือนเมษายน 2542 และปลายปี 2543 ในขณะนี้ รัฐบาลเตรียมการสร้างความเข้มแข็งให้กับระเบียบเพื่อควบคุมตลาดเงินและจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อสร้างเสถียรภาพในการเปิดเสรีดังกล่าว
4) ปฏิรูปการดำเนินธุรกิจ โดยเน้นการสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือของบริษัทธุรกิจ โดยจัดตั้ง Fair Trade Commission เพื่อควบคุมการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้ง ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการล้มละลายขึ้นเมื่อกุมภาพันธ์ 2541
5) การปฏิรูปสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ Financial Supervisory Commission หรือ FSC โดยรัฐบาลใช้มาตรการด้านการคลังเพื่อฟื้นฟูสถาบันการเงินประมาณ 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเปิดหรือพักการดำเนินการของสถาบันการเงิน 84 แห่ง รวมทั้ง ธนาคารพาณิชย์ 5 แห่ง ซึ่ง FSC กำหนดให้ธนาคาร ปรับปรุงการบริหาร มีการซื้อและโอนกิจการ (Purchase & Acquisitions) ธนาคาร 5 แห่ง การควบโอนกิจการระหว่างธนาคารจำนวน 6 แห่ง นอกจากนี้ รัฐบาลยังกำหนดมาตรการ การคลังเพื่อให้ความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างสถาบันการเงิน โดยการเพิ่มทุนและขจัดหุ้นที่ไม่ก่อผลกำไร และรัฐบาลจัดตั้ง Korea Asset Managment Corporation เพื่อรับซื้อหนี้ที่ไม่เกิดผลกำไร
6) การปฏิรูปองค์กรธุรกิจ รัฐบาลกระตุ้นให้ Chaebol ปฏิรูปตนเองด้วยความสมัครใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Chaebol ชั้นนำ 5 แห่ง ได้แก่ Hyundai, Samsung Daewoo, LG และ SK กลุ่ม Chaebol ได้สนองตอบนโยบายและรัฐบาลโดยดำเนินการแลก ขยาย ควบ และโอนกิจการเพื่อลดความซ้ำซ้อนกันใน 7 สาขาคือ ปิโตรเคมี เครื่องบิน รถไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องจักรกลเรือ ซิมิคอนดัคเตอร์ และการกลั่นน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ลดการอุดหนุนกิจการ 264 แห่งเป็น 130 แห่ง
7) การปฏิรูปแรงงาน รัฐบาลออกกฎหมาย Labour Standard Act เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 อนุญาตให้นายจ้างปลดพนักงานออกได้ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานในการปรับโครงสร้าง ในขณะเดียวกันรัฐบาลมุ่งสร้างมาตรการรองรับทางสังคมเพื่อบรรเทาปัญหาของผู้ว่างงานด้วย
8) การปฏิรูประบบราชการ รัฐบาลดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานราชการ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2541 และมีแผนที่จะลดจำนวนข้าราชการลงอีกร้อยละ 11 ภายในปี 2542 นอกจากนี้ รัฐบาลจะดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ดังนี้ 1) แปรรูปอย่างเต็มรูปแบบและทันทีในปี 2541 ได้แก่ POSCO, Korea Heavy Industry & Construction และ Korea Technology Financing Corporation 2) แปรรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปี 2542 ได้แก่ Korea Telecom, Korea Tobacco & Ginseng Corporation Korea Electric Powe Corporation และ 3) ปฏิรูปการบริหารและโครงสร้าง ได้แก่ Korea Security Printing & Minting Corporation, Korea Trade-Investment Promotion Agency, Korea national Tourism organization และ Korea Coal Corporation นอกจากนั้น รัฐบาลพยายามยกเลิกกฎหมายระเบียบ (Regulation) ที่ซ้ำซ้อน เพื่อให้เป็นไปตามระบบเศรษฐกิจแบบตลาด โปร่งใส และเป็นไปตามมาตรการ โดยจัดตั้ง Regulation Reform Commission เพื่อพิจารณาในเรื่องนี้
กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจคาดว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะพ้นจากจุดต่ำสุด และฟื้นตัวในปี 2542 ซึ่งนโยบายยืดหยุ่นของอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งความสำเร็จในการปฏิรูปสถาบันการเงินและองค์กรธุรกิจ ทำให้เศรษฐกิจจะไม่ถดถอยลง ซึ่ง IMF คาดว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2542 จะเป็นในด้านบวก
ที่มา : กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2/31 มกราคม 2542--