สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลผลิตยังคงทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเนื่องจากขณะนี้ได้เกิดน้ำท่วมขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงที่สำคัญ ทำให้ฟาร์มสุกรได้รับความเสียหาย คาดว่าจะทำให้ราคาสุกรมีชีวิตกระเตื้องขึ้น ขณะที่ความต้องการนำลูกสุกรเข้าเลี้ยงเริ่มมีมากขึ้นเพราะลูกสุกรที่นำเข้าเลี้ยงในช่วงนี้ จะให้ผลผลิตในช่วงฤดูร้อนซึ่งราคาค่อนข้างดี ส่งผลให้ลูกสุกรเริ่มปรับราคาสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.12 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ0.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 29.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 29.83 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.92 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 38.27บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 700 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 600 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.67
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ42.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อปรับลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะความต้องการบริโภคยังมีไม่มาก ขณะที่ลูกไก่เนื้อปรับราคาขึ้นเพราะผลจากการปรับลดการผลิตลูกไก่เนื้อของกลุ่มผู้ผลิตลูกไก่เพื่อรักษาระดับราคาไก่เนื้อ ทำให้ปริมาณลูกไก่ในขณะนี้มีค่อนข้างน้อยซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตไก่เนื้อมีแนวโน้มลดลงและราคามีโอกาสปรับสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 21.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.49 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 21.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 23.25 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 19.47 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 24.45 บาทส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 6.50 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 3.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 85.71
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.88ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.08
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ปรับขึ้นเล็กน้อยตามความต้องการที่กระเตื้องขึ้นหลังจากเทศกาลกินเจขณะที่ความต้องการนำลูกไก่เข้าเลี้ยงยังมีปริมาณไม่มากนักเพราะราคาจำหน่ายไม่จูงใจ อย่างไรก็ตามภาวะตลาดไข่ไก่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากจะเข้าสู่ช่วงเปิดเทอมในเดือนหน้า ทำให้ความต้องการบริโภคของโรงเรียนที่เป็นตลาดสำคัญของไข่ไก่เพิ่มมากขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 166 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 164 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 159 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 186 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 162บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 170 บาทส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 165 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 166 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 202 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 205 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 209 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 206 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 197 บาทและ ภาคใต้ร้อยฟองละ 194 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 228 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 247 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.69
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 31.57 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.63 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำสัปดาห์ 25 - 31 ต.ค. 2542--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลผลิตยังคงทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเนื่องจากขณะนี้ได้เกิดน้ำท่วมขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงที่สำคัญ ทำให้ฟาร์มสุกรได้รับความเสียหาย คาดว่าจะทำให้ราคาสุกรมีชีวิตกระเตื้องขึ้น ขณะที่ความต้องการนำลูกสุกรเข้าเลี้ยงเริ่มมีมากขึ้นเพราะลูกสุกรที่นำเข้าเลี้ยงในช่วงนี้ จะให้ผลผลิตในช่วงฤดูร้อนซึ่งราคาค่อนข้างดี ส่งผลให้ลูกสุกรเริ่มปรับราคาสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.12 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ0.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 29.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 29.83 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 29.92 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 38.27บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 700 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 600 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.67
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ42.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อปรับลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะความต้องการบริโภคยังมีไม่มาก ขณะที่ลูกไก่เนื้อปรับราคาขึ้นเพราะผลจากการปรับลดการผลิตลูกไก่เนื้อของกลุ่มผู้ผลิตลูกไก่เพื่อรักษาระดับราคาไก่เนื้อ ทำให้ปริมาณลูกไก่ในขณะนี้มีค่อนข้างน้อยซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตไก่เนื้อมีแนวโน้มลดลงและราคามีโอกาสปรับสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 21.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.49 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 21.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 23.25 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 19.47 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 24.45 บาทส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 6.50 บาท เพิ่มขึ้นจากตัวละ 3.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 85.71
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.88ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.08
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ปรับขึ้นเล็กน้อยตามความต้องการที่กระเตื้องขึ้นหลังจากเทศกาลกินเจขณะที่ความต้องการนำลูกไก่เข้าเลี้ยงยังมีปริมาณไม่มากนักเพราะราคาจำหน่ายไม่จูงใจ อย่างไรก็ตามภาวะตลาดไข่ไก่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากจะเข้าสู่ช่วงเปิดเทอมในเดือนหน้า ทำให้ความต้องการบริโภคของโรงเรียนที่เป็นตลาดสำคัญของไข่ไก่เพิ่มมากขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 166 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 164 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 159 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 186 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 162บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 170 บาทส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 165 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 166 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 202 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 205 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 209 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 206 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 197 บาทและ ภาคใต้ร้อยฟองละ 194 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 228 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 247 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.69
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 31.57 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.63 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำสัปดาห์ 25 - 31 ต.ค. 2542--