กรุงเทพ--2 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน : การเยือนประเทศไทยในลักษณะการเจรจาทำงาน (Working Visit) ของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 3 (3rd Thailand-Singapore Prime Ministerial Retreat) ณ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 2-3 กันยายน 2548
1. ภูมิหลังของการประชุมอย่างไม่เป็นทางการฯ
- นายลี เซียน ลุง (Mr. Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ จะเดินทางมาเยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ในลักษณะการเจรจาทำงาน (Working Visit) ระหว่างวันที่ 2 -3 กันยายน 2548 การเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้เป็นไปตามคำเชิญของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศ ครั้งที่ 3 (3rd Thailand-Singapore Prime Ministerial Retreat) ที่ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี จังหวัดเชียงใหม่
- การจัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับนายกรัฐมนตรีระหว่างประเทศไทยและสิงคโปร์ เป็นกลไกการติดต่อหารือกันระหว่างประเทศทั้งสองในระดับสูงที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ได้ไม่นาม โดยความริเริ่มของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เมื่อปลายปี 2545 โดยนายกรัฐมนตรีทักษิณได้เสนอต่อนายโก๊ะ จก ตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในขณะนั้น ว่า เมื่อคำนึงถึงความใกล้ชิดและความเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างไทยกับสิงคโปร์ นายกรัฐมนตรีไทยและสิงคโปร์ควรจะได้พบปะหารือกันเป็นประจำในลักษณะที่ไม่ต้องเป็นทางการเกินไป และนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในขณะนั้นก็เห็นด้วย
ดังนั้น เมื่อวันที่ 10-12 มกราคม 2546 นายโก๊ะ จก ตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ขณะนั้นและคณะ จึงเดินทางมาเยือนไทยตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีไทย เพื่อร่วม Thailand-Singapore Prime Ministerial Retreat ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดภูเก็ต นับเป็นมิติใหม่ของความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง ที่ผู้นำรัฐบาลได้มีโอกาสหารือกัน ร่วมระดมสมอง และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างตรงไปตรงมาในประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน การประชุมอย่างไม่เป็นทางการเช่นนี้ได้มีส่วนเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
- ต่อมา นายกรัฐมนตรีโก๊ะ จก ตง แห่งสิงคโปร์ ก็ได้เชิญให้นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปเยือนสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วม Thailand- Singapore Prime Ministerial Retreat ครั้งที่ 2 ที่เกาะเซนโตซา สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2546
- การประชุมอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 กับนายกรัฐมนตรีไทยที่จังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้ จะเป็นครั้งแรกที่นายลี เซียนลุง เข้าร่วมในฐานะนายกรัฐมนตรี หลังจากที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของ สิงคโปร์ สืบต่อจากนายโก๊ะ จก ตง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547 (แต่ก่อนหน้านี้ นายลี เซียน ลุง ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยร่วมในคณะของนายกรัฐมนตรี โก๊ะ จก ตง เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีทั้งสองในครั้งที่ 2 ที่สิงคโปร์แล้ว)
- นายลี เซียน ลุง เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทยแล้วหลายครั้ง ครั้งล่าสุดที่ได้มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (และเป็นครั้งแรกที่มาเยือนไทยในฐานะนายกรัฐมนตรี) คือระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2547 เพื่อแนะนำตนเองในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพบหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรด้วย
2. การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรี ไทย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 3
2.1 รูปแบบการประชุม จะเป็นลักษณะไม่เป็นทางการ โดยผู้นำรัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะพบหารือกันสองต่อสองก่อน หลังจากนั้น จะมีการหารือแบบเต็มคณะร่วมกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ทั้งนี้ ฝ่ายไทยจะมีรัฐมนตรีที่ติดตามนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ เข้าร่วมการหารือเต็มคณะด้วย คือ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้อง ส่วนฝ่ายสิงคโปร์จะมีนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรนงการพัฒนาชุมชน เยาวชนและการกีฬา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากทั้งสองฝ่าย
2.2 สาระของการหารือ คาดว่าจะมีการหยิบยกประเด็นสำคัญๆ ต่อไปนี้
(1) ความร่วมมือเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในบริเวณช่องแคบมะละกา ในฐานะที่ทั้งไทยและสิงคโปร์ต่างก็ต้องใช้ประโยชน์จากช่องแคบนี้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งทางยุทธศาสตร์สำหรับภูมิภาค และความร่วมมือในการรักษาความปลอดภัยทางทะเลในภูมิภาคเอเชียทั่วไปด้วย
ในระหว่างการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย จะลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด และการปล้นเรือโดยใช้อาวุธในเอเชีย (Regional Agreement on Combating Piracy and Armed Robbery against Ships in Asia - ReCAAP)
กรอบความร่วมมือภายใต้ ReCAAP เป็นความริเริ่มของญี่ปุ่นที่ได้เสนอไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2544 และได้มีการเจรจากันจนสามารถยกร่างความตกลงสำเร็จในเดือนพฤศจิกายน 2547 สิงคโปร์เป็นประเทศผู้เก็บรักษาความตกลงฉบับนี้ (Depository) และเป็นที่ตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Sharing Center) ตามความตกลงฯ ด้วย ปัจจุบันมีประเทศภาคีความตกลงฯ คือ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และลาว ส่วนกัมพูชาได้ลงนามในความตกลงฯ แล้วแต่ยังไม่ได้ยื่นสัตยาบันสาร และมาเลเซียก็ได้แสดงความเห็นชอบในหลักการที่จะลงนามในความตกลงนี้แล้ว
(2) ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งไทยและสิงคโปร์ให้ความสำคัญ
(3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกรอบ Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations (STEER) ซึ่งได้มีการประชุม STEER ครั้งที่ 1 ระหว่างหน่วยงานเศรษฐกิจของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วเมื่อสิงหาคม 2546 ที่สิงคโปร์ และได้มีความคืบหน้ามาเป็นระยะในการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การลงทุน การกำหนดและยอมรับมาตรฐานร่วมกัน และด้านอื่นๆ
(4) ความร่วมมือด้านแรงงาน รวมทั้งการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยให้ความสำคัญ ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในสิงคโปร์ประมาณ 50,000 คน เท่ากับหนึ่งในสิบของแรงงานต่างชาติทั้งหมดในสิงคโปร์ซึ่งมีประมาณ 500,000 คน แรงงานไทยส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ทำงานในภาคการก่อสร้างและอู่ต่อเรือ
(5) ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรอุตสาหกรรมที่ผลิตอาหาร และสิงคโปร์ยังมีความต้องการซื้ออาหารและสนใจจะลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจเกษตร ทั้งนี้ ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระดับนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ทั้งสองฝ่ายเคยให้ความเห็นชอบที่จะร่วมมือกันเพื่อพัฒนามาตรฐานสุขอนามัยสินค้าอาหารของไทย
(6) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการศึกษา โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และการใช้ “หนังสืออีเลกทรอนิกส์ (e-books)” และสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ IT ลักษณะอื่นๆ ซึ่งสิงคโปร์มีความชำนาญ มาช่วยพัฒนาระบบการศึกษาของไทย โดยเฉพาะต่อโครงการ 1 แล็ปท็อปต่อเด็ก 1 คน (one laptop per child) ของไทย
(7) ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพ ในเรื่องการวิจัย Stem Cell และเรื่องอื่นๆ
(8) ความร่วมมือในกรอบสมาคมอาเซียน ในกรอบ Asia Cooperation Dialogue (ACD) โดยเฉพาะในเรื่องพันธบัตรเอเชีย และความร่วมมือในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy -ACMECS ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกคือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม แม้สิงคโปร์จะมิได้เป็นสมาชิก ACMECS แต่ก็เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา หรือ Development Partner ของ ACMECS
(9) พัฒนาการและประเด็นอื่นๆ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก ที่เป็นที่สนใจร่วมกัน
3. ความสัมพันธ์ไทย-สิงคโปร์
- ไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันย้อนหลังไปได้ตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เคยทรงรับเจ้าเมืองสิงคโปร์เป็นพระราชอาคันตุกะ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปิยมหาราช ก็เคยเสด็จฯ สิงคโปร์หลายครั้ง) และเมื่อสิงคโปร์ได้เป็นประเทศเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2508 ประเทศทั้งสองก็มีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ราบรื่นมาโดยตลอด
- ในปัจจุบัน ไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด มีการติดต่อแลกเปลี่ยนการเยือนกันอย่างใกล้ชิดในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของไทย รัฐบุรุษและผู้นำของสิงคโปร์ บุคคลสำคัญในระดับรัฐบาล ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทหาร วงการวิชาการ เศรษฐกิจ ธุรกิจ วัฒนธรรม การศึกษา เยาวชน และวงการอื่นๆ
- สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญเป็นอันดับ 4 ของไทย (รองจากญี่ปุ่น สหรัฐฯ และจีน) และไทยเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 7 ของสิงคโปร์ มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2547 คือประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยนำเข้าจากสิงคโปร์ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2545-2547) การส่งออกของไทยไปยังสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญ เช่น อุปกรณ์ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบเครื่องบินและอุปกรณ์การบิน เป็นต้น ในด้านการลงทุน สิงคโปร์เข้ามาลงทุนในไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น คือมีมูลค่าการลงทุนในประเทศไทยประมาณ 455 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2547 ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ในด้านการท่องเที่ยว ในปี 2547 มีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์มาเยือนไทย ประมาณ 578,000 คน
- หลายประเด็นที่มีความร่วมมือกันระหว่างไทยและสิงคโปร์ นอกจากจะมีการหยิบยกขึ้นหารือในระดับนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้แล้ว ก่อนหน้านี้ยังได้มีการหยิบยกขึ้นหารือในกรอบ CSEP หรือ Thailand-Singapore Civil Service Exchange Programme ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ 12 สาขา โดยมีกระทรวงการต่างประเทศของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นจุดประสานงาน ได้มีการประชุมประจำปีของ CSEP มาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งล่าสุด ที่สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2548 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 2 ฝ่ายเป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์เปิดประชุม และปลัดกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 2 ฝ่ายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของแต่ละฝ่าย
- กลไกเช่น Prime Ministerial Retreat ดังในครั้งนี้ หรือการประชุม CSEP และกลไกอื่นๆ จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีให้แน่นแฟ้นขึ้น ไทยและสิงคโปร์ได้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทั้งสองประเทศมีมุมมองทางยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องไปในแนวเดียวกัน มีผลประโยชน์เกื้อกูลกันในหลายด้าน รัฐบาลทั้งสองจึงมียุทธศาสตร์ที่เน้นการส่งเสริมการเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ (Strategic partnership) เพื่อร่วมกันผลักดันเรื่องต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทั้งในกรอบทวิภาคี กรอบความร่วมมือภูมิภาค เช่นอาเซียน และกรอบพหุภาคีด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน : การเยือนประเทศไทยในลักษณะการเจรจาทำงาน (Working Visit) ของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 3 (3rd Thailand-Singapore Prime Ministerial Retreat) ณ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 2-3 กันยายน 2548
1. ภูมิหลังของการประชุมอย่างไม่เป็นทางการฯ
- นายลี เซียน ลุง (Mr. Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ จะเดินทางมาเยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ในลักษณะการเจรจาทำงาน (Working Visit) ระหว่างวันที่ 2 -3 กันยายน 2548 การเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้เป็นไปตามคำเชิญของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศ ครั้งที่ 3 (3rd Thailand-Singapore Prime Ministerial Retreat) ที่ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี จังหวัดเชียงใหม่
- การจัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับนายกรัฐมนตรีระหว่างประเทศไทยและสิงคโปร์ เป็นกลไกการติดต่อหารือกันระหว่างประเทศทั้งสองในระดับสูงที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ได้ไม่นาม โดยความริเริ่มของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เมื่อปลายปี 2545 โดยนายกรัฐมนตรีทักษิณได้เสนอต่อนายโก๊ะ จก ตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในขณะนั้น ว่า เมื่อคำนึงถึงความใกล้ชิดและความเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างไทยกับสิงคโปร์ นายกรัฐมนตรีไทยและสิงคโปร์ควรจะได้พบปะหารือกันเป็นประจำในลักษณะที่ไม่ต้องเป็นทางการเกินไป และนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในขณะนั้นก็เห็นด้วย
ดังนั้น เมื่อวันที่ 10-12 มกราคม 2546 นายโก๊ะ จก ตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ขณะนั้นและคณะ จึงเดินทางมาเยือนไทยตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีไทย เพื่อร่วม Thailand-Singapore Prime Ministerial Retreat ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดภูเก็ต นับเป็นมิติใหม่ของความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง ที่ผู้นำรัฐบาลได้มีโอกาสหารือกัน ร่วมระดมสมอง และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างตรงไปตรงมาในประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน การประชุมอย่างไม่เป็นทางการเช่นนี้ได้มีส่วนเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
- ต่อมา นายกรัฐมนตรีโก๊ะ จก ตง แห่งสิงคโปร์ ก็ได้เชิญให้นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางไปเยือนสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วม Thailand- Singapore Prime Ministerial Retreat ครั้งที่ 2 ที่เกาะเซนโตซา สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2546
- การประชุมอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 กับนายกรัฐมนตรีไทยที่จังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้ จะเป็นครั้งแรกที่นายลี เซียนลุง เข้าร่วมในฐานะนายกรัฐมนตรี หลังจากที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของ สิงคโปร์ สืบต่อจากนายโก๊ะ จก ตง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547 (แต่ก่อนหน้านี้ นายลี เซียน ลุง ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เคยร่วมในคณะของนายกรัฐมนตรี โก๊ะ จก ตง เข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรีทั้งสองในครั้งที่ 2 ที่สิงคโปร์แล้ว)
- นายลี เซียน ลุง เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทยแล้วหลายครั้ง ครั้งล่าสุดที่ได้มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (และเป็นครั้งแรกที่มาเยือนไทยในฐานะนายกรัฐมนตรี) คือระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2547 เพื่อแนะนำตนเองในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพบหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรด้วย
2. การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายกรัฐมนตรี ไทย-สิงคโปร์ ครั้งที่ 3
2.1 รูปแบบการประชุม จะเป็นลักษณะไม่เป็นทางการ โดยผู้นำรัฐบาลทั้งสองฝ่ายจะพบหารือกันสองต่อสองก่อน หลังจากนั้น จะมีการหารือแบบเต็มคณะร่วมกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ทั้งนี้ ฝ่ายไทยจะมีรัฐมนตรีที่ติดตามนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ เข้าร่วมการหารือเต็มคณะด้วย คือ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้อง ส่วนฝ่ายสิงคโปร์จะมีนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรนงการพัฒนาชุมชน เยาวชนและการกีฬา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากทั้งสองฝ่าย
2.2 สาระของการหารือ คาดว่าจะมีการหยิบยกประเด็นสำคัญๆ ต่อไปนี้
(1) ความร่วมมือเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในบริเวณช่องแคบมะละกา ในฐานะที่ทั้งไทยและสิงคโปร์ต่างก็ต้องใช้ประโยชน์จากช่องแคบนี้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งทางยุทธศาสตร์สำหรับภูมิภาค และความร่วมมือในการรักษาความปลอดภัยทางทะเลในภูมิภาคเอเชียทั่วไปด้วย
ในระหว่างการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย จะลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการกระทำอันเป็นโจรสลัด และการปล้นเรือโดยใช้อาวุธในเอเชีย (Regional Agreement on Combating Piracy and Armed Robbery against Ships in Asia - ReCAAP)
กรอบความร่วมมือภายใต้ ReCAAP เป็นความริเริ่มของญี่ปุ่นที่ได้เสนอไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2544 และได้มีการเจรจากันจนสามารถยกร่างความตกลงสำเร็จในเดือนพฤศจิกายน 2547 สิงคโปร์เป็นประเทศผู้เก็บรักษาความตกลงฉบับนี้ (Depository) และเป็นที่ตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Sharing Center) ตามความตกลงฯ ด้วย ปัจจุบันมีประเทศภาคีความตกลงฯ คือ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และลาว ส่วนกัมพูชาได้ลงนามในความตกลงฯ แล้วแต่ยังไม่ได้ยื่นสัตยาบันสาร และมาเลเซียก็ได้แสดงความเห็นชอบในหลักการที่จะลงนามในความตกลงนี้แล้ว
(2) ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งไทยและสิงคโปร์ให้ความสำคัญ
(3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกรอบ Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations (STEER) ซึ่งได้มีการประชุม STEER ครั้งที่ 1 ระหว่างหน่วยงานเศรษฐกิจของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วเมื่อสิงหาคม 2546 ที่สิงคโปร์ และได้มีความคืบหน้ามาเป็นระยะในการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การลงทุน การกำหนดและยอมรับมาตรฐานร่วมกัน และด้านอื่นๆ
(4) ความร่วมมือด้านแรงงาน รวมทั้งการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยให้ความสำคัญ ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานอยู่ในสิงคโปร์ประมาณ 50,000 คน เท่ากับหนึ่งในสิบของแรงงานต่างชาติทั้งหมดในสิงคโปร์ซึ่งมีประมาณ 500,000 คน แรงงานไทยส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ทำงานในภาคการก่อสร้างและอู่ต่อเรือ
(5) ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรอุตสาหกรรมที่ผลิตอาหาร และสิงคโปร์ยังมีความต้องการซื้ออาหารและสนใจจะลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจเกษตร ทั้งนี้ ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระดับนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ทั้งสองฝ่ายเคยให้ความเห็นชอบที่จะร่วมมือกันเพื่อพัฒนามาตรฐานสุขอนามัยสินค้าอาหารของไทย
(6) ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการศึกษา โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และการใช้ “หนังสืออีเลกทรอนิกส์ (e-books)” และสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ IT ลักษณะอื่นๆ ซึ่งสิงคโปร์มีความชำนาญ มาช่วยพัฒนาระบบการศึกษาของไทย โดยเฉพาะต่อโครงการ 1 แล็ปท็อปต่อเด็ก 1 คน (one laptop per child) ของไทย
(7) ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพ ในเรื่องการวิจัย Stem Cell และเรื่องอื่นๆ
(8) ความร่วมมือในกรอบสมาคมอาเซียน ในกรอบ Asia Cooperation Dialogue (ACD) โดยเฉพาะในเรื่องพันธบัตรเอเชีย และความร่วมมือในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy -ACMECS ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกคือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม แม้สิงคโปร์จะมิได้เป็นสมาชิก ACMECS แต่ก็เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา หรือ Development Partner ของ ACMECS
(9) พัฒนาการและประเด็นอื่นๆ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก ที่เป็นที่สนใจร่วมกัน
3. ความสัมพันธ์ไทย-สิงคโปร์
- ไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันย้อนหลังไปได้ตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เคยทรงรับเจ้าเมืองสิงคโปร์เป็นพระราชอาคันตุกะ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปิยมหาราช ก็เคยเสด็จฯ สิงคโปร์หลายครั้ง) และเมื่อสิงคโปร์ได้เป็นประเทศเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2508 ประเทศทั้งสองก็มีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ราบรื่นมาโดยตลอด
- ในปัจจุบัน ไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด มีการติดต่อแลกเปลี่ยนการเยือนกันอย่างใกล้ชิดในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของไทย รัฐบุรุษและผู้นำของสิงคโปร์ บุคคลสำคัญในระดับรัฐบาล ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทหาร วงการวิชาการ เศรษฐกิจ ธุรกิจ วัฒนธรรม การศึกษา เยาวชน และวงการอื่นๆ
- สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญเป็นอันดับ 4 ของไทย (รองจากญี่ปุ่น สหรัฐฯ และจีน) และไทยเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 7 ของสิงคโปร์ มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2547 คือประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยนำเข้าจากสิงคโปร์ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2545-2547) การส่งออกของไทยไปยังสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญ เช่น อุปกรณ์ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบเครื่องบินและอุปกรณ์การบิน เป็นต้น ในด้านการลงทุน สิงคโปร์เข้ามาลงทุนในไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น คือมีมูลค่าการลงทุนในประเทศไทยประมาณ 455 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2547 ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ในด้านการท่องเที่ยว ในปี 2547 มีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์มาเยือนไทย ประมาณ 578,000 คน
- หลายประเด็นที่มีความร่วมมือกันระหว่างไทยและสิงคโปร์ นอกจากจะมีการหยิบยกขึ้นหารือในระดับนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้แล้ว ก่อนหน้านี้ยังได้มีการหยิบยกขึ้นหารือในกรอบ CSEP หรือ Thailand-Singapore Civil Service Exchange Programme ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ 12 สาขา โดยมีกระทรวงการต่างประเทศของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นจุดประสานงาน ได้มีการประชุมประจำปีของ CSEP มาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งล่าสุด ที่สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2548 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 2 ฝ่ายเป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์เปิดประชุม และปลัดกระทรวงการต่างประเทศทั้ง 2 ฝ่ายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของแต่ละฝ่าย
- กลไกเช่น Prime Ministerial Retreat ดังในครั้งนี้ หรือการประชุม CSEP และกลไกอื่นๆ จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีให้แน่นแฟ้นขึ้น ไทยและสิงคโปร์ได้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทั้งสองประเทศมีมุมมองทางยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องไปในแนวเดียวกัน มีผลประโยชน์เกื้อกูลกันในหลายด้าน รัฐบาลทั้งสองจึงมียุทธศาสตร์ที่เน้นการส่งเสริมการเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ (Strategic partnership) เพื่อร่วมกันผลักดันเรื่องต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทั้งในกรอบทวิภาคี กรอบความร่วมมือภูมิภาค เช่นอาเซียน และกรอบพหุภาคีด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-