แท็ก
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
กระทรวงการต่างประเทศ
กรมการค้าต่างประเทศ
องค์การอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข
กรมปศุสัตว์
กรุงเทพ--9 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (9 มิ.ย.) กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมยุโรป ได้จัดประชุมผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ได้แก่ องค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออก เพื่อเป็นการเตรียมการเกี่ยวกับเรื่องการประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่และไข่จากประเทศเบลเยี่ยม และภายหลังการประชุม นายอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ อธิบดีกรมยุโรป ได้แถลงผลการประชุมต่อสื่อมวลชน ดังนี้
1. ขณะนี้ ทางการไทยได้ประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่และไข่จากเบลเยี่ยมเนื่องจากมีการพบสาร Dioxine ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ส่วนการประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากประเทศอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และ สหพันธรัฐเยอรมัน เพิ่มเติมนั้น องค์การอาหารและยาจะเป็นผู้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมหากมีการพบหลักฐานข้อเท็จจริงว่ามีสารดังกล่าวปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ไก่จากประเทศนั้นๆ ในปริมาณที่เกินมาตรฐาน
2. ที่ประชุมเห็นพ้องในหลักการว่า หลังจากที่มีการประกาศห้ามการนำเข้าระยะหนึ่งแล้ว จะต้องส่งคณะเจ้าหน้าที่จากไทยไปตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของโรงงานและฟาร์มในประเทศเบลเยียม ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสหพันธรัฐเยอรมัน ก่อนที่จะพิจารณาว่าควรยกเลิกประกาศดังกล่าวหรือไม่
3. ที่ประชุมได้มีการพิจารณาในเรื่องการค้าผลิตภัณฑ์ไก่ของไทยว่า เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ไทยอาจมีโอกาสขยายการส่งออกไก่ไปยังยุโรปได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี หากประชาชนในยุโรปตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์ดังกล่าวและงดการรับประทานไก่ไม่ว่าจะส่งไปจากประเทศใด ก็อาจจะกระทบต่อการค้าของไทยได้เช่นกัน
4. ที่ประชุมได้มีการหารือในเรื่องมาตรการระยะยาว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ดำเนินการรวบรวมและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป มาตรการดังกล่าวรวมถึง การพัฒนาการตรวจสาร Dioxine การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคและสื่อมวลชน ซึ่งองค์การอาหารและยาจะได้จัดทำเป็นเอกสารข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อไป
นอกจากนี้ นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองเลขาธิการองค์การอาหารและยาได้แถลงต่อสื่อมวลชน สรุปได้ ดังนี้
1. การประกาศห้ามนำเข้าของกระทรวงสาธารณสุขนั้น จะต้องอิงอยู่บนข้อมูลพื้นฐานที่จะสนับสนุนการประกาศห้ามนั้นๆ สินค้าประเภทสัตว์ นม ไข่ และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องจากประเทศเบลเยียมนั้น มีการปนเปื้อนจากสาร Dioxine จึงได้มีการประกาศห้ามดังกล่าว ส่วนผลิตภัณฑ์จากประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ นั้น จากข้อมูลที่ได้ตรวจสอบจากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ และ สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการปนเปื้อนสาร Dioxine ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
2. ประกาศที่ออกไปแล้วนั้น เป็นมาตราการชั่วคราวและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอาจพิจารณาประกาศเพิ่มเติมได้ต่อไป หรือในทางตรงกันข้ามอาจผ่อนคลายหรือยกเลิกได้หากสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายไปในทางที่ดี
3. รองเลขาธิการฯ แจ้งว่า ได้ทำการตรวจสอบแล้วว่า ประเทศไทยไม่มีการนำเข้า สินค้าประเภทนม เนื้อ ไข่จากเบลเยี่ยม มีเพียงชอคโกแล็ตเท่านั้นที่อาจมีการปนเปื้อนสารดังกล่าว อย่างไรก็ดี อย.ได้แจ้งผู้ประกอบการและได้มีการนำสินค้าดังกล่าวออกจากชั้นวางของตามห้างร้านต่างๆ แล้ว --จบ--
วันนี้ (9 มิ.ย.) กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมยุโรป ได้จัดประชุมผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ได้แก่ องค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออก เพื่อเป็นการเตรียมการเกี่ยวกับเรื่องการประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่และไข่จากประเทศเบลเยี่ยม และภายหลังการประชุม นายอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ อธิบดีกรมยุโรป ได้แถลงผลการประชุมต่อสื่อมวลชน ดังนี้
1. ขณะนี้ ทางการไทยได้ประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่และไข่จากเบลเยี่ยมเนื่องจากมีการพบสาร Dioxine ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ส่วนการประกาศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากประเทศอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และ สหพันธรัฐเยอรมัน เพิ่มเติมนั้น องค์การอาหารและยาจะเป็นผู้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมหากมีการพบหลักฐานข้อเท็จจริงว่ามีสารดังกล่าวปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ไก่จากประเทศนั้นๆ ในปริมาณที่เกินมาตรฐาน
2. ที่ประชุมเห็นพ้องในหลักการว่า หลังจากที่มีการประกาศห้ามการนำเข้าระยะหนึ่งแล้ว จะต้องส่งคณะเจ้าหน้าที่จากไทยไปตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของโรงงานและฟาร์มในประเทศเบลเยียม ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสหพันธรัฐเยอรมัน ก่อนที่จะพิจารณาว่าควรยกเลิกประกาศดังกล่าวหรือไม่
3. ที่ประชุมได้มีการพิจารณาในเรื่องการค้าผลิตภัณฑ์ไก่ของไทยว่า เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ไทยอาจมีโอกาสขยายการส่งออกไก่ไปยังยุโรปได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี หากประชาชนในยุโรปตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์ดังกล่าวและงดการรับประทานไก่ไม่ว่าจะส่งไปจากประเทศใด ก็อาจจะกระทบต่อการค้าของไทยได้เช่นกัน
4. ที่ประชุมได้มีการหารือในเรื่องมาตรการระยะยาว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ดำเนินการรวบรวมและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป มาตรการดังกล่าวรวมถึง การพัฒนาการตรวจสาร Dioxine การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคและสื่อมวลชน ซึ่งองค์การอาหารและยาจะได้จัดทำเป็นเอกสารข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อไป
นอกจากนี้ นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองเลขาธิการองค์การอาหารและยาได้แถลงต่อสื่อมวลชน สรุปได้ ดังนี้
1. การประกาศห้ามนำเข้าของกระทรวงสาธารณสุขนั้น จะต้องอิงอยู่บนข้อมูลพื้นฐานที่จะสนับสนุนการประกาศห้ามนั้นๆ สินค้าประเภทสัตว์ นม ไข่ และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องจากประเทศเบลเยียมนั้น มีการปนเปื้อนจากสาร Dioxine จึงได้มีการประกาศห้ามดังกล่าว ส่วนผลิตภัณฑ์จากประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ นั้น จากข้อมูลที่ได้ตรวจสอบจากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ และ สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการปนเปื้อนสาร Dioxine ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
2. ประกาศที่ออกไปแล้วนั้น เป็นมาตราการชั่วคราวและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอาจพิจารณาประกาศเพิ่มเติมได้ต่อไป หรือในทางตรงกันข้ามอาจผ่อนคลายหรือยกเลิกได้หากสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายไปในทางที่ดี
3. รองเลขาธิการฯ แจ้งว่า ได้ทำการตรวจสอบแล้วว่า ประเทศไทยไม่มีการนำเข้า สินค้าประเภทนม เนื้อ ไข่จากเบลเยี่ยม มีเพียงชอคโกแล็ตเท่านั้นที่อาจมีการปนเปื้อนสารดังกล่าว อย่างไรก็ดี อย.ได้แจ้งผู้ประกอบการและได้มีการนำสินค้าดังกล่าวออกจากชั้นวางของตามห้างร้านต่างๆ แล้ว --จบ--