สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates : UAE) เป็นประเทศในแถบตะวันออกกลางที่มีศักยภาพสูงในการรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจบริการซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวดี ทั้งนี้ ในบรรดาธุรกิจบริการประเภทต่าง ๆ สปานับเป็นธุรกิจที่ไทยมีความพร้อมในการเข้าไปลงทุนเพื่อเจาะและขยายฐานการลงทุนใน UAE ในช่วงที่ธุรกิจดังกล่าวกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง
ตลาด UAE กับศักยภาพในการทำธุรกิจสปา
การที่รายได้หลักของ UAE มาจากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทำให้รัฐบาล UAE พยายามส่งเสริมภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออกสินค้าเพียงไม่กี่ประเภท ทั้งนี้รัฐบาล UAE ตั้งเป้าว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากราว 5 ล้านคน ในปี 2546 เป็น 15 ล้านคน ในปี 2553 จึงเป็นโอกาสอันดีของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจสปา ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงในการเติบโต และรัฐบาลไทยเร่งส่งเสริมอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาเพื่อเป็นช่องทางในการส่งออกของไทย โดยเฉพาะสินค้าที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เช่น สบู่ ลูกประคบ น้ำมันหอมระเหยรวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งภายในร้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน และของใช้สำหรับประดับตกแต่งร้าน เป็นต้น นอกจากนี้ ธุรกิจสปาของไทยกำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากมีจุดเด่นและเอกลักษณ์ของการให้บริการด้วยวิถีไทยผสมผสานกับการนำสมุนไพรพื้นบ้านอันเป็นศาสตร์แห่งการบำบัดแบบตะวันออกมาใช้
การดำเนินธุรกิจสปาใน UAE
จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับขั้นตอนการทำธุรกิจสปาใน UAE มีรายละเอียดที่นักลงทุนไทยควรทราบ ดังนี้
* หา Sponsor ชาว UAE การประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติใน UAE จำเป็นต้องมี Sponsor เป็นชาว UAE ซึ่งอาจทำได้โดยการร่วมลงทุนกับนักลงทุนท้องถิ่น หรือการเช่า Trade License (มีอัตราค่าเช่าขั้นต่ำประมาณ 150,000 บาทต่อปี) โดยทั่วไป Sponsor มักเป็นบุคคลที่นักลงทุนต่างชาติรู้จักคุ้นเคยหรือเคยทำธุรกิจร่วมกันมาก่อน
* ขออนุญาตทำธุรกิจสปา เมื่อหา Sponsor ได้แล้ว นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจสปาใน UAE ต้องยื่นขออนุญาตต่อ Department of Economics และกระทรวงสาธารณสุขของ UAE ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
- ขออนุญาตตั้งชื่อร้าน เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงขอใบอนุญาตทำธุรกิจ ซึ่งมีค่าธรรมเนียม 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 80,000 บาท) ต่อปี
- เลือกทำเลที่ตั้ง หลังจากได้รับใบอนุญาตทำธุรกิจสปาแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การเลือกสถานที่ ในการเปิดร้าน ซึ่งส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ โรงแรมระดับ 5 ดาว และแหล่งที่พักอาศัย ทั้งนี้ อัตราค่าเช่าสำนักงานใน UAE อยู่ที่ประมาณ 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางฟุต สำหรับบ้านเดี่ยวในย่านที่พักอาศัยซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ทำธุรกิจสปามีค่าเช่าประมาณปีละ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป
- ยื่นจดทะเบียนต่อศาล เมื่อได้ใบอนุญาตทำธุรกิจ และเลือกทำเลที่ตั้งร้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักลงทุนต้องนำใบอนุญาตดังกล่าวไปจดทะเบียนที่ศาล หลังจากนั้นต้องเสนอแบบแปลนร้าน ตลอดจนระบบความปลอดภัยต่าง ๆ รวมทั้งจดหมายรับรองการให้เช่าอาคาร และยินยอมให้เปิดเป็นร้านสปาจากเจ้าของอาคารต่อ Department of Economics เพื่อให้ทำการตรวจสอบและออกใบอนุญาตให้นำพนักงานเข้าไปให้บริการ ทั้งนี้ สปาใน UAE ต้องแยกส่วนของการให้บริการของชายและหญิงออกจากกัน และต้องจัดให้มีผู้ให้บริการหญิงสำหรับผู้ใช้บริการหญิง และผู้ให้บริการชายสำหรับผู้ใช้บริการชาย
- ขอใบอนุญาตทำงาน นักลงทุนต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้แก่คนงานจากกรมแรงงานของ UAE ทั้งนี้ จำนวนคนงานที่จะได้รับอนุญาตให้ทำงานขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ โดยมีค่าใช้จ่ายในการขอ ใบอนุญาตทำงาน ค่าวีซ่า และบัตรสุขภาพ ประมาณ 600 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 24,000 บาท) ต่อคน การจ้างแรงงานใน UAE นั้น ผู้ประกอบการต้องทำสัญญากับกรมแรงงาน เพื่อคุ้มครองคนงาน ทั้งนี้ เงินเดือนของพนักงานสปา ใน UAE อยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท ขึ้นไป แต่อาจได้ส่วนแบ่งเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนและค่าอาหาร รวมทั้งที่พักที่นายจ้างจะจัดหาให้แก่ลูกจ้างนั้นต้องระบุไว้ในสัญญาการจ้างงานที่ทำไว้กับกระทรวงแรงงาน หากนายจ้างบิดพลิ้วลูกจ้างสามารถร้องเรียนได้
เป็นที่สังเกตว่า ปัจจุบันรัฐบาล UAE ยังไม่สนับสนุนให้มีการเปิดธุรกิจสปาอย่างเสรี การออกใบอนุญาตเพื่อทำธุรกิจสปาและการนวดจึงยังมีความเข้มงวดมาก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน แต่การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-
ตลาด UAE กับศักยภาพในการทำธุรกิจสปา
การที่รายได้หลักของ UAE มาจากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทำให้รัฐบาล UAE พยายามส่งเสริมภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออกสินค้าเพียงไม่กี่ประเภท ทั้งนี้รัฐบาล UAE ตั้งเป้าว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากราว 5 ล้านคน ในปี 2546 เป็น 15 ล้านคน ในปี 2553 จึงเป็นโอกาสอันดีของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจสปา ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงในการเติบโต และรัฐบาลไทยเร่งส่งเสริมอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาเพื่อเป็นช่องทางในการส่งออกของไทย โดยเฉพาะสินค้าที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เช่น สบู่ ลูกประคบ น้ำมันหอมระเหยรวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งภายในร้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน และของใช้สำหรับประดับตกแต่งร้าน เป็นต้น นอกจากนี้ ธุรกิจสปาของไทยกำลังเป็นที่นิยมเนื่องจากมีจุดเด่นและเอกลักษณ์ของการให้บริการด้วยวิถีไทยผสมผสานกับการนำสมุนไพรพื้นบ้านอันเป็นศาสตร์แห่งการบำบัดแบบตะวันออกมาใช้
การดำเนินธุรกิจสปาใน UAE
จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับขั้นตอนการทำธุรกิจสปาใน UAE มีรายละเอียดที่นักลงทุนไทยควรทราบ ดังนี้
* หา Sponsor ชาว UAE การประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติใน UAE จำเป็นต้องมี Sponsor เป็นชาว UAE ซึ่งอาจทำได้โดยการร่วมลงทุนกับนักลงทุนท้องถิ่น หรือการเช่า Trade License (มีอัตราค่าเช่าขั้นต่ำประมาณ 150,000 บาทต่อปี) โดยทั่วไป Sponsor มักเป็นบุคคลที่นักลงทุนต่างชาติรู้จักคุ้นเคยหรือเคยทำธุรกิจร่วมกันมาก่อน
* ขออนุญาตทำธุรกิจสปา เมื่อหา Sponsor ได้แล้ว นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจสปาใน UAE ต้องยื่นขออนุญาตต่อ Department of Economics และกระทรวงสาธารณสุขของ UAE ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
- ขออนุญาตตั้งชื่อร้าน เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงขอใบอนุญาตทำธุรกิจ ซึ่งมีค่าธรรมเนียม 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 80,000 บาท) ต่อปี
- เลือกทำเลที่ตั้ง หลังจากได้รับใบอนุญาตทำธุรกิจสปาแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การเลือกสถานที่ ในการเปิดร้าน ซึ่งส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ โรงแรมระดับ 5 ดาว และแหล่งที่พักอาศัย ทั้งนี้ อัตราค่าเช่าสำนักงานใน UAE อยู่ที่ประมาณ 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางฟุต สำหรับบ้านเดี่ยวในย่านที่พักอาศัยซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ทำธุรกิจสปามีค่าเช่าประมาณปีละ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป
- ยื่นจดทะเบียนต่อศาล เมื่อได้ใบอนุญาตทำธุรกิจ และเลือกทำเลที่ตั้งร้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักลงทุนต้องนำใบอนุญาตดังกล่าวไปจดทะเบียนที่ศาล หลังจากนั้นต้องเสนอแบบแปลนร้าน ตลอดจนระบบความปลอดภัยต่าง ๆ รวมทั้งจดหมายรับรองการให้เช่าอาคาร และยินยอมให้เปิดเป็นร้านสปาจากเจ้าของอาคารต่อ Department of Economics เพื่อให้ทำการตรวจสอบและออกใบอนุญาตให้นำพนักงานเข้าไปให้บริการ ทั้งนี้ สปาใน UAE ต้องแยกส่วนของการให้บริการของชายและหญิงออกจากกัน และต้องจัดให้มีผู้ให้บริการหญิงสำหรับผู้ใช้บริการหญิง และผู้ให้บริการชายสำหรับผู้ใช้บริการชาย
- ขอใบอนุญาตทำงาน นักลงทุนต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงานให้แก่คนงานจากกรมแรงงานของ UAE ทั้งนี้ จำนวนคนงานที่จะได้รับอนุญาตให้ทำงานขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการ โดยมีค่าใช้จ่ายในการขอ ใบอนุญาตทำงาน ค่าวีซ่า และบัตรสุขภาพ ประมาณ 600 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 24,000 บาท) ต่อคน การจ้างแรงงานใน UAE นั้น ผู้ประกอบการต้องทำสัญญากับกรมแรงงาน เพื่อคุ้มครองคนงาน ทั้งนี้ เงินเดือนของพนักงานสปา ใน UAE อยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท ขึ้นไป แต่อาจได้ส่วนแบ่งเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนและค่าอาหาร รวมทั้งที่พักที่นายจ้างจะจัดหาให้แก่ลูกจ้างนั้นต้องระบุไว้ในสัญญาการจ้างงานที่ทำไว้กับกระทรวงแรงงาน หากนายจ้างบิดพลิ้วลูกจ้างสามารถร้องเรียนได้
เป็นที่สังเกตว่า ปัจจุบันรัฐบาล UAE ยังไม่สนับสนุนให้มีการเปิดธุรกิจสปาอย่างเสรี การออกใบอนุญาตเพื่อทำธุรกิจสปาและการนวดจึงยังมีความเข้มงวดมาก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน แต่การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-