กรุงเทพ--17 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
หลังจากที่ความตกลงหุ้นส่วนใกล้ชิด (Closer Economic Partnership-CEP) ระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2548 นอกจากไทยและนิวซีแลนด์ได้ลดอัตราภาษีระหว่างกันแล้ว ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะอำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าต่างๆ รวมทั้งผักผลไม้ ด้วย นับว่าเป็นโชคดีของพี่น้องเกษตรกรชาวไทยที่ตลาดนิวซีแลนด์ซึ่งได้ชื่อว่ามีกฎระเบียบการนำเข้าผักและผลไม้ที่เข้มงวดมากได้เปิดให้ผักผลไม้ไทยเข้าไปจำหน่ายในนิวซีแลนด์ สะดวกยิ่งขึ้น
นายนรชิต สิงหเสนี เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน ผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้นิวซีแลนด์เปิดตลาดให้แก่ผลไม้ไทย ได้เคยกล่าวถึงการนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรของนิวซีแลนด์มาใช้ในการขยายตลาดผลกีวี ทำให้นิวซีแลนด์ประสบผลสำเร็จในการส่งออกผลกีวีออกไปขายทั่วโลก ซึ่งไทยสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาปรับใช้กับสินค้าเกษตรของไทยได้ จึงหวังว่านับแต่นี้เป็นต้นไป ความร่วมมือระหว่างไทยและนิวซีแลนด์จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นรวมทั้งการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการและเทคโนโลยีการเกษตรด้วย
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่นิวซีแลนด์ซึ่งมีกฎระเบียบที่พิทักษ์ปกป้องอุตสาหกรรมเกษตรภายในมาเป็นเวลานาน จะเปิดตลาดให้แก่สินค้าเกษตรของไทย เพราะกว่าผลไม้ไทยแต่ละชนิดจะผ่านการพิจารณาข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าและกระบวนการตรวจสอบของนิวซีแลนด์ก็ใช้เวลาร่วมปี นอกเหนือจากสับปะรด และมะม่วง ซึ่งได้รับอนุญาตไปก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อเร็วๆ นี้ นิวซีแลนด์เพิ่งออกข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าสำหรับลำไย และลิ้นจี่ ซึ่งเป็นผลให้ผลไม้ทั้งสองชนิดสามารถนำเข้าไปจำหน่ายในนิวซีแลนด์ได้
ข่าวนี้สร้างความยินดีให้แก่เกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก เพราะลำไยชุดแรกกำลังจะจัดส่งไปนิวซีแลนด์ให้ทันวันที่ 24 กันยายน 2548 เพื่อนำไปจัดแสดงและให้ชาวกีวีได้ชิมในงานเทศกาลไทย 2005 ซึ่งสถานทูตไทยจะจัดขึ้นที่นครโอ๊คแลนด์ในวันที่ 25 กันยายน 2548 และที่เมืองไคร้สเชิร์ชในวันที่ 1 ตุลาคม 2548
ขณะเดียวกัน บริษัทผู้นำเข้าของไทยนำมะม่วงทั้งน้ำดอกไม้และเขียวเสวยเข้านิวซีแลนด์เฉลี่ยเดือนละ 10 ตัน โดยผู้จัดจำหน่ายในนิวซีแลนด์พอใจและเชื่อถือในคุณภาพของมะม่วงไทยมาก และเป็นที่นิยมของชาวนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะผู้มีเชื้อสายเอเชีย ซึ่งสถานทูตมั่นใจว่า ในอนาคตชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเมื่อได้ลิ้มรสมะม่วงไทยแล้ว คงจะติดใจและหาซื้อมาบริโภคต่อไป ส่งผลให้ปริมาณนำเข้าผลไม้ไทยในนิวซีแลนด์สูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
หลังจากที่ความตกลงหุ้นส่วนใกล้ชิด (Closer Economic Partnership-CEP) ระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2548 นอกจากไทยและนิวซีแลนด์ได้ลดอัตราภาษีระหว่างกันแล้ว ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะอำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าต่างๆ รวมทั้งผักผลไม้ ด้วย นับว่าเป็นโชคดีของพี่น้องเกษตรกรชาวไทยที่ตลาดนิวซีแลนด์ซึ่งได้ชื่อว่ามีกฎระเบียบการนำเข้าผักและผลไม้ที่เข้มงวดมากได้เปิดให้ผักผลไม้ไทยเข้าไปจำหน่ายในนิวซีแลนด์ สะดวกยิ่งขึ้น
นายนรชิต สิงหเสนี เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน ผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้นิวซีแลนด์เปิดตลาดให้แก่ผลไม้ไทย ได้เคยกล่าวถึงการนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรของนิวซีแลนด์มาใช้ในการขยายตลาดผลกีวี ทำให้นิวซีแลนด์ประสบผลสำเร็จในการส่งออกผลกีวีออกไปขายทั่วโลก ซึ่งไทยสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาปรับใช้กับสินค้าเกษตรของไทยได้ จึงหวังว่านับแต่นี้เป็นต้นไป ความร่วมมือระหว่างไทยและนิวซีแลนด์จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นรวมทั้งการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการและเทคโนโลยีการเกษตรด้วย
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่นิวซีแลนด์ซึ่งมีกฎระเบียบที่พิทักษ์ปกป้องอุตสาหกรรมเกษตรภายในมาเป็นเวลานาน จะเปิดตลาดให้แก่สินค้าเกษตรของไทย เพราะกว่าผลไม้ไทยแต่ละชนิดจะผ่านการพิจารณาข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าและกระบวนการตรวจสอบของนิวซีแลนด์ก็ใช้เวลาร่วมปี นอกเหนือจากสับปะรด และมะม่วง ซึ่งได้รับอนุญาตไปก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อเร็วๆ นี้ นิวซีแลนด์เพิ่งออกข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าสำหรับลำไย และลิ้นจี่ ซึ่งเป็นผลให้ผลไม้ทั้งสองชนิดสามารถนำเข้าไปจำหน่ายในนิวซีแลนด์ได้
ข่าวนี้สร้างความยินดีให้แก่เกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก เพราะลำไยชุดแรกกำลังจะจัดส่งไปนิวซีแลนด์ให้ทันวันที่ 24 กันยายน 2548 เพื่อนำไปจัดแสดงและให้ชาวกีวีได้ชิมในงานเทศกาลไทย 2005 ซึ่งสถานทูตไทยจะจัดขึ้นที่นครโอ๊คแลนด์ในวันที่ 25 กันยายน 2548 และที่เมืองไคร้สเชิร์ชในวันที่ 1 ตุลาคม 2548
ขณะเดียวกัน บริษัทผู้นำเข้าของไทยนำมะม่วงทั้งน้ำดอกไม้และเขียวเสวยเข้านิวซีแลนด์เฉลี่ยเดือนละ 10 ตัน โดยผู้จัดจำหน่ายในนิวซีแลนด์พอใจและเชื่อถือในคุณภาพของมะม่วงไทยมาก และเป็นที่นิยมของชาวนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะผู้มีเชื้อสายเอเชีย ซึ่งสถานทูตมั่นใจว่า ในอนาคตชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเมื่อได้ลิ้มรสมะม่วงไทยแล้ว คงจะติดใจและหาซื้อมาบริโภคต่อไป ส่งผลให้ปริมาณนำเข้าผลไม้ไทยในนิวซีแลนด์สูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-