การผลิต
โปแลนด์มีภูมิอากาศหนาว จึงไม่มีการเพาะปลูกกาแฟ รวมทั้ง ยังไม่มีโรงงานผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป แต่มีโรงงานผลิตกาแฟคั่วกว่า 60 แห่งทั้งประเทศ แต่ส่วนใหญ่เป็นโรงคั่วรายย่อย
การบริโภค
อุณหภูมิในฤดูหนาวในโปแลนด์ลดต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ชาวโปแลนด์จึงนิยมดื่มเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายมีความอบอุ่น เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ กาแฟ และชา จึงได้รับความนิยมมากในโปแลนด์
กาแฟที่ชาวโปแลนด์ดื่มส่วนใหญ่ร้อยละ 85 เป็นกาแฟคั่วเหมือนชาวยุโรปทั่วไป แต่ชาวโปแลนด์ในชนบทยังคงดื่มกาแฟโดยไม่มีการกรองกากกาแฟออก และนิยมดื่มกาแฟที่มีรสชาติแรงกว่าโดยมีส่วนผสมของกาแฟพันธุ์โรบัสตาในกาแฟที่ดื่มมากกว่า เนื่องจากราคาถูกกว่ามาก และเพื่อให้รสชาติแรงขึ้น โดยเฉพาะซาวโลทางตอนใต้จะนิยมดื่มกาแฟแรงกว่า และดื่มมากกว่าทางภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม มีความพยายามเพิ่มส่วนผสมกาแฟพันธุ์อราบิกามากขึ้น ซึ่งก็มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จได้มาก
การนำเข้า
กาแฟที่โปแลนด์นำเข้าเป็นกาแฟดิบพันธุ์โรบัสตามากกว่าพันธ์อราบิกา อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ส่งกาแฟเข้าไปในโปแลนด์มากที่สุด ในปีที่ผ่านมามีปริมาณ 26,329 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24 ของประมาณนำเข้ารวม 111,377 ตัน มูลค่า 43.0 ล้านบาท แหล่งนำเข้าอันดับที่ 2 และ 3 ได้แก่ โกตดิวัวร์ และอูกันดา ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 17 และร้อยละ 13 ตามลำดับ ทั้งนี้ ทั้งสามประเทศต่างก็เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกกาแฟพันธุ์โรบัสตา
สำหรับประเทศไทย ซึ่งก็เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกกาแฟพันธุ์โรบัสตาด้วย มีส่วนแบ่งในตลาดกาแฟของโปแลนด์เพียงร้อยละ 3 แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2541 มีปริมาณ 3,484 ตัน สูงกว่ายอดนำเข้าจากไทยซึ่งเท่ากับ 3,297 ตันของทั้งปี 2540
การที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดในโปแลนด์ต่ำ น่าจะมีสาเหตุมากจากการที่ชาวโปแลนด์ยังให้ความสำคัญต่อปัจจัยราคามาก ผู้นำเข้าจึงต้องนำเข้าจากแหล่งอื่นๆ ที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งคุณภาพก็จะต่ำกว่าด้วย
ปริมาณการนำเข้ากาแฟดิบของโปแลนด์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่าอัตราการเพิ่มจะไม่สูงมาก ส่วนกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งมีการนำเข้าจากโคลัมเบีย เยอรมนี บราซิล และสหราชอาณาจักร มีปริมาณเพียง 8,831 ตันในปี 2540 แต่ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เปรียบเทียบกับปริมาณนำเข้าในปีที่ผ่านมา
ช่องทางการจัดจำหน่าย
การนำเข้ากาแฟของโปแลนด์ มีทั้งการนำเข้าโดยตรงของโรงคั่ว ได้แก่ TCHIBOL และ JACOBS ประมาณปีละ 40,000 ตัน การนำเข้าโดยบริษัทผู้นำเข้าในโปแลนด์จากผู้ส่งออกในประเทศผู้ผลิตกาแฟ โดยเฉพาะบริษัท Product Promotion ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ประมาณปีละ 20,000 ตัน และมีการนำเข้าโดยผ่านผู้นำเข้าในเยอรมนี รวมทั้งการนำเข้าผ่านบริษัทค้าสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ เช่น ดี ดี เอฟ แมน เป็นต้น
ราคานำเข้าจะขึ้นอยู่กับราคาระหว่างประเทศที่ตลาดลอนดอนเป็นหลัก กาแฟไทยที่นำเข้าเป็นแบบ FAQ (Fair Average Quality) ซึ่งแพงกว่ากาแฟของคู่แข่งขัน คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม
กาแฟที่นำเข้าจากไทยจะใช้เวลาขนส่งประมาณ 6-7 สัปดาห์ โดยส่งจากท่าเรือไทยไปสิงคโปร์ และจากสิงคโปร์ไปลงเรือถ่ายลำที่ฮัมบูรก เพื่อส่งต่อเข้าท่า Gdynia ของโปแลนด์
ผู้นำเข้าจะส่งต่อกาแฟให้แก่โรงคั่ว ซึ่งมีอยู่กว่า 60 แห่งทั่วประเทศ ในจำนวนดังกล่าวมีอยู่ประมาณ 15 ราย ที่จัดว่าเป็นผู้ผลิตกาแฟคั่วส่งจำหน่ายทั่วในโปแลนด์ ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 50 ราย เป็นโรงคั่วรายย่อยที่คั่วกาแฟขายให้แก่ผู้ซื้อในละแวกใกล้เคียงประมาณไม่เกิน 15 กิโลเมตร จากโรงคั่ว
มาตรการนำเข้า
การควบคุมคุณภาพ
การนำเข้าโปแลนด์เป็นไปโดยเสรี แต่ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวดโดยสำนักงานตรวจสอบอาหารเพื่อการบริโภค (SANEPID) ซึ่งกำหนดความชื้นไม่เกินร้อยละ 12.5 เมล็ดดำไม่เกินร้อยละ 5 และมีเมล็ดที่มีมอดไม่เกิน 1 เมล็ดใน 1,000 เมล็ด
สินค้ากาแฟดิบส่งออกของไทยไม่มีปัญหาด้านคุณภาพในการเข้าตลาดโปแลนด์ จัดว่าคุณภาพดีกว่ากาแฟดิบของอินโดนีเซีย และเวียตนาม ปัญหาคุณภาพที่มีบ้างได้แก่ ปัญหาความชื้นเกินกำหนด
ภาษี
อัตราอากรขาเข้ากาแฟดิบกำหนดไว้ที่ร้อยละ 10 แต่โปแลนด์ให้สิทธิพิเศษทางการค้า GSP แก่กาแฟดิบจากประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยไม่ต้องเสียอากรขาเข้า
อัตราอากรขาเข้ากาแฟสำเร็จรูปกำหนดไว้ที่ร้อยละ 22.7 แต่โปแลนด์ให้สิทธิพิเศษทางการค้า GSP แก่กาแฟดิบจากประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย เสียอากรขาเข้าร้อยละ 10 และสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ไม่ต้องเสียอากรขาเข้า
ในการซื้อขายสินค้าในโปแลนด์ มีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 อัตราคือ ร้อยละ 0 ร้อยละ 7 และร้อยละ 22 สำหรับกาแฟ จัดเป็นสินค้าไม่จำเป็นแก่การครองชีพ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราสูงร้อยละ 22
ปัญหาและลู่ทางการค้า
ผู้นำเข้ายอมรับว่ากาแฟดิบไทยมีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการในการผสมกับกาแฟพนัธุ์อราบิกาแต่ราคาก็สูงกว่ามากด้วย ปริมาณผลผลิตยังมีน้อย ผู้นำเข้ามีปัญหาการแข่งขันซื้อกาแฟกับผู้ผลิตกาแฟผลสำเร็จรูปในประเทศไทย
นอกจากนี้ การค้านำเข้าจากไทยต้องเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงในโปแลนด์ ผู้นำเข้าจึงพอใจค้าขายกับอินโดนีเซียและเวียดนามมากกว่า แต่ซื้อจากไทยเนื่องจากพอใจในคุณภาพ ทั้งนี้ ผู้นำเข้าแจ้งว่าได้พยายามต่อรองกับผู้ส่งออกไทย เพื่อไม่ต้องเปิด L/C ซึ่งจะช่วยให้การค้าคล่องตัวขึ้น แต่ผู้ส่งออกไทยชี้แจงว่าเป็นระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ในการขอโควตาส่งออก
ผู้นำเข้าให้ความเห็นว่า แนวโน้มความต้องการนำเข้ากาแฟดิบจากไทยจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากชาวโปแลนด์มีความต้องการบริโภคกาแฟคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ผู้ส่งออกไทยจึงควรรักษาตลาดกาแฟในโปแลนด์ไว้ เพื่อให้กาแฟไทยเป็นที่ยอมรับและติดตลาดซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการขยายการส่งออกกาแฟในระยะยาวต่อไป
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11/15 มิถุนายน 2542--
โปแลนด์มีภูมิอากาศหนาว จึงไม่มีการเพาะปลูกกาแฟ รวมทั้ง ยังไม่มีโรงงานผลิตกาแฟผงสำเร็จรูป แต่มีโรงงานผลิตกาแฟคั่วกว่า 60 แห่งทั้งประเทศ แต่ส่วนใหญ่เป็นโรงคั่วรายย่อย
การบริโภค
อุณหภูมิในฤดูหนาวในโปแลนด์ลดต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ชาวโปแลนด์จึงนิยมดื่มเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายมีความอบอุ่น เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ กาแฟ และชา จึงได้รับความนิยมมากในโปแลนด์
กาแฟที่ชาวโปแลนด์ดื่มส่วนใหญ่ร้อยละ 85 เป็นกาแฟคั่วเหมือนชาวยุโรปทั่วไป แต่ชาวโปแลนด์ในชนบทยังคงดื่มกาแฟโดยไม่มีการกรองกากกาแฟออก และนิยมดื่มกาแฟที่มีรสชาติแรงกว่าโดยมีส่วนผสมของกาแฟพันธุ์โรบัสตาในกาแฟที่ดื่มมากกว่า เนื่องจากราคาถูกกว่ามาก และเพื่อให้รสชาติแรงขึ้น โดยเฉพาะซาวโลทางตอนใต้จะนิยมดื่มกาแฟแรงกว่า และดื่มมากกว่าทางภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม มีความพยายามเพิ่มส่วนผสมกาแฟพันธุ์อราบิกามากขึ้น ซึ่งก็มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จได้มาก
การนำเข้า
กาแฟที่โปแลนด์นำเข้าเป็นกาแฟดิบพันธุ์โรบัสตามากกว่าพันธ์อราบิกา อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ส่งกาแฟเข้าไปในโปแลนด์มากที่สุด ในปีที่ผ่านมามีปริมาณ 26,329 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24 ของประมาณนำเข้ารวม 111,377 ตัน มูลค่า 43.0 ล้านบาท แหล่งนำเข้าอันดับที่ 2 และ 3 ได้แก่ โกตดิวัวร์ และอูกันดา ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 17 และร้อยละ 13 ตามลำดับ ทั้งนี้ ทั้งสามประเทศต่างก็เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกกาแฟพันธุ์โรบัสตา
สำหรับประเทศไทย ซึ่งก็เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกกาแฟพันธุ์โรบัสตาด้วย มีส่วนแบ่งในตลาดกาแฟของโปแลนด์เพียงร้อยละ 3 แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2541 มีปริมาณ 3,484 ตัน สูงกว่ายอดนำเข้าจากไทยซึ่งเท่ากับ 3,297 ตันของทั้งปี 2540
การที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดในโปแลนด์ต่ำ น่าจะมีสาเหตุมากจากการที่ชาวโปแลนด์ยังให้ความสำคัญต่อปัจจัยราคามาก ผู้นำเข้าจึงต้องนำเข้าจากแหล่งอื่นๆ ที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งคุณภาพก็จะต่ำกว่าด้วย
ปริมาณการนำเข้ากาแฟดิบของโปแลนด์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่าอัตราการเพิ่มจะไม่สูงมาก ส่วนกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งมีการนำเข้าจากโคลัมเบีย เยอรมนี บราซิล และสหราชอาณาจักร มีปริมาณเพียง 8,831 ตันในปี 2540 แต่ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เปรียบเทียบกับปริมาณนำเข้าในปีที่ผ่านมา
ช่องทางการจัดจำหน่าย
การนำเข้ากาแฟของโปแลนด์ มีทั้งการนำเข้าโดยตรงของโรงคั่ว ได้แก่ TCHIBOL และ JACOBS ประมาณปีละ 40,000 ตัน การนำเข้าโดยบริษัทผู้นำเข้าในโปแลนด์จากผู้ส่งออกในประเทศผู้ผลิตกาแฟ โดยเฉพาะบริษัท Product Promotion ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ประมาณปีละ 20,000 ตัน และมีการนำเข้าโดยผ่านผู้นำเข้าในเยอรมนี รวมทั้งการนำเข้าผ่านบริษัทค้าสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ เช่น ดี ดี เอฟ แมน เป็นต้น
ราคานำเข้าจะขึ้นอยู่กับราคาระหว่างประเทศที่ตลาดลอนดอนเป็นหลัก กาแฟไทยที่นำเข้าเป็นแบบ FAQ (Fair Average Quality) ซึ่งแพงกว่ากาแฟของคู่แข่งขัน คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม
กาแฟที่นำเข้าจากไทยจะใช้เวลาขนส่งประมาณ 6-7 สัปดาห์ โดยส่งจากท่าเรือไทยไปสิงคโปร์ และจากสิงคโปร์ไปลงเรือถ่ายลำที่ฮัมบูรก เพื่อส่งต่อเข้าท่า Gdynia ของโปแลนด์
ผู้นำเข้าจะส่งต่อกาแฟให้แก่โรงคั่ว ซึ่งมีอยู่กว่า 60 แห่งทั่วประเทศ ในจำนวนดังกล่าวมีอยู่ประมาณ 15 ราย ที่จัดว่าเป็นผู้ผลิตกาแฟคั่วส่งจำหน่ายทั่วในโปแลนด์ ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 50 ราย เป็นโรงคั่วรายย่อยที่คั่วกาแฟขายให้แก่ผู้ซื้อในละแวกใกล้เคียงประมาณไม่เกิน 15 กิโลเมตร จากโรงคั่ว
มาตรการนำเข้า
การควบคุมคุณภาพ
การนำเข้าโปแลนด์เป็นไปโดยเสรี แต่ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวดโดยสำนักงานตรวจสอบอาหารเพื่อการบริโภค (SANEPID) ซึ่งกำหนดความชื้นไม่เกินร้อยละ 12.5 เมล็ดดำไม่เกินร้อยละ 5 และมีเมล็ดที่มีมอดไม่เกิน 1 เมล็ดใน 1,000 เมล็ด
สินค้ากาแฟดิบส่งออกของไทยไม่มีปัญหาด้านคุณภาพในการเข้าตลาดโปแลนด์ จัดว่าคุณภาพดีกว่ากาแฟดิบของอินโดนีเซีย และเวียตนาม ปัญหาคุณภาพที่มีบ้างได้แก่ ปัญหาความชื้นเกินกำหนด
ภาษี
อัตราอากรขาเข้ากาแฟดิบกำหนดไว้ที่ร้อยละ 10 แต่โปแลนด์ให้สิทธิพิเศษทางการค้า GSP แก่กาแฟดิบจากประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยไม่ต้องเสียอากรขาเข้า
อัตราอากรขาเข้ากาแฟสำเร็จรูปกำหนดไว้ที่ร้อยละ 22.7 แต่โปแลนด์ให้สิทธิพิเศษทางการค้า GSP แก่กาแฟดิบจากประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย เสียอากรขาเข้าร้อยละ 10 และสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ไม่ต้องเสียอากรขาเข้า
ในการซื้อขายสินค้าในโปแลนด์ มีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 อัตราคือ ร้อยละ 0 ร้อยละ 7 และร้อยละ 22 สำหรับกาแฟ จัดเป็นสินค้าไม่จำเป็นแก่การครองชีพ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราสูงร้อยละ 22
ปัญหาและลู่ทางการค้า
ผู้นำเข้ายอมรับว่ากาแฟดิบไทยมีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการในการผสมกับกาแฟพนัธุ์อราบิกาแต่ราคาก็สูงกว่ามากด้วย ปริมาณผลผลิตยังมีน้อย ผู้นำเข้ามีปัญหาการแข่งขันซื้อกาแฟกับผู้ผลิตกาแฟผลสำเร็จรูปในประเทศไทย
นอกจากนี้ การค้านำเข้าจากไทยต้องเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงในโปแลนด์ ผู้นำเข้าจึงพอใจค้าขายกับอินโดนีเซียและเวียดนามมากกว่า แต่ซื้อจากไทยเนื่องจากพอใจในคุณภาพ ทั้งนี้ ผู้นำเข้าแจ้งว่าได้พยายามต่อรองกับผู้ส่งออกไทย เพื่อไม่ต้องเปิด L/C ซึ่งจะช่วยให้การค้าคล่องตัวขึ้น แต่ผู้ส่งออกไทยชี้แจงว่าเป็นระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ในการขอโควตาส่งออก
ผู้นำเข้าให้ความเห็นว่า แนวโน้มความต้องการนำเข้ากาแฟดิบจากไทยจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากชาวโปแลนด์มีความต้องการบริโภคกาแฟคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ผู้ส่งออกไทยจึงควรรักษาตลาดกาแฟในโปแลนด์ไว้ เพื่อให้กาแฟไทยเป็นที่ยอมรับและติดตลาดซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการขยายการส่งออกกาแฟในระยะยาวต่อไป
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11/15 มิถุนายน 2542--