รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีการค้า(Ministers Responsible for Trade : MRT) ระหว่างวันที่ 2 — 3 มิถุนายน 2548 ณ เกาะเจจู สาธารณรัฐเกาหลี
การประชุมครั้งนี้ นับว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้พบปะทำความรู้จักคุ้นเคยกับรัฐมนตรีการค้าของสมาชิก หารือทวิภาคี และหารือประเด็นการค้าและความร่วมมือต่างๆ ในกรอบเอเปค มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบโดฮา ภายใต้องค์การการค้าโลก โดยที่นาย Kim Hyun Chong รัฐมนตรีการค้าเกาหลี จะเป็นประธานการประชุม MRT ครั้งนี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ และ เชี่ยวชาญเรื่อง WTO เป็นอย่างดี จึงได้ให้ความสำคัญและจะใช้เวลาหารือเรื่องการเจรจาการค้ารอบโดฮาอย่างมาก
ประเทศไทยเห็นว่า เนื่องจากการเจรจารอบโดฮากำลังอยู่ในช่วงสำคัญ คือ สมาชิกจะต้องจัดทำร่างรูปแบบข้อผูกพัน (modalities) สินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเสนอให้รัฐมนตรีเห็นชอบในเดือนธันวาคม 2548 ที่ฮ่องกง ดังนั้น ไทยจะใช้โอกาสในการประชุม MRT ครั้งนี้ผลักดันให้ประเทศสมาชิกเอเปคมีท่าทียืดหยุ่น และประนีประนอมมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย เพื่อให้สามารถจัดทำ modalities ให้เสร็จตามกำหนดเวลา ซึ่งจะส่งผลให้การประชุมระดับรัฐมนตรีที่ฮ่องกงประสบผลสำเร็จ
2. การประเมินผลความคืบหน้าในการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน (Mid-Term Stocktake) ภายใต้ปฏิญญาโบกอร์ เมื่อปี 1994 สมาชิกเอเปคได้กำหนดเป้าหมายในการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของสมาชิกไว้ว่า สมาชิกพัฒนาแล้ว ภายในปี 2010 และสมาชิกกำลังพัฒนา ภายในปี 2020 ดังนั้น ในการประชุมMRT ครั้งนี้ จะมีการประเมินผล (กลางรอบ) ของการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของสมาชิก โดยเฉพาะสมาชิกพัฒนาแล้วว่าตั้งแต่เริ่มต้นมีความคืบหน้าอย่างไร เพื่อจัดทำ แนวทางการดำเนินงาน roadmap เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโบกอร์ นอกจากนี้ จะได้ทราบว่าเรื่องใดที่ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย และเรื่องใดที่ยังคงล่าช้าและมีอุปสรรคประการใด จะได้เร่งให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องนั้นๆ
การประเมินผลฯ ดังกล่าวจะพิจารณาจากแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (Individual Action Plan: IAP) ที่สมาชิกจะต้องรายงานเป็นประจำ ประกอบด้วย 14 เรื่อง ได้แก่ ภาษีศุลกากร มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร บริการ การลงทุน มาตรฐานและการรับรอง พิธีการศุลกากร สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ การผ่อนคลายกฎระเบียบ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การระงับข้อพิพาท การเดินทางของนักธุรกิจ และการปฏิบัติตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย
สำหรับประเทศไทย ได้ส่งรายงานการประเมินผลฯ แล้ว เมื่อเดือนมีนาคม 2548 โดยได้สรุปการดำเนินงานที่ผ่านมาของไทยในด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ทั้งด้านการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ การปฏิรูประบบโครงสร้างภาษีศุลกากร โดยอัตราภาษีเฉลี่ยลดลงร้อยละ 30 (จาก 18.36% — 11.97%) การปรับแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นัก ลงทุนต่างชาติ อาทิ พ.ร.บ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 การจัดทำฐานข้อมูลต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส โดยเฉพาะมีการใช้ระบบ e-auction ในการประมูลการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักธุรกิจภายใต้โครงการ APEC Business Travel Card (ABTC) Scheme ซึ่งขณะนี้ ไทยได้ออกบัตรให้กับนักธุรกิจแล้ว ประมาณ 230 คน เป็นต้น
3. การอำนวยความสะดวกทางการค้า จะเป็นการหารือเพื่อเร่งรัดให้สมาชิกดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ในด้านพิธีการศุลกากร การปรับมาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกัน การอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมทางการค้าในภูมิภาคลงร้อยละ 5 ในเวลา 5 ปี (2002 — 2006) ซึ่ง ปีหน้า จะเป็นปีสุดท้ายที่จะมีการวัดผลดังกล่าว นอกจากนี้ เอเปคมีประสบการณ์การดำเนินงานเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้ามามาก จะได้นำไปขยายผลต่อในการเจรจาเรื่องนี้ ภายใต้ WTO
สำหรับประเทศไทยได้ดำเนินการ ดังนี้
- พิธีการศุลกากร ได้นำระบบ EDI มาใช้ เช่น e-declaration, e-manifest และ e-payment ลดการตรวจสินค้าทั้งขาเข้าลงเหลือร้อยละ 10 และยกเว้นการตรวจสำหรับสินค้าขาออก จัดทำระบบ One Stop Service (Single Window) ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณชนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นต้น
- มาตรฐานสินค้า ได้ปรับประสานมาตรฐานภายในประเทศให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เข้าร่วมความตกลงยอมรับร่วม ((MRA) เช่น Pacific Acrreditaion Cooperation (PAC) Multilateral MRA และ Global MRA on Metrology เป็นต้น
- การเดินทางของนักธุรกิจ ได้เข้าร่วมโครงการ APEC Business Travel Card (ABTC) Scheme และนำระบบ Advanced Passenger Information (API) System มาใช้ที่สนามบินดอนเมือง
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นำระบบ BAHTNET และ SMART System มาใช้อำนวยความสะดวกในการชำระเงินสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ส่งออกในการจัดทำ website สำหรับธุรกิจของตนเอง เป็นต้น
4. การหารือทวิภาคี กับสมาชิกเอเปค ดังนี้
- เกาหลี เรื่องภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง) การนำเข้าข้าวตามระบบประมูล และปัญหาด้านสุขอนามัยเนื้อหมูและไก่แช่แข็ง
- ออสเตรเลีย เรื่องการดำเนินการต่างๆ ตามความตกลงเขตการค้าเสรีไทย — ออสเตรเลีย และความร่วมมือด้านการศึกษา เกษตร Asian Bond 2 การเดินเรือ และพลังงาน
- สหรัฐฯ เรื่องการเจรจา FTA ไทย — สหรัฐฯ ปัญหา AD กุ้ง การส่งออกไก่ และ WTO
- จีน เรื่อง FTA อาเซียน-จีน และการคมนาคมไทย — จีน ผ่านพม่ามีปัญหา
- เปรู เรื่องการเจรจา FTA ไทย — เปรู มาตรการสุขอนามัยข้าว (โรคไข้หวัดนก) และการเยือนเปรูของนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนตุลาคม 2548
- ชิลี เรื่องการประชุม JTC ไทย — ชิลี ครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะจัดทำ Joint Action Plan และการเยือนชิลีของนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนตุลาคม 2548
สำหรับมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับเอเปก ในปี 2548 (ม.ค. — มี.ค.) มีปริมาณการค้าระหว่างกัน มูลค่า 37,754 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออก 17,921 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้า 19,832 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับที่ไทยค้ากับทั้งโลก มีปริมาณการค้าทั้งสิ้น 53,359 ล้านเหรียญฯสหรัฐฯ ส่วนปี 2547 ทั้งปี ไทยกับเอเปก มีปริมาณการรวม 135,074 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 4,361 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
-------------------------------------------------------------------------------
* สมาชิกเอเปค 21 เขตเศรษฐกิจ - ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐฯ และเวียดนาม
-------------------------------------------------------------------------------
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-
การประชุมครั้งนี้ นับว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้พบปะทำความรู้จักคุ้นเคยกับรัฐมนตรีการค้าของสมาชิก หารือทวิภาคี และหารือประเด็นการค้าและความร่วมมือต่างๆ ในกรอบเอเปค มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบโดฮา ภายใต้องค์การการค้าโลก โดยที่นาย Kim Hyun Chong รัฐมนตรีการค้าเกาหลี จะเป็นประธานการประชุม MRT ครั้งนี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ และ เชี่ยวชาญเรื่อง WTO เป็นอย่างดี จึงได้ให้ความสำคัญและจะใช้เวลาหารือเรื่องการเจรจาการค้ารอบโดฮาอย่างมาก
ประเทศไทยเห็นว่า เนื่องจากการเจรจารอบโดฮากำลังอยู่ในช่วงสำคัญ คือ สมาชิกจะต้องจัดทำร่างรูปแบบข้อผูกพัน (modalities) สินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเสนอให้รัฐมนตรีเห็นชอบในเดือนธันวาคม 2548 ที่ฮ่องกง ดังนั้น ไทยจะใช้โอกาสในการประชุม MRT ครั้งนี้ผลักดันให้ประเทศสมาชิกเอเปคมีท่าทียืดหยุ่น และประนีประนอมมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย เพื่อให้สามารถจัดทำ modalities ให้เสร็จตามกำหนดเวลา ซึ่งจะส่งผลให้การประชุมระดับรัฐมนตรีที่ฮ่องกงประสบผลสำเร็จ
2. การประเมินผลความคืบหน้าในการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน (Mid-Term Stocktake) ภายใต้ปฏิญญาโบกอร์ เมื่อปี 1994 สมาชิกเอเปคได้กำหนดเป้าหมายในการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของสมาชิกไว้ว่า สมาชิกพัฒนาแล้ว ภายในปี 2010 และสมาชิกกำลังพัฒนา ภายในปี 2020 ดังนั้น ในการประชุมMRT ครั้งนี้ จะมีการประเมินผล (กลางรอบ) ของการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของสมาชิก โดยเฉพาะสมาชิกพัฒนาแล้วว่าตั้งแต่เริ่มต้นมีความคืบหน้าอย่างไร เพื่อจัดทำ แนวทางการดำเนินงาน roadmap เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโบกอร์ นอกจากนี้ จะได้ทราบว่าเรื่องใดที่ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย และเรื่องใดที่ยังคงล่าช้าและมีอุปสรรคประการใด จะได้เร่งให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องนั้นๆ
การประเมินผลฯ ดังกล่าวจะพิจารณาจากแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (Individual Action Plan: IAP) ที่สมาชิกจะต้องรายงานเป็นประจำ ประกอบด้วย 14 เรื่อง ได้แก่ ภาษีศุลกากร มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร บริการ การลงทุน มาตรฐานและการรับรอง พิธีการศุลกากร สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ การผ่อนคลายกฎระเบียบ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การระงับข้อพิพาท การเดินทางของนักธุรกิจ และการปฏิบัติตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย
สำหรับประเทศไทย ได้ส่งรายงานการประเมินผลฯ แล้ว เมื่อเดือนมีนาคม 2548 โดยได้สรุปการดำเนินงานที่ผ่านมาของไทยในด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ทั้งด้านการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ การปฏิรูประบบโครงสร้างภาษีศุลกากร โดยอัตราภาษีเฉลี่ยลดลงร้อยละ 30 (จาก 18.36% — 11.97%) การปรับแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นัก ลงทุนต่างชาติ อาทิ พ.ร.บ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 การจัดทำฐานข้อมูลต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส โดยเฉพาะมีการใช้ระบบ e-auction ในการประมูลการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักธุรกิจภายใต้โครงการ APEC Business Travel Card (ABTC) Scheme ซึ่งขณะนี้ ไทยได้ออกบัตรให้กับนักธุรกิจแล้ว ประมาณ 230 คน เป็นต้น
3. การอำนวยความสะดวกทางการค้า จะเป็นการหารือเพื่อเร่งรัดให้สมาชิกดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ในด้านพิธีการศุลกากร การปรับมาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกัน การอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมทางการค้าในภูมิภาคลงร้อยละ 5 ในเวลา 5 ปี (2002 — 2006) ซึ่ง ปีหน้า จะเป็นปีสุดท้ายที่จะมีการวัดผลดังกล่าว นอกจากนี้ เอเปคมีประสบการณ์การดำเนินงานเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้ามามาก จะได้นำไปขยายผลต่อในการเจรจาเรื่องนี้ ภายใต้ WTO
สำหรับประเทศไทยได้ดำเนินการ ดังนี้
- พิธีการศุลกากร ได้นำระบบ EDI มาใช้ เช่น e-declaration, e-manifest และ e-payment ลดการตรวจสินค้าทั้งขาเข้าลงเหลือร้อยละ 10 และยกเว้นการตรวจสำหรับสินค้าขาออก จัดทำระบบ One Stop Service (Single Window) ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณชนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นต้น
- มาตรฐานสินค้า ได้ปรับประสานมาตรฐานภายในประเทศให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เข้าร่วมความตกลงยอมรับร่วม ((MRA) เช่น Pacific Acrreditaion Cooperation (PAC) Multilateral MRA และ Global MRA on Metrology เป็นต้น
- การเดินทางของนักธุรกิจ ได้เข้าร่วมโครงการ APEC Business Travel Card (ABTC) Scheme และนำระบบ Advanced Passenger Information (API) System มาใช้ที่สนามบินดอนเมือง
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นำระบบ BAHTNET และ SMART System มาใช้อำนวยความสะดวกในการชำระเงินสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ส่งออกในการจัดทำ website สำหรับธุรกิจของตนเอง เป็นต้น
4. การหารือทวิภาคี กับสมาชิกเอเปค ดังนี้
- เกาหลี เรื่องภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง) การนำเข้าข้าวตามระบบประมูล และปัญหาด้านสุขอนามัยเนื้อหมูและไก่แช่แข็ง
- ออสเตรเลีย เรื่องการดำเนินการต่างๆ ตามความตกลงเขตการค้าเสรีไทย — ออสเตรเลีย และความร่วมมือด้านการศึกษา เกษตร Asian Bond 2 การเดินเรือ และพลังงาน
- สหรัฐฯ เรื่องการเจรจา FTA ไทย — สหรัฐฯ ปัญหา AD กุ้ง การส่งออกไก่ และ WTO
- จีน เรื่อง FTA อาเซียน-จีน และการคมนาคมไทย — จีน ผ่านพม่ามีปัญหา
- เปรู เรื่องการเจรจา FTA ไทย — เปรู มาตรการสุขอนามัยข้าว (โรคไข้หวัดนก) และการเยือนเปรูของนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนตุลาคม 2548
- ชิลี เรื่องการประชุม JTC ไทย — ชิลี ครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะจัดทำ Joint Action Plan และการเยือนชิลีของนายกรัฐมนตรีไทยในเดือนตุลาคม 2548
สำหรับมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับเอเปก ในปี 2548 (ม.ค. — มี.ค.) มีปริมาณการค้าระหว่างกัน มูลค่า 37,754 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออก 17,921 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้า 19,832 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับที่ไทยค้ากับทั้งโลก มีปริมาณการค้าทั้งสิ้น 53,359 ล้านเหรียญฯสหรัฐฯ ส่วนปี 2547 ทั้งปี ไทยกับเอเปก มีปริมาณการรวม 135,074 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 4,361 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
-------------------------------------------------------------------------------
* สมาชิกเอเปค 21 เขตเศรษฐกิจ - ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐฯ และเวียดนาม
-------------------------------------------------------------------------------
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-