สมชาย สุนทรวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สัมภาษณ์เรื่อง " สรุปผลงานในรอบ 6 เดือน "
นายสมชาย สุนทรวัฒน์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2540 นั้น โดยมี นายปองพล อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และ ได้มอบหมายให้นาย สมชาย สุนทรวัฒน์ กำกับดูแล และกำหนดนโยบายการดำเนินงานของหน่วยงาน และรัฐวิสาหกิจในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 หน่วยงาน 2 รัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรมปศุสัตว์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ องค์การ สวนยาง และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และเพื่อให้การบริหารงานยางพารามีเอกภาพ จึงได้กำกับ ดูแลสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร อีกหน่วยงานหนึ่งด้วย
ผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลในรอบ 6 เดือน จะสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ปศุสัตว์ และการตรวจบัญชีสหกรณ์ ดังนี้
1.ด้านยางพารา
1. เร่งแก้ปัญหาโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา โดยมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสต๊อกยางพาราและ ตรวจสอบคุณภาพยางพารา โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตั้งคณะกรรมการขายยางตามโครงการแทรก แซงตลาดยางพารา มีหน้าที่กำหนดวิธีการพิจารณาการขายยางและพิจารณาผลการขายยาง เพื่อให้การขายยาง มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งวิธีการขายมี 3 วิธี คือ 1) ขายให้กับผู้ส่งออกในประเทศพม่าผ่านห้องค้ายาง สำนักตลาดกลางยางพารา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด
สงขลา และต้องส่งออก 2) ขายให้กับผู้นำเข้ายางจากต่างประเทศโดยตรง และได้ขายไปแล้ว 43,000 ตัน
3) ขายต่างตอบแทน (Counter trade) ได้ดำเนินการติดต่อกับริษัทปุ๋ยแห่งชาติและจีน เพื่อขายยางให้จีนแลกกับ ปุ๋ย Rock phosphate ได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาตรการแทรกแซงตลาดยางพาราปี 2540 ให้มีความรัดกุมและเกิด ประโยชน์ต่อเกษตรกรสูงสุด โดยให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยางเป็นผู้ดำเนินการแทรกแซงตลาดยาง พารา และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์ฯได้เข้าไปซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรง ณ ตลาดประมูลยางท้องถิ่น 171 ตลาดทั่วประเทศ มีปริมาณยางเข้าตลาดประมูลยาง 6,201 ตัน ราคา 184.30 ล้านบาท ในจำนวนนี้สำนักงานกอง ทุนสงเคราะห์ฯ ซื้อได้ 600.30 ตัน มูลค่า 26 ล้านบาท และผลการดำเนินงาน สามารถยกระดับราคายางในท้องถิ่น ให้สูงขึ้น จากราคากิโลกรัมละ 18-20 บาท เป็นไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 25 บาท (7 เม.ย.-29 พ.ค. 41)
2. การยกระดับและรักษาระดับราคายางของเกษตรกร กำหนดให้ปรับราคายางแทรกแซง จากเดิมยางแผ่น ดิบคุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 25 บาท เป็น กิโลกรัมละ 27 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป ยกระดับราคายางของเกษตรกรชาวสวนยาง ตลาดกลางยางพารา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้บริหารการซื้อ /ขายยางแก่เกษตรกรและสหกรณ์จำนวน 12,428 ตัน ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.99 บาท มูลค่ารวม 335.43 ล้านบาท ราคายางที่ตลาดกลางสูงกว่าราคายางท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ร้อยละ 9 ส่งผลให้ภาพรวมเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 24.98 ล้านบาท สนับสนุนการส่งออกยางโดยไม่เก็บเงินสงเคราะห์ถ้าเป็นยางสังเคราะห์ผสมสารเ คมี ปรับวิธี การส่งออกยางเป็นระบบการบริการ one stop services โดยกำหนดให้การขออนุญาตส่งออกยาง การเรียนเก็บเงิน สงเคราะห์ และพิธีการทางศุลกากร รวมอยู่ในสถานที่เดียวกัน โดยเริ่มทดลองที่ศูนย์วิจัยยางสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2541 เพิ่มศักยภาพการบริการทดสอบ และออกใบรับรองคุณภาพยางแท่งให้กับผู้ส่งออกเพื่อรองรับ การขยายตัวของยางแท่งที่มีมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเดิมสถาบันวิจัยยาง สามารถให้บริการทดสอบวันละ 800-1,200 ตัวอย่าง เพิ่มเป็นวันละ 2,000 ตัวอย่าง หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 80 และเร่งดำเนินการสนับสนุนให้เอกชนตั้ง ห้องทดสอบและออกใบรับรองได้ด้วยตนเอง ภายใต้การควบคุมของกรมววิชาการเกษตร
3. การกระจายและพัฒนาการผลิต ปรับปรุงพันธุ์ยางที่เหมาะสม 22 พันธุ์ พันธุ์ยางเหล่านั้นมีผลผลิตอยู่ใน ระดับปีละ 280-342 กิโลกรัมต่อไร่ มีปุ๋ยสูตรที่เหมาะสมกับชนิดของดินและอายุต้นยาง จำนวน 3 สูตร คือ 20-8-20 , 20-10-12 และ 30-5-18 ซึ่งจะลดต้นทุนได้ประมาณตันละ 3,500-4,000 บาท และเพิ่มผลผลิตได้อีกร้อยละ 17 สนับ สนุนให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สามารถปลูกยางพัน ธุ์ดีไปแล้ว 123,480 ไร่ (จำนวน 200,000 ไร่ ในปี 2540-2542) สนับสนุนปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีแทนยางเก่า จำนวน 80,000 ไร่ พัฒนา กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางให้เป็นสหกรณ์โดยสร้างโรงอบ/รมยางให้กับสหกรณ์เพื่อ ผลิตยางแผ่นผึ่งแห้งหรือยาง แผ่นรมควันที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาด ซึ่งได้ดำเนินสร้างไปแล้ว จำนวน 381 แห่ง และในอนาคตจะพัฒนา ระบบตลาดโดยการตั้งตลาดกลางแลกเปลี่ยนยางไทย (Thailand Rubber Exchange) ที่ตลาดกลางยางพารา อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตลาดกลางยางพาราที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และใช้ ระบบ Computer on-line ในการ ซื้อขายระหว่างตลาดกลาง อำเภอหาดใหญ่ ให้เป็นระบบตลาดเดียว และสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบ อาชีพเสริมแก่เกษตรกรชาวสวนยาง โดยอนุมัติโครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบอาชีพเสริมพร้อมกับขยาย วงเงินกู้จากเดิมรายละไม่เกิน 20,000 บาท เป็นรายละไม่เกิน 30,000 บาท โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี มีเกษตรกร เข้าร่วมโครงการ 3,920 ราย วงเงินกู้ 80 ล้านบาท จากการประเมินผลพบว่าเกษตรกรที่ปลูกพืชแซมมีกำไรเฉลี่ยราย ละ 91,892 บาท (ในระยะเวลา 2 ปี) และจากการเลี้ยงสัตว์ที่มีกำไรเฉลี่ยรายละ 16,314 บาท
ด้านปศุสัตว์
1. พัฒนาการส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ปรับปรุงคุณภาพการผลิต และออกใบรับรองคุณภาพ สินค้าตามมาตรฐานสากล ทำให้มูลค่าการส่งออกเนื้อและผลิตภัณฑ์ในรอบ ปี เดือนแรกของปี 2541 เทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเป็น 8,226 ล้านบาท หรือร้อยละ 55 แยกเป็น 1) เนื้อและผลิตภัณฑ์จากไก่ ปริมาณการ ส่งออก 81,603 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 มูลค่า 7,957 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 54 2) เนื้อและผลิตภัณฑ์จากสุกร ส่งออก 748 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 มูลค่า 82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ในปริมาณที่ส่งออกนี้ จำนวนร้อยละ 50 เป็นการ ส่งออกเนื้อสุกรแช่แข็งไปยังสิงคโปร์และฮ่องกง 3) ไข่ไก่ ส่งออก 30 ล้านฟอง เพิ่มขึ้นร้อยละ 140 มูลค่า 50 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 127 4) โคมีชีวิต ส่งออก 11,600 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 119 มูลค่า 129 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 148
2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็น จัดตั้งโรงฆ่าสัตว์และแปรรูปที่ทันสมัยถูกสุขอนามัย จำนวน 2 แห่ง คือ 1) โรงฆ่าสัตว์และแปรรูปเนื้อโค-กระบือ ที่จังหวัดชุมพร เพื่อพัฒนาภาคใต้เป็นเขตผลิตโค-กระบือเพื่อการ ส่งออกกำลังการผลิต 100 ตัว/วัน 2) โรงฆ่าสัตว์และแปรรูปเนื้อสุกร ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อพัฒนาให้ภาคตะวัน ออกเป็นเขตผลิตสุกรเพื่อการส่งออก กำลังการผลิต 1,600 ตัว/วัน บรรเทาปัญหาการว่างงานและปัญหาค่าครองชีพ โดยการสนับสนุนอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีกแก่ราษฎรเพื่อเป็นอาชีพที่มีรายได้เ สริม และปรับแผนงานงบประมาณปี 2541 วงเงิน 145 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรองรับแรงงานคืนถิ่นแก่เกษตรกร 500,000 ราย จำนวน 7,500,000 ตัว และสนับสนุนการเลี้ยงสตัว์ผสมผสานกับการเพาะปลูกพืชของเกษตรกร ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ดินเค็ม จำนวน 1,200 ราย จำนวนสัตว์ปีก 18,000 ตัว และในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำนวน 2,000 ราย จำนวนสัตว์ปีก 30,000 ตัว ช่วยเหลือชดเชยค่าพันธุ์สัตว์เกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติจากพายุซีต้า คาส และ ลิดา โดยใช้เงินทดรอง ราชการของจังหวัด จำนวน 16 จังหวัด จำนวน 13.4 ล้านบาท จำนวน 330,440 ตัว พัฒนาสถาบันเกษตรกรโดยการ จัดตั้งอาสาพัฒนาปศุสัตว์ 13,000 คน จัดตั้งฟาร์มสาธิต 387 ฟาร์ม และในอนาคตจะเร่งจัดทำโครงการส่งเสริมการ เลี้ยงโคนมเพื่อทดแทนการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม สนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทาง "เกษตรกรทฤษฎีใหม่" จำนวน 5,000 ราย สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ จำนวน 3 แห่ง
3. เร่งรัดการอำนวยความสะดวกในการส่งออกเนื้อ รับรองห้องปฏิบัติการของเอกชน ทำให้สามารถ วิเคราะห์คุณภาพเนื้อและผลิตภัณฑ์ส่งออกได้รวดเร็วและปริมาณมากขึ้น
4. เปิดตลาดส่งออกสุกร สามารถส่งออกสุกรแช่แข็งไปยังสิงคโปร์และฮ่องกงซึ่งเป็นตลาดใหม่ และส่ง ออกเนื้อสุกรต้มสุกไปยังประเทศญี่ปุ่น เปิดตลาดส่งออกเนื้อสุกรแช่แข็งและผลิตภัณฑ์แปรรูปสุกรไปยังประเทศ ญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายส่งออก 40,000 ตัน ในปี 2542
5. สนับสนุนการกระจายการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิตสินค้าปศุสัตว์ วิจัยสายพันธุ์สัตว์คุณภาพดี ได้แก่ ไก่เนื้อ 4 สายเลือด ,โคเนื้อพันธุ์ตาก และโคเนื้อพันธุ์กบินทร์บุรี ปรับปรุงพันธุ์โดยให้บริการผสมเทียมด้วย น้ำเชื้อ พ่อพันธุ์คุณภาพดีแก่แม่พันธุ์สัตว์พื้นเมืองของเกษตรกร จำนวน 196,497 ตัว มีลูกสัตว์พันธุ์ดีเกิดขึ้น จำนวน 98,507 ตัว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2540 ประมาณร้อยละ 26 ผลิต และกระจายสัตว์พันธุ์ดีแก่เกษตรกรโดยศูนย์/สถานีของกรมปศุสัตว์จำนวน 617,600 ตัว นำไปเลี้ยงอีก 22 ล้านตัว ในปี 2542 คิดเป็นมูลค่า 1,650 ล้านบาท
6. สนับสนุนเกษตรกรได้รับราคาสินค้าที่มีเสถียรภาพและเป็นธรรม ด้านโคนม ได้ปรับราคารับซื้อน้ำนม ดิบ ณ หน้าโรงงานแปรรูปจากเดิม 10.50 บาท/กก. เป็น 12.50 บาท/กก. ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541 เป็นต้นไป
ด้านการตรวจบัญชีสหกรณ์
1. ได้ตรวจสอบบัญชีของสหกรณ์ จำนวน 2,682 สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 1,006 กลุ่ม มีมูลค่า สินทรัพย์ทั้งสิ้น 269,062.27 ล้านบาท ปริมาณธุรกิจรวม 302,099.23 ล้านบาท และดูแลทรัพย์สินที่เกษตรกรและ สมาชิกสหกรณ์จำนวน 2,813,126 ครัวเรือน ที่นำไปลงทุนถือหุ้นในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มีการดำเนิน งานเพื่อประโยชน์แก่กิจการและมวลสมาชิก
2. ติดตามตรวจสอบการใช้เงินช่วยเหลือเกษตรที่กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรได้ให้สถ าบันเกษตรกู้ยืม โดยปลอดดอกเบี้ย เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมทั้งวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 3 โครง การ คือ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ มีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ 382 สหกรณ์ วงเงินกู้ยืม 810 ล้านบาท โครงการพัฒนาธุรกิจตลาดกลางของสหกรณ์มีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ 634 กลุ่ม วงเงินกู้ยืม 350 ล้านบาท และโครงการเก็บข้าวเปลือกของกลุ่มเกษตร มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 302 โครงการ วงเงินกู้ 200 ล้านบาท
3. จัดทำโปรแกรมระบบบัญชีและระบบงานสหกรณ์ออมทรัพย์ และจัดทำโครงการปรับปรุงระบบการตรวจ สอบบัญชีสหกรณ์โดยให้สหกรณ์นอกภาคเกษตรที่มีระบบการบริหารงานดี สามารถจ้างผู้สอบบัญชีภาคเอกชน ตรวจสอบบัญชีได้ มีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 165 สหกรณ์ ได้จัดจ้างผู้สอบบัญชีภาคเอกชนแล้ว จำนวน 11 สหกรณ์
4. ได้ร่วมมือและประสานงานกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เพื่อลดความ ผิดพลาดทางการเงินและบัญชี ขณะนี้ได้ติดตามหนี้จนได้ชำระเงินคืนของ 240 สหกรณ์ เป็นเงิน 122.96 ล้านบาท และยังคงเหลือสหกรณ์ที่พบข้อบกพร่องทางการเงินอีก 1,273 สหกรณ์ เป็นเงิน 340.12 ล้านบาท ที่ยังต้องติดตาม การชำระหนี้
******************** ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.democrat.or.th ********************--จบ--
นายสมชาย สุนทรวัฒน์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2540 นั้น โดยมี นายปองพล อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และ ได้มอบหมายให้นาย สมชาย สุนทรวัฒน์ กำกับดูแล และกำหนดนโยบายการดำเนินงานของหน่วยงาน และรัฐวิสาหกิจในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 หน่วยงาน 2 รัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรมปศุสัตว์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ องค์การ สวนยาง และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และเพื่อให้การบริหารงานยางพารามีเอกภาพ จึงได้กำกับ ดูแลสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร อีกหน่วยงานหนึ่งด้วย
ผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลในรอบ 6 เดือน จะสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ปศุสัตว์ และการตรวจบัญชีสหกรณ์ ดังนี้
1.ด้านยางพารา
1. เร่งแก้ปัญหาโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา โดยมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสต๊อกยางพาราและ ตรวจสอบคุณภาพยางพารา โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ตั้งคณะกรรมการขายยางตามโครงการแทรก แซงตลาดยางพารา มีหน้าที่กำหนดวิธีการพิจารณาการขายยางและพิจารณาผลการขายยาง เพื่อให้การขายยาง มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งวิธีการขายมี 3 วิธี คือ 1) ขายให้กับผู้ส่งออกในประเทศพม่าผ่านห้องค้ายาง สำนักตลาดกลางยางพารา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด
สงขลา และต้องส่งออก 2) ขายให้กับผู้นำเข้ายางจากต่างประเทศโดยตรง และได้ขายไปแล้ว 43,000 ตัน
3) ขายต่างตอบแทน (Counter trade) ได้ดำเนินการติดต่อกับริษัทปุ๋ยแห่งชาติและจีน เพื่อขายยางให้จีนแลกกับ ปุ๋ย Rock phosphate ได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาตรการแทรกแซงตลาดยางพาราปี 2540 ให้มีความรัดกุมและเกิด ประโยชน์ต่อเกษตรกรสูงสุด โดยให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์สวนยางเป็นผู้ดำเนินการแทรกแซงตลาดยาง พารา และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์ฯได้เข้าไปซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรง ณ ตลาดประมูลยางท้องถิ่น 171 ตลาดทั่วประเทศ มีปริมาณยางเข้าตลาดประมูลยาง 6,201 ตัน ราคา 184.30 ล้านบาท ในจำนวนนี้สำนักงานกอง ทุนสงเคราะห์ฯ ซื้อได้ 600.30 ตัน มูลค่า 26 ล้านบาท และผลการดำเนินงาน สามารถยกระดับราคายางในท้องถิ่น ให้สูงขึ้น จากราคากิโลกรัมละ 18-20 บาท เป็นไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 25 บาท (7 เม.ย.-29 พ.ค. 41)
2. การยกระดับและรักษาระดับราคายางของเกษตรกร กำหนดให้ปรับราคายางแทรกแซง จากเดิมยางแผ่น ดิบคุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 25 บาท เป็น กิโลกรัมละ 27 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป ยกระดับราคายางของเกษตรกรชาวสวนยาง ตลาดกลางยางพารา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้บริหารการซื้อ /ขายยางแก่เกษตรกรและสหกรณ์จำนวน 12,428 ตัน ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.99 บาท มูลค่ารวม 335.43 ล้านบาท ราคายางที่ตลาดกลางสูงกว่าราคายางท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ร้อยละ 9 ส่งผลให้ภาพรวมเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 24.98 ล้านบาท สนับสนุนการส่งออกยางโดยไม่เก็บเงินสงเคราะห์ถ้าเป็นยางสังเคราะห์ผสมสารเ คมี ปรับวิธี การส่งออกยางเป็นระบบการบริการ one stop services โดยกำหนดให้การขออนุญาตส่งออกยาง การเรียนเก็บเงิน สงเคราะห์ และพิธีการทางศุลกากร รวมอยู่ในสถานที่เดียวกัน โดยเริ่มทดลองที่ศูนย์วิจัยยางสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2541 เพิ่มศักยภาพการบริการทดสอบ และออกใบรับรองคุณภาพยางแท่งให้กับผู้ส่งออกเพื่อรองรับ การขยายตัวของยางแท่งที่มีมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเดิมสถาบันวิจัยยาง สามารถให้บริการทดสอบวันละ 800-1,200 ตัวอย่าง เพิ่มเป็นวันละ 2,000 ตัวอย่าง หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 80 และเร่งดำเนินการสนับสนุนให้เอกชนตั้ง ห้องทดสอบและออกใบรับรองได้ด้วยตนเอง ภายใต้การควบคุมของกรมววิชาการเกษตร
3. การกระจายและพัฒนาการผลิต ปรับปรุงพันธุ์ยางที่เหมาะสม 22 พันธุ์ พันธุ์ยางเหล่านั้นมีผลผลิตอยู่ใน ระดับปีละ 280-342 กิโลกรัมต่อไร่ มีปุ๋ยสูตรที่เหมาะสมกับชนิดของดินและอายุต้นยาง จำนวน 3 สูตร คือ 20-8-20 , 20-10-12 และ 30-5-18 ซึ่งจะลดต้นทุนได้ประมาณตันละ 3,500-4,000 บาท และเพิ่มผลผลิตได้อีกร้อยละ 17 สนับ สนุนให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สามารถปลูกยางพัน ธุ์ดีไปแล้ว 123,480 ไร่ (จำนวน 200,000 ไร่ ในปี 2540-2542) สนับสนุนปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีแทนยางเก่า จำนวน 80,000 ไร่ พัฒนา กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางให้เป็นสหกรณ์โดยสร้างโรงอบ/รมยางให้กับสหกรณ์เพื่อ ผลิตยางแผ่นผึ่งแห้งหรือยาง แผ่นรมควันที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของตลาด ซึ่งได้ดำเนินสร้างไปแล้ว จำนวน 381 แห่ง และในอนาคตจะพัฒนา ระบบตลาดโดยการตั้งตลาดกลางแลกเปลี่ยนยางไทย (Thailand Rubber Exchange) ที่ตลาดกลางยางพารา อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตลาดกลางยางพาราที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และใช้ ระบบ Computer on-line ในการ ซื้อขายระหว่างตลาดกลาง อำเภอหาดใหญ่ ให้เป็นระบบตลาดเดียว และสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบ อาชีพเสริมแก่เกษตรกรชาวสวนยาง โดยอนุมัติโครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบอาชีพเสริมพร้อมกับขยาย วงเงินกู้จากเดิมรายละไม่เกิน 20,000 บาท เป็นรายละไม่เกิน 30,000 บาท โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี มีเกษตรกร เข้าร่วมโครงการ 3,920 ราย วงเงินกู้ 80 ล้านบาท จากการประเมินผลพบว่าเกษตรกรที่ปลูกพืชแซมมีกำไรเฉลี่ยราย ละ 91,892 บาท (ในระยะเวลา 2 ปี) และจากการเลี้ยงสัตว์ที่มีกำไรเฉลี่ยรายละ 16,314 บาท
ด้านปศุสัตว์
1. พัฒนาการส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ปรับปรุงคุณภาพการผลิต และออกใบรับรองคุณภาพ สินค้าตามมาตรฐานสากล ทำให้มูลค่าการส่งออกเนื้อและผลิตภัณฑ์ในรอบ ปี เดือนแรกของปี 2541 เทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเป็น 8,226 ล้านบาท หรือร้อยละ 55 แยกเป็น 1) เนื้อและผลิตภัณฑ์จากไก่ ปริมาณการ ส่งออก 81,603 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 มูลค่า 7,957 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 54 2) เนื้อและผลิตภัณฑ์จากสุกร ส่งออก 748 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 มูลค่า 82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ในปริมาณที่ส่งออกนี้ จำนวนร้อยละ 50 เป็นการ ส่งออกเนื้อสุกรแช่แข็งไปยังสิงคโปร์และฮ่องกง 3) ไข่ไก่ ส่งออก 30 ล้านฟอง เพิ่มขึ้นร้อยละ 140 มูลค่า 50 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 127 4) โคมีชีวิต ส่งออก 11,600 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 119 มูลค่า 129 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 148
2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็น จัดตั้งโรงฆ่าสัตว์และแปรรูปที่ทันสมัยถูกสุขอนามัย จำนวน 2 แห่ง คือ 1) โรงฆ่าสัตว์และแปรรูปเนื้อโค-กระบือ ที่จังหวัดชุมพร เพื่อพัฒนาภาคใต้เป็นเขตผลิตโค-กระบือเพื่อการ ส่งออกกำลังการผลิต 100 ตัว/วัน 2) โรงฆ่าสัตว์และแปรรูปเนื้อสุกร ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อพัฒนาให้ภาคตะวัน ออกเป็นเขตผลิตสุกรเพื่อการส่งออก กำลังการผลิต 1,600 ตัว/วัน บรรเทาปัญหาการว่างงานและปัญหาค่าครองชีพ โดยการสนับสนุนอาชีพการเลี้ยงสัตว์ปีกแก่ราษฎรเพื่อเป็นอาชีพที่มีรายได้เ สริม และปรับแผนงานงบประมาณปี 2541 วงเงิน 145 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรองรับแรงงานคืนถิ่นแก่เกษตรกร 500,000 ราย จำนวน 7,500,000 ตัว และสนับสนุนการเลี้ยงสตัว์ผสมผสานกับการเพาะปลูกพืชของเกษตรกร ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ดินเค็ม จำนวน 1,200 ราย จำนวนสัตว์ปีก 18,000 ตัว และในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำนวน 2,000 ราย จำนวนสัตว์ปีก 30,000 ตัว ช่วยเหลือชดเชยค่าพันธุ์สัตว์เกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติจากพายุซีต้า คาส และ ลิดา โดยใช้เงินทดรอง ราชการของจังหวัด จำนวน 16 จังหวัด จำนวน 13.4 ล้านบาท จำนวน 330,440 ตัว พัฒนาสถาบันเกษตรกรโดยการ จัดตั้งอาสาพัฒนาปศุสัตว์ 13,000 คน จัดตั้งฟาร์มสาธิต 387 ฟาร์ม และในอนาคตจะเร่งจัดทำโครงการส่งเสริมการ เลี้ยงโคนมเพื่อทดแทนการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม สนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทาง "เกษตรกรทฤษฎีใหม่" จำนวน 5,000 ราย สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ จำนวน 3 แห่ง
3. เร่งรัดการอำนวยความสะดวกในการส่งออกเนื้อ รับรองห้องปฏิบัติการของเอกชน ทำให้สามารถ วิเคราะห์คุณภาพเนื้อและผลิตภัณฑ์ส่งออกได้รวดเร็วและปริมาณมากขึ้น
4. เปิดตลาดส่งออกสุกร สามารถส่งออกสุกรแช่แข็งไปยังสิงคโปร์และฮ่องกงซึ่งเป็นตลาดใหม่ และส่ง ออกเนื้อสุกรต้มสุกไปยังประเทศญี่ปุ่น เปิดตลาดส่งออกเนื้อสุกรแช่แข็งและผลิตภัณฑ์แปรรูปสุกรไปยังประเทศ ญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายส่งออก 40,000 ตัน ในปี 2542
5. สนับสนุนการกระจายการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิตสินค้าปศุสัตว์ วิจัยสายพันธุ์สัตว์คุณภาพดี ได้แก่ ไก่เนื้อ 4 สายเลือด ,โคเนื้อพันธุ์ตาก และโคเนื้อพันธุ์กบินทร์บุรี ปรับปรุงพันธุ์โดยให้บริการผสมเทียมด้วย น้ำเชื้อ พ่อพันธุ์คุณภาพดีแก่แม่พันธุ์สัตว์พื้นเมืองของเกษตรกร จำนวน 196,497 ตัว มีลูกสัตว์พันธุ์ดีเกิดขึ้น จำนวน 98,507 ตัว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2540 ประมาณร้อยละ 26 ผลิต และกระจายสัตว์พันธุ์ดีแก่เกษตรกรโดยศูนย์/สถานีของกรมปศุสัตว์จำนวน 617,600 ตัว นำไปเลี้ยงอีก 22 ล้านตัว ในปี 2542 คิดเป็นมูลค่า 1,650 ล้านบาท
6. สนับสนุนเกษตรกรได้รับราคาสินค้าที่มีเสถียรภาพและเป็นธรรม ด้านโคนม ได้ปรับราคารับซื้อน้ำนม ดิบ ณ หน้าโรงงานแปรรูปจากเดิม 10.50 บาท/กก. เป็น 12.50 บาท/กก. ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541 เป็นต้นไป
ด้านการตรวจบัญชีสหกรณ์
1. ได้ตรวจสอบบัญชีของสหกรณ์ จำนวน 2,682 สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 1,006 กลุ่ม มีมูลค่า สินทรัพย์ทั้งสิ้น 269,062.27 ล้านบาท ปริมาณธุรกิจรวม 302,099.23 ล้านบาท และดูแลทรัพย์สินที่เกษตรกรและ สมาชิกสหกรณ์จำนวน 2,813,126 ครัวเรือน ที่นำไปลงทุนถือหุ้นในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มีการดำเนิน งานเพื่อประโยชน์แก่กิจการและมวลสมาชิก
2. ติดตามตรวจสอบการใช้เงินช่วยเหลือเกษตรที่กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรได้ให้สถ าบันเกษตรกู้ยืม โดยปลอดดอกเบี้ย เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมทั้งวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 3 โครง การ คือ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ มีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ 382 สหกรณ์ วงเงินกู้ยืม 810 ล้านบาท โครงการพัฒนาธุรกิจตลาดกลางของสหกรณ์มีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ 634 กลุ่ม วงเงินกู้ยืม 350 ล้านบาท และโครงการเก็บข้าวเปลือกของกลุ่มเกษตร มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 302 โครงการ วงเงินกู้ 200 ล้านบาท
3. จัดทำโปรแกรมระบบบัญชีและระบบงานสหกรณ์ออมทรัพย์ และจัดทำโครงการปรับปรุงระบบการตรวจ สอบบัญชีสหกรณ์โดยให้สหกรณ์นอกภาคเกษตรที่มีระบบการบริหารงานดี สามารถจ้างผู้สอบบัญชีภาคเอกชน ตรวจสอบบัญชีได้ มีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 165 สหกรณ์ ได้จัดจ้างผู้สอบบัญชีภาคเอกชนแล้ว จำนวน 11 สหกรณ์
4. ได้ร่วมมือและประสานงานกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เพื่อลดความ ผิดพลาดทางการเงินและบัญชี ขณะนี้ได้ติดตามหนี้จนได้ชำระเงินคืนของ 240 สหกรณ์ เป็นเงิน 122.96 ล้านบาท และยังคงเหลือสหกรณ์ที่พบข้อบกพร่องทางการเงินอีก 1,273 สหกรณ์ เป็นเงิน 340.12 ล้านบาท ที่ยังต้องติดตาม การชำระหนี้
******************** ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.democrat.or.th ********************--จบ--