1. บทนำ
ปี 2541 เป็นปีที่หลายประเทศประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั้งในประเทศแถบเอเชีย ละตินอเมริกา และประเทศรัสเซีย ประกอบกับการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโน ทำให้เกิดสภาพอากาศที่อุ่นกว่าปกติ ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกชะลอตัวลงอย่างมาก โดยมีปริมาณการผลิตอยู่ในระดับ 74.6 ล้านบาร์เรล/วัน ในขณะที่ปริมาณความต้องการอยู่ในระดับ 74.2 ล้านบาร์เรล/วัน จึงส่งผลให้ปริมาณน้ำมันสำรองสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ราคาน้ำมันดิบของปี 2541 อ่อนตัวลงมาอยู่ในระดับ 12.1-14.4 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันจึงได้เรียกร้องให้มีการทบทวนเพดานการผลิตของกลุ่ม และตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันได้ลดเพดานการผลิตจากเดิม 27.5 ล้านบาร์เรล/วัน มาอยู่ในระดับ 25.7 ล้านบาร์เรล/วัน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าในปี 2542 ประเทศที่ประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว และสภาพอากาศจะเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันในปี 2542 เพิ่มขึ้นจากปี 2541 ประมาณ 1-1.5 ล้านบาร์เรล/วัน
สำหรับประเทศไทยผลจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงในปี 2541 ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานภายในประเทศลดลงทั้งน้ำมันและไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมันในประเทศส่วนใหญ่ต้องลดกำลังการผลิตลง และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า โดยชะลอบางโครงการออกไปเพื่อไม่ให้มีปริมาณสำรองการผลิตไฟฟ้าสูงเกินความจำเป็น ส่วนสถานการณ์ตลาดน้ำมันในประเทศมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้น้ำมันภายในประเทศลดลง ในขณะที่ปริมาณการผลิตโดยรวมอยู่ในระดับเดียวกับปีก่อน ผู้ค้าน้ำมันจึงใช้นโยบายด้านราคา มาเป็นกลยุทธ์ในธุรกิจค้าปลีกน้ำมันเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ ขณะเดียวกันก็ได้มีการส่งออกน้ำมันมากขึ้น โดยในปี 2541 ได้มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปสุทธิจำนวน 66.3 พันบาร์เรล/วัน ซึ่งน้ำมันสำเร็จรูปที่มีการส่งออกมาก ได้แก่ น้ำมันเบนซิน ดีเซล LPG และน้ำมันเครื่องบิน ยกเว้นน้ำมันเตาที่การผลิตในประเทศต่ำกว่าความต้องการเล็กน้อย จึงมีการนำเข้าสุทธิจำนวน 8.0 พันบาร์เรล/วัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปีถัดไปจะมีน้ำมันเตาเหลือเพื่อกา รส่งออก เนื่องจากมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น
การผลิตไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้าของประเทศในช่วงปี 2541 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.3 ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ในเขตนครหลวงซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจมีการใช้ไฟฟ้าลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.7 แต่ในเขตภูมิภาคมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.1 โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัยซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 11.7 ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้ประชาชนลดการเที่ยวบริการนอกบ้านลง และใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น หรือประกอบกิจการภายในครัวเรือน เพื่อเสริมรายได้แก่ครอบครัวเพิ่มขึ้น
จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม รัฐบาลได้พยายามดำเนินมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ในส่วนของพลังงานก็เช่นเดียวกัน ได้มีการดำเนินการเพื่อช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามจดหมายแสดงเจตจำนง ระหว่างรัฐบาลไทยกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น การเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจน้ำมัน โดยมีมาตรการให้ลดปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศลง เป็นการชั่วคราว เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศ และช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงินของประเทศ มีการพิจารณาปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อลดค่าใช้จ่าย จากการเติมสารเติมแต่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตน้ำมัน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมัน ให้แก่ประชาชน และมาตรการล่าสุดคือ การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาจากร้อยละ 17.5 เหลือร้อยละ 5 เพื่อลดความบิดเบือนของราคาเชื้อเพลิง และลดต้นทุนการผลิตให้แก่ภาคอุตสาหกรรม
ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่มีต่อนโยบายด้านการจัดหาพลังงานก็คือ ต้องมีการเลื่อนโครงการรับซื้อไฟฟ้าออกไป โดยได้มีการเจรจาผ่อนปรนกำหนดการจ่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ สำหรับโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน และผู้ผลิตรายเล็ก เพื่อไม่ให้ปริมาณสำรองการผลิตไฟฟ้าสูงเกินความจำเป็น และช่วยลดภาระการชำระค่าไฟฟ้าของ กฟผ. ลง รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนเอง ซึ่งประสบปัญหาความล่าช้า ในการจัดหาเงินกู้ให้สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังได้มีการเจรจาขอขยายระยะเวลาการรับซื้อไฟฟ้า จากสาธารณรัฐประชาชนจีนออกไปอีก 2 ปี จากเดิม ภายในปี พ.ศ. 2558 เป็นปี พ.ศ. 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ
นอกจากนี้ กฟผ. ได้รับอนุมัติให้ก่อหนี้จากต่างประเทศ โดยการออกพันธบัตร ในตลาดทุนต่างประเทศ ในวงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีธนาคารโลกค้ำประกันเงินต้น และกระทรวงการคลัง ค้ำประกันดอกเบี้ย เพื่อให้ กฟผ. สามารถจัดหาเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ มาใช้สำหรับโครงการลงทุนก่อสร้าง โรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. และเพื่อให้ กฟผ. เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานต่อไปในอนาคต แต่ทั้งนี้ กฟผ. จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารโลก ที่จะต้องรักษาสถานภาพทางการเงินของ กฟผ. ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คณะรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาถึงการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า เพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารโลกได้ ซึ่งการศึกษาในเรื่องดังกล่าว จะส่งผลให้มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง และลักษณะการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจะมีการ ปรับปรุงสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น
ในปี 2541 นี้ นับว่ามีความก้าวหน้าในเรื่องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานเป็นอย่างมาก โดยมีแรงกระตุ้นส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดสภาพคล่องของภาครัฐ ซึ่งความก้าวหน้าอันดับแรกคือ ความสำเร็จในการดำเนินการขายหุ้นของ กฟผ. ในบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และการขายหุ้นของ ปตท. ในบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โดยได้ราคาหุ้นสูงสุดที่ 126 บาท/หุ้น และ 300 บาท/หุ้น ตามลำดับ โดย กฟผ. และ ปตท. มีรายได้จากการขายหุ้นเป็นจำนวนเงิน 9,838 ล้านบาท และ 11,188 ล้านบาท ตามลำดับ ความก้าวหน้าลำดับต่อมาก็คือ มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ แล้วเสร็จ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 แม้ก่อนหน้านี้ได้มีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้น จนต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างมากก็ตาม แผนแม่บทดังกล่าวนี้ จะเป็นกรอบในการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้มีการดำเนินการเพื่อสนับสนุนนโยบายการค้าเสรีของรัฐบาล โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้ไปสู่การแข่งขันเสรี โดยได้มีการกำหนดแนวทาง และขั้นตอนการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว อย่างเป็นขั้นตอน และเนื่องจากธุรกิจการค้าก๊าซหุงต้ม เป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อน ทั้งในกระบวนการค้า การจัดเก็บ การบรรจุ การจำหน่าย รวมทั้งการขนส่ง และยังมีปัญหาด้านมาตรฐานความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น ในปี 2541 จึงได้มีการศึกษาและทบทวนขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การกำหนดราคา และมาตรฐานความปลอดภัยอย่างละเอียดในทุก ขั้นตอนของธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การลอยตัวราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว อย่างเป็นธรรมต่อทั้งผู้ค้าและผู้บริโภค โดยไม่กระทบต่อมาตรฐานความปลอดภัย และเป็นระบบที่มีการแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง
การดำเนินนโยบายของรัฐในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะเร่งส่งเสริมการพัฒนา การผลิต การใช้พลังงาน และการส่งเสริมการแข่งขันทางด้านพลังงานแล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินนโยบายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตและการใช้พลังงานอีกด้วย โดยเป็นนโยบายที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ซึ่งมาตรการที่เด่นชัดได้แก่ การกำหนดแนวทางและมาตรการการใช้เชื้อเพลิง ในโรงไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อให้สอดคล้องกับร่างมาตรฐานการระบายมลพิษของกรมควบคุมมลพิษที่จะประกาศใหม่ โดยให้ กฟผ. ใช้น้ำมันเตาที่มีคุณภาพดีขึ้นในโรงไฟฟ้าเก่า และให้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ในโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะนี้กรมควบคุมมลพิษได้ผ่อนผันให้ กฟผ. ใช้น้ำมันเตากำมะถันไม่เกินร้อยละ 1.4 ในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือได้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการประกาศค่ามาตรฐานใหม่ สำหรับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะนั้น ได้มีการใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้น โดยกำหนดให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ปฏิบัติตามแผนการเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า และระมัดระวังในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้ามากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการดำเนินการเร่งรัดบังคับใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วกำมะถันต่ำ ไม่เกินร้อยละ 0.05 ให้เร็วขึ้น โดยได้มีการกำหนดบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป รวมทั้งได้มีการดำเนินการศึกษา การจัดการน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วอย่างเป็นระบบ และประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันหล่อลื่นให้แแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ แนวทางและมาตรการต่างๆ ดังกล่าวจะช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศให้ลดลงได้
สำหรับการดำเนินนโยบายทางด้านต่างประเทศนั้น ได้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือทางด้านพลังงาน กับกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค (APEC) กลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และกลุ่มเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งแนวทางความร่วมมือโดยสรุปนั้น มุ่งเน้นนโยบายการแปรรูป การเปิดเสรีตลาดพลังงาน การส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาโครงการต่างๆ ตลอดจนการร่วมมือกันแก้ไข และหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากการพัฒนาพลังงานของประเทศในช่วงปีที่ผ่านมา ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ และความก้าวหน้าในการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐมาเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านพลังงานจำเป็นต้องมีการดำเนินงานต่อไป โดยในปี 2542 จะเป็นปีที่ลงสู่รายละเอียดของแผนปฏิบัติในเรื่องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ให้เป็นไปตามกรอบของแผนแม่บท และการศึกษาในรายละเอียดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า เพื่อพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
2. สถานการณ์พลังงานในปี 2541
2.1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง2.1.1 ความต้องการและการผลิตน้ำมันดิบ
ผลจากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเซียที่ประสบปัญหาวิกฤติทางการเงิน ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบโดยรวมของปี 2541 ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นเช่นทุกปี โดยทรงตัวอยู่ในระดับ 74.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2540 เพียงร้อยละ 0.5 ในปี 2541 OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) ได้เปลี่ยนแปลงระบบข้อมูล โดยได้เพิ่มข้อมูลจากกลุ่มสมาชิกใหม่อีก 5 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยเม็กซิโก เกาหลีใต้ โปแลนด์ ฮังการี และสาธารณรัฐเชค ส่งผลให้ข้อมูลความต้องการใช้น้ำมันของกลุ่ม OECD สะท้อนถึงความต้องการใช้น้ำมันของโลกมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 65 ของความต้องการใช้ทั้งหมด
ในปี 2541 ความต้องการใช้น้ำมันของประเทศในกลุ่ม OECD อยู่ในระดับเดียวกับปี 2540 โดยความต้องการใช้น้ำมันของประเทศแถบยุโรปและอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1-3.8 แต่ก็ถูกหักล้างด้วยความต้องการใช้ที่ลดลงของญี่ปุ่นและเกาหลี ที่หดตัวลงถึงร้อยละ 5.7 และ 14.1 ตามลำดับ จึงทำให้ความต้องการใช้น้ำมันโดยรวมของกลุ่ม OECD อยู่ในระดับทรงตัว สำหรับความต้องการใช้น้ำมันในกลุ่มประเทศนอกกลุ่ม OECD มีอัตราการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นโดยรวมร้อยละ 1 แบ่งกลุ่มการใช้น้ำมันออกได้สองประเภท ได้แก่กลุ่มประเทศที่ความต้องการใช้สูงขึ้น ซึ่งสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 2-4 และกลุ่มประเทศ ซึ่งประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น จีน ฟิลิปปินส์ อินโดยนีเซีย และไทย ซึ่งความต้องการใช้น้ำมันลดลง ในอัตราร้อยละ 0.3-10
ด้านการผลิตน้ำมันดิบ ปริมาณการผลิตของปี 2541 อยู่ในระดับ 74.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปีก่อนหน้านี้ โดยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของกลุ่มประเทศนอกโอเปคอยู่ที่ 42.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 0.7 เป็นผลจากปริมาณการผลิตที่ลดลง เนื่องจากการปิดซ่อมแซมของแหล่งในอเมริกา ทะเลเหนือ นอรเวย์และอื่นๆ ส่วนการผลิตของกลุ่มโอเปคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ขึ้นมาอยู่ในระดับ 27.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ความต้องการใช้น้ำมันที่อ่อนตัวลงมากในช่วงครึ่งปีแรก ได้ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโลก สูงกว่าความต้องการใช้ในระดับ 0.8-2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบตกต่ำมาก กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ต้องออกมาเรียกร้องการลดปริมาณการผลิต โดยกลุ่มประเทศโอเปคได้มีการทบทวนเพดานการผลิตของกลุ่ม 2 ครั้ง เพดานการผลิตเดิมอยู่ที่ 27.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ในเดือนเมษายนได้ลดลงมาอยู่ในระดับ 27.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา เพดานการผลิตอยู่ในระดับ 25.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และถ้าไม่รวมปริมาณการผลิตของอิรัค เพดานการผลิตของกลุ่มโอเปคจะอยู่ที่ 24.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณความต้องการและการผลิตน้ำมันดิบของโลกหน่วย : ล้านบาร์เรลต่อวัน
2540 2541 2541
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4
ความต้องการ 74 74.2 75.1 72.9 73.8 75.1
OECD 46.7 46.6 47.1 45 46.5 47.9
อื่นๆ 27.3 27.6 28 27.9 27.3 27.2
การผลิต 74.6 74.6 76 75 73.7 73.8
โอเปค/น้ำมันดิบ 27.6 27.8 28.4 28.1 27.5 27.3
โอเปค/NGL&Cond. 2.6 2.6 2.6 2.6 2.6 2.6
นอกกลุ่มโอเปค 42.9 42.6 43.4 42.6 41.9 42.3
อื่นๆ 1.6 1.6 1.6 1.6 1.6 1.6
+/- 0.6 0.4 0.9 2.1 -0.1 -1.3
2.1.2 ราคาน้ำมันดิบ
จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในหลายประเทศ ในเอเซีย รัสเซีย และละตินอเมริกา และอากาศที่ อุ่นกว่าปกติในช่วงต้นปีเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโน ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันของปี 2541 ได้ชะลอตัวลงมาก แม้ว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบจะลดปริมาณการผลิตลงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับความต้องการที่อ่อนตัวลงอยู่ 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี ที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ อยู่ในระดับที่สูงกว่าความต้องการใช้ถึง 0.9-2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ราคาน้ำมันในช่วงดังกล่าวจึงตกต่ำเป็นประวัติการณ์ และส่งผลให้ปริมาณน้ำมันสำรองได้สูงขึ้นมาก ในช่วงครึ่งหลังของปี แม้ว่าความต้องการใช้ จะเริ่มสูงขึ้นตามฤดูกาล และประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ จะลดปริมาณการผลิตลงแล้วก็ตาม แต่ไม่เพียงพอที่จะ ลดปริมาณสำรองลงมาอยู่ในระดับปกติ ทำให้ราคาน้ำมันดิบยังคงอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันดิบในปี 2541 ได้อ่อนตัวลงกว่า $ 5 ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ $12.1|14.4 ต่อบาร์เรล
ในไตรมาสแรกของปี 2541 ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 12.4-16.0 ต่อบาร์เรล โดยได้อ่อนตัวลงมากกว่า $ 3 ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นผลจากภาวะน้ำมันดิบล้นตลาด ในไตรมาสนี้ปริมาณ การผลิตน้ำมันดิบได้สูงกว่าความต้องการอยู่ 0.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ความต้องการน้ำมันดิบเข้ากลั่นได้ ลดลง จากการปิดซ่อมแซมโรงกลั่นประจำปีในยุโรปและอเมริกา อากาศที่อุ่นกว่าปกติ และความต้องการใช้น้ำมันที่ชะลอตัวลงของประเทศ ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินในเอเซีย แต่ทางด้านการผลิตกลับเพิ่มขึ้นจากการผลิตเกินโควต้าของกลุ่มประเทศโอเปคซึ่งอยู่ในระดับ 28.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่เพดานการผลิตคือ 27.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประเทศที่ผลิตเกินโควต้าได้แก่ เวเนซูเอลา ไนจีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และกาตาร์ ราคาน้ำมันดิบที่ลดลงเป็นลำดับทำให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบไม่สามารถ วางเฉยได้ กลางเดือนมีนาคม เวเนซูเอลา ซาอุดิอาระเบีย และเม็กซิโก ได้ร่วมกันผลักดันเกิดเป็นข้อตกลง ณ กรุงริยาด โดยกลุ่มประเทศโอเปคและนอกกลุ่มโอเปคบางประเทศ ได้ประกาศลดปริมาณการผลิตลงรวม 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากนอกกลุ่มโอเปค 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจากกลุ่มโอเปคไม่รวมประเทศอิรัค 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา
ในไตรมาสที่สอง แม้ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันจะลดลง แต่ยังน้อยกว่าความต้องการที่อ่อนตัวลงมากจากฤดูหนาวที่ผ่านพ้นไป ทำให้ในไตรมาสนี้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าความต้องการใช้ถึง 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนั้นหมายถึงภาวะน้ำมันล้นตลาด และทำให้ปริมาณน้ำมันสำรองในช่วงดังกล่าว สูงเป็นประวัติการณ์ ผลของข้อตกลงลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ณ กรุงริยาด ทำให้ปริมาณการผลิตของโอเปค ซึ่งเป็นน้ำมันดิบชนิดหนักได้ลดลงในไตรมาสนี้ ปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปคยกเว้นอิรัคได้ลดลงรวม 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ได้ถูกหักล้างจากการที่อิรัค สามารถเพิ่มการผลิตขึ้นอีก 0.7 ล้านบาร์เรล ต่อวัน ทำให้ปริมาณสุทธิที่ลดลงของกลุ่มโอเปคในไตรมาสนี้ลดลงเพียง 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่เมื่อเสริมกับความต้องการน้ำมันดิบชนิดหนักเข้ากลั่นที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถช่วยพยุงราคาน้ำมันดิบชนิดหนักให้ทรงตัวอยู่โดยไม่ได้ตกต่ำลงไปอีก
ส่วนน้ำมันดิบชนิดเบา แม้ว่าปริมาณการผลิตจะลดลงถึง 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากการปิดซ่อมแซมของแหล่งทะเลเหนือ และนอร์เวย์ แต่ในไตรมาสที่สองนี้ความต้องการน้ำมันดิบชนิดเบาเข้ากลั่นได้ลดลงในระดับเดียวกัน ดังนั้น ผลของปริมาณสำรองที่ยังอยู่ในระดับสูง จึงทำให้ราคาน้ำมันดิบชนิดเบายังอ่อนตัวลงประมาณ $ 1 ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ในระดับ $ 12.2 | 14.6 ต่อ บาร์เรล และแม้ว่าปริมาณการผลิตในไตรมาสนี้จะลดลง แต่การลดปริมาณการผลิต ก็ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของข้อตกลง ตลาดน้ำมันยังประสบภาวะน้ำมันล้นตลาด และปริมาณน้ำมันสำรองที่อยู่ในระดับสูง จึงทำให้ราคาน้ำมันดิบในช่วงปลายไตรมาส ได้อ่อนตัวลงอีกครั้ง กลุ่มโอเปคจึงต้องตัดสินใจประกาศลดการผลิต ลงอีก 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้เพดานการผลิตของกลุ่มโอเปคลงมาอยู่ในระดับ 24.6 ล้านบาร์เรล ต่อวัน เมื่อไม่รวมอิรัค
ในไตรมาสที่สามความต้องการน้ำมันดิบเข้ากลั่นได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการกลับมากลั่นตามปกติของโรงกลั่น ที่ปิดซ่อมบำรุงประจำปีและการเพิ่มสำรองน้ำมันเพื่อความอบอุ่น ในขณะ เดียวกันการลดปริมาณการผลิตเริ่มเห็นผลในไตรมาสนี้ปริมาณการผลิตได้ลดลง 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ในระดับที่ 73.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นผลจากการลดปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปค ปัญหาการปิดซ่อมแซมของแหล่งในทะเลเหนือ และปัญหาของระบบท่อส่งในไนจีเรีย ปริมาณการผลิตน้ำมันดังกล่าว เป็นระดับเดียวกับความต้องการใช้น้ำมัน ดังนั้น การผลิตและความต้องการน้ำมันในไตรมาสนี้จึงอยู่ในภาวะสมดุล แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันสำรองซึ่งอยู่ในระดับสูงในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการระบายน้ำมันดังกล่าว ยังมีผลให้ราคาน้ำมันดิบในไตรมาสที่สามยังอยู่ในภาวะต่ำอยู่ น้ำมันดิบชนิดเบายังได้รับผลกระทบจากระดับน้ำมันสำรองที่ยังอยู่ในระดับสูง ราคาในไตรมาสนี้ จึงอ่อนตัวลงอีก $ 0.5-1 ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบชนิดหนักซึ่งมีความต้องการมากกว่าน้ำมันดิบชนิดเบาราคาอยู่ในระดับทรงตัว
ในไตรมาสที่สี่แม้ว่าความต้องการใช้น้ำมันเพื่อความอบอุ่นจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นสูงมากดังเช่นที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากอากาศที่อุ่นกว่าปกติ ด้านการผลิตน้ำมันดิบในไตรมาสนี้ยังทรงตัวอยู่ในระดับเดิม ความต้องการใช้น้ำมันมากกว่าปริมาณการผลิตอยู่ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งในระดับดังกล่าวปริมาณน้ำมันสำรองที่อยู่ในระดับสูงในช่วงก่อนหน้านี้ยังสามารถรับได้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในไตรมาสนี้ได้ตกลงไปอีกประมาณ $ 1 ต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยอยู่ในระดับ $ 11.0-12.8 ต่อบาร์เรล สำหรับเหตุการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิรัค ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนไม่มีผลต่อตลาดน้ำมัน ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำมันที่มีมากในตลาด และการที่สหรัฐอเมริกาได้ใช้กำลังทางอากาศโจมตีอิรัคในช่วงกลางเดือนธันวาคม ก็ไม่ส่งผลต่อตลาดน้ำมันเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นเพียงช่วงสั้นๆ และสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว
สำหรับในปี 2542 นักวิเคราะห์คาดว่าประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว และสภาพอากาศจะเริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะมีผลทำให้ความต้องการใช้น้ำมันของปีหน้าเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1-1.5 ล้านบาร์เรล ต่อวัน ส่วนทางด้านการผลิตน้ำมันดิบ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระดับ 0.8-1 ล้านบาร์เรล ต่อวัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการผลิตนอกกลุ่มโอเปคของแหล่งในทะเลเหนือ ละตินอเมริกา และแอฟริกา ในขณะที่ปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปคจะลดลงเล็กน้อย แม้ว่าประเทศในกลุ่มโอเปคจะผลิตเกินโควต้าแล้วก็ตาม จากการคาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำมัน จะเพิ่มสูงกว่าการเพิ่มของการผลิตดังกล่าว ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าราคาน้ำมันดิบของปี 2542 จะเพิ่มสูงกว่าระดับของปี 2541 ประมาณ $ 1.2-1.5 ต่อบาร์เรล โดยน้ำมันดิบเบรนท์จะอยู่ในระดับ $ 14.3-14.6 ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ
หน่วย : เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
น้ำมันดิบ 2540 2541 2541
ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4
โอมาน 18.55 12.09 12.67 12.36 12.26 11.06
ดูไบ 18.14 12.17 12.43 12.24 12.49 11.53
เบรนท์ 19.31 13.14 14.45 13.78 12.79 11.49
WTI 20.61 14.39 15.96 14.6 14.16 12.84
ทาปิส 20.98 13.82 14.72 14.35 13.49 12.72
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ--
-ยก-
ปี 2541 เป็นปีที่หลายประเทศประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั้งในประเทศแถบเอเชีย ละตินอเมริกา และประเทศรัสเซีย ประกอบกับการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโน ทำให้เกิดสภาพอากาศที่อุ่นกว่าปกติ ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกชะลอตัวลงอย่างมาก โดยมีปริมาณการผลิตอยู่ในระดับ 74.6 ล้านบาร์เรล/วัน ในขณะที่ปริมาณความต้องการอยู่ในระดับ 74.2 ล้านบาร์เรล/วัน จึงส่งผลให้ปริมาณน้ำมันสำรองสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ราคาน้ำมันดิบของปี 2541 อ่อนตัวลงมาอยู่ในระดับ 12.1-14.4 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันจึงได้เรียกร้องให้มีการทบทวนเพดานการผลิตของกลุ่ม และตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันได้ลดเพดานการผลิตจากเดิม 27.5 ล้านบาร์เรล/วัน มาอยู่ในระดับ 25.7 ล้านบาร์เรล/วัน อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าในปี 2542 ประเทศที่ประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว และสภาพอากาศจะเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันในปี 2542 เพิ่มขึ้นจากปี 2541 ประมาณ 1-1.5 ล้านบาร์เรล/วัน
สำหรับประเทศไทยผลจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงในปี 2541 ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานภายในประเทศลดลงทั้งน้ำมันและไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมันในประเทศส่วนใหญ่ต้องลดกำลังการผลิตลง และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า โดยชะลอบางโครงการออกไปเพื่อไม่ให้มีปริมาณสำรองการผลิตไฟฟ้าสูงเกินความจำเป็น ส่วนสถานการณ์ตลาดน้ำมันในประเทศมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้น้ำมันภายในประเทศลดลง ในขณะที่ปริมาณการผลิตโดยรวมอยู่ในระดับเดียวกับปีก่อน ผู้ค้าน้ำมันจึงใช้นโยบายด้านราคา มาเป็นกลยุทธ์ในธุรกิจค้าปลีกน้ำมันเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ ขณะเดียวกันก็ได้มีการส่งออกน้ำมันมากขึ้น โดยในปี 2541 ได้มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปสุทธิจำนวน 66.3 พันบาร์เรล/วัน ซึ่งน้ำมันสำเร็จรูปที่มีการส่งออกมาก ได้แก่ น้ำมันเบนซิน ดีเซล LPG และน้ำมันเครื่องบิน ยกเว้นน้ำมันเตาที่การผลิตในประเทศต่ำกว่าความต้องการเล็กน้อย จึงมีการนำเข้าสุทธิจำนวน 8.0 พันบาร์เรล/วัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปีถัดไปจะมีน้ำมันเตาเหลือเพื่อกา รส่งออก เนื่องจากมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น
การผลิตไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้าของประเทศในช่วงปี 2541 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.3 ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ในเขตนครหลวงซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจมีการใช้ไฟฟ้าลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.7 แต่ในเขตภูมิภาคมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.1 โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัยซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 11.7 ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้ประชาชนลดการเที่ยวบริการนอกบ้านลง และใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น หรือประกอบกิจการภายในครัวเรือน เพื่อเสริมรายได้แก่ครอบครัวเพิ่มขึ้น
จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม รัฐบาลได้พยายามดำเนินมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ในส่วนของพลังงานก็เช่นเดียวกัน ได้มีการดำเนินการเพื่อช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามจดหมายแสดงเจตจำนง ระหว่างรัฐบาลไทยกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น การเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจน้ำมัน โดยมีมาตรการให้ลดปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศลง เป็นการชั่วคราว เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศ และช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงินของประเทศ มีการพิจารณาปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อลดค่าใช้จ่าย จากการเติมสารเติมแต่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตน้ำมัน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมัน ให้แก่ประชาชน และมาตรการล่าสุดคือ การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาจากร้อยละ 17.5 เหลือร้อยละ 5 เพื่อลดความบิดเบือนของราคาเชื้อเพลิง และลดต้นทุนการผลิตให้แก่ภาคอุตสาหกรรม
ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่มีต่อนโยบายด้านการจัดหาพลังงานก็คือ ต้องมีการเลื่อนโครงการรับซื้อไฟฟ้าออกไป โดยได้มีการเจรจาผ่อนปรนกำหนดการจ่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ สำหรับโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน และผู้ผลิตรายเล็ก เพื่อไม่ให้ปริมาณสำรองการผลิตไฟฟ้าสูงเกินความจำเป็น และช่วยลดภาระการชำระค่าไฟฟ้าของ กฟผ. ลง รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนเอง ซึ่งประสบปัญหาความล่าช้า ในการจัดหาเงินกู้ให้สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังได้มีการเจรจาขอขยายระยะเวลาการรับซื้อไฟฟ้า จากสาธารณรัฐประชาชนจีนออกไปอีก 2 ปี จากเดิม ภายในปี พ.ศ. 2558 เป็นปี พ.ศ. 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ
นอกจากนี้ กฟผ. ได้รับอนุมัติให้ก่อหนี้จากต่างประเทศ โดยการออกพันธบัตร ในตลาดทุนต่างประเทศ ในวงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีธนาคารโลกค้ำประกันเงินต้น และกระทรวงการคลัง ค้ำประกันดอกเบี้ย เพื่อให้ กฟผ. สามารถจัดหาเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ มาใช้สำหรับโครงการลงทุนก่อสร้าง โรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. และเพื่อให้ กฟผ. เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานต่อไปในอนาคต แต่ทั้งนี้ กฟผ. จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารโลก ที่จะต้องรักษาสถานภาพทางการเงินของ กฟผ. ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คณะรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาถึงการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า เพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารโลกได้ ซึ่งการศึกษาในเรื่องดังกล่าว จะส่งผลให้มีการปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง และลักษณะการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจะมีการ ปรับปรุงสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น
ในปี 2541 นี้ นับว่ามีความก้าวหน้าในเรื่องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานเป็นอย่างมาก โดยมีแรงกระตุ้นส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดสภาพคล่องของภาครัฐ ซึ่งความก้าวหน้าอันดับแรกคือ ความสำเร็จในการดำเนินการขายหุ้นของ กฟผ. ในบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และการขายหุ้นของ ปตท. ในบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โดยได้ราคาหุ้นสูงสุดที่ 126 บาท/หุ้น และ 300 บาท/หุ้น ตามลำดับ โดย กฟผ. และ ปตท. มีรายได้จากการขายหุ้นเป็นจำนวนเงิน 9,838 ล้านบาท และ 11,188 ล้านบาท ตามลำดับ ความก้าวหน้าลำดับต่อมาก็คือ มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ แล้วเสร็จ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 แม้ก่อนหน้านี้ได้มีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้น จนต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างมากก็ตาม แผนแม่บทดังกล่าวนี้ จะเป็นกรอบในการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้มีการดำเนินการเพื่อสนับสนุนนโยบายการค้าเสรีของรัฐบาล โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้ไปสู่การแข่งขันเสรี โดยได้มีการกำหนดแนวทาง และขั้นตอนการยกเลิกการควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว อย่างเป็นขั้นตอน และเนื่องจากธุรกิจการค้าก๊าซหุงต้ม เป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อน ทั้งในกระบวนการค้า การจัดเก็บ การบรรจุ การจำหน่าย รวมทั้งการขนส่ง และยังมีปัญหาด้านมาตรฐานความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น ในปี 2541 จึงได้มีการศึกษาและทบทวนขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การกำหนดราคา และมาตรฐานความปลอดภัยอย่างละเอียดในทุก ขั้นตอนของธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การลอยตัวราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว อย่างเป็นธรรมต่อทั้งผู้ค้าและผู้บริโภค โดยไม่กระทบต่อมาตรฐานความปลอดภัย และเป็นระบบที่มีการแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง
การดำเนินนโยบายของรัฐในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะเร่งส่งเสริมการพัฒนา การผลิต การใช้พลังงาน และการส่งเสริมการแข่งขันทางด้านพลังงานแล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินนโยบายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตและการใช้พลังงานอีกด้วย โดยเป็นนโยบายที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ซึ่งมาตรการที่เด่นชัดได้แก่ การกำหนดแนวทางและมาตรการการใช้เชื้อเพลิง ในโรงไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อให้สอดคล้องกับร่างมาตรฐานการระบายมลพิษของกรมควบคุมมลพิษที่จะประกาศใหม่ โดยให้ กฟผ. ใช้น้ำมันเตาที่มีคุณภาพดีขึ้นในโรงไฟฟ้าเก่า และให้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ในโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะนี้กรมควบคุมมลพิษได้ผ่อนผันให้ กฟผ. ใช้น้ำมันเตากำมะถันไม่เกินร้อยละ 1.4 ในโรงไฟฟ้าพระนครเหนือได้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการประกาศค่ามาตรฐานใหม่ สำหรับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะนั้น ได้มีการใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้น โดยกำหนดให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ปฏิบัติตามแผนการเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า และระมัดระวังในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้ามากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการดำเนินการเร่งรัดบังคับใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วกำมะถันต่ำ ไม่เกินร้อยละ 0.05 ให้เร็วขึ้น โดยได้มีการกำหนดบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป รวมทั้งได้มีการดำเนินการศึกษา การจัดการน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วอย่างเป็นระบบ และประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันหล่อลื่นให้แแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ แนวทางและมาตรการต่างๆ ดังกล่าวจะช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศให้ลดลงได้
สำหรับการดำเนินนโยบายทางด้านต่างประเทศนั้น ได้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือทางด้านพลังงาน กับกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค (APEC) กลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และกลุ่มเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งแนวทางความร่วมมือโดยสรุปนั้น มุ่งเน้นนโยบายการแปรรูป การเปิดเสรีตลาดพลังงาน การส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาโครงการต่างๆ ตลอดจนการร่วมมือกันแก้ไข และหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากการพัฒนาพลังงานของประเทศในช่วงปีที่ผ่านมา ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ และความก้าวหน้าในการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐมาเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาด้านพลังงานจำเป็นต้องมีการดำเนินงานต่อไป โดยในปี 2542 จะเป็นปีที่ลงสู่รายละเอียดของแผนปฏิบัติในเรื่องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ให้เป็นไปตามกรอบของแผนแม่บท และการศึกษาในรายละเอียดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า เพื่อพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
2. สถานการณ์พลังงานในปี 2541
2.1 สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง2.1.1 ความต้องการและการผลิตน้ำมันดิบ
ผลจากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเซียที่ประสบปัญหาวิกฤติทางการเงิน ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบโดยรวมของปี 2541 ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นเช่นทุกปี โดยทรงตัวอยู่ในระดับ 74.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2540 เพียงร้อยละ 0.5 ในปี 2541 OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) ได้เปลี่ยนแปลงระบบข้อมูล โดยได้เพิ่มข้อมูลจากกลุ่มสมาชิกใหม่อีก 5 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยเม็กซิโก เกาหลีใต้ โปแลนด์ ฮังการี และสาธารณรัฐเชค ส่งผลให้ข้อมูลความต้องการใช้น้ำมันของกลุ่ม OECD สะท้อนถึงความต้องการใช้น้ำมันของโลกมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 65 ของความต้องการใช้ทั้งหมด
ในปี 2541 ความต้องการใช้น้ำมันของประเทศในกลุ่ม OECD อยู่ในระดับเดียวกับปี 2540 โดยความต้องการใช้น้ำมันของประเทศแถบยุโรปและอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1-3.8 แต่ก็ถูกหักล้างด้วยความต้องการใช้ที่ลดลงของญี่ปุ่นและเกาหลี ที่หดตัวลงถึงร้อยละ 5.7 และ 14.1 ตามลำดับ จึงทำให้ความต้องการใช้น้ำมันโดยรวมของกลุ่ม OECD อยู่ในระดับทรงตัว สำหรับความต้องการใช้น้ำมันในกลุ่มประเทศนอกกลุ่ม OECD มีอัตราการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นโดยรวมร้อยละ 1 แบ่งกลุ่มการใช้น้ำมันออกได้สองประเภท ได้แก่กลุ่มประเทศที่ความต้องการใช้สูงขึ้น ซึ่งสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 2-4 และกลุ่มประเทศ ซึ่งประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น จีน ฟิลิปปินส์ อินโดยนีเซีย และไทย ซึ่งความต้องการใช้น้ำมันลดลง ในอัตราร้อยละ 0.3-10
ด้านการผลิตน้ำมันดิบ ปริมาณการผลิตของปี 2541 อยู่ในระดับ 74.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปีก่อนหน้านี้ โดยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของกลุ่มประเทศนอกโอเปคอยู่ที่ 42.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 0.7 เป็นผลจากปริมาณการผลิตที่ลดลง เนื่องจากการปิดซ่อมแซมของแหล่งในอเมริกา ทะเลเหนือ นอรเวย์และอื่นๆ ส่วนการผลิตของกลุ่มโอเปคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ขึ้นมาอยู่ในระดับ 27.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ความต้องการใช้น้ำมันที่อ่อนตัวลงมากในช่วงครึ่งปีแรก ได้ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโลก สูงกว่าความต้องการใช้ในระดับ 0.8-2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบตกต่ำมาก กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ต้องออกมาเรียกร้องการลดปริมาณการผลิต โดยกลุ่มประเทศโอเปคได้มีการทบทวนเพดานการผลิตของกลุ่ม 2 ครั้ง เพดานการผลิตเดิมอยู่ที่ 27.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ในเดือนเมษายนได้ลดลงมาอยู่ในระดับ 27.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา เพดานการผลิตอยู่ในระดับ 25.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และถ้าไม่รวมปริมาณการผลิตของอิรัค เพดานการผลิตของกลุ่มโอเปคจะอยู่ที่ 24.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณความต้องการและการผลิตน้ำมันดิบของโลกหน่วย : ล้านบาร์เรลต่อวัน
2540 2541 2541
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4
ความต้องการ 74 74.2 75.1 72.9 73.8 75.1
OECD 46.7 46.6 47.1 45 46.5 47.9
อื่นๆ 27.3 27.6 28 27.9 27.3 27.2
การผลิต 74.6 74.6 76 75 73.7 73.8
โอเปค/น้ำมันดิบ 27.6 27.8 28.4 28.1 27.5 27.3
โอเปค/NGL&Cond. 2.6 2.6 2.6 2.6 2.6 2.6
นอกกลุ่มโอเปค 42.9 42.6 43.4 42.6 41.9 42.3
อื่นๆ 1.6 1.6 1.6 1.6 1.6 1.6
+/- 0.6 0.4 0.9 2.1 -0.1 -1.3
2.1.2 ราคาน้ำมันดิบ
จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในหลายประเทศ ในเอเซีย รัสเซีย และละตินอเมริกา และอากาศที่ อุ่นกว่าปกติในช่วงต้นปีเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโน ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันของปี 2541 ได้ชะลอตัวลงมาก แม้ว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบจะลดปริมาณการผลิตลงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับความต้องการที่อ่อนตัวลงอยู่ 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี ที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ อยู่ในระดับที่สูงกว่าความต้องการใช้ถึง 0.9-2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ราคาน้ำมันในช่วงดังกล่าวจึงตกต่ำเป็นประวัติการณ์ และส่งผลให้ปริมาณน้ำมันสำรองได้สูงขึ้นมาก ในช่วงครึ่งหลังของปี แม้ว่าความต้องการใช้ จะเริ่มสูงขึ้นตามฤดูกาล และประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ จะลดปริมาณการผลิตลงแล้วก็ตาม แต่ไม่เพียงพอที่จะ ลดปริมาณสำรองลงมาอยู่ในระดับปกติ ทำให้ราคาน้ำมันดิบยังคงอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันดิบในปี 2541 ได้อ่อนตัวลงกว่า $ 5 ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ $12.1|14.4 ต่อบาร์เรล
ในไตรมาสแรกของปี 2541 ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 12.4-16.0 ต่อบาร์เรล โดยได้อ่อนตัวลงมากกว่า $ 3 ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นผลจากภาวะน้ำมันดิบล้นตลาด ในไตรมาสนี้ปริมาณ การผลิตน้ำมันดิบได้สูงกว่าความต้องการอยู่ 0.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ความต้องการน้ำมันดิบเข้ากลั่นได้ ลดลง จากการปิดซ่อมแซมโรงกลั่นประจำปีในยุโรปและอเมริกา อากาศที่อุ่นกว่าปกติ และความต้องการใช้น้ำมันที่ชะลอตัวลงของประเทศ ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินในเอเซีย แต่ทางด้านการผลิตกลับเพิ่มขึ้นจากการผลิตเกินโควต้าของกลุ่มประเทศโอเปคซึ่งอยู่ในระดับ 28.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่เพดานการผลิตคือ 27.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประเทศที่ผลิตเกินโควต้าได้แก่ เวเนซูเอลา ไนจีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และกาตาร์ ราคาน้ำมันดิบที่ลดลงเป็นลำดับทำให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบไม่สามารถ วางเฉยได้ กลางเดือนมีนาคม เวเนซูเอลา ซาอุดิอาระเบีย และเม็กซิโก ได้ร่วมกันผลักดันเกิดเป็นข้อตกลง ณ กรุงริยาด โดยกลุ่มประเทศโอเปคและนอกกลุ่มโอเปคบางประเทศ ได้ประกาศลดปริมาณการผลิตลงรวม 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากนอกกลุ่มโอเปค 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจากกลุ่มโอเปคไม่รวมประเทศอิรัค 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา
ในไตรมาสที่สอง แม้ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันจะลดลง แต่ยังน้อยกว่าความต้องการที่อ่อนตัวลงมากจากฤดูหนาวที่ผ่านพ้นไป ทำให้ในไตรมาสนี้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าความต้องการใช้ถึง 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนั้นหมายถึงภาวะน้ำมันล้นตลาด และทำให้ปริมาณน้ำมันสำรองในช่วงดังกล่าว สูงเป็นประวัติการณ์ ผลของข้อตกลงลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ณ กรุงริยาด ทำให้ปริมาณการผลิตของโอเปค ซึ่งเป็นน้ำมันดิบชนิดหนักได้ลดลงในไตรมาสนี้ ปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปคยกเว้นอิรัคได้ลดลงรวม 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ได้ถูกหักล้างจากการที่อิรัค สามารถเพิ่มการผลิตขึ้นอีก 0.7 ล้านบาร์เรล ต่อวัน ทำให้ปริมาณสุทธิที่ลดลงของกลุ่มโอเปคในไตรมาสนี้ลดลงเพียง 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่เมื่อเสริมกับความต้องการน้ำมันดิบชนิดหนักเข้ากลั่นที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถช่วยพยุงราคาน้ำมันดิบชนิดหนักให้ทรงตัวอยู่โดยไม่ได้ตกต่ำลงไปอีก
ส่วนน้ำมันดิบชนิดเบา แม้ว่าปริมาณการผลิตจะลดลงถึง 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากการปิดซ่อมแซมของแหล่งทะเลเหนือ และนอร์เวย์ แต่ในไตรมาสที่สองนี้ความต้องการน้ำมันดิบชนิดเบาเข้ากลั่นได้ลดลงในระดับเดียวกัน ดังนั้น ผลของปริมาณสำรองที่ยังอยู่ในระดับสูง จึงทำให้ราคาน้ำมันดิบชนิดเบายังอ่อนตัวลงประมาณ $ 1 ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ในระดับ $ 12.2 | 14.6 ต่อ บาร์เรล และแม้ว่าปริมาณการผลิตในไตรมาสนี้จะลดลง แต่การลดปริมาณการผลิต ก็ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของข้อตกลง ตลาดน้ำมันยังประสบภาวะน้ำมันล้นตลาด และปริมาณน้ำมันสำรองที่อยู่ในระดับสูง จึงทำให้ราคาน้ำมันดิบในช่วงปลายไตรมาส ได้อ่อนตัวลงอีกครั้ง กลุ่มโอเปคจึงต้องตัดสินใจประกาศลดการผลิต ลงอีก 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้เพดานการผลิตของกลุ่มโอเปคลงมาอยู่ในระดับ 24.6 ล้านบาร์เรล ต่อวัน เมื่อไม่รวมอิรัค
ในไตรมาสที่สามความต้องการน้ำมันดิบเข้ากลั่นได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการกลับมากลั่นตามปกติของโรงกลั่น ที่ปิดซ่อมบำรุงประจำปีและการเพิ่มสำรองน้ำมันเพื่อความอบอุ่น ในขณะ เดียวกันการลดปริมาณการผลิตเริ่มเห็นผลในไตรมาสนี้ปริมาณการผลิตได้ลดลง 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ในระดับที่ 73.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นผลจากการลดปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปค ปัญหาการปิดซ่อมแซมของแหล่งในทะเลเหนือ และปัญหาของระบบท่อส่งในไนจีเรีย ปริมาณการผลิตน้ำมันดังกล่าว เป็นระดับเดียวกับความต้องการใช้น้ำมัน ดังนั้น การผลิตและความต้องการน้ำมันในไตรมาสนี้จึงอยู่ในภาวะสมดุล แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันสำรองซึ่งอยู่ในระดับสูงในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการระบายน้ำมันดังกล่าว ยังมีผลให้ราคาน้ำมันดิบในไตรมาสที่สามยังอยู่ในภาวะต่ำอยู่ น้ำมันดิบชนิดเบายังได้รับผลกระทบจากระดับน้ำมันสำรองที่ยังอยู่ในระดับสูง ราคาในไตรมาสนี้ จึงอ่อนตัวลงอีก $ 0.5-1 ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบชนิดหนักซึ่งมีความต้องการมากกว่าน้ำมันดิบชนิดเบาราคาอยู่ในระดับทรงตัว
ในไตรมาสที่สี่แม้ว่าความต้องการใช้น้ำมันเพื่อความอบอุ่นจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นสูงมากดังเช่นที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากอากาศที่อุ่นกว่าปกติ ด้านการผลิตน้ำมันดิบในไตรมาสนี้ยังทรงตัวอยู่ในระดับเดิม ความต้องการใช้น้ำมันมากกว่าปริมาณการผลิตอยู่ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งในระดับดังกล่าวปริมาณน้ำมันสำรองที่อยู่ในระดับสูงในช่วงก่อนหน้านี้ยังสามารถรับได้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในไตรมาสนี้ได้ตกลงไปอีกประมาณ $ 1 ต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยอยู่ในระดับ $ 11.0-12.8 ต่อบาร์เรล สำหรับเหตุการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิรัค ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนไม่มีผลต่อตลาดน้ำมัน ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำมันที่มีมากในตลาด และการที่สหรัฐอเมริกาได้ใช้กำลังทางอากาศโจมตีอิรัคในช่วงกลางเดือนธันวาคม ก็ไม่ส่งผลต่อตลาดน้ำมันเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นเพียงช่วงสั้นๆ และสิ้นสุดอย่างรวดเร็ว
สำหรับในปี 2542 นักวิเคราะห์คาดว่าประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว และสภาพอากาศจะเริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะมีผลทำให้ความต้องการใช้น้ำมันของปีหน้าเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1-1.5 ล้านบาร์เรล ต่อวัน ส่วนทางด้านการผลิตน้ำมันดิบ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระดับ 0.8-1 ล้านบาร์เรล ต่อวัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการผลิตนอกกลุ่มโอเปคของแหล่งในทะเลเหนือ ละตินอเมริกา และแอฟริกา ในขณะที่ปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปคจะลดลงเล็กน้อย แม้ว่าประเทศในกลุ่มโอเปคจะผลิตเกินโควต้าแล้วก็ตาม จากการคาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำมัน จะเพิ่มสูงกว่าการเพิ่มของการผลิตดังกล่าว ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าราคาน้ำมันดิบของปี 2542 จะเพิ่มสูงกว่าระดับของปี 2541 ประมาณ $ 1.2-1.5 ต่อบาร์เรล โดยน้ำมันดิบเบรนท์จะอยู่ในระดับ $ 14.3-14.6 ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ
หน่วย : เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
น้ำมันดิบ 2540 2541 2541
ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4
โอมาน 18.55 12.09 12.67 12.36 12.26 11.06
ดูไบ 18.14 12.17 12.43 12.24 12.49 11.53
เบรนท์ 19.31 13.14 14.45 13.78 12.79 11.49
WTI 20.61 14.39 15.96 14.6 14.16 12.84
ทาปิส 20.98 13.82 14.72 14.35 13.49 12.72
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ--
-ยก-