กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนสิงหาคม 2540 โดยสรุป ดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนสิงหาคม 2540
- ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2540 เท่ากับ 143.7 (2533=100)
2. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนสิงหาคม 2540
2.1 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2540 สูงขึ้นร้อยละ 2.6
2.2 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2539 สูงขึ้นร้อยละ 6.6
2.1 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม-สิงหาคม 2540 กับช่วงเดียวกันของปี 2539 สูงขึ้นร้อยละ 4.8
3. เหตุผล
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2540 สูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2540 ร้อยละ 2.6 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 4.8 เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาโดยเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 0.9
3.1 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาลดลง
- ผักสดบางชนิด ได้แก่ มะนาว ผักชี ต้นหอม และถั่วลันเตา จากการที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น
- ผงซักฟอก จากการที่ร้านค้าในบางจังหวัดลดราคาลงตามภาวะการแข่งขัน
3.2 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
- เครื่องนุ่งห่ม เช่น เครื่องแบบนักเรียน เสื้อยืดแขนสั้น เสื้อเชิ้ต กางเกงขายาว กางเกงชั้นใน ชุดนอน รองเท้า ถุงเท้า ผ้าตัดเสื้อ ผ้าตัดกางเกง และผ้าตัดกระโปรง
- ยารักษาโรค ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาแก้หวัด ยาปฏิชีวนะ ยาหอม ยาธาตุ วิตามิน และยาหม่อง
- การขนส่งสาธารณะ และการสื่อสาร ได้แก่ ค่าโดยสารรถไฟ ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถเมล์เล็ก ค่าโดยสารแท็กซี่ ค่าใช้บริการโทรศัพท์ และดวงตราไปรษณียากร
- ค่าน้ำประปา
- การอ่าน และการศึกษา ได้แก่ สมุดเขียนหนังสือ ดินสอดำ หนังสือพิมพ์รายวัน ค่าเล่าเรียน และวารสารรายปักษ์
3.3 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ข้าว ได้แก่ ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ และข้าวสารเหนียว จากการที่ปริมาณความต้องการมีอยู่สูง โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ
- เนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อหมู และไก่สด จากการที่ปริมาณความต้องการมีมากในช่วงเทศกาลสารทจีน ประกอบกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะปลายข้าว และรำข้าวมีราคาสูงมาก
- ไข่ ได้แก่ ไข่ไก่ จากต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้น สำหรับไข่เป็ดความต้องการมีมากขึ้น เพื่อใช้ทำขนมไหว้พระจันทร์
- สัตว์น้ำทะเล ได้แก่ ปลากะพงแดง ปลาจาระเม็ดดำ หอยแครง ปลาหมึกสด ปลาทูนึ่ง กุ้งแห้ง และปลาอินทรีย์เค็ม จากการที่เป็นช่วงมีมรสุม และต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น
- ผัก ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาวลุ้ย ผักบุ้งจีน มะเขือเจ้าพระยา มะเขือเทศสีดา พริกขี้หนู กำหล่ำปลี ฟักเขียว หัวหอมแห้ง พริกแห้ง และกระเทียมแห้ง จากการที่ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง และต้นทุนการขนส่งสูงขึ้น
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน เงาะ มะม่วง และมะละกอสุก เนื่องจากเป็นช่วงหมดฤดูกาลของผลไม้หลายชนิด ประกอบกับความต้องการผลไม้บางชนิดมีมากขึ้นในช่วงเทศกาลสารทจีน
- อาหารที่ซื้อบริโภค ได้แก่ ข้าวราดแกง ข้าวผัด และกับข้าวสำเร็จรูป จากการปรับราคาสูงขึ้นในบางตลาด ตามต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้น
สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นจากการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
- ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมผง นมสด UHT นมข้นหวาน และครีมเทียม
- อาหารที่ซื้อจากตลาด ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซ๊อสพริก ซ๊อสมะเขือเทศ แยมผลไม้ ปลากระป๋อง
- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ โอวัลติน กาแฟผง ใบชา น้ำมะเขือเทศ น้ำอัดลม น้ำดื่มบริสุทธิ์ โซดา และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
- วัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ปูนซิเมนต์ ตะปู กระเบื้องลอนคู่ สังกะสี และไม้อัดยาง
- ค่าบริการส่วนบุคคล ได้แก่ สบู่ ยาสีฟัน แป้งฝุ่น ผ้าอนามัย แชมพูสระผม และกระดาษชำระ
- ยานพาหนะ ได้แก่ รถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ รถบรรทุกเล็ก ยางรถยนต์
- น้ำมันเชื้อเพลิง และหล่อลื่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่อง และน้ำมันดีเซล
- ยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ได้แก่ บุหรี่ เบียร์ และสุรา
--กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์--
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนสิงหาคม 2540
- ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2540 เท่ากับ 143.7 (2533=100)
2. เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเดือนสิงหาคม 2540
2.1 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2540 สูงขึ้นร้อยละ 2.6
2.2 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2539 สูงขึ้นร้อยละ 6.6
2.1 เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม-สิงหาคม 2540 กับช่วงเดียวกันของปี 2539 สูงขึ้นร้อยละ 4.8
3. เหตุผล
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2540 สูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2540 ร้อยละ 2.6 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 4.8 เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาโดยเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 0.9
3.1 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาลดลง
- ผักสดบางชนิด ได้แก่ มะนาว ผักชี ต้นหอม และถั่วลันเตา จากการที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น
- ผงซักฟอก จากการที่ร้านค้าในบางจังหวัดลดราคาลงตามภาวะการแข่งขัน
3.2 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
- เครื่องนุ่งห่ม เช่น เครื่องแบบนักเรียน เสื้อยืดแขนสั้น เสื้อเชิ้ต กางเกงขายาว กางเกงชั้นใน ชุดนอน รองเท้า ถุงเท้า ผ้าตัดเสื้อ ผ้าตัดกางเกง และผ้าตัดกระโปรง
- ยารักษาโรค ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาแก้หวัด ยาปฏิชีวนะ ยาหอม ยาธาตุ วิตามิน และยาหม่อง
- การขนส่งสาธารณะ และการสื่อสาร ได้แก่ ค่าโดยสารรถไฟ ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถเมล์เล็ก ค่าโดยสารแท็กซี่ ค่าใช้บริการโทรศัพท์ และดวงตราไปรษณียากร
- ค่าน้ำประปา
- การอ่าน และการศึกษา ได้แก่ สมุดเขียนหนังสือ ดินสอดำ หนังสือพิมพ์รายวัน ค่าเล่าเรียน และวารสารรายปักษ์
3.3 สินค้าและบริการสำคัญที่ราคาสูงขึ้น
- ข้าว ได้แก่ ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ และข้าวสารเหนียว จากการที่ปริมาณความต้องการมีอยู่สูง โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ
- เนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อหมู และไก่สด จากการที่ปริมาณความต้องการมีมากในช่วงเทศกาลสารทจีน ประกอบกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะปลายข้าว และรำข้าวมีราคาสูงมาก
- ไข่ ได้แก่ ไข่ไก่ จากต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้น สำหรับไข่เป็ดความต้องการมีมากขึ้น เพื่อใช้ทำขนมไหว้พระจันทร์
- สัตว์น้ำทะเล ได้แก่ ปลากะพงแดง ปลาจาระเม็ดดำ หอยแครง ปลาหมึกสด ปลาทูนึ่ง กุ้งแห้ง และปลาอินทรีย์เค็ม จากการที่เป็นช่วงมีมรสุม และต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น
- ผัก ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาวลุ้ย ผักบุ้งจีน มะเขือเจ้าพระยา มะเขือเทศสีดา พริกขี้หนู กำหล่ำปลี ฟักเขียว หัวหอมแห้ง พริกแห้ง และกระเทียมแห้ง จากการที่ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง และต้นทุนการขนส่งสูงขึ้น
- ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน เงาะ มะม่วง และมะละกอสุก เนื่องจากเป็นช่วงหมดฤดูกาลของผลไม้หลายชนิด ประกอบกับความต้องการผลไม้บางชนิดมีมากขึ้นในช่วงเทศกาลสารทจีน
- อาหารที่ซื้อบริโภค ได้แก่ ข้าวราดแกง ข้าวผัด และกับข้าวสำเร็จรูป จากการปรับราคาสูงขึ้นในบางตลาด ตามต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้น
สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นจากการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
- ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมผง นมสด UHT นมข้นหวาน และครีมเทียม
- อาหารที่ซื้อจากตลาด ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซ๊อสพริก ซ๊อสมะเขือเทศ แยมผลไม้ ปลากระป๋อง
- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ โอวัลติน กาแฟผง ใบชา น้ำมะเขือเทศ น้ำอัดลม น้ำดื่มบริสุทธิ์ โซดา และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
- วัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ปูนซิเมนต์ ตะปู กระเบื้องลอนคู่ สังกะสี และไม้อัดยาง
- ค่าบริการส่วนบุคคล ได้แก่ สบู่ ยาสีฟัน แป้งฝุ่น ผ้าอนามัย แชมพูสระผม และกระดาษชำระ
- ยานพาหนะ ได้แก่ รถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ รถบรรทุกเล็ก ยางรถยนต์
- น้ำมันเชื้อเพลิง และหล่อลื่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่อง และน้ำมันดีเซล
- ยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ได้แก่ บุหรี่ เบียร์ และสุรา
--กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์--