สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--12 ก.พ.--บิสนิวส์
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
น้ำมันพืช : ราคาสูงขึ้นและอาจขาดแคลน
กระทรวงพาณิชย์ เชิญภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันพืชร่วมหารือเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2541 เพื่อเตรียมการในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำมันพืชที่กำลังจะเกิดภาวะการขาดแคลน ประเด็นการหารือสรุปได้ดังนี้
1) ราคา ภาคเอกชนได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาปรับราคาควบคุมน้ำมันพืช เนื่องจากราคาขายปลีกที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมิได้สะท้อน หรือสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นมาก โดยน้ำมันปาล์มขอปรับราคาจากขวดละ 39 บาท เป็น 45 บาท น้ำมันถั่วเหลืองขอปรับจากขวดละ 41 บาท เป็น 51 บาท หรือมิฉะนั้นก็ขอให้เปิดเสรี เพื่อราคาซื้อ-ขายจะได้ปรับตัวไปตามกลไกตลาด
2) การขาดแคลน ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันถั่วเหลืองคงไม่มี เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตสามารถนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองมาสกัดได้โดยเสรี แต่เนื่องจากราคานำเข้าสูงขึ้นมาก ขณะนี้ผู้ผลิตจึงไม่ทำการผลิตหรือชะลอการผลิต เพราะราคาขายไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต สำหรับน้ำมันปาล์มคงขาดแคลนแน่นอน เนื่องจากในตลาดต่างประเทศมีราคาสูงกว่าราคาขายภายใน จึงจูงใจให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มส่งออกขายต่างประเทศมากกว่าขายภายใน ดังนั้นถ้าหากไม่มีมาตรการห้ามส่งออกก็ควรเปิดให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มอย่างเสรี เพื่อแก้ไขการขาดแคลนภายใน ซึ่งในกรณีนี้สมาคมโรงงานกลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ ได้เสนอขอให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์แทนการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจากราคานำเข้าใกล้เคียงกันมาก อย่างไรก็ตามการนำเข้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ โรงกลั่นน้ำมันปาล์มก็ยังต้องขอปรับราคาจำหน่ายควบคู่ไปด้วย เนื่องจากน้ำมันปาล์มที่นำเข้าต้องผ่านขบวนการกลั่นใสอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นในส่วนนี้ และยังจะมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงราคาขายปลีกด้วย
ข้อคิดเห็น
เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำมันปาล์มที่อาจเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตปาล์มออกน้อย ควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการตรวจสอบปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มในระบบเป็นการเร่งด่วน ทั้งนี้เพื่อให้ปริมาณสต็อกเป็นข้อมูลพื้นฐานหลักในการกำหนดนโยบายด้านการส่งออก หรือนำเข้าน้ำมันปาล์ม
2. หากปริมาณสต็อกรวมต่ำกว่า 45,000 ตัน รัฐควรห้ามการส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นการชั่วคราว ระหว่างกุมภาพันธ์-เมษายน 2541 เนื่องจากช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่ผลผลิตปาล์มออกน้อย และเกิดปัญหาขาดแคลนภายในเป็นประจำ โดยโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มจะต้องรับประกันราคารับซื้อน้ำมันดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศทั้งหมด
3. นำเข้าน้ำมันปาล์มจำนวนหนึ่งตามปริมาณที่ขาดแคลนภายใต้ข้อผูกพัน WTO โดยให้สมาคมโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เป็นผู้นำเข้าและจัดสรรให้สมาชิกโดยผู้นำเข้าต้องรับประกันราคาซื้อน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศด้วย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านราคาแก่โรงงานสกัดส่วนโรงงานสกัดก็ต้องประกันราคารับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรไปพร้อม ๆ กันด้วย
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ฝ้าย : ผลผลิตขาดแคลน และราคาสูงขึ้นมาก
ทุกปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องนำเข้าฝ้ายจากต่างประเทศปีละประมาณ 3 แสนตัน ทำให้ต้องสูญเสียเงินตราไปปีละเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งในภาวะที่ค่าเงินบาทลดลงเกือบเท่าตัว คาดว่าในปี 2541 จะทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินตราในการนำเข้าฝ้ายกว่า 23,000 ล้านบาท ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ดำเนินโครงการเร่งรัดการผลิตฝ้ายเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นไป
สำหรับการผลิตฝ้ายดอกในปี 2540/41 คาดว่าจะมีปริมาณ 70,106 ตัน หรือคิดเป็นฝ้ายปุย 24,860 ตัน ลดลงจากปีก่อนที่มีปริมาณ 26,646 ตัน คิดเป็นร้อยละ 7.18 เนื่องจากพื้นที่ปลูกฝ้ายลดลงขณะที่ความต้องการใช้ฝ้ายปุยในประเทศ มีสูงถึง 3-4 แสนตันต่อปี และจากวิกฤติการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อราคาฝ้ายในประเทศเป็นอย่างมาก โดยราคาฝ้ายดอกชนิดคละที่เกษตรกรขายได้ ปรับตัวสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.61 บาท เมื่อเดือนมกราคม 2540 เป็น 21.57 บาทในเดือนมกราคม 2541 สูงขึ้นเป็นร้อยละ 71.05 เมื่อเทียบกับราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์คในเดือนมกราคม 2540 มีราคา74.37 เซนต์/ปอนด์ หรือคิดเป็น 42.21 บาท/กิโลกรัม แต่ในปี 2541 ผลผลิตฝ้ายโลกและสต็อกที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ราคาโน้มลดลงเหลือ 66.24 เซนต์/ปอนด์ แต่เมื่อคิดเทียบเป็นเงินบาทมีราคาสูงถึง 78.58 บาท/กิโลกรัม
การปรับตัวสูงขึ้นของราคาฝ้ายดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบการโรงหีบต้องแย่งกันรับซื้อฝ้ายดอกจากเกษตรกร ซึ่งในบางพื้นที่ฝ้ายดอกมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 26.30 บาท ดังนั้น การที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายเร่งรัดการผลิตฝ้ายเพื่อทดแทนการนำเข้า จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและช่วยลดการเสียดุลการค้า ทั้งนี้ควรมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร กับกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับภาคเอกชน ทำโครงการผลิตฝ้ายแบบครบวงจรโดยให้มีการทำสัญญาล่วงหน้าและกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำ เพื่อประกันความเสี่ยงด้านรายได้ให้กับเกษตรกร และให้โรงหีบมีฝ้ายเข้าหีบได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.2 หอมแดง : สินค้าที่เคยมีปัญหาราคา แต่ปีนี้คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
ภาวะการผลิตหอมแดง ในปี 2540/41 คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 96,035 ไร่ ผลผลิต 183,544 ตัน ลดลงจากเนื้อที่ปลูก 96,889 ไร่ และผลผลิต 194,650 ตัน ในปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.88 และ 5.71 ตามลำดับ เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาต่ำไม่จูงใจ ประกอบกับสภาพภูมิอากาศในปีนี้ที่มีฝนน้อย อากาศร้อนจึงคาดว่าจะทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงมาก โดยเฉพาะที่จังหวัดศรีสะเกษซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่ ประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตหอมแดงทั้งหมด
สำหรับภาวะการค้าหอมแดงในปีนี้คาดว่าราคาหอมแดงจะมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยราคาหอมแดงแห้งใหญ่คละที่เกษตรกรขายได้ในปี 2541 (กุมภาพันธ์) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.60 บาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 206.61 ทั้งนี้เนื่องจากมีผลผลิตหอมแดงศรีสะเกษออกสู่ตลาดลดลงมาก ทำให้ราคาหอมแดงเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อเนื่องให้ราคาหอมแดงในเขตภาคเหนือตอนบน ซึ่งกำลังเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตหอมแดงออกสู่ตลาดมีราคาเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย กล่าวคือ ราคาหอมแดงแห้งใหญ่คละภาคเหนือ ปี 2541 (กุมภาพันธ์) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.25 บาทในช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 100.00
จากสถานการณ์ด้านการผลิตและการตลาดหอมแดงดังกล่าว คาดว่าในปี 2541 นี้ เกษตรกรจะไม่ประสบปัญหาราคาตกต่ำ และรัฐบาลคงไม่ต้องอนุมัติเงิน คชก. ไปแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงราคาเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในทุกปีที่ผ่านมา
2.3 สุกร : ภาวะการค้าเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ผู้เลี้ยงยังขาดทุน
หน่วย : บาท/กก.
เดือนปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ ต้นทุนการผลิต + กำไร
- ขาดทุน
2540 กรกฎาคม 41.60 35.31 + 6.29
สิงหาคม 41.31 34.95 + 6.36
กันยายน 39.77 35.85 + 3.92
ตุลาคม 36.40 37.28 - 0.88
พฤศจิกายน 31.86 37.92 - 6.06
ธันวาคม 29.23 37.65 - 8.42
เฉลี่ย 36.70 36.49 - 0.21
2541 มกราคม 29.70 37-38 - 7.68
กุมภาพันธ์* 30.67 37-38 - 6.71
หมายเหตุ : * สัปดาห์แรกของเดือน
ผลจากการที่ราคาสุกรได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ในขณะที่ต้นทุนการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้เลี้ยงประสบกับภาวะขาดทุน ขณะเดียวกันภาครัฐบาล โดยกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก้ไขปัญหามาเป็นลำดับ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติอนุมัติเงินจำนวน 150 ล้านบาท ในการแทรกแซงตลาดสุกรเพิ่มเติมที่ได้อนุมัติไปแล้วจำนวน 20 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2540 โดยมีเป้าหมายที่จะรับซื้อสุกรมีชีวิตจำนวน 50,000 ตัว นำมาชำแหละเก็บสต็อก และนำออกจำหน่ายเมื่อสุกรมีชีวิตมีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 35.20 บาท ซึ่งในขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานร่างกฎระเบียบและกำหนดคุณสมบัติของผู้ร่วมโครงการ เพื่อออกประกาศให้ผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการได้รับทราบ
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคมเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ราคาสุกรเริ่มทรงตัว และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะผลผลิตสุกรเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเลี้ยงสุกรรุ่นใหม่ของเกษตรกรลดลงมาก และได้ส่งผลกระทบต่อราคาลูกสุกรขุนที่ปรับราคาลดลงค่อนข้างมาก โดยในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 250 บาท
การที่เกษตรกรต้องประสบภาวะการขาดทุนจากธุรกิจการเลี้ยงสุกรในขณะที่ต้นทุน-การผลิตยังมีแนวโน้มสูงขึ้น คาดว่าในปี 2541 การผลิตสุกรทั่วประเทศจะมีปริมาณลดลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาเนื้อสุกรไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค และราคาจะปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนผู้บริโภคประสบความเดือดร้อนจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงเห็นว่าน่าจะได้มีการเตรียมการเพื่อแก้ไขปัญหาไว้เป็นการล่วงหน้า โดย (1) สำรวจปริมาณสุกรที่มีการเลี้ยงกันอยู่ทั่วประเทศ (2) เตรียมแผนขยายการผลิต เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลน และ (3) กระทรวงพาณิชย์ ต้องเร่งดำเนินมาตรการแทรกแซงตลาดให้บังเกิดผลโดยเร็วที่สุดเพื่อให้เกษตรกรมั่นใจในราคาและตลาดรองรับผลผลิต ซึ่งจะจูงใจให้เกษตรกรลงทุนเลี้ยงสุกรต่อไปได้
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2541--
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
น้ำมันพืช : ราคาสูงขึ้นและอาจขาดแคลน
กระทรวงพาณิชย์ เชิญภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันพืชร่วมหารือเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2541 เพื่อเตรียมการในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำมันพืชที่กำลังจะเกิดภาวะการขาดแคลน ประเด็นการหารือสรุปได้ดังนี้
1) ราคา ภาคเอกชนได้ขอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาปรับราคาควบคุมน้ำมันพืช เนื่องจากราคาขายปลีกที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมิได้สะท้อน หรือสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นมาก โดยน้ำมันปาล์มขอปรับราคาจากขวดละ 39 บาท เป็น 45 บาท น้ำมันถั่วเหลืองขอปรับจากขวดละ 41 บาท เป็น 51 บาท หรือมิฉะนั้นก็ขอให้เปิดเสรี เพื่อราคาซื้อ-ขายจะได้ปรับตัวไปตามกลไกตลาด
2) การขาดแคลน ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันถั่วเหลืองคงไม่มี เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตสามารถนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองมาสกัดได้โดยเสรี แต่เนื่องจากราคานำเข้าสูงขึ้นมาก ขณะนี้ผู้ผลิตจึงไม่ทำการผลิตหรือชะลอการผลิต เพราะราคาขายไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต สำหรับน้ำมันปาล์มคงขาดแคลนแน่นอน เนื่องจากในตลาดต่างประเทศมีราคาสูงกว่าราคาขายภายใน จึงจูงใจให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มส่งออกขายต่างประเทศมากกว่าขายภายใน ดังนั้นถ้าหากไม่มีมาตรการห้ามส่งออกก็ควรเปิดให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มอย่างเสรี เพื่อแก้ไขการขาดแคลนภายใน ซึ่งในกรณีนี้สมาคมโรงงานกลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ ได้เสนอขอให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์แทนการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ เนื่องจากราคานำเข้าใกล้เคียงกันมาก อย่างไรก็ตามการนำเข้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ โรงกลั่นน้ำมันปาล์มก็ยังต้องขอปรับราคาจำหน่ายควบคู่ไปด้วย เนื่องจากน้ำมันปาล์มที่นำเข้าต้องผ่านขบวนการกลั่นใสอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นในส่วนนี้ และยังจะมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงราคาขายปลีกด้วย
ข้อคิดเห็น
เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำมันปาล์มที่อาจเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตปาล์มออกน้อย ควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการตรวจสอบปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มในระบบเป็นการเร่งด่วน ทั้งนี้เพื่อให้ปริมาณสต็อกเป็นข้อมูลพื้นฐานหลักในการกำหนดนโยบายด้านการส่งออก หรือนำเข้าน้ำมันปาล์ม
2. หากปริมาณสต็อกรวมต่ำกว่า 45,000 ตัน รัฐควรห้ามการส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นการชั่วคราว ระหว่างกุมภาพันธ์-เมษายน 2541 เนื่องจากช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่ผลผลิตปาล์มออกน้อย และเกิดปัญหาขาดแคลนภายในเป็นประจำ โดยโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มจะต้องรับประกันราคารับซื้อน้ำมันดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศทั้งหมด
3. นำเข้าน้ำมันปาล์มจำนวนหนึ่งตามปริมาณที่ขาดแคลนภายใต้ข้อผูกพัน WTO โดยให้สมาคมโรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เป็นผู้นำเข้าและจัดสรรให้สมาชิกโดยผู้นำเข้าต้องรับประกันราคาซื้อน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศด้วย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านราคาแก่โรงงานสกัดส่วนโรงงานสกัดก็ต้องประกันราคารับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรไปพร้อม ๆ กันด้วย
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ฝ้าย : ผลผลิตขาดแคลน และราคาสูงขึ้นมาก
ทุกปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องนำเข้าฝ้ายจากต่างประเทศปีละประมาณ 3 แสนตัน ทำให้ต้องสูญเสียเงินตราไปปีละเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งในภาวะที่ค่าเงินบาทลดลงเกือบเท่าตัว คาดว่าในปี 2541 จะทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินตราในการนำเข้าฝ้ายกว่า 23,000 ล้านบาท ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ดำเนินโครงการเร่งรัดการผลิตฝ้ายเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นไป
สำหรับการผลิตฝ้ายดอกในปี 2540/41 คาดว่าจะมีปริมาณ 70,106 ตัน หรือคิดเป็นฝ้ายปุย 24,860 ตัน ลดลงจากปีก่อนที่มีปริมาณ 26,646 ตัน คิดเป็นร้อยละ 7.18 เนื่องจากพื้นที่ปลูกฝ้ายลดลงขณะที่ความต้องการใช้ฝ้ายปุยในประเทศ มีสูงถึง 3-4 แสนตันต่อปี และจากวิกฤติการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อราคาฝ้ายในประเทศเป็นอย่างมาก โดยราคาฝ้ายดอกชนิดคละที่เกษตรกรขายได้ ปรับตัวสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.61 บาท เมื่อเดือนมกราคม 2540 เป็น 21.57 บาทในเดือนมกราคม 2541 สูงขึ้นเป็นร้อยละ 71.05 เมื่อเทียบกับราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์คในเดือนมกราคม 2540 มีราคา74.37 เซนต์/ปอนด์ หรือคิดเป็น 42.21 บาท/กิโลกรัม แต่ในปี 2541 ผลผลิตฝ้ายโลกและสต็อกที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ราคาโน้มลดลงเหลือ 66.24 เซนต์/ปอนด์ แต่เมื่อคิดเทียบเป็นเงินบาทมีราคาสูงถึง 78.58 บาท/กิโลกรัม
การปรับตัวสูงขึ้นของราคาฝ้ายดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบการโรงหีบต้องแย่งกันรับซื้อฝ้ายดอกจากเกษตรกร ซึ่งในบางพื้นที่ฝ้ายดอกมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 26.30 บาท ดังนั้น การที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายเร่งรัดการผลิตฝ้ายเพื่อทดแทนการนำเข้า จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและช่วยลดการเสียดุลการค้า ทั้งนี้ควรมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร กับกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับภาคเอกชน ทำโครงการผลิตฝ้ายแบบครบวงจรโดยให้มีการทำสัญญาล่วงหน้าและกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำ เพื่อประกันความเสี่ยงด้านรายได้ให้กับเกษตรกร และให้โรงหีบมีฝ้ายเข้าหีบได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2.2 หอมแดง : สินค้าที่เคยมีปัญหาราคา แต่ปีนี้คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
ภาวะการผลิตหอมแดง ในปี 2540/41 คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 96,035 ไร่ ผลผลิต 183,544 ตัน ลดลงจากเนื้อที่ปลูก 96,889 ไร่ และผลผลิต 194,650 ตัน ในปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.88 และ 5.71 ตามลำดับ เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาต่ำไม่จูงใจ ประกอบกับสภาพภูมิอากาศในปีนี้ที่มีฝนน้อย อากาศร้อนจึงคาดว่าจะทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงมาก โดยเฉพาะที่จังหวัดศรีสะเกษซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่ ประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตหอมแดงทั้งหมด
สำหรับภาวะการค้าหอมแดงในปีนี้คาดว่าราคาหอมแดงจะมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยราคาหอมแดงแห้งใหญ่คละที่เกษตรกรขายได้ในปี 2541 (กุมภาพันธ์) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.60 บาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 206.61 ทั้งนี้เนื่องจากมีผลผลิตหอมแดงศรีสะเกษออกสู่ตลาดลดลงมาก ทำให้ราคาหอมแดงเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อเนื่องให้ราคาหอมแดงในเขตภาคเหนือตอนบน ซึ่งกำลังเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตหอมแดงออกสู่ตลาดมีราคาเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย กล่าวคือ ราคาหอมแดงแห้งใหญ่คละภาคเหนือ ปี 2541 (กุมภาพันธ์) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.25 บาทในช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 100.00
จากสถานการณ์ด้านการผลิตและการตลาดหอมแดงดังกล่าว คาดว่าในปี 2541 นี้ เกษตรกรจะไม่ประสบปัญหาราคาตกต่ำ และรัฐบาลคงไม่ต้องอนุมัติเงิน คชก. ไปแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงราคาเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในทุกปีที่ผ่านมา
2.3 สุกร : ภาวะการค้าเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ผู้เลี้ยงยังขาดทุน
หน่วย : บาท/กก.
เดือนปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ ต้นทุนการผลิต + กำไร
- ขาดทุน
2540 กรกฎาคม 41.60 35.31 + 6.29
สิงหาคม 41.31 34.95 + 6.36
กันยายน 39.77 35.85 + 3.92
ตุลาคม 36.40 37.28 - 0.88
พฤศจิกายน 31.86 37.92 - 6.06
ธันวาคม 29.23 37.65 - 8.42
เฉลี่ย 36.70 36.49 - 0.21
2541 มกราคม 29.70 37-38 - 7.68
กุมภาพันธ์* 30.67 37-38 - 6.71
หมายเหตุ : * สัปดาห์แรกของเดือน
ผลจากการที่ราคาสุกรได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ในขณะที่ต้นทุนการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้เลี้ยงประสบกับภาวะขาดทุน ขณะเดียวกันภาครัฐบาล โดยกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก้ไขปัญหามาเป็นลำดับ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติอนุมัติเงินจำนวน 150 ล้านบาท ในการแทรกแซงตลาดสุกรเพิ่มเติมที่ได้อนุมัติไปแล้วจำนวน 20 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2540 โดยมีเป้าหมายที่จะรับซื้อสุกรมีชีวิตจำนวน 50,000 ตัว นำมาชำแหละเก็บสต็อก และนำออกจำหน่ายเมื่อสุกรมีชีวิตมีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 35.20 บาท ซึ่งในขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานร่างกฎระเบียบและกำหนดคุณสมบัติของผู้ร่วมโครงการ เพื่อออกประกาศให้ผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการได้รับทราบ
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคมเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ราคาสุกรเริ่มทรงตัว และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะผลผลิตสุกรเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเลี้ยงสุกรรุ่นใหม่ของเกษตรกรลดลงมาก และได้ส่งผลกระทบต่อราคาลูกสุกรขุนที่ปรับราคาลดลงค่อนข้างมาก โดยในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 250 บาท
การที่เกษตรกรต้องประสบภาวะการขาดทุนจากธุรกิจการเลี้ยงสุกรในขณะที่ต้นทุน-การผลิตยังมีแนวโน้มสูงขึ้น คาดว่าในปี 2541 การผลิตสุกรทั่วประเทศจะมีปริมาณลดลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาเนื้อสุกรไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค และราคาจะปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนผู้บริโภคประสบความเดือดร้อนจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงเห็นว่าน่าจะได้มีการเตรียมการเพื่อแก้ไขปัญหาไว้เป็นการล่วงหน้า โดย (1) สำรวจปริมาณสุกรที่มีการเลี้ยงกันอยู่ทั่วประเทศ (2) เตรียมแผนขยายการผลิต เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลน และ (3) กระทรวงพาณิชย์ ต้องเร่งดำเนินมาตรการแทรกแซงตลาดให้บังเกิดผลโดยเร็วที่สุดเพื่อให้เกษตรกรมั่นใจในราคาและตลาดรองรับผลผลิต ซึ่งจะจูงใจให้เกษตรกรลงทุนเลี้ยงสุกรต่อไปได้
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2541--