กรุงเทพ--4 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยวันนี้ (4 พ.ย. 2541) เวลา 12.15 น. นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมไทย-บังคลาเทศ ครั้งที่ 6 สรุปดังนี้
1. ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า โดยทั่วไปไทย-บังคลาเทศ ได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีเรื่อยมา โดยเฉพาะในปี 2525 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมมาธิการร่วมว่าด้วย ความร่วมมือไทย-บังคลาเทศ (JC) เป็นครั้งแรก และจนถึงปัจจุบันการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุม JC ไทย-บังคลาเทศ ครั้งที่ 6
2. เกี่ยวกับความร่วมมือการค้า-การลงทุน ที่ประชุมได้พูดถึงประเด็นความร่วมมือทวิภาคต่าง ๆ สรุปดังนี้ เกี่ยวกับการค้าทวิภาคี ไทยได้เปรียบดุลการค้า 1,600 ล้านบาท ซึ่งบังคลาเทศได้ร้องขอให้ฝ่ายไทยปรับปรุงดุลการค้า โดยขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาเพิ่มปริมาณการนำเข้าสินค้าจากบังคลาเทศมากยิ่งขึ้นด้วย ในขณะที่ไทยได้ร้องขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายเพิ่มปริมาณเที่ยวบินและที่นั่งของเที่ยวบินไทย-บังคลาเทศให้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันสายการบินไทยมีเที่ยวบินไปบังคลาเทศ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ในขณะที่ฝ่ายบังคลาเทศมี 3 เที่ยวบิน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายไทยขอเพิ่มเป็น 10 เที่ยวบิน ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบินพาณิชย์2 ฝ่ายจะหารือกันในรายละเอียดต่อไป เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค
3. เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว บังคลาเทศได้ร้องขอให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเอกชนของไทยไปลงทุนด้านการโรงแรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในบังคลาเทศมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันอุตสาหกรรมดังกล่าวยังมีศักยภาพและมีโอกาสในการขยายตัวอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบังคลาเทศจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ในปี ค.ศ. 2001 จึงต้องการให้ภาคเอกชนของไทยไปพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อรองรับผู้จะเดินทางมาเข้าร่วมประชุมกว่า 4000-5000 คน ด้วย
4. ในการนี้ การประชุม JC ดังกล่าว จะได้พิจารณาความเป็นไปได้ในการทบทวนและให้สัตยาบันความตกลงคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทย-บังคลาเทศ ซึ่งได้เคยลงนามตั้งแต่ปี 2531 (1988)ซึ่งการทบทวนการตกลงดังกล่าวก็เพื่อให้มีความสอดคล้องกับปริมาณการลงทุนระหว่างกันในปัจจุบัน
อนึ่ง ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงการที่จะลงทุนในบังคลาเทศ 10 โครงการ โดยโครงการลงทุน 8 โครงการ กำลังรอใบอนุญาตจากรัฐบาลบังคลาเทศ ทั้ง 2 ฝ่ายจึงเห็นควรให้มีกรอบความตกลงที่จะส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนอย่างเพียงพอ
5. เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเมืองในระดับภูมิภาค ประเทศไทยมีความชื่นชมต่อบทบาทสำคัญของบังคลาเทศในกลุ่มความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ (SARC) และในขณะเดียวกันบังคลาเทศก็ชื่นชมบทบาทของประเทศไทยในการพัฒนาและส่งเสริมการเมืองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งก็สอดคล้องกับการเมืองของบังคลาเทศในปัจจุบัน ซึ่งมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประชาชนบังคลาเทศมีส่วนร่วมต่อกระบวนการทางการเมืองของบังคลาเทศอย่างเต็มที่ และในประเทศต่าง ๆ ที่ รมว. กต. บังคลาเทศ ได้เดินทางไปเยือนก็มักจะได้รับคำชื่นชมเกี่ยวกับความสำเร็จในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยรวมถึงความสำเร็จในการใช้กลไกตลาดในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วย
6. ต่อข้อซักถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าของการพิจารณาส่งตัวพันตรี ฮูด้าฯ กลับบังคลาเทศหรือไม่นั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่ายังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการพิจารณาดังกล่าวและปัจจุบันยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะคืบหน้าอย่างไร ในประชุม JC ดังกล่าว ทั้ง 2 ฝ่ายมิได้มีการกล่าวถึงกรณีพันตรี ฮูด้า แต่อย่างไร และโดยที่เรื่องของพันตรี ฮูด้าฯ มิใช่เป็นประเด็นทางการเมือง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านกระบวนการยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่ายจะได้มีการปรึกษาหารือต่อไป
7. ต่อข้อซักถามเกี่ยวกับความมั่นใจของประเทศไทยที่สอท./สกญ. ของประเทศไทยจะมีความปลอดภัยจากการคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินหรือไม่ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่าประเทศไทยมีความเชื่อมั่นว่า สอท./สกญ. ทุกแห่งจะได้ความคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยอย่างเต็มที่จากประเทศที่ตั้งอยู่ เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยให้การดูแล สอท./สกญ. และเจ้าหน้าที่ต่างประเทศในประเทศไทยอยู่แล้ว ตามพันธะกรณีที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะดูแลและคุ้มครองข้าราชการการทูตซี่งกันและกันอยู่แล้ว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ด้วยวันนี้ (4 พ.ย. 2541) เวลา 12.15 น. นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุมไทย-บังคลาเทศ ครั้งที่ 6 สรุปดังนี้
1. ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า โดยทั่วไปไทย-บังคลาเทศ ได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีเรื่อยมา โดยเฉพาะในปี 2525 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมมาธิการร่วมว่าด้วย ความร่วมมือไทย-บังคลาเทศ (JC) เป็นครั้งแรก และจนถึงปัจจุบันการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุม JC ไทย-บังคลาเทศ ครั้งที่ 6
2. เกี่ยวกับความร่วมมือการค้า-การลงทุน ที่ประชุมได้พูดถึงประเด็นความร่วมมือทวิภาคต่าง ๆ สรุปดังนี้ เกี่ยวกับการค้าทวิภาคี ไทยได้เปรียบดุลการค้า 1,600 ล้านบาท ซึ่งบังคลาเทศได้ร้องขอให้ฝ่ายไทยปรับปรุงดุลการค้า โดยขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาเพิ่มปริมาณการนำเข้าสินค้าจากบังคลาเทศมากยิ่งขึ้นด้วย ในขณะที่ไทยได้ร้องขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายเพิ่มปริมาณเที่ยวบินและที่นั่งของเที่ยวบินไทย-บังคลาเทศให้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบันสายการบินไทยมีเที่ยวบินไปบังคลาเทศ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ในขณะที่ฝ่ายบังคลาเทศมี 3 เที่ยวบิน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายไทยขอเพิ่มเป็น 10 เที่ยวบิน ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบินพาณิชย์2 ฝ่ายจะหารือกันในรายละเอียดต่อไป เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค
3. เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว บังคลาเทศได้ร้องขอให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเอกชนของไทยไปลงทุนด้านการโรงแรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในบังคลาเทศมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันอุตสาหกรรมดังกล่าวยังมีศักยภาพและมีโอกาสในการขยายตัวอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบังคลาเทศจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ในปี ค.ศ. 2001 จึงต้องการให้ภาคเอกชนของไทยไปพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อรองรับผู้จะเดินทางมาเข้าร่วมประชุมกว่า 4000-5000 คน ด้วย
4. ในการนี้ การประชุม JC ดังกล่าว จะได้พิจารณาความเป็นไปได้ในการทบทวนและให้สัตยาบันความตกลงคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทย-บังคลาเทศ ซึ่งได้เคยลงนามตั้งแต่ปี 2531 (1988)ซึ่งการทบทวนการตกลงดังกล่าวก็เพื่อให้มีความสอดคล้องกับปริมาณการลงทุนระหว่างกันในปัจจุบัน
อนึ่ง ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงการที่จะลงทุนในบังคลาเทศ 10 โครงการ โดยโครงการลงทุน 8 โครงการ กำลังรอใบอนุญาตจากรัฐบาลบังคลาเทศ ทั้ง 2 ฝ่ายจึงเห็นควรให้มีกรอบความตกลงที่จะส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนอย่างเพียงพอ
5. เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเมืองในระดับภูมิภาค ประเทศไทยมีความชื่นชมต่อบทบาทสำคัญของบังคลาเทศในกลุ่มความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ (SARC) และในขณะเดียวกันบังคลาเทศก็ชื่นชมบทบาทของประเทศไทยในการพัฒนาและส่งเสริมการเมืองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งก็สอดคล้องกับการเมืองของบังคลาเทศในปัจจุบัน ซึ่งมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ประชาชนบังคลาเทศมีส่วนร่วมต่อกระบวนการทางการเมืองของบังคลาเทศอย่างเต็มที่ และในประเทศต่าง ๆ ที่ รมว. กต. บังคลาเทศ ได้เดินทางไปเยือนก็มักจะได้รับคำชื่นชมเกี่ยวกับความสำเร็จในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยรวมถึงความสำเร็จในการใช้กลไกตลาดในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วย
6. ต่อข้อซักถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าของการพิจารณาส่งตัวพันตรี ฮูด้าฯ กลับบังคลาเทศหรือไม่นั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่ายังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการพิจารณาดังกล่าวและปัจจุบันยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะคืบหน้าอย่างไร ในประชุม JC ดังกล่าว ทั้ง 2 ฝ่ายมิได้มีการกล่าวถึงกรณีพันตรี ฮูด้า แต่อย่างไร และโดยที่เรื่องของพันตรี ฮูด้าฯ มิใช่เป็นประเด็นทางการเมือง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านกระบวนการยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่ายจะได้มีการปรึกษาหารือต่อไป
7. ต่อข้อซักถามเกี่ยวกับความมั่นใจของประเทศไทยที่สอท./สกญ. ของประเทศไทยจะมีความปลอดภัยจากการคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินหรือไม่ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่าประเทศไทยมีความเชื่อมั่นว่า สอท./สกญ. ทุกแห่งจะได้ความคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยอย่างเต็มที่จากประเทศที่ตั้งอยู่ เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยให้การดูแล สอท./สกญ. และเจ้าหน้าที่ต่างประเทศในประเทศไทยอยู่แล้ว ตามพันธะกรณีที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะดูแลและคุ้มครองข้าราชการการทูตซี่งกันและกันอยู่แล้ว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--