1. สถานการณ์การผลิต
เกษตรกรนากุ้งลุ่มน้ำปากพนังเลิกทำนากุ้งถวายในหลวง
พ.อ.ชลอ กิ่งทอง รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ 4 ในฐานะเลขาฯ อนุกรรมการพัฒนา เพื่อเสริมและสนับสนุนความมั่นคงในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง รายงานว่า ขณะนี้มีเกษตรกรนากุ้งในพื้นที่ 2 ฝั่งแม่น้ำปากพนังประมาณ 2,000 คน ได้แสดงเจตนาที่จะเลิกเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีเกษตรกรทำนากุ้งในพื้นที่ดังกล่าวประมาณ 16,000 ไร่ และที่ผ่านมาทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรนากุ้งกับเกษตรกรนาข้าวมาโดยตลอด ดังนั้น กองทัพภาพที่ 4 จึงได้เข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรนากุ้งเข้าใจถึงปัญหาจากการทำนากุ้งในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังมากขึ้น และทำให้เกษตรกรหลายรายปรับเปลียนไปทำอาชีพอื่นทดแทน หรือย้ายมาเลี้ยงในพื้นที่ที่ภาครัฐกำหนด เนื่องจากการวางแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังของ จ. นอกจากจะจัดระบบชลประทานเพื่อแก้ไขปัญหาในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแล้วยังมีการกำหนดโซนในการพัฒนาการเกษตรอีกด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 22-28 พ.ค. 42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 679.48 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,401.68 ตัน สัตว์น้ำจืด 722.15 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.33 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.04 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 68.04 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 122.45 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.31 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ผู้ส่งออกนำเข้ากุ้งนอกส่งผลราคากุ้งในประเทศตกต่ำ
ข่าวจากวงการผู้เลี้ยงกุ้ง รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ราคากุ้งกุลาดำที่ตกต่ำลงอย่างรวดเร็วในขณะนี้ว่า เกิดจากผู้ส่งออกรายใหญได้นำเข้ากุ้งจากต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ซึ่งราคาต่ำกว่ากุ้งไทยเพราะเลี้ยงระบบดั้งเดิมอิงธรรมชาติ ขณะที่ไทยเลี้ยงระบบพัฒนา ต้นทุนสูงกว่า แต่ผ่านศุลกากรเพียงเล็กน้อย ขณะเดียวกันได้นำเข้าโดยไม่ผ่านด่านอีกจำนวนมาก เพราะสินค้าขนส่งมาทางเรือสามารถขึ้นที่ท่าใดก็ได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ส่งผลทำให้ราคากุ้งในประเทศโน้มต่ำลง กล่าวคือสัปดาห์นี้ราคากุ้งที่เกษตรกรขายได้ขนาด 30-40 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลียกิโลกรัมละ 239.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 252.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.16 สำหรับการแนะนำให้ผู้เลี้ยงลดต้นทุนเพื่อให้อุตฯ อยู่รอดนั้น การดำเนินการทำได้ยากเพราะราคาอาหารกุ้งในปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูง คือเฉลี่ยกว่ากิโลกรัมละ 30 บาท
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.30 บาท ลดลงจาก 29.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.89 บาท สูงขึ้นจาก 51.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.89 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.71 บาท สูงขึ้นจาก 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 239.00 บาท ลดลงจาก 252.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 13.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 340.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.54 บาท สูงขึ้นจาก 21.19 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.57 บาท สูงขึ้นจาก 27.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท สูงขึ้นจาก 40.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.29 บาท สูงขึ้นจาก 62.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.04 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.16 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.24 บาท ลดลงจาก 16.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 31 พ.ค.-6 มิ.ย. 2542--
เกษตรกรนากุ้งลุ่มน้ำปากพนังเลิกทำนากุ้งถวายในหลวง
พ.อ.ชลอ กิ่งทอง รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ 4 ในฐานะเลขาฯ อนุกรรมการพัฒนา เพื่อเสริมและสนับสนุนความมั่นคงในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง รายงานว่า ขณะนี้มีเกษตรกรนากุ้งในพื้นที่ 2 ฝั่งแม่น้ำปากพนังประมาณ 2,000 คน ได้แสดงเจตนาที่จะเลิกเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีเกษตรกรทำนากุ้งในพื้นที่ดังกล่าวประมาณ 16,000 ไร่ และที่ผ่านมาทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรนากุ้งกับเกษตรกรนาข้าวมาโดยตลอด ดังนั้น กองทัพภาพที่ 4 จึงได้เข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรนากุ้งเข้าใจถึงปัญหาจากการทำนากุ้งในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังมากขึ้น และทำให้เกษตรกรหลายรายปรับเปลียนไปทำอาชีพอื่นทดแทน หรือย้ายมาเลี้ยงในพื้นที่ที่ภาครัฐกำหนด เนื่องจากการวางแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังของ จ. นอกจากจะจัดระบบชลประทานเพื่อแก้ไขปัญหาในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแล้วยังมีการกำหนดโซนในการพัฒนาการเกษตรอีกด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 22-28 พ.ค. 42) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 679.48 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,401.68 ตัน สัตว์น้ำจืด 722.15 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.33 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.04 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 68.04 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 122.45 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.31 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ผู้ส่งออกนำเข้ากุ้งนอกส่งผลราคากุ้งในประเทศตกต่ำ
ข่าวจากวงการผู้เลี้ยงกุ้ง รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ราคากุ้งกุลาดำที่ตกต่ำลงอย่างรวดเร็วในขณะนี้ว่า เกิดจากผู้ส่งออกรายใหญได้นำเข้ากุ้งจากต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ซึ่งราคาต่ำกว่ากุ้งไทยเพราะเลี้ยงระบบดั้งเดิมอิงธรรมชาติ ขณะที่ไทยเลี้ยงระบบพัฒนา ต้นทุนสูงกว่า แต่ผ่านศุลกากรเพียงเล็กน้อย ขณะเดียวกันได้นำเข้าโดยไม่ผ่านด่านอีกจำนวนมาก เพราะสินค้าขนส่งมาทางเรือสามารถขึ้นที่ท่าใดก็ได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ส่งผลทำให้ราคากุ้งในประเทศโน้มต่ำลง กล่าวคือสัปดาห์นี้ราคากุ้งที่เกษตรกรขายได้ขนาด 30-40 ตัวต่อกิโลกรัมเฉลียกิโลกรัมละ 239.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 252.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.16 สำหรับการแนะนำให้ผู้เลี้ยงลดต้นทุนเพื่อให้อุตฯ อยู่รอดนั้น การดำเนินการทำได้ยากเพราะราคาอาหารกุ้งในปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูง คือเฉลี่ยกว่ากิโลกรัมละ 30 บาท
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.30 บาท ลดลงจาก 29.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.89 บาท สูงขึ้นจาก 51.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.89 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.71 บาท สูงขึ้นจาก 70.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 239.00 บาท ลดลงจาก 252.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 13.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 340.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.54 บาท สูงขึ้นจาก 21.19 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.57 บาท สูงขึ้นจาก 27.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท สูงขึ้นจาก 40.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.29 บาท สูงขึ้นจาก 62.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.04 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.16 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.24 บาท ลดลงจาก 16.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 21 ประจำวันที่ 31 พ.ค.-6 มิ.ย. 2542--