ความต้องการใช้
1. ภายในประเทศ ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจีของเดือนนี้ มีปริมาณ
รวมทั้งสิ้น 3,152 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 105 ล้านลิตร หรือ 660,884 บาเรลต่อวัน ซึ่งลดลงจาก
เดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.1 และ 4.0 ตามลำดับ
ปตท.จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา ให้ กฟผ. เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการ
ผลิตกระแสไฟฟ้า ปริมาณ 65 และ 370 ล้านลิตร และจำหน่ายก๊าซแอลพีจีให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ปริมาณ 6,857 เมตริกตัน
สำหรับส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง จะเห็นได้ว่า ปตท. มี
ส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งคือร้อยละ 37.6 รองลงมาได้แก่ เอสโซ่ เชลล์ และคาลเท็กซ์
ร้อยละ 15.2 14.5 และ 8.6 ตามลำดับ
2. ส่งออกไปต่างประเทศ การส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 548
ล้านลิตร โดยเป็นน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี 450 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 29.6 และ 27.3 โดยการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนใหญ่ส่งไปยัง
ประเทศสิงคโปร์ และจีน
นอกจากนี้ยังมีการส่งออก เฮฟวี่แนฟธ่า มิกซ์ไซลีน คอนเดนเสท โซเวนท์ ไอโซเมอร์
เรต และก๊าซโซลีนธรรมชาติไปยังประเทศสิงคโปร์ จีน เกาหลี และญี่ปุ่นอีก 98 ล้านลิตร
การจัดหา
ปริมาณการจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้มาจากการผลิตจากโรงกลั่น และ โรงแยกก๊าซฯ
ภายในประเทศ ร้อยละ 95.4 และจากการนำเข้าอีกร้อยละ 4.6 โดยแยกรายละเอียดดังนี้
1. การผลิต
การผลิตภายในประเทศมีปริมาณ 3,671 ล้านลิตร (รวมปริมาณ MTBE NGL ฝางเรสิดิว
องค์ประกอบน้ำมันเตา น้ำมันปนเปื้อนที่นำมาผสมและ BY PRODUCT จำนวน 80 ล้านลิตร) เฉลี่ย
วันละ 122 ล้านลิตร หรือ 769,698 บาเรลต่อวัน โดยปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและ
เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.3 และ 7.9
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,395 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 113 ล้านลิตร หรือ
711,815 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.9 และ 5.9
โดยนำน้ำมันเข้าขบวนการกลั่น 3,724 ล้านลิตร หรือวันละ 780,832 บาเรล
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 96,813 เมตริกตัน (179 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ
3,123 เมตริกตัน (6 ล้านลิตร) ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 14.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียว
กันของปีก่อนร้อยละ 34.4
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจี ซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต
ปริมาณ 8,832 เมตริกตัน (16 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ 294 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา
ร้อยละ 15.4 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 63.6
2. การนำเข้า
น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซแอลพีจี และน้ำมันดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น
3,254 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 108 ล้านลิตร หรือ 682,244 บาเรลต่อวัน มูลค่า 14,276 ล้านบาท
(ไม่รวมปริมาณนำเข้า MTBE ที่นำเข้ามาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และซาอุดิอารเบียอีก 33 ล้านลิตร
มูลค่า 257 ล้านบาท) แยกรายละเอียดได้ดังนี้
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,078 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 103 ล้านลิตร หรือ 645,427
บาเรลต่อวัน ราคาเฉลี่ย 19.02 เหรียญสหรัฐ/บาเรล มูลค่าการนำเข้า 13,422 ล้านบาท
- ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 26.5 และ 17.0 ตามลำดับ
- ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.3 และ 30.0
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(เหรียญสหรัฐ/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,343 18.84 76.1
ตะวันออกไกล 696 19.69 22.6
อื่น ๆ 39 18.32 1.3
รวม 3,078 19.02 100.0
การนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลาง แหล่งนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศโอมาน ร้อยละ
26.4 ยูเออี ร้อยละ 20.7 และเยเมนร้อยละ 19.9 สำหรับตะวันออกไกล มาจากประเทศมาเลเซีย
ร้อยละ 16.1 บรูไนร้อยละ 3.3 และอินโดนีเซียอีกร้อยละ 3.1
2.2 น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี ปริมาณรวมทั้งสิ้น 176 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 6
ล้านลิตร หรือ 36,817 บาเรลต่อวัน มูลค่า 854 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
และ น้ำมันเตาเป็นส่วนใหญ่
- ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 56.9 และ 51.9
- ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 62.7 และ 57.8
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป
แหล่งนำเข้า ปริมาณ(ล้านลิตร) ร้อยละ
สิงคโปร์ 112 63.6
เกาหลี 64 36.4
รวม 176 100.0
ปริมาณความต้องการใช้และการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง มกราคม-กันยายน 2540
1. ความต้องการใช้
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 31,422 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 115 ล้านลิตร หรือ 723,970 บาเรล
เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 441 ล้านลิตร หรือวันละ 2 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 1.4
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 35,355 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 130 ล้าน
ลิตร หรือ 814,587 บาเรล เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 1,119 ล้านลิตร หรือวันละ 5 ล้านลิตร
คิดเป็นร้อยละ 3.3 โดยแยกได้ดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ
ได้จากโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซฯ 32,448 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 119 ล้านลิตร
หรือ 747,604 บาเรล โดยสามารถสนองความต้องการใช้ภายในประเทศได้อย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น
จากปี 2539 ปริมาณ 5,500 ล้านลิตร หรือวันละ 21 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 20.4
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 2,907 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 11 ล้านลิตร หรือ 66,983
บาเรล ลดลงจากปี 2539 ปริมาณ 4,381 ล้านลิตร หรือวันละ 16 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 60.1
สำหรับน้ำมันดิบมีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 31,864 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ
117 ล้านลิตรหรือ 734,150 บาเรล มูลค่าการนำเข้า 115,325 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539
ปริมาณ 5,291 ล้านลิตรหรือร้อยละ 19.9 โดยนำเข้ามาจากตะวันออกกลางร้อยละ 75.7 ตะวัน
ออกไกล ร้อยละ 20.2 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 4.2
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--
1. ภายในประเทศ ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจีของเดือนนี้ มีปริมาณ
รวมทั้งสิ้น 3,152 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 105 ล้านลิตร หรือ 660,884 บาเรลต่อวัน ซึ่งลดลงจาก
เดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.1 และ 4.0 ตามลำดับ
ปตท.จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา ให้ กฟผ. เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการ
ผลิตกระแสไฟฟ้า ปริมาณ 65 และ 370 ล้านลิตร และจำหน่ายก๊าซแอลพีจีให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ปริมาณ 6,857 เมตริกตัน
สำหรับส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง จะเห็นได้ว่า ปตท. มี
ส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งคือร้อยละ 37.6 รองลงมาได้แก่ เอสโซ่ เชลล์ และคาลเท็กซ์
ร้อยละ 15.2 14.5 และ 8.6 ตามลำดับ
2. ส่งออกไปต่างประเทศ การส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 548
ล้านลิตร โดยเป็นน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี 450 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและเดือน
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 29.6 และ 27.3 โดยการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ส่วนใหญ่ส่งไปยัง
ประเทศสิงคโปร์ และจีน
นอกจากนี้ยังมีการส่งออก เฮฟวี่แนฟธ่า มิกซ์ไซลีน คอนเดนเสท โซเวนท์ ไอโซเมอร์
เรต และก๊าซโซลีนธรรมชาติไปยังประเทศสิงคโปร์ จีน เกาหลี และญี่ปุ่นอีก 98 ล้านลิตร
การจัดหา
ปริมาณการจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้มาจากการผลิตจากโรงกลั่น และ โรงแยกก๊าซฯ
ภายในประเทศ ร้อยละ 95.4 และจากการนำเข้าอีกร้อยละ 4.6 โดยแยกรายละเอียดดังนี้
1. การผลิต
การผลิตภายในประเทศมีปริมาณ 3,671 ล้านลิตร (รวมปริมาณ MTBE NGL ฝางเรสิดิว
องค์ประกอบน้ำมันเตา น้ำมันปนเปื้อนที่นำมาผสมและ BY PRODUCT จำนวน 80 ล้านลิตร) เฉลี่ย
วันละ 122 ล้านลิตร หรือ 769,698 บาเรลต่อวัน โดยปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและ
เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.3 และ 7.9
1.1 จากโรงกลั่น ปริมาณ 3,395 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 113 ล้านลิตร หรือ
711,815 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.9 และ 5.9
โดยนำน้ำมันเข้าขบวนการกลั่น 3,724 ล้านลิตร หรือวันละ 780,832 บาเรล
1.2 จากโรงแยกก๊าซฯ ปริมาณ 96,813 เมตริกตัน (179 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ
3,123 เมตริกตัน (6 ล้านลิตร) ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 14.1 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียว
กันของปีก่อนร้อยละ 34.4
1.3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีก๊าซแอลพีจี ซึ่งเป็นผลิตผลพลอยได้จากขบวนการผลิต
ปริมาณ 8,832 เมตริกตัน (16 ล้านลิตร) เฉลี่ยวันละ 294 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา
ร้อยละ 15.4 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 63.6
2. การนำเข้า
น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซแอลพีจี และน้ำมันดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศมีปริมาณรวมทั้งสิ้น
3,254 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 108 ล้านลิตร หรือ 682,244 บาเรลต่อวัน มูลค่า 14,276 ล้านบาท
(ไม่รวมปริมาณนำเข้า MTBE ที่นำเข้ามาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และซาอุดิอารเบียอีก 33 ล้านลิตร
มูลค่า 257 ล้านบาท) แยกรายละเอียดได้ดังนี้
2.1 น้ำมันดิบ ปริมาณ 3,078 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 103 ล้านลิตร หรือ 645,427
บาเรลต่อวัน ราคาเฉลี่ย 19.02 เหรียญสหรัฐ/บาเรล มูลค่าการนำเข้า 13,422 ล้านบาท
- ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 26.5 และ 17.0 ตามลำดับ
- ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.3 และ 30.0
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันดิบ
แหล่งนำเข้า ปริมาณ/ล้านลิตร ราคาเฉลี่ย(เหรียญสหรัฐ/บาเรล) ร้อยละ
ตะวันออกกลาง 2,343 18.84 76.1
ตะวันออกไกล 696 19.69 22.6
อื่น ๆ 39 18.32 1.3
รวม 3,078 19.02 100.0
การนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลาง แหล่งนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศโอมาน ร้อยละ
26.4 ยูเออี ร้อยละ 20.7 และเยเมนร้อยละ 19.9 สำหรับตะวันออกไกล มาจากประเทศมาเลเซีย
ร้อยละ 16.1 บรูไนร้อยละ 3.3 และอินโดนีเซียอีกร้อยละ 3.1
2.2 น้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซแอลพีจี ปริมาณรวมทั้งสิ้น 176 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 6
ล้านลิตร หรือ 36,817 บาเรลต่อวัน มูลค่า 854 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
และ น้ำมันเตาเป็นส่วนใหญ่
- ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 56.9 และ 51.9
- ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 62.7 และ 57.8
ปริมาณและแหล่งนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป
แหล่งนำเข้า ปริมาณ(ล้านลิตร) ร้อยละ
สิงคโปร์ 112 63.6
เกาหลี 64 36.4
รวม 176 100.0
ปริมาณความต้องการใช้และการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง มกราคม-กันยายน 2540
1. ความต้องการใช้
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 31,422 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 115 ล้านลิตร หรือ 723,970 บาเรล
เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 441 ล้านลิตร หรือวันละ 2 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 1.4
2. การจัดหา
การจัดหาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 35,355 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 130 ล้าน
ลิตร หรือ 814,587 บาเรล เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ปริมาณ 1,119 ล้านลิตร หรือวันละ 5 ล้านลิตร
คิดเป็นร้อยละ 3.3 โดยแยกได้ดังนี้
2.1 การผลิตภายในประเทศ
ได้จากโรงกลั่นและโรงแยกก๊าซฯ 32,448 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 119 ล้านลิตร
หรือ 747,604 บาเรล โดยสามารถสนองความต้องการใช้ภายในประเทศได้อย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น
จากปี 2539 ปริมาณ 5,500 ล้านลิตร หรือวันละ 21 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 20.4
2.2 การนำเข้าจากต่างประเทศ
ปริมาณรวมทั้งสิ้น 2,907 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 11 ล้านลิตร หรือ 66,983
บาเรล ลดลงจากปี 2539 ปริมาณ 4,381 ล้านลิตร หรือวันละ 16 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 60.1
สำหรับน้ำมันดิบมีปริมาณการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 31,864 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ
117 ล้านลิตรหรือ 734,150 บาเรล มูลค่าการนำเข้า 115,325 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539
ปริมาณ 5,291 ล้านลิตรหรือร้อยละ 19.9 โดยนำเข้ามาจากตะวันออกกลางร้อยละ 75.7 ตะวัน
ออกไกล ร้อยละ 20.2 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 4.2
--กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า--