รายงานภาวะการตลาดในสเปน (มันสำปะหลังและข้าว)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 30, 1997 10:50 —สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ภาวะตลาดมันสำปะหลังในสเปน
1. ระหัสพิกัดศุลกากร
H.S. 0714
2. แหล่งนำเข้าที่สำคัญ
ไทย ร้อยละ 92
อินโดนีเชีย ร้อยละ 4
อื่นๆ ร้อยละ 4
3. การผลิต
สเปนไม่ได้เป็นประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลัง แต่มีการผลิตธัญพืชอื่นๆ ที่ใช้ทดแทนมันสำมันสำปะหลังได้
โดยมีปริมาณการผลิตแยกตามประเภทตามข้างล่างจะเห็นได้ว่าในปี 2539 ผลผลิตข้าวบาร์เลย์ซึ่งนิยมใช้ทดแทน
มันสำปะหลังสูงกว่าเดิมกว่าเท่าตัวจาก 5.19 ล้านเมตริกตันในปี 2538 เป็น 10.64 ล้านเมตริกตันในปี 2539
(ผลผลิตธัญพืชทั้งหมด 38.894 ล้านเมตริกตัน) รวมทั้งข้าวโพดที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ก็เพิ่มขึ้นจาก 2.56 ล้าน
เมตริกตันเป็น 3.83 ล้านเมตริกตัน ในช่วงเดียวกัน
หน่วย: ล้านเมตริกตัน
ประเภท 2538 2539
ข้าวบาร์เลย์ 5.19 10.64
ข้าวสาลี 2.57 6.17
ข้าวโพด 2.56 3.83
ข้าวฟ่าง 0.03 0.05
4. ความต้องการใช้
สเปนมีความต้องการใช้ธัญพืชในประเทศโดยเฉลี่ยปีละ 17.8 ล้านเมตริกตัน โดยจะเป็นมันสำปะหลัง
ประมาณ ปีละ 1 ล้านเมตริกตัน อย่างไรก็ตามในปี 2539 ความต้องการใช้ธัญพืชโดยรวมกับการรับซื้อโดยกองทุน
ประกันราคาสินค้าเกษตรของสเปน (F.E.G.A.) ได้เพิ่มขึ้น 9.98 ล้าน ม.ตันเป็น 25.17 ล้าน ม.ตัน
โดยมีการใช้มันสำปะหลัง 675,358 ล้านเมตริกตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.4 ของปริมาณการใช้ธัญพืชทดแทน
มันสำปะหลังทั้งหมดต่ำกว่าปี 2535-2537 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ5.8-6.0 แต่สูงกว่าสัดส่วนร้อยละ 2.0 ในปี
2538 ทั้งนี้มีสาเหตุจากราคามันสำปะหลังอยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาของธัญพืชทดแทนอื่น ๆ แม้ว่าจะ
ลดลงบ้างในปี 2539 แต่ราคาธัญพืชทดแทนอื่น ๆ ลดลงมากกว่า
ในการสนทนากับผู้นำเข้าของสเปนรายใหญ่กล่าวว่าหากราคาถั่วเหลืองขึ้นสูง 230 เหรียญสหรัฐต่อ
เมตริกตันและราคามันอัดเม็ดแข็งสูงถึง 160 เหรียญสหรัฐฯ/เมตริกตัน แล้วจะทดแทนมันอัดเม็ดแข็งด้วยข้าวบาร์เลย์
เพราะต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์จะถูกกว่า ส่วนข้าวโพดถ้ามีราคาสูงกว่ามันอัดเม็ดแข็งประมาณ 20-30 เหรียญสหรัฐฯ
ผู้ผลิตอาหารสัตว์จะหันไปใช้ข้าวโพดแทนเพราะมีคุณค่าอาหารมากกว่า ไม่ต้องนำมาผสมกับถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มโปรตีน
เช่นมันสำปะหลัง
การใช้มันสำปะหลังอัดเม็ดของสเปนเกือบทั้งหมดนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ แยกเป็น
อาหารสำหรับเลี้ยงสุกรร้อยละ 80 และอาหารสำหรับเลี้ยงไก่และวัวประมาณร้อยละ 15
ปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์
หน่วยเมตริกตัน
ประเภท 2535 2536 2537 2538 2539*
โค 539,418 488,003 478,153 501,700 485,000
แกะ 231,974 224,143 224,398 303,230 230,000
สุกร 1,917,769 2,088,821 2,107,933 2,012,643 2,100,000
สัตว์ปีก 867,699 831,620 873,804 941,046 920,000
ที่มา : กระทรวงเกษตรสเปน
หมายเหตุ * ตัวเลขเบื้องต้น
5. การนำเข้า
สเปนเป็นประเทศผู้นำเข้ามันสำปะหลังเป็นอันดับ 2 ในสหภาพยุโรปรองจากเนเธอร์แลนด์เพียงประเทศ
เดียว ปกติสเปนจะนำเข้ามันอัดเม็ดแข็งจากไทยประมาณปีละ 1 ล้านเมตริกตัน แต่ปริมาณนำเข้าลดลงเหลือเพียง 3
แสนตันในปี 2538 เพราะประสบกับปัญหาในการแข่งขันด้านราคากับธัญพืชทดแทนชนิดอื่น กล่าวคือราคาสูงเพราะ
ปริมาณการผลิตต่ำ และมีการนำเอาไปใช้ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังมากขึ้น
อย่างไรก็ตามแม้ว่าปริมาณนำเข้ามันสำปะหลังจากไทยจะลดลงถึงร้อยละ 65 ในปี 2538 แต่มูลค่านำเข้า
มันสำปะหลังจากไทยลดลงร้อยละ 33.9 ยืนยันว่าราคานำเข้ามันสำปะหลังสูงขึ้นมาก อันเป็นเหตุผลที่ทำให้โรงงาน
อาหารสัตว์ในสเปนหันไปใช้ธัญพืชอื่นทดแทน สำหรับปี 2539 กระทรวงเกษตรของเสปนได้ประเมินปริมาณนำเข้า
มันสำปะหลังรวมทั้งสิ้น 675,358 เมตริกตัน ลดลงจากที่ได้คาดการณ์ไว้ 900,000 เมตริกตัน เมื่อเดือนมิถุนายน
2539 เพราะราคามันอัดเม็ดแข็งในปี 2539 ได้อ่อนตัวลง
6. การส่งออก
สเปนส่งมันสำปะหลังอัดเม็ดต่อไปยังประเทศสมาชิกอื่นๆ ของสหภาพยุโรป กล่าวคือ ปอร์ตุเกส
สหราชอาณาจักร เยอรมันนี และฝรั่งเศสในปริมาณเล็กน้อย โดยในปี 2538 ส่งออก 150 เมตริกตันมูลค่า 13.15
ล้านเปเซต้า และในช่วง 10 เดือนของปี 2539 ได้ส่งออกไปเป็นมูลค่า 74.66 ล้านเปเซต้า ซึ่งแสดงว่าสเปน
นำเข้ามันสำปะหลังอัดเม็ดของไทยมาเพื่อใช้บริโภคในประเทศเป็นหลัก ไม่ได้เป็นเมืองท่าสำหรับการส่งออกต่อไป
ยังประเทศสมาชิกอื่นๆ ของสหภาพยุโรปแต่อย่างไร
7. ราคา
ราคาส่งออก ราคามันสำปะหลังอัดเม็ด (เอฟ.โอ.บี. ท่าเรือยุโรป) ได้เพิ่มขึ้นจากเมตริกตันละ
DM 222.50-245 เมื่อต้นปี 2537 เป็น DM 250-255 ปลายปี 2538 ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากราคาแป้งมันสำปะหลัง
ในตลาดโลกสูงขึ้น ลานมันต้องแข่งกับโรงแป้งในการซื้อหัวมันประกอบกับปริมาณการผลิตมันสำปะหลังปกติกว่า 20
ล้านเมตริกตัน ได้ลดลงเหลือเพียง 15.37 ล้านเมตริกตันในฤดูการผลิต 2537/38 อย่างไรก็ตามในการสำรวจ
ผลผลิตฤดู 2538/39 เมื่อเดือนสิงหาคมที่แล้วได้ประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 17.57 ล้านเมตริกตันเนื่องจากราคา
หัวมันในปีก่อนหน้าสูงเป็นที่จูงใจ ทำให้ราคาส่งออกในปี 2539 มีแนวโน้มลดลงจาก DM 245.00-257.50/ม.ตัน
เมื่อต้นปี เหลือ DM195.00-200.00/เมตริกตันเมื่อปลายปี
ราคานำเข้า ราคามันสำปะหลังอัดเม็ด (ซี.ไอ.เอฟ. ท่าเรือสเปน+ภาษีนำเข้า+ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ณ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ณ เมืองบาร์เซโลน่า ยังคงยืนตัวอยู่ที่กิโลกรัมลด 19.50 เปเซต้า ขณะที่ราคาธัญพืชอื่นๆ
ได้อ่อนตัวลงอย่างมาก
- ราคามันสำปะหลัง 19.50 เปเซต้า/กก.
- ราคาข้าวสาลีชนิดเบา 25.40-32.10 เปเซต้า/กก.
- ราคาข้าวบาร์เล่ย์ 25.00 เปเซต้า/กก.
- ราคาข้าวโพด 25.00 เปเซต้า/กก.
8. โควต้านำเข้า
สเปนเป็นสมาขิกสหภาพยุโรปซึ่งมีข้อตกลงจำกัดปริมาณการส่งออกโดยสมัครใจกำหนดโควต้าภาษีส่งออก
ได้รวม 21 ล้านตันทุก 4 ปีไม่เกินปีละ 5.5 ล้านตัน โดยระเบียบการจัดสรรการส่งออกมันสำปะหลังอัดเม็ดโดย
ฝ่ายไทยได้เปิดให้มีการส่งออกเสรีแบบ “First come, First serve ”
9. ภาษีนำเข้า
อากรขาเข้าร้อยละ 6 สำหรับปริมาณส่งออกภายใต้โควต้าภาษีนำเข้า
อากรขาเข้า 130 Ecus/เมตริกตัน สำหรับปริมาณที่ส่งออกเกินโควต้า
10. ความเห็น
ผลผลิตธัญพืชในปีนี้คาดว่าจะดีเช่นปีที่แล้ว ราคาธัญพืชทดแทนน่าจะอยู่ในระดับต่ำ การเปิดให้ส่งออก
เสรีภายใต้โควต้าน่าจะมีผลให้ราคามันอัดเม็ดแข็งไทยสามารถแข่งขันกับราคาธัญพืชทดแทนได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบัน
ผู้นำเข้าร้องเรียนว่าคุณภาพของสินค้ามันสำปะหลังต่ำกว่ามาตร-ฐาน เช่น ซื้อแป้งวัดได้เพียงร้อยละ 63 เท่านั้น
(มาตรฐานร้อยละ 65) และสิ่งเจือปนสูงกว่ามาตร-ฐาน (5%) ร้อยละ 80
ภาวะตลาดข้าวในสเปน
1. รหัสพิกัดศุลกากร
H.S. 1006
2. การผลิต
ปี 2537/2538
ปริมาณการผลิต 327,000 เมตริกตัน
พื้นที่การเพาะปลูก 300,000 ไร่
ผลผลิต/ไร่ 1,040-1,120 กก.
ต้นทุนในการผลิต 4,200 บาท/เมตริกตัน
ชนิดของข้าวที่ปลูก - Japonica 80%
- Indica 20%
3. ปริมาณการบริโภคภายในประเทศ
ปี 2537/2538 257,140 เมตริกดัน
ปี 2538/2539 245,000 เมตริกตัน
ปี 2539/2540 (คาดการณ์) 425,000 เมตริกตัน
หมายเหตุ รวมปริมาณที่กองทุนประกันราคาสินค้าเกษตรของสเปน (F.E.G.A.) รับซื้อในราคา
แทรกแซงอยู่ด้วย
4. สต๊อก ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2538
รวมทั้งสิ้นปริมาณ 138,100 เมตริกตัน
- ชาวนา 7,300 เมตริกตัน
- สหกรณ์ 68,400 เมตริกตัน
- เจ้าของคลังสินค้า 9,300 เมตริกตัน
- ผู้นำเข้า/ส่งออก 12,500 เมตริกตัน
- อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง 40,600 เมตริกตัน
5. มาตรการอุดหนุนการผลิตภายในประเทศ
กองทุนสำหรับประกันราคาสินค้าเกษตรของสเปน (F.E.G.A.) จะเข้าไปแทรกแซงรับซื้อข้าวเปลือก
จากชาวนา หากราคาขายต่ำกว่าราคาแทรกแซงที่กำหนดในแต่สัปดาห์ แต่ราคาในฤดูปีการผลิต 2537/38 และปี
2538/39 ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงเพราะผลผลิตยังอยู่ระดับต่ำและราคาสูงกว่าราคาแทรกแซงอยู่แล้ว ราคา
แทรกแซง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2539 กำหนดไว้ 52 เปเซต้า/กก. หรือ 9.66 บาท/กก.
6. ปริมาณนำเข้า/ส่งออก
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2539 สเปนได้นำเข้าข้าวจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของสหภาพยุโรป
คิดเป็นร้อยละ 66 ของมูลค่านำเข้าข้าวทั้งหมดเพราะได้เปรียบในด้านภาษีนำเข้า อันดับรองลงมาเป็นออสเตรเลีย
คิดเป็นร้อยละ 8.8 สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 7.9 และไทยคิดเป็นร้อยละ 2.3 โดยมีมูลค่าส่งออกรวม 12,651
ล้านเปเซต้า
ในช่วงเวลาเดียวกันสเปนได้ส่งออกข้าวไปยังประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 77
นอกจากนั้น ส่งออกไปลิเบียร้อยละ 8.9 ตุรกี 1.75 และโมแซมบิคร้อยละ 1.5 รวมมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมด
11,578 ล้านเปเซต้า
สหภาพยุโรปได้จัดสรรปริมาณโควต้าข้าวให้กับคนไทยภายใต้การยกเว้นภาษีนำเข้าจากการเจรจาภายใต้
มาตรา 23 และ 24 ชดเชยการรับสมาชิกใหม่ โดยในปี 2540 กำหนดโควต้าข้าวขาวให้กับไทยจำนวน 41,600
เมตริกตันและข้าวกล้อง1,812 เมตริกตัน
8. มาตรการที่มิใช่ภาษี
- ต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้า
- มีการตรวจสอบสุขอนามัยของข้าวนำเข้า
9. ราคา
ราคานำเข้า (เอฟ.โอ.บี.) - ข้าวนึ่ง 325-380 เหรียญสหรัฐฯ/เมตริกตัน
- ข้าวหอมมะลิ 400-425 เหรียญสหรัฐฯ/เมตริกตัน
ราคาขายปลีก - ข้าวขาว 125-190 เปเซต้า/กก.
- ข้าวหอมมะลิ 450 เปเซต้า/กก.
10. ความเห็น
ข้าวไม่ได้เป็นอาหารหลักของสเปนอัตราการบริโภคข้าวน่าจะน้อยกว่าประเทศในแถบเอเชียและ
อาฟริกา การนำเข้าส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ เช่น อิตาลี ในรูปของข้าวเปลือก
เพื่อนำมาสีเป็นข้าวสาร และข้าวที่ชาวสเปนนิยมรับประทานเป็นข้าวชนิดเมล็ดอ้วนสั้น นอกจากนั้นตลาดสหภาพยุโรป
รวมทั้งสเปนยังมีอุปสรรคการนำเข้า โดยเฉพาะการอุดหนุนภายในและภาษีศุลกากรนำเข้าที่ยังอยู่ในระดับสูงมาก
อย่างไรก็ตาม ภายใน 6 ปีข้างหน้าสหภาพยุโรปต้องลดอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าที่ผูกพันกับ WTO ลงจากเดิมใน
อัตราร้อยละ 36 กล่าวคือ
- ข้าวกล้อง จากอัตรา 413Ecus/เมตริกตัน เป็น 264Ecus/เมตริกตัน
- ข้าวขาว จากอัตรา 650Ecus/เมตริกตัน เป็น 416Ecus/เมตริกตัน
- ปลายข้าว จากอัตรา 200Ecus/เมตริกตัน เป็น 128Ecus/เมตริกตัน
อย่างไรก็ตามการเจรจาลดภาษีสินค้าเกษตรในรอบอุรุกวัยนับเป็นครั้งแรก คงจะมีการเจรจาลดหย่อนภาษี
ระหว่างกันอีกในช่วงต่อไป
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริค
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ